ในยุคสมัยที่การตลาดมีการแข่งขันสูง แบรนด์ต่าง ๆ ล้วนแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการทำความเข้าใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) คือเครื่องมือวัดบุคลิกภาพที่พัฒนาโดยชาวอังกฤษ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเกาหลี และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ผู้ประกอบการและนักการตลาดโดยเฉพาะในแถบเอเชีย
เชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ก็ต้องเคยผ่านการทำแบบทดสอบ MBTI กันมาบ้าง แต่อาจจะน้อยคนที่รู้ว่าตัวอักษรเหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน ! มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าว่า MBTI คืออะไร มีอะไรบ้าง แต่ละแบบมีลักษณะนิสัยอย่างไร และทำไม MBTI ถึงมีความสำคัญต่อโลกของธุรกิจและการตลาดในยุคปัจจุบัน
หากคุณเป็นนักการตลาดที่รู้สึกว่าการทำโฆษณาบนช่องทางต่าง ๆ ยังไร้ประสิทธิภาพ เช่น การยิงแอดไอจีกับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่ Target แนะนำให้ลองใช้ MBTI เป็นเทคนิคเสริม ควบคู่กับเครื่องมือทางการตลาดอื่น ๆ อย่าง Mandala Analytics จาก Mandala AI ที่ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด
MBTI คืออะไร ?
MBTI คือ แบบทดสอบเชิงจิตวิทยา เป็นเครื่องมือที่ช่วยระบุลักษณะนิสัย จุดแข็ง จุดอ่อน กระบวนการคิด และความชอบส่วนบุคคล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้เพื่อเข้าใจลักษณะนิสัยของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง การทำความเข้าใจแง่มุมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์ถือเป็นเรื่องสำคัญต่อความสำเร็จของแบรนด์และธุรกิจต่าง ๆ โดย MBTI แบ่งลักษณะบุคลิกภาพออกเป็น 4 ด้าน และสามารถจัดกลุ่มบุคลิกภาพออกมาได้ทั้งหมด 16 แบบ
4 ขั้วของบุคลิกภาพตามแบบฉบับ MBTI
Extraversion vs. Introversion
- Extraversion (เปิดเผยตัวตน) : คนที่มีลักษณะ Extraversion มักจะมองโลกภายนอกเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ชอบการมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับผู้คนและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ชอบการสร้างความตื่นเต้นและเป็นกลางในสถานการณ์สังคม
- Introversion (เก็บตัว ) : คนที่มีลักษณะ Introversion มักมองโลกภายในของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า รู้สึกอยู่คนเดียวแล้วสบายใจ เงียบขรึม ไม่ชอบสุงสิงกับใคร มักมีความสนใจในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในที่เงียบสงบ
Sensing vs. Intuition
- Sensing (ประสาทสัมผัส) : เป็นบุคคลที่มุ่งเน้นการใช้ประสาทสัมผัสเป็นหลัก โดยข้อมูลนั้นต้องมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรม สามารถวัดผลได้ เช่นข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือข้อมูลเชิงลักษณะ
- Intuition (สัญชาติญาณ) : เป็นบุคคลที่ใช้สัญชาติญาณ การรับรู้ตามความคิดสร้างสรรค์จากประสบการณ์ส่วนตัวมากกว่า ชอบข้อมูลที่เป็นทฤษฎี ความน่าจะเป็น และมีลักษณะที่มีความเป็นไปได้
Thinking vs. Feeling
- Thinking (ตรรกะ) : ผู้ที่มุ่งเน้นการใช้เหตุผลและตรรกะความคิดในการตัดสินใจ มักจะให้ความสำคัญกับความถูกต้องทางตรรกะและผลลัพธ์ที่ตรงกับหลักการ
- Feeling (ความรู้สึก) : ผู้ที่เน้นใช้ความรู้สึกและค่านิยมส่วนบุคคลในการตัดสินใจ มักคำนึงถึงผลกระทบทางอารมณ์เมื่อตัดสินใจเลือกบางสิ่งบางอย่าง ที่สำคัญยังมักเป็นคนที่ใส่ใจถึงความรู้สึกของคนอื่นอีกด้วย
Judging vs. Perceiving
- Judging (มีแบบแผน) : ผู้ที่มีแบบแผน มีการวางแผนและการตัดสินใจที่มั่นคง ชอบการมีลำดับและการทำงานตามกำหนด ใช้ความเป็นระเบียบแบบแผนของตนในการจัดการ
- Perceiving (ไม่ยึดติดแบบแผน) : ผู้ที่ไม่ยึดติดกับแบบแผน มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ภายนอกได้ และชอบเปิดโอกาสให้กับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
MBTI มีอะไรบ้าง ?
