คุณเคยมีประสบการณ์ที่ต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งทั้งที่ในใจลึก ๆ ก็ไม่ได้ชื่นชอบ หรือไม่ได้อยากทำ แต่ต้องทำไปเพราะกลัวว่าหากไม่ทำจะตกเทรนด์หรือไม่? หากเคยมี สิ่งนี้แหละคืออาการที่เรียกกันว่า FOMO และไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนจะทำอย่างไร ติดตามในบทความนี้ได้เลย
ซึ่งนอกจากการศึกษา FOMO แล้ว การตลาดแบบดั้งเดิมที่อิงคอนเทนต์ตามกระแสก็ยังเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หากใครกำลังค้นหาเทรนด์ใหม่ที่กำลังอยู่ในกระแส เพื่อสร้างไวรัล เพิ่มผู้ติดตาม สามารถใช้ Mandala Cosmos จาก Mandala AI อัปเดตเทรนด์ได้ในคลิกเดียว
Mandala AI ตัวช่วยทำการตลาด ลองใช้เลย
FOMO คืออะไร?
นิยามความหมาย
FOMO ย่อมาจาก Fear Of Missing Out ซึ่งหมายถึง ความกลัวที่จะพลาดโอกาสอะไรบางอย่างไป กลัวที่จะไม่รู้เหมือนที่คนอื่นรู้ กลัวที่จะตกข่าว ตกกระแส หรือตกเทรนด์ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย เนื่องจาก FOMO จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้พร้อมสำหรับการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ได้มากขึ้น แต่มีข้อเสีย คืออาจทำให้รู้สึกวิตกกังวล กดดัน จนนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น การใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือการฝืนใจทำสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ต้องการ เพื่อไม่ให้ตกเทรนด์สังคม
แตกต่างจาก JOMO (Joy Of Missing Out) ซึ่งคือ ความสุขที่ได้พลาดบางสิ่งบางอย่างไป โดย JOMO มักเป็นคนที่ไม่ยึดติดกับกระแสสังคม ไม่รู้สึกกดดันที่จะต้องตามเทรนด์ตลอดเวลา มีความสุขกับการใช้ชีวิตเรียบง่าย ให้ความสำคัญกับช่วงเวลาปัจจุบันมากกว่าการกังวลว่าตัวเองจะพลาดอะไรไป
สาเหตุ
หากจะถามถึงสาเหตุ พบว่า FOMO มักพบเป็นอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เพราะเป็นยุคสมัยที่ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายคนรู้สึกกดดันที่จะต้องติดตามข่าวสาร แต่ก็ยังต้องคอยศึกษาเทรนด์ใหม่อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องพลาดโอกาสดี ๆ หรือกลัวที่จะถูกมองว่าล้าหลัง ไม่ทันสมัย
FOMO ในการตลาด
ความกลัวที่ว่านี้สามารถนำมาปรับใช้เพื่อสร้างยอดขายผ่านเทคนิคปิดการขายที่เรียกว่า FOMO Marketing ซึ่งคือกลยุทธ์การตลาดที่อาศัยความกลัวที่จะพลาดโอกาส (Fear Of Missing Out) ของผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการ โดยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ‘หากไม่รีบทำอะไรสักอย่างจะพลาดโอกาสสำคัญไป’ เช่น
- การกำหนดระยะเวลาสำหรับโปรโมชัน
- การสร้างความรู้สึกว่าสินค้ามีจำนวนจำกัด
- การใช้คำพูด หรือข้อความขาย ที่กระตุ้นความรู้สึกให้ต้องรีบซื้อ
ข้อดีของกลยุทธ์การตลาดแบบ FOMO
ใช้ต้นทุนน้อย
กลยุทธ์การตลาดแบบ FOMO ไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ เพราะแบรนด์สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคได้โดยตรง โดยเน้นความเร็วจากการใช้กระแสเป็นสำคัญ
กระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้อย่างรวดเร็ว
ดังที่กล่าวไปว่า FOMO เป็นกลยุทธ์การตลาดที่เน้นความรวดเร็ว จึงทำให้ผู้บริโภครู้สึกกลัวว่าจะพลาดโอกาสดี ๆ หรือความคุ้มค่าไปหากไม่รีบตัดสินใจซื้อในเวลานั้น เช่น เมื่อแบรนด์โพสต์ข้อความว่า “สินค้าใหม่ลดราคา 50% เฉพาะวันนี้เท่านั้น!” ก็จะเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าตัดสินใจซื้อได้มากขึ้น เนื่องจากโปรโมชันมีเวลาจำกัด
ช่วยสร้างยอดขายได้อย่างรวดเร็ว
จากข้อดีในการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ FOMO จึงสามารถสร้างยอดขายได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาจำกัด ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่การทำโปรโมชันเท่านั้น แต่ FOMO Marketing ยังเป็นการสร้างยอดขายจากความกลัวที่จะตกเทรนด์ ดังที่เราเคยได้ยินวลีฮิตว่า “ของมันต้องมี” การศึกษาเทรนด์ดังในโซเชียลมีเดียอยู่เสมอจึงจำเป็นสำหรับกลยุทธ์การตลาด FOMO เพื่อค้นหาเทรนด์ใหม่ที่กำลังอยู่ในกระแส และนำมาสร้างไวรัลประกอบไปกับความ “ต้องมี” ของคนในปัจจุบัน โดยสามารถติดตามเทรนด์ที่ได้รับความนิยมบน Social Media ด้วยเครื่องมือ Mandala Analytics จาก Mandala AI
Mandala AI ตัวช่วยทำการตลาด ลองใช้เลย
ข้อควรระวังหากต้องการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ FOMO
อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกถูกกดดัน หรือรู้สึกเหมือนถูกบังคับ
