Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

รวมเทคนิคการไลฟ์สด (Live Streaming) สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์

รวมเทคนิคการไลฟ์สด (Live Streaming) สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์

หากย้อนกลับไปเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว วงการไลฟ์สดยังไม่ฮอตฮิตเท่าที่ควร เพราะจะไปกระจุกอยู่กับวงการเกมเมอร์ซะเป็นส่วนใหญ่ พอถึงคราวโควิดที่ระบาดกันทั่วโลก หลายแบรนด์กลับมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การขายแบบไลฟ์สตรีมมิ่งเติบโตเป็นอย่างมาก โดย ณ ปัจจุบัน ตลาดไลฟ์สดทั่วโลกมีมูลค่าอยู่ที่ 1.49 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 184.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2570 กันเลยทีเดียว

ทำให้หลาย ๆ แบรนด์ได้เข้ามากระตุ้นและขยายการลงทุนในช่องทางการขายของแบบนี้มากขึ้น และนักการตลาดหลาย ๆ คนกำลังให้ความสำคัญ ดังนั้นเราจึงขอรวบรวมเทคนิคไลฟ์สดสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไปจนถึงนักการตลาดที่กำลังสนใจการขายแบบนี้อยู่ โดยสามารถหยิบยกทดลองปรับใช้กับแคมเปญหรือแผนการขายที่จะวางไว้ในอนาคตได้ มาดูกันเลย

รวมเทคนิคการไลฟ์สดสำหรับพ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์

สำหรับการไลฟ์สดขายของหรือไลฟ์สดขายเสื้อผ้า ที่เราคุ้นเคยจากการดูไลฟ์สดหรือเคยกด F ของไปแล้วนั้น พ่อค้าแม่ค้าหลาย ๆ ร้านมักจะมีเทคนิคที่สร้างความน่าสนใจให้กับการขายอยู่เสมอ ทำให้คนดูที่เข้ามาติดใจ ติดจอ พร้อมพิมพ์รหัสสินค้าตามด้วยจำนวนกันนิ้วหงิก เทคนิคหรือทักษะที่จำเป็นเรารวบรวมมาให้มือใหม่หรือใครที่กำลังจะผันตัวไปเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไปดูพร้อมกันเลย

1. สร้างคาแรคเตอร์ให้โดดเด่น

chalactor

แน่นอนว่าการไลฟ์สดเป็นการบอกความรู้สึก บอกความเป็นตัวเอง บอกคาแรคเตอร์ให้กับชาวเน็ตบนโลกออนไลน์ ยิ่งหากมีการสร้างคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน เห็นหน้าปุ๊บยิ้มมุมปากปั๊บหรือได้ยินเสียงปุ๊บอยากจะอยู่ฟังต่อจนจบไลฟ์ ยิ่งสร้างคาแรคเตอร์ชัดเท่าไหร่ คนบนโลกออนไลน์จะยิ่งจำได้มากขึ้นเท่านั้น การสร้างคาแรคเตอร์ให้โดดเด่นจะยิ่งช่วยกระตุ้นการขายได้อย่างดี ที่สำคัญทำให้ภาพลักษณ์สิ้นค้าชิ้นนั้นดูน่าสนใจ น่าใช้ตามการไลฟ์ของพ่อค้าแม่ค้าอีกด้วย รวมถึงหากผู้ชมชอบดู กดติดตาม ก็จะเปลี่ยนจากการไลฟ์ธรรมดา เป็นการพูดคุยกับแฟนคลับและกลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในที่สุดนั่นเอง

mandala banner

2. เลือกเเพลตฟอร์มให้สอดคล้องกับตัวเอง

แน่นอนว่าแพลตฟอร์มแต่ละประเภทก็มีคาแรคเตอร์และคอนเทนต์ที่อยู่ในนั้นแตกต่างกัน นั่นทำให้การเลือกแพลตฟอร์มที่ช่วยให้แสดงคาแรคเตอร์ออกมาได้ชัด ช่วยกระตุ้นคอนเทนต์ให้น่าสนใจ ลื่นไหล และเข้ากับพฤติกรรมการเล่นของกลุ่มลูกค้า

