Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

ทำความเข้าใจ Digital Footprint คืออะไร เพราะเหตุใดจึงห้ามพลาด

ทำความเข้าใจ Digital Footprint คืออะไร เพราะเหตุใดจึงห้ามพลาด

Digital Footprint เป็นคำศัพท์ใหม่ที่ชาวเน็ตในสังคมไทยเพิ่งให้ความสำคัญและให้ความสนใจมาไม่นานนักนับตั้งแต่โลกออนไลน์เรียนรู้เรื่องของ Data Privacy กันมากขึ้น ทำให้เรื่องรอยเท้าดิจิทัลของชาวเน็ตจึงได้รับความสนใจตามมา เราจึงขอพามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับเรื่องนี้มากขึ้น จะมีข้อดี ข้อเสียหรือมีความสำคัญ และแตกต่างกันอย่างไรมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

Digital Footprint คืออะไร

digital footprint

Digital Footprint คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรานำเข้าสู่โลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ วีดีโอ การพิมพ์เรื่องราวหรือพิมพ์โต้เถียงกันบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงประวัติและพฤติกรรมการใช้งานบนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นประวัติการเข้าชม การกดไลก์ กดแชร์ ไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหน เว็บไซต์อะไร ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ถูกเก็บ ถูกบันทึกอยู่บนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนข้อมูลเหล่านี้ก็ยังคงอยู่
อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่เจ้าของข้อมูลจำเป็นต้องให้ความสำคัญเพราะสามมารถนำไปใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้และยังคงเป็นโทษหากเราไม่สามารถป้องกันและรู้เท่าทันการใช้งาน เราจะพามารู้จักเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้นกว่าเดิมโดยเริ่มทำความเข้าใจกับ Active Footprint และ Passive Footprint

 Active Footprint คือ

ข้อมูล ประวัติ รูปภาพ วีดีโอ ที่เราตั้งใจเปิดเผยบนโลกออนไลน์อยู่แล้ว เช่น การเล่นโซเชียลมีเดียกับเพื่อน ๆ การพิมพ์ค้นหา การแชร์ภาพ การเล่าเรื่อง ตั้งกระทู้สอบถามในเว็บบอร์ดหรือการส่งอีเมล์ เป็นต้น

Passive Footprint คือ

ข้อมูลที่เรานำเข้าบนโลกออนไลน์โดยที่เกิดจากผู้ใช้งานไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้มีเจตนาจะบันทึกข้อมูลเหล่านั้นบนอินเตอร์เน็ต เช่น ประวัติการค้นหา การบันทึกที่อยู่ IP Address การอนุญาตเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้ ประวัติเข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ประวัติการดูโฆษณา รวมถึงช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานเข้าใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

mandala banner

ทำไม Digital Footprint ถึงสำคัญในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ Digital Footprint ก็อยู่คู่กับโลกออนไลน์เสมอ ด้วยความสำคัญและการระบุข้อมูลต่าง ๆ ไปถึงตัวตนของผู้ใช้งานได้ นักการตลาดหลาย ๆ คนจึงให้ความสำคัญกับข้อมูลเหล่านี้เป็นอย่างมาก เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ แผนการตลาด งบโฆษณาสินค้า เพื่อให้แผนการตลาดมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

อีกทั้งการใช้ข้อมูลอย่างสถิติต่าง ๆ ตั้งแต่ ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ เพศ อายุ รายได้ ไปจนถึงจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ระยะเวลาที่ใช้งานเว็บไซต์ อัตราการคลิก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้นำปรับปรุง วางแผน ดำเนินการ ไปจนกระทั่งคาดการณ์ผลของแคมเปญบนโลกออนไลน์ได้เลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่น การทำโฆษณา SEM ที่นักการตลาดคุ้นเคยกันดี โดยการปล่อยโฆษณาไปหาผู้ใช้งานผ่านแพลตฟอร์มอย่างเว็บไซต์ อีเมล์ หรือแม้แต่โซเชียลเน็ตเวิร์กที่เชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับบัญชีการใช้งานเดียวกับเว็บไซต์ หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายทำการค้นหาคีย์เวิร์ด เช่น กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา การแสดงผลโฆษณาของแบรนด์นั้นก็จะแสดงอยู่บนช่องทางออนไลน์ของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น โซเชียลมีเดีย อีเมล์ หรือเว็บไซต์ข่าว เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการนข้อมูลพวกนี้ไปทำเป็นแคมเปญการตลาดจำเป็นต้องผ่านทำตามข้อกำหนดที่เรารู้จักกันในชื่อว่า PDPA หรือพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปพร้อม ๆ กันด้วย

ข้อดีของ Digital Footprint

  • ทำให้แบรนด์รู้จักพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อการวางแผนแคมเปญการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
  • แบรนด์สามารถปรับปรุงสินค้าและการบริการ รวมถึงเปิดโอกาสการทำตลาดใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
  • สามารถประยุกต์สื่อและการโฆษณาได้หลากหลายและสอดผสานการทำแคมเปญได้มากขึ้น
  • สามารถสร้างเป็นสตอร์รี่ของตัวเองเพื่อยกระดับไปเป็น Influencer ได้
  • นำไปสร้างความทรงจำที่ดีแม้จะผ่านช่วงเวลาสำคัญไปนานแล้วได้
  • นำวิธีคิดปรับปรุงพฤติกรรมจากอดีตมาเปลี่ยนแปลงทัศนคติในปัจจุบันได้

ข้อเสียของ Digital Footprint

  • ความเป็นส่วนตัวขาดหายไป
  • อาจเกิดการติดตามจากมิจฉาชีพหรือผู้ไม่หวังดี
  • มิจฉาชีพนำไปเป็นข้อมูลเพื่อทำการหลอกลวงได้
  • การขุดคุ้ยประวัติเก่า ๆ มาโจมตีเมื่อเกิดดราม่าบนโลกออนไลน์ได้
mandala banner

คุณเห็นความสำคัญของ Digital Footprint แล้วรึยัง

แน่นอนว่าการให้ความสำคัญกับร่องรอยดิจิทัลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปปรับใช้หรือระมัดระวังการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น เช่นเดียวกับเทคโนโลยีหรือเครื่องมืออื่น ๆ หากนำไปใช้ในทางที่ดีย่อมก่อประโยชน์มหาศาลเช่นเดียวกับการนำไปใช้ในทางทีไม่ดีย่อมเกิดโทษนับอนันต์นั่นเอง

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.