Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Soft Power คืออะไร มีอะไรบ้าง และทำไมถึงสำคัญต่อธุรกิจ

Soft Power คืออะไร มีอะไรบ้าง และทำไมถึงสำคัญต่อธุรกิจ

เชื่อว่าในช่วงหลัง ๆ มานี้ เรามักจะได้ยินคำว่า “Soft Power” กันอยู่บ่อย ๆ เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่รัฐบาลกำลังผลักดันแล้ว ยังมีเหล่าศิลปินคนดังที่เข้ามาทำให้คำนี้มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น ธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับตัวตาม และหันมาให้ความสำคัญกับการนำ Soft Power มาทำการตลาดมากขึ้น แต่ Soft Power คืออะไร และมีผลอย่างไรต่อการทำการตลาดยุคใหม่ บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ !

นอกจากการทำความรู้จักเรื่อง Soft Power แล้ว การมีตัวช่วยในการวิเคราะห์การทำการตลาดยังเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ขอแนะนำ Mandala Cosmos เครื่องมือ Social Monitoring จาก Mandala AI ที่จะช่วยค้นหาเทรนด์ต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ผู้คนบนโลกออนไลน์ให้ความสนใจ เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นคอนเทนต์ที่ใช่ให้แก่กลุ่มเป้าหมายของคุณ 

เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI

Soft Power คืออะไร ?

Soft Power คือ การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม เช่น การกิน การดื่ม วิถีชีวิต หรือความเชื่อ มานำเสนอผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวใจจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิดในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่น “ต้องการ” และ “ยอมรับ” จนมีผู้คนหันมาสนใจสิ่งเหล่านี้กันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คิวต่อซื้อลูกชิ้นยืนกินที่บุรีรัมย์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลิซ่า ลลิษา ทำให้มีร้านลูกชิ้นยืนกินมากมายพร้อมต่อคิวรอรับประทาน หรือกระแสข้าวเหนียวมะม่วงที่ได้รับความนิยมจากการแสดงของมิลลิ แร็ปเปอร์ชาวไทยชื่อดัง บนเวทีคอนเสิร์ต Coachella ซึ่งเป็นเทศกาลดนตรี ระดับโลก 

ความสำคัญของ Soft Power ต่อการทำธุรกิจยุค 5.0

1. สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี

แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนในเรื่อง Soft Power มีผลทำให้หลากหลายธุรกิจขยับขยายตัว และปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์เดิม ๆ ให้ดูดีขึ้น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสนใจและกระตุ้นให้เกิดความต้องการมากยิ่งขึ้น 

2. ช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ และรักษาฐานลูกค้าเดิม

การสร้าง Soft Power ยังช่วยให้เกิดฐานลูกค้าใหม่ ๆ นอกเหนือจากฐานลูกค้าเดิม โดยเริ่มต้นจากการดึงดูดและการบอกต่อ ทำให้ขยายตัวเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือการรักษาฐานลูกค้าเหล่านี้ให้สอดคล้องกับการเติบโตอย่างรวดเร็ว และรักษามาตรฐานที่ไม่ควรลดระดับลง

3. สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คือการเลือก Soft Power ที่จะมาเป็นเอกลักษณ์หรือจุดขายของแบรนด์ โดยต้องเลือกสิ่งที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเชิงวัฒนธรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทยอย่างชัดