Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Business Model Canvas คืออะไร จำเป็นแค่ไหนต่อการวางกลยุทธ์ ?

Business Model Canvas คืออะไร จำเป็นแค่ไหนต่อการวางกลยุทธ์ ?

ในโลกปัจจุบันที่การทำธุรกิจเต็มไปด้วยการแข่งขันและความท้าทาย การวางแผนกลยุทธ์ที่ดีจึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และหนึ่งในเครื่องมือที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวางจากเหล่าผู้ประกอบการและนักธุรกิจ ได้แก่ “Business Model Canvas” (BMC) โมเดลหรือแบบจำลองทางธุรกิจที่ช่วยให้การสร้างและพัฒนากลยุทธ์มีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่อยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาวางกลยุทธ์ธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น เครื่องมือ Mandala Analytics จาก Mandala AI ช่วยคุณได้

การทำ Business Model Canvas คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มีองค์ประกอบใดบ้าง และเครื่องมือใดที่จะช่วยให้ทำ Business Model Canvas ได้ง่ายขึ้น บทความนี้มีคำตอบมาให้ !

วิเคราะห์ข้อมูลบนโลกโซเชียล ด้วย Mandala AI

Business Model Canvas คืออะไร ?

Business Model Canvas คือ แบบจำลองหรือแผนภาพที่ใช้สรุปโมเดลทางธุรกิจขององค์กรทั้งหมดไว้อย่างกระชับ โดยจะมีองค์ประกอบสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเป็นการนำทาง ให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดได้ทบทวนและทำความรู้จักแต่ละด้านของธุรกิจที่ตนเองทำอยู่มากขึ้น จนสามารถวิเคราะห์ผลออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจุดประสงค์ของ Business Model Canvas คือ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของโมเดลทางธุรกิจ เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจให้เป็นระบบและนำพาไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ความสำคัญ และข้อดีของการทำ Business Model Canvas คืออะไร ?

  • ทำให้เข้าใจธุรกิจได้อย่างรอบด้านและครอบคลุม เพราะ Business Model Canvas ประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญต่อการวางแผนธุรกิจ
  • ช่วยในการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
  • ทำให้สามารถตรวจสอบช่องว่างหรือจุดบกพร่องของโมเดลธุรกิจได้ง่าย เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ส่งเสริมการคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยการหาวิธีการสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า
  • ช่วยในการสื่อสารและถ่ายทอดแนวคิดทางธุรกิจได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกองค์กร
  • เป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งานและปรับเปลี่ยน สามารถทำซ้ำและปรับแก้ได้ตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนธุรกิจใหม่ โดยทำให้มีการวางแผนและคาดการณ์อย่างรอบคอบก่อนดำเนินการ

องค์ประกอบของ Business Model Canvas คืออะไรบ้าง ?

Business Model Canvas ประกอบไปด้วย 9 ปัจจัยหลักที่เป็นหัวใจของการวางแผนธุรกิจ ดังนี้

1. Customer Segments (กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย)

เป็นกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่ธุรกิจต้องการนำเสนอคุณค่าและบริการไปให้ มักแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรม ความต้องการ ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนเหล่านั้นได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

2. Value Propositions (คุณค่าที่นำเสนอแก่ลูกค้า)

คุณประโยชน์หรือสิ่งที่ธุรกิจนำเสนอเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์ บริการ ประสบการณ์ หรือผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยธุรกิจจะต้องสร้างคุณค่าที่แตกต่างและดีกว่าคู่แข่งเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ได้มากที่สุด

3. Channels (ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า)

เป็นวิธีการที่ธุรกิจใช้ในการติดต่อสื่อสาร จัดจำหน่าย และส่งมอบคุณค่าไปยังลูกค้า โดยอาจเป็นช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ หรือผ่านพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเลือกช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้สะดวกและมีประสิทธิภาพสูงสุด

4. Customer Relationships (ความสัมพันธ์กับลูกค้า)

ประเภทของปฏิสัมพันธ์ที่ธุรกิจสร้างขึ้นกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยอาจเป็นการสร้างความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว การให้บริการตนเอง หรือระบบอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ หากเลือกได้เหมาะสมก็จะสามารถสร้างความพึงพอใจและความภักดีจากลูกค้าได้

5. Revenue Streams (แหล่งที่มาของรายได้)

Revenue Streams คือกระแสรายได้ที่ธุรกิจได้รับจากการนำเสนอคุณค่าให้แก่ลูกค้า ซึ่งอาจมาจากการขายสินค้าและบริการ ค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ค่าลิขสิทธิ์ หรือรายได้อื่น ๆ โดยจะต้องกำหนดราคาและวิธีการรับรายได้ให้เหมาะสมกับคุณค่าที่นำเสนอด้วย