Facebook ที่คนชอบนั่งดูไลฟ์นาน ๆ พร้อม ๆ กับแวะอ่านบทความ อ่านกระแสยาว ๆ หรือชอบดูรีวิวเป็นอัลบัม การไลฟ์ก็จะแตกต่างกัน

YouTube ที่คนดูต้องติดตามเนื้อหาแบบวีดีโอจริงจัง รีวิวจริงจัง ต้องการฟังข้อมูล เรื่องราว เรื่องเล่าที่น่าสนใจ

TikTok สำหรับผู้ที่ชอบ How to ทริคสั้น ๆ เทคนิคต่าง ๆ Npc live สรุปสั้น ๆ รวมไปถึงคลิปที่เกี่ยวกับ ASMR ต่าง ๆ เป็นต้น

Instagram สำหรับคนที่ชอบดูวิว ดูภาพ ดูบรรยากาศ ดูอารมณ์และความรู้สึกของผู้คนที่ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปภาพ เป็นต้น

ทำให้แต่ละแพลตฟอร์มจะมีคาแรคเตอร์ของผู้ใช้งานแตกต่างกัน ทำให้การรีวิวจึงอาจจำเป็นต้องลดทอนการให้ข้อมูล เน้นสนุก เน้นซื้อขายของ แทนนั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าที่สนใจเข้ามาสั่งซื้อในขณะไลฟ์อีกด้วย

3. ค้นหาสินค้าที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน

new product

การเริ่มต้นไลฟ์ขายสินค้าที่ขายเร็ว ซื้อขายสะดวก ราคาไม่สูง และเป็นที่ต้องการของตลาด ก็เป็นอีกจุดเริ่มต้นในการไลฟ์ขายของได้ หากเป็นมือใหม่ไม่เคยชินกับการพูดตลอดเวลา การให้ลูกค้าโฟกัสที่สินค้าก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น การเริ่มขายสินค้าที่น่าสนใจของตลาด จะทำให้พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่เข้าใจกระบวนการ เพิ่มประสบการณ์ในการไลฟ์ แถมยังค่อย ๆ ทำให้โลกออนไลน์รู้จักมากขึ้น ค่อย ๆ สร้างคาแรคเตอร์ในการขายไปพร้อม ๆ กันด้วย แถมสินค้าที่เอามาขายก็สร้างรายได้ไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย

4. ทำความเข้าใจสินค้าที่ต้องการขาย

อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการไลฟ์ขายของ คือ การรีวิวรสชาติ บอกเล่าประสบการณ์การใช้ ความรู้สึกหลังจากใช้ เล่าถึงความคิด แสดงความคิดเห็นออกมาบ่อย ๆ แสดงความรู้สึกต่อสินค้าหรือบริการนั้นอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเหล่านี้เป็นเสน่ห์และจุดดึงดูดสำคัญของผู้ขาย การจะทำแบบนี้ได้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจสินค้าและใช้สินค้าเองจริง ๆ ซึ่งหากไม่เข้าใจสินค้าอย่างถ่องแท้ การจะบอกความรู้สึก เล่าประสบการณ์ แชร์ความรู้สึกจะเป็นเรื่องยากในการบอกให้โลกออนไลน์สัมผัสถึงความรู้สึกจริงในการใช้งาน และทำให้สินค้าไม่โดดเด่นน่าซื้อนั่นเอง

5. ใช้โปรเเกรมหรือตัวช่วยในการ Live

live stream example

นอกจากคาแรคเตอร์และการลองใช้งานจริงแล้ว การมีเครื่องมือสำคัญในการช่วยไลฟ์ก็จะทำให้ไลฟ์นั้นดูมืออาชีพมากขึ้น ดูจริงจังมากขึ้น และยังสามารถเติมลูกเล่นเพื่อสร้างความน่าสนใจในการดูไลฟ์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใส่เสียง ใส่เอฟเฟกต์ สอดแทรกภาพสินค้าในระหว่างการบอกเล่า รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการกดจองและสั่งซื้อสินค้าขณะไลฟ์ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมแอปฯ ใส่โค้ด การต่อวีดีโอจากกล้องไปที่คอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคนิคอื่น ๆ อย่างการใส่ภาพแบนเนอร์ ภาพพื้นหลัง ฯลฯ