ISTJ – The Inspector (นักตรวจการ)
เป็นคนใส่ใจในรายละเอียด มีความเป็นระเบียบวินัย ตรงไปตรงมา มีความรับผิดชอบสูง อยู่กับความจริง ยึดมั่นในหลักการและมาตรฐานที่กำหนดไว้
ISTP – The Crafter (ช่างฝีมือ กล้าหาญ)
มีความเป็นอิสระสูง เพลิดเพลินกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ชื่นชอบการสำรวจโลกรอบตัวเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ สามารถปรับตัวและคิดแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว
ISFJ – The Protector (ผู้ป้องกัน)
มักจะเป็นบุคคลที่มีความเอาใจใส่ มีความสามารถในการดูแลและสนับสนุนผู้อื่น พร้อมจะปกป้องผู้คนที่อยู่รอบตัว มีความอบอุ่น และทุ่มเท
ISFP – The Artist (ศิลปิน)
เป็นบุคคลที่มีความสุภาพ เรียบง่าย ยืดหยุ่นสูง ใจเย็น มีความสามารถในการสร้างสรรค์และแสดงออกทางศิลปะ พวกเขาให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความสัมพันธ์ และชอบใช้เวลาอยู่กับตัวเอง
INFJ – The Advocate (ผู้ให้คำปรึกษา)
เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น เงียบ ดูลึกลับ แต่ใส่ใจ พวกเขามีความเข้าใจในความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น และมักจะใช้ความสามารถของตนในการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่นในทุกวิถีทางที่ทำได้
INFP – The Mediator (นักไกล่เกลี่ย)
เป็นคนมีอุดมการณ์ พวกเขาให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความสัมพันธ์ เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นเป็นอย่างดี มุ่งมั่นที่จะทำให้โลกเป็นสถานที่ที่ดีขึ้น
INTJ – The Architect (นักกลยุทธ์ จินตนาการสูง)
เป็นผู้ที่มีจินตนาการสูง เป็นนักคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล มีตรรกะ มีความสามารถในการวางแผนและดำเนินการตามแผนอย่างมีระบบ
INTP – The Thinker (นักคิด)
มักจะเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ดี ใฝ่รู้ไม่สิ้นสุด โลกส่วนตัวสูง ชอบการค้นคว้าและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
ESTP – The Persuader (นักชักจูง)
เป็นคนมีพลังงานสูง คล่องแคล่ว พวกเขาชอบความตื่นเต้น ชอบความท้าทายและการผจญภัย แต่เบื่อง่าย มีความสามารถในการคิดอย่างรวดเร็วและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง อีกทั้งยังมีความสามารถในการชักจูงและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่น
ESTJ – The Director (ผู้กำกับ)
เป็นผู้ที่มีความกล้าแสดงออก ชอบกำกับ บริหารจัดการและวางแผนทั้งบุคคลและเรื่องต่าง ๆ ตรงไปตรงมา เป็นผู้นำที่มั่นใจและมีความเข้มงวดในการกระทำ
ESFP – The Performer (นักแสดง)
มักเป็นคนที่มีความร่าเริง มีชีวิตชีวา ชอบแสดงออก ชอบสร้างความสุขให้แก่ผู้อื่น พวกเขามักมีความกระตือรือร้นและมีพลังงานสูง และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และผู้คนได้อย่างง่ายดาย
ESFJ – The Caregiver (ผู้เอาใจใส่)
เป็นบุคคลที่เอาใจใส่ ห่วงใย ให้ความสนใจผู้อื่น จิตใจอ่อนโยน เป็นคนเปิดเผย แต่อ่อนไหวกับคำวิจารณ์ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นและอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน
ENFP – The Champion (นักกวี)
เป็นผู้ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มีจินตนาการที่กว้างขวาง เป็นตัวของตัวเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
ENFJ – The Giver (ผู้ให้)
เป็นผู้ให้ มีเสน่ห์ เป็นคนรอบคอบ ยึดมั่นในอุดมการณ์ เป็นมิตร ใจดี มีน้ำใจให้ผู้อื่นอยู่เสมอ
ENTP – The Debater (นักโต้วาที)
เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์สูง มีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ปรับตัวเก่ง ชอบการสำรวจความรู้สึกและความคิดของผู้อื่น และเป็นคนที่ชอบความท้าทายเพื่อค้นหาความจริง
ENTJ – The Commander (ผู้บังคับบัญชา)
เป็นบุคคลที่มีลักษะของความเป็นผู้นำสูง บริหารเป็น ชอบวางแผน ตรงไปตรงมา เด็ดเดี่ยว มีความมั่นใจในตัวเองสูง แต่ความอดทนต่ำ
เรียนรู้ลักษณะนิสัยของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้วิธียิงแอดไอจีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปพร้อม ๆ กับการใช้เครื่องมือจาก Mandala AI ที่ได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคมาให้คุณแล้ว
MBTI สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร ?
การที่แบรนด์หรือองค์กรสามารถเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มเป้าหมายตามหลักการของ MBTI ว่ามีอะไรบ้างแล้ว มาดูกันต่อว่าแล้ว MBTI มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจในสังคมยุคใหม่
1. เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
MBTI ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง เพราะการเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของลูกค้าจะช่วยให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเชื่อมโยงกับพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ปรับตัวต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
2. พัฒนาสินค้าและบริการที่ตรงใจลูกค้า
ความเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์สามารถปรับปรุงและพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น เช่น ทราบว่าลูกค้ามีลักษณะอย่างไร ชอบสิ่งใด มีความต้องการอย่างไร เป็นคนแบบไหน เป็นต้น
3. สร้างกลยุทธ์การตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อแบรนด์เข้าใจตัวตนของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็จะทำให้การสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสร้างประสบการณ์ที่ดีและเหมาะสมกับลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มเป้าหมาย
4. เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
นอกจากจะทำให้แบรนด์สามารถทำการตลาดได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว MBTI ยังช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานระหว่างคนในองค์กรได้อีกด้วย โดยผู้นำทีมสามารถเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน และสไตล์การทำงานของพนักงานแต่ละบุคคล ทำให้การวางแผนและการจัดการงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น
5. สร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับลูกค้า
MBTI ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับลูกค้าได้โดยการเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของลูกค้าแต่ละคน ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการสื่อสารและการบริการให้ตรงกับความต้องการและความพึงพอใจของพวกเขาได้อย่างเหมาะสม
แม้ว่า MBTI จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นกลยุทธ์ที่ควรใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรสเตอริโอไทป์ลูกค้าหรือพนักงานของตนเอง เพราะแต่ละคนก็มีข้อแตกต่างกันไป ถึงจะมี MBTI เหมือนกันก็ตาม ดังนั้น แนะนำให้ใช้ MBTI เป็นเทคนิคเสริม ควบคู่กับเครื่องมือทางการตลาดอื่น ๆ อย่าง Mandala Analytics จาก Mandala AI ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจความแตกต่างของลูกค้าแต่ละกลุ่มและรู้วิธียิงแอดไอจีให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ทดลองใช้ฟรีได้แล้ววันนี้