6. Key Resources (ทรัพยากรหลัก)

คือทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้โมเดลธุรกิจดำเนินไปได้ เช่น ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา หรือทางการเงิน ฯลฯ โดยธุรกิจจะต้องกำหนดและจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเอาไว้สนับสนุนกิจกรรมหลัก

7. Key Activities (กิจกรรมหลัก)

Key Activities คือ กิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โมเดลธุรกิจประสบความสำเร็จ อาจเป็นการผลิต การตลาด การบริการ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าที่ธุรกิจต้องการจะสื่อไปยังสาธารณะ

8. Key Partnerships (พันธมิตรทางธุรกิจ)

Key Partnerships หรือ Key Partners คือ เครือข่ายของคู่ค้า ผู้ให้บริการ หรือพันธมิตรที่จำเป็นต่อการดำเนินโมเดลธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นความร่วมมือเพื่อการจัดหาทรัพยากร กิจกรรมร่วม หรือเครือข่ายธุรกิจ โดยการมีพันธมิตรที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยง ประหยัดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพแก่การทำธุรกิจได้

9. Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน)

Cost Structure คือ รายการต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโมเดลธุรกิจนั้น เช่น ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ต้นทุนหลัก ต้นทุนรอง โดยธุรกิจจะต้องบริหารจัดการโครงสร้างต้นทุนเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไร

เข้าใจแต่ละองค์ประกอบของธุรกิจตนเองให้มากขึ้น ด้วยการค้นหาข้อมูลเชิงลึกจาก Mandala Analytics เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด

วิเคราะห์ข้อมูลบนโลกโซเชียล ด้วย Mandala AI
นักการตลาดใช้ Business Model Canvas เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจ

ตัวอย่างการนำ Business Model Canvas ไปใช้กับธุรกิจ

ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ การใช้ Business Model Canvas จะช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คุณค่าที่จะนำเสนอ รูปแบบการทำรายได้ และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจนั้น ตัวอย่างธุรกิจ เช่น สตาร์ตอัปที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการขยายธุรกิจไปสู่ช่องทางอีคอมเมิร์ซ ก็สามารถใช้ Business Model Canvas ในการวางแผนกลุ่มลูกค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย และรูปแบบการสร้างรายได้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้

วิเคราะห์โมเดลธุรกิจปัจจุบัน

ธุรกิจสามารถใช้ Business Model Canvas ในการวิเคราะห์โมเดลของตนเองได้ โดยจะช่วยให้นักการตลาดมองเห็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคได้อย่างชัดเจน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ตัวอย่างธุรกิจ เช่น ธุรกิจร้านกาแฟสามารถวิเคราะห์ Business Model Canvas ของตนเองเพื่อหาวิธีสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า หรือช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ

พัฒนาและปรับปรุงโมเดลธุรกิจ

หลังจากวิเคราะห์โมเดลธุรกิจแล้ว องค์กรสามารถใช้ Business Model Canvas ในการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ปรับปรุงคุณภาพสินค้า เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย หรือลดต้นทุนการดำเนินงาน ตัวอย่างธุรกิจ เช่น บริษัทสายการบินอาจใช้ Business Model Canvas ในการปรับกลยุทธ์จากการให้บริการเที่ยวบินประจำเป็นสายการบินต้นทุนต่ำแทน

สื่อสารกลยุทธ์ธุรกิจ

Business Model Canvas คือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกลยุทธ์ของธุรกิจให้เข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าจะภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้น จึงสามารถใช้ในการนำเสนอต่อพนักงาน คู่ค้า นักลงทุน หรือผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับโมเดลทางธุรกิจและกลยุทธ์ที่จะดำเนินการ ตัวอย่างธุรกิจ เช่น ผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สามารถนำเสนอ Business Model Canvas ให้นักลงทุนพิจารณาเพื่อระดมทุนสำหรับโครงการใหม่ เพิ่มโอกาสในการลงทุนได้มากขึ้น

ทำ Business Model Canvas ได้ง่ายขึ้น เมื่อมีตัวช่วย

เครื่องมือ Social Listening และเครื่องมือ Market Research เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักวางแผนธุรกิจ ช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ตลาดและลูกค้า แล้วนำมาใช้เพื่อพัฒนา Business Model Canvas ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น หากอยากวางกลยุทธ์ธุรกิจให้ปังด้วย Business Model Canvas อย่าลืมใช้ตัวช่วยอย่างเครื่องมือ Social Listening และ Market Research ซึ่งเราขอแนะนำ Madala Analytics จาก Mandala AI พร้อมด้วยฟีเจอร์มากมายที่จะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้าและตามติดเทรนด์ใหม่ ๆ ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น 

วิเคราะห์ข้อมูลบนโลกโซเชียล ด้วย Mandala AI

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. How To: Business Model Canvas Explained. 
Blog Conversion Banner
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.