Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

โรงงาน ODM เเตกต่างกับ OEM อย่างไร เลือกเเบบไหนถึงจะเหมาะกับคุณ

โรงงาน ODM เเตกต่างกับ OEM อย่างไร เลือกเเบบไหนถึงจะเหมาะกับคุณ

ในยุคที่ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนมองหาการสร้างแบรนด์หรือสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นมา การลงทุนกับโรงงานรับผลิตไม่ว่าจะเป็น ODM หรือ OEM ก็เป็นอีกทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่สนใจการสร้างแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เป็นของตัวเอง วันนี้เราเลยพามาทำความรู้จักกับโรงงานหรือธุรกิจประเภทนี้ ว่าคืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร และทำไมนักลงทุนจึงต้องให้ความสำคัญ มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

ODM คืออะไร

ODM ย่อมาจาก Original Design Manufacturer เป็นโรงงานรับผลิต ที่มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าขึ้นมาเพื่อให้สินค้าดังกล่าวมีจุดเด่น มีคุณภาพ และมีความแตกต่างจากสินค้าในท้องตลาด ทำให้สินค้าที่ได้จากโรงงานประเภทนี้จะมีความเฉพาะตัวสูง มีความแตกต่าง และเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอาหารเสริม โรงงานครีมที่พัฒนา คิดค้น ทำการวิจัยสูตรเฉพาะของคู่ค้าที่ต้องการผลิตส้นค้าขึ้นมา แน่นอนว่าสินค้าที่มาจากโรงงานประเภทนี้ประสิทธิภาพ สรรพคุณ ย่อมผ่านการทดสอบเพื่อสร้างมาตรฐานและการยอมรับมากที่สุด อีกทั้งโรงงานประเภทนี้ยังให้บริการแบบครบวงจร ทั้งการสร้างแบรนด์ สร้างฉลาก โลโก้ จัดหาบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมมากที่สุด

mandala banner

ข้อดี – ข้อเสีย ของโรงงาน ODM

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหรือต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง ลองทำความเข้าใจ ชั่งน้ำหนักและเปรีนบเทียบข้อดี-ข้อเสียของโรงงานประเภทนี้ซึ่งเราหยิบมาให้ได้ดูพร้อมกันแล้วตามมาดูได้เลย

ข้อดี

  1. ไม่ต้องดีไซน์และออกแบบสินค้าเอง เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นและสนใจสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง
  2. สามารถให้โรงงานประเภทนี้ออกแบบสินค้าหรือดีไซน์สินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อสร้างความแตกต่างจากสินค้าท้องตลาดได้
  3. สามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้และมีความยืดหยุ่นหากต้องการย้ายฐานการผลิตเพื่อต้องการต้นทุนที่ต่ำลงได้
  4. เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีระบบการผลิตหรือสร้างโรงงานการผลิตเป็นของตัวเอง
  5. สามารถปรึกษาหารือหรือต้องการข้อเสนอแนะจากโรงงานเพื่อประกอบการตัดสินใจทางการผลิตและการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลอย่างใกล้ชิด

ข้อเสียของโรงงาน ODM

  1. มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าโรงงานการผลิตแบบ OEM 
  2. ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อรองรับสินค้าที่ดีไซน์ขึ้นมาใหม่ด้วย
  3. ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นก่อนผลิตไปจนถึงผลิตสินค้านานกว่าปกติ

OEM คืออะไร

OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer เป็นโรงงานที่รับผลิตสินค้าที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดและผลิตสินค้าเพื่อให้ลูกค้าสร้างแบรนด์ รวมไปถึงหากลูกค้ามีแบรนด์ที่แข็งแรงอยู่แล้วก็สามารถรับผลิตให้กับลูกค้าได้ ที่สำคัญมีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เชื่อถือได้และแบรนด์ไว้วางใจ แน่นอนว่าสินค้าที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดก็ย่อมมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็น โรงงานรับผลิต โรงงานอาหารเสริม โรงงานเครื่องสำอาง เป็นต้น

ข้อดี – ข้อเสีย ของโรงงาน OEM

ข้อดีของโรงงานประเภท OEM โดยรวมแล้วจะรับผลิตตามความต้องการของตลาด หรือสินค้าที่มีอยู่แล้ว ที่ไม่ต้องการการลงทุนสูง เน้นปริมาณมาก และเป็นที่นิยม ซึ่งข้อดีและข้อเสียของโรงงานประเภทนี้มีดังนี้

ข้อดี

  1. ลดต้นทุนการผลิต ใช้เงินลงทุนต่ำมีปริมาณสินค้าจำนวนมาก
  2. สร้างแบรนด์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  3. สามารถย้ายฐานการผลิตและการลงทุนได้ง่ายและคล่องตัวกว่า
  4. มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำการสร้างแบรนด์

ข้อเสียของโรงงาน OEM

  1. มีสูตรการผลิตที่ไม่แตกต่างจากสินค้าในท้องตลาด
  2. บางครั้งการควบคุมการผลิตจะเป็นไปตามมาตรฐานของโรงงาน ซึ่งยืดหยุ่นน้อยกว่า
  3. เลือกโรงงานที่มีสัญญาจ้างงานชัดเจนไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของแบรนด์
  4. เสี่ยงการลอกเลียนแบบสูตรหรือเลียนแบบสินค้า

เกณฑ์ในการเลือกโรงงานที่ดี

  1. ต้องมีอย. หรือมาตรฐานการผลิตที่ผ่านมาตรฐาน
  2. มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา
  3. มีการสัญญาการผลิตที่ชัดเจน ไม่มีประวัติการละเมิดลิขสิทธิ์
  4. มีซัพพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับ
mandala banner

สรุป

การที่แบรนด์หันมาลงทุนไม่ว่าจะเป็น ODM หรือ OEM จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาขายได้ เป็นที่ต้องการของตลาดหรือได้รับการยอมรับ ซึ่งจำเป็นต้องทำควบคู่กับการเลือกโรงงานผลิตสินค้า อย่างไรก็ตามหากเลือกโรงงานที่ตอบโจทย์การผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการของแบรนด์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโรงงานแบบ ODM หรือ OEM ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของแบรนด์นั้น ๆ และตอบโจทย์การลงทุนของแบรนด์ได้ตามที่วางแผนและวางกลยุทธ์ได้นั่นเอง

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.