Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

CTA คืออะไร ใช้อย่างไรให้เกิดประโยน์ และ น่าคลิกที่สุด [พร้อมตัวอย่าง]

CTA คืออะไร ใช้อย่างไรให้เกิดประโยน์ และ น่าคลิกที่สุด [พร้อมตัวอย่าง]

หลายครั้งที่เราเลื่อนฟีดโซเชียลมีเดีย หรือใช้งานเว็บไซต์เพื่อซื้อของออนไลน์ เรามักจะเห็นปุ่มนึงที่มีสีสันโดดเด่น และมีข้อความที่สั้น กระชับ เช่น “ซื้อเลย” ทุกคนสงสัยกันไหมว่าปุ่มนั้นคืออะไร? ในทางการตลาดเราเรียกปุ่มนั้นว่า CTA (Call to Action) โดยในปัจจุบันกลยุทธ์การใช้ปุ่ม CTA เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายกลายเป็นที่นิยมเพราะปุ่ม CTA ทำหน้าที่เป็นจุดโฟกัสของความสนใจของผู้ใช้งานและช่วยให้เข้าใจว่าต้องทำอะไรต่อไปอย่างชัดเจน โดยไม่ต้องสงสัยหรือลังเล แต่ทำไมถึงต้องมี CTA ? CTA มีรูปแบบไหนบ้าง? และทำยังไงให้ CTA มีประสิทธิ์ภาพมากที่สุด? ตามมาดูกัน

CTA (Call To Action) คืออะไร ?

CTA คือ คำที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจ โดยเป็นข้อความหรือวลีที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้คนที่อานดำเนินการบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคลิกลิงก์ ซื้อสินค้า หรือสมัครสมาชิก โดย CTA มักใช้ในการทำการตลาดและการขายเพื่อกระตุ้นให้คนอ่านทำบางอย่างตามเป้าหมายทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ขายสินค้าอาจใช้ CTA เช่น “สั่งซื้อเลย” “เพิ่มลงในตะกร้า” หรือ “เรียนรู้เพิ่มเติม” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมซื้อสินค้า

mandala banner

ทำไมถึงต้องมี CTA ?

1. ดึงดูดให้มีความสนใจ

CTA เปรียบเหมือนจุดนำสายตาบนเว็บไซต์ Hubspot พบว่า การใช้ CTA บนเว็บไซต์ช่วยเพิ่ม Conversion มากถึง 120% ข้อมูลจาก quicksprout ยังพบว่า การใช้ CTA บนวิดิโอได้รับการคลิกมากขึ้นถึง 380% อีกด้วย ดังนั้นการมี CTA บนเว็บไซต์สามารถช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งใช้รูปทรงของปุ่ม CTA ที่โดดเด่น และสีสันที่เห็นได้ชัดเจนจะช่วยให้ดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าชมได้

2. กระตุ้นยอดขายให้กับสินค้า

ลองจินตนาว่าตัวเราเป็นลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า แน่นอนว่าการเห็นโฆษณาแล้วเจอปุ่มที่เชื่อมไปที่เว็บไซต์นั้นทั้งสะดวก ง่าย และรวดเร็ว มากกว่าการที่เห็นโฆษณาแต่ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรต่อ หรือต้องออกไปเสิร์ชหาสินค้าจากบนเว็บไซต์อีกครั้ง ดังนั้น CTA ที่เชื่อมโยงไปยังหน้าสั่งซื้อหรือช่องทางการซื้อสินค้าช่วยในการเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น โดยเป็นทางลัดที่ช่วยให้ผู้ใช้ทำการซื้อได้ง่ายและรวดเร็ว

3. ลดความลังเลและระยะเวลาในการตัดสินใจ

ในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ หรือดำเนินการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การกรอกข้อมูลสมัครสมาชิก การอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ล้วนเป็นกิจกรรมที่เราต้องใช้ระยะเวลาในการคิดและตัดสินใจว่าเราจะทำสิ่งนั้นดีไหม แต่การมี CTA จะช่วยให้เรารู้ว่าต้องทำอะไรต่อไป เนื่องจากมีปุ่มที่คอยนำทางถึงขั้นตอนต่อไป ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น และลดความลังเล

4. เพิ่มยอด Conversion อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างที่ทราบกันว่าในปุ่ม CTA นั้นมีข้อความบอกให้ผู้ชมเว็บไซต์ดำเนินการอะไรสักอย่างตามเป้าหมายของแบรนด์ ซึ่งส่วนใหญ่เป้าหมายนั้นจะมาในรูปแบบของ Conversion ไม่ว่าจะเป็นการคลิก การดูวิดิโอ การอ่านรายละเอียด การสมัครสมาชิกต่างๆ ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานเห็นข้อความที่ดึงดูดบนปุ่ม CTA แล้ว ย่อมมีแนวโน้มในการดำเนินการบางอย่างตามเป้าหมายของแบรนด์ 

5. คอนเทนต์มีความหมายมากขึ้น

นักการตลาดอย่างเราคงรู้กันดีว่าความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคอนเทนต์ ซึ่งทำให้ต้องสร้างคอนเทนต์กันจำนวนมากเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วม หรือการสร้างยอดขาย การมี CTA จะช่วยให้นักการตลาดแน่ใจมากขึ้นว่าตัวคอนเทนต์ที่ได้สร้างขึ้นมานั้นตอบโจทย์กับเป้าหมายที่ต้องการจริงๆ ไหม

CTA มีรูปแบบไหนบ้าง?