6. อัพเกรดหรือเพิ่มอุปกรณ์อัพเกรดศักยภาพในการไลฟ์สด

การจัดหาอุปกรณ์มาประกอบการไลฟ์ที่สำคัญ และจำเป็นเพื่อดึงดูดให้คนติดตามดูการไลฟ์มากขึ้น รวม ๆ แล้วจะมีอุปกรณ์สำคัญ ๆ ดังนี้

upgrade camera and tools
  • Sound effect เพื่อกระตุ้นอารมณ์และการซื้อของผู้คน ให้รีบตัดสินใจหรือแม้แต่เติมความน่าสนใจในรับชมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสียงประกอบมุกตลกต่าง ๆ เสียงกระตุ้นนับถอยหลัง หรือเสียงเมื่อได้รับการบริจาคเหรียญ เป็นต้น
  • Wifi สัญญาณอินเตอร์เน็ตก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการไลฟ์ขายของ ที่ทำให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกติดขัด หรือสะดุดขณะรับชม ช่วยให้ตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้นด้วย
  • กระดิ่ง อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ซื้อสนใจสินค้าตัวนั้น ๆ เพื่อเน้นย้ำโปรโมชัน หรือใช้เพื่อบอกข้อความที่สำคัญไปยังลูกค้านั่นเอง
  • การจัดไฟ นอกจากเสียงแล้ว แสงไฟก็ช่วยให้สินค้าและการไลฟ์โดดเด่นยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดไฟไฮไลท์ไปที่สินค้า การจัดไฟให้กับผู้ไลฟ์มีความสว่างมากขึ้น ช่วยให้ไลฟ์น่าสนใจและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
  • Green screen การมีฉากที่ช่วยให้เติมลูกเล่น ใส่ภาพแบนเนอร์ ใส่รายละเอียดสำคัญ โชว์คอมเมนต์ ลูกเล่นต่าง ๆ ที่ต้องการถ่ายทอดจากคอมพิวเตอร์ขึ้นหน้าจอและบนฉากในกล้อง ก็ช่วยเสริมการไลฟ์ได้เป็นอย่างดี

7. มีบริษัท AI ที่ช่วยในการไลฟ์สด

จะเห็นได้ว่าการไลฟ์ขายของเป็นส่วนหนึ่งของการขายออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้วจนไปถึงแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่ลงทุนใช้ AI ในการไลฟ์ขายสินค้ากันเลยทีเดียว อย่างในจีน ที่ใช้เทคโนโลยี Deep Fakes มาโคลนนิงแม่ค้าพ่อค้าให้ทำการนั่งไลฟ์ 24 ชั่วโมง กันเลยทีเดียว ทำให้สะดวกต่อแบรนด์และสะดวกต่อผู้ซื้อ ซึ่งตัว AI ดังล่าวจะมีท่าทาง ภาพและเสียงเหมือนกับพ่อค้าแม่ค้าแทบจะแยกไม่ออก ที่สำคัญข้อมูล ราคา และสินค้าที่บอกเล่าออกมาก็มาจากข้อมูลที่ป้อนให้ ทำให้สรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าไม่หล่นหายไป นับเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ลงทุนให้กับการไลฟ์ขายของอย่างจริงจัง จนกลายมาเป็นเทรนด์ฮิตในปัจจุบันนั่นเอง

mandala banner

สรุป

จะเห็นได้ว่าการขายของยกระดับและพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีจนเข้ามาเป็นพฤติกรรมของคนได้อย่างแบบชิดและกลมกลืนไปกับการใช้ชีวิตของผู้คนจนยากที่จะแยกออกได้

ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าก็ไม่แปลกที่แบรนด์จำเป็นต้องปรับตัวตามให้ทัน ถึงแม้บางครั้งอาจจะดูยากลำบากแต่ในไม่ช้าก็ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอดให้ได้ ซึ่งเป็นธรรมดาในโลกของธุรกิจ หากไม่เริ่มตอนนี้ วันข้างหน้าก็ต้องเริ่มอยู่ดี การหาทางรับมือและปรับตัวจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและต้นทุนน้อยที่สุดนั่นเอง

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.