เนื่องจาก FOMO Marketing คือกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นจากความกลัวของผู้บริโภค ในบางครั้งจึงอาจทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่ากำลังถูกบังคับให้ซื้อสินค้าหรือบริการโดยไม่เต็มใจ จนทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบต่อแบรนด์ในระยะยาว
ใช้บ่อยไปอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้
มักเกิดขึ้นได้หากลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์กำลังหลอกลวง หรือใช้กลยุทธ์ที่ไม่เป็นธรรม เช่น กำหนดระยะเวลา หรือจำนวนสินค้าจำกัด โดยมักทำเป็นประจำ ไม่ได้ลดเฉพาะบางช่วงจริงอย่างที่โฆษณาไว้ จนทำให้ลูกค้าสูญเสียความเชื่อมั่นที่มีต่อแบรนด์ไปในที่สุด
ไม่เหมาะกับสินค้าบางประเภท
ไม่ใช่ว่าสินค้าทุกชนิดจะเหมาะกับการทำ FOMO Marketing โดยเฉพาะหากเป็นสินค้าราคาสูง เพราะผู้บริโภคอาจต้องการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อ จึงมักไม่ค่อยรู้สึกกลัวที่จะพลาดโอกาสหากไม่ได้ตัดสินใจซื้อในทันที ซึ่งก่อนทำการตลาดแบบ FOMO แบรนด์จึงต้องทำรีเซิร์ชเกี่ยวกับสินค้าและบริการของตัวเองให้ดีเสียก่อน ว่ามีกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับการทำ FOMO หรือไม่
เคล็ดลับการทำการตลาดแบบ FOMO
กำหนดเป้าหมาย
ก่อนเริ่มทำการตลาดแบบ FOMO แบรนด์ควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการกระตุ้นยอดขายสินค้า หรือบริการประเภทใด โดยมีกลุ่มเป้าหมายแบบใด และต้องการบรรลุผลลัพธ์อะไร เช่น ต้องการเพิ่มยอดขาย 50% ในช่วง 11.11 เนื่องจากเป็นเทรนด์ประจำปีที่ผู้บริโภคจะอยากจับจ่ายโดยมีระยะเวลาจำกัด
เพิ่มมูลค่าสินค้า
การเพิ่มมูลค่าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงราคาที่ต้องปรับขึ้น แต่เป็นการทำให้สินค้าหรือบริการดูมีมูลค่าหรือมีความล้ำค่าน่าเป็นเจ้าของมากกว่าปกติ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกเสียดายหากไม่เลือกซื้อสินค้า หรือบริการนั้นไป
ใช้ KOL มาเป็นผู้นำกระแส
แน่นอนว่าการใช้ KOL ย่อมส่งผลอย่างมาก เพราะ KOL ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้นำกระแสที่สามารถช่วยสร้างกระแสความนิยมให้กับสินค้าหรือบริการได้อย่างรวดเร็ว การใช้ KOL มาช่วยกระตุ้นจึงส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ โดยเฉพาะกับผู้บริโภคในกลุ่ม FOMO ที่กลัวการตกเทรนด์ ไม่ได้ใช้สินค้ายอดนิยมที่มีตามกระแสสังคม
สร้างความรู้สึกเร่งด่วนให้แก่ลูกค้า
ดังที่กล่าวไปว่าการสร้างความรู้สึกเร่งด่วนให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อภายในระยะเวลาจำกัด นับว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญของการตลาดแบบ FOMO การเน้นย้ำถึงความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับหากตัดสินใจจะเลือกซื้อสินค้าและบริการในตอนนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยอาจสื่อสารผ่านโปรโมชันที่มีเวลาจำกัด หรือการนำเสนอผ่านเทรนด์ว่าหากไม่ซื้อจะไม่ทันสมัย ตกยุค
สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญของการทำการตลาดทุกประเภท ในการทำการตลาดแบบ FOMO แบรนด์ควรสื่อสารให้ชัดเจนและกระชับ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงเงื่อนไขของโปรโมชัน หรือส่วนลด และเกิดความรู้สึกว่าต้องรีบตัดสินใจซื้อก่อนที่จะหมดโอกาส หรือต้องรีบซื้อไปใช้เพื่อไม่ให้ตกเทรนด์
เพื่อให้การทำการตลาดแบบ FOMO มีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจภาพรวมของเทรนด์โซเชียล ขอแนะนำตัวช่วยจาก Mandala AI ผู้ให้บริการเครื่องมือ Mandala Analytics โซลูชันในการทำ Social Listening นำข้อมูลซึ่งผู้คนแสดงความคิดเห็นในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ตามโซเชียลมีเดีย มาวิเคราะห์เพื่อหาเจตนาที่แท้จริงว่า ตอนนี้ภาพรวมของตลาดกำลังต้องการอะไร ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนกลยุทธ์ สร้างคอนเทนต์การตลาด เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการธุรกิจในยุคดิจิทัล! ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือปรึกษาเราได้เลย ที่
https://www.mandalasystem.com/contact_us
Mandala AI ตัวช่วยทำการตลาด ลองใช้เลย
ข้อมูลอ้างอิง:
- FOMO (fear of missing out). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566.
- 8 Smart FOMO Marketing Strategies to Increase Sales. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566.