1. CTA บน Email

Email เป็นช่องทางที่นักการตลาดส่วนใหญ่ส่งข้อเสนอ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นต่างๆ หรือสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกเพื่อปิดการขาย โดย CTA บน Email มักอยู่ในรูปแบบของปุ่มหรือลิงก์ที่เชิญชวนให้ผู้ที่ได้รับ Email ดำเนินการบางอย่าง เช่น สั่งซื้อสินค้า สมัครสมาชิก ดาวน์โหลดเนื้อหา หรืออ่านบทความเพิ่มเติม เช่น ในอีเมลของ edX มีปุ่ม CTA เป็นคำว่า “Enroll Now” เพื่อให้ผู้อ่านกดลงทะเบียนสมัครสมาชิกเพื่อเรียนคอร์สเรียนที่สนใจ

cta-email-example

2.CTA บน Social Media

Social Media เป็นอีกช่องทางที่เรามักจะเห็น CTA ผ่านการโฆษณา หรือการ Boost Post ต่างๆ CTA บน Social Media มักอยู่ในรูปแบบของปุ่มหรือลิงก์ที่เชิญชวนให้ผู้ติดตามทำบางอย่าง เช่น กดไลก์ กดแชร์ คอมเมนต์ หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์หรือหน้าเพจอื่น ๆ เช่น Instagram กับ Facebook มี CTA ที่คล้ายๆ กัน เช่น Learn More, Sign Up, Shop Now, Install App

cta-social-meida

3. CTA บน Google

Google เป็นเว็บไซต์ที่เราคุ้นเคยและใช้งานแทบจะมากที่สุด เพราะเมื่อไม่รู้อะไรก็มักจะเสิร์ชหาจาก Google ไม่ว่าจะเป็นการหาความรู้รอบตัว สถานที่ท่องเที่ยว หรือเรื่องราวที่สนใจ หลายคนคงคุ้นเคยกับ CTA บน Google กันแล้ว ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบของปุ่มหรือลิงก์ที่เชิญชวนให้ผู้ใช้งาน Google ดำเนินการบางอย่าง เช่น คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือแม้แต่ข้อความที่ลิงก์ก็นับเป็นอีก CTA ที่เราเห็นเป็นประจำ

cta-google

4. CTA บน Website

CTA บนเว็บไซต์มีการใช้ข้อความที่แตกต่างกันออกไปตามเป้าหมายของเว็บไซต์นั้น ถ้าเป็นเว็บไซต์สำหรับซื้อของ เราอาจจะเจอ CTA “ซื้อเลย” “ส่งฟรี” แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ต้องการข้อมูลผู้ใช้งานเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์และนำเสนอสิ่งที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้งาน อย่างเว็บไซต์แต่งรูปภาพ เว็บไซต์คอร์สเรียน เรามักจะเตอ CTA “สมัครสมาชิกฟรี” “ทดลองใช้งานฟรี” ส่วนเว็บไซต์สำนักข่าว หรือบล็อคต่างๆ มักจะเจอ CTA “อ่านเพิ่มเติม”

cta-website
Source: Mandalasystem

วิธีการทำ CTA ให้มีประสิทธิ์ภาพมากที่สุด

1. ต้องมีความเเตกต่าง

การทำ CTA ที่ดีจะต้องมีความโดดเด่น และแตกต่างจากข้อความในส่วนอื่นๆ ให้ผู้ใช้งานรู้ว่าสามารถคลิกเข้าไปในปุ่มได้ โดยอาจมีการตัดขอบปุ่มและใช้สีสันที่สะดุดตา ข้อมูลจาก CXL พบว่าปุ่ม CTA สีแดงมีประสิทธิภาพสูงกว่าปุ่มสีเขียว  นอกจากนี้การใช้ font ที่มีความหนาและมีขนาดใหญ่กว่าข้อความทั่วไปยังช่วยให้ CTA ของคุณดูโดดเด่นและเห็นได้ชัดเจน

cta-example
Source: mailer

2. ข้อความสั้น เข้าใจได้ง่าย

ข้อความที่อยู่บนปุ่ม CTA ควรใช้ข้อความสั้น ๆ กระชับ เข้าใจง่าย และตรงประเด็น เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าต้องทำอะไรต่อไป ตัวอย่าง CTA ที่สั้นและเข้าใจง่าย เช่น สั่งซื้อเลย สมัครสมาชิกฟรี ดูเพิ่มเติม โดยการใช้ข้อความที่เข้าใจได้ง่ายจะช่วยลดความสับสน ลังเล และความซับซ้อนในการตัดสินใจของผู้ใช้งาน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้งานไม่หลงทางว่าควรทำอะไรต่อ Hubspot พบว่าการใช้ Keyword ที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่ม Conversion ได้สูงสุดถึง 87% เช่น การที่ LinkedIn ใส่ CTA “Start course” ซึ่งเป็นคำที่สั้น กระชับ และสามารถเข้าใจง่าย

cta-short-messsage
Source: Popupsmart

3. สามารถเห็นได้ชัดทั้งบน Website และ Mobile

ในยุคที่ผู้คนใช้โทรศัพมือถือในการใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ นักการตลาดควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่า CTA สามารถเห็นได้ชัดทั้งบนเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นและคลิกได้สะดวกไม่ว่าจะใช้งานผ่านทางคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือก็ตาม

cta-website
Source: Popupsmart

4. สร้างระยะเวลาจำกัด

แน่นอนว่าการให้ข้อเสนอที่มีระยะเวลาจำกัด เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นที่จะช่วยให้ผู้ที่สนใจรีบดำเนินการเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสไปก่อนที่จะหมดเวลา โดยอาจใส่ระยะเวลาที่จำกัดไว้ใน CTA เช่น “…now” or “Experience it before your friends” or “Offer ends 6:00 PM” เช่น การที่ Amazon ใช้วลี “Buy now and save $4.03!” ใน CTA เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สนใจสินค้ารีบกดสั่งซื้อสินค้า

cta-buynow
Source: mailer

5. ใช้วลีที่แปลกใหม่

แน่นอนว่าการใช้ข้อความที่สั้น กระชับย่อมดึงดูดใจของผู้อ่านอยู่แล้ว แต่การใช้ข้อความหรือคำที่แปลกใหม่และแตกต่างจากคู่แข่งอาจช่วยให้ CTA มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการออกจากกรอบเดิมๆ ผู้ที่มองเห็นอาจรู้สึกสนใจวลีที่แปลกใหม่มากกว่าวลีเดิมๆ เช่น แทนที่จะใช้คำว่า “Contact Now” อาจเปลี่ยนเป็นการใช้คำว่า “Say Hello” ที่ดูเป็นมิตร และไม่ซ้ำใคร 

6. เพิ่มความเป็นแบรนด์

สำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างการจดจำ อยากให้คนที่มองเห็นจำแบรนด์ได้ การออกแบบดีไซน์ปุ่ม CTA โดยใช้สีประจำตัวของแบรนด์ font ที่แบรนด์ใช้ และวลีที่มีชื่อของแบรนด์ อาจเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่สนใจ อีกทั้งยังสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ เพียงแค่เห็นก็สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นแบรนด์อะไร เช่น Dunkin’ Donuts ใช้ปุ่ม CTA สีชมพูซึ่งเป็นสีประจำแบรนด์ อีกทั้งยังใช้วลี “DUNKIN’ DELIVERY” โดยการใส่ชื่อแบรนด์ลงไป แทนที่จะใช้คำว่า “DELIVERY” เฉยๆ

cta-brand
Source: Popupsmart

7. ตำแหน่งที่เหมาะสม 

แน่นอนว่าการที่ CTA อยู่ในตำแหน่งที่ใช่จะช่วยให้ผู้ที่เข้ามาเห็นสามารถคลิกได้สะดวก ในทางกลับกันหากนำปุ่ม CTA ไปอยู่ด้านล่างสุด โดยผู้ที่เข้ามาดูต้องเลื่อนอ่านข้อความจนครบแล้วถึงจะเห็นอาจจะทำให้คนที่อ่านข้อความไม่จบ มองไม่เห็นปุ่ม CTA และพลาดโอกาสในการคลิกที่ปุ่มนั้นไป  เช่น การที่ WWF ตัดสินใจใส่ปุ่ม CTA “WATCH NOW” ไว้ที่หน้าแรกของเว็บไซต์โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเลื่อนอ่านข้อความให้จบก่อนถึงจะเห็น

cta-watchnow

สรุป

Call to Action เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้นักการตลาดสามารถทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งช่วยเพิ่มยอดขาย ช่วยให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ และลดความลังเลในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของลูกค้า โดยนักการตลาดสามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะ Email, Social Media, Website และ Google เชื่อว่าหลังจากอ่านบทความนี้จบแล้วนักการตลาดทุกคนจะสามารถนำเทคนิคทั้ง 7 ข้อไปพัฒนากลยุทธ์ CTA ได้ดียิ่งขึ้น

mandala banner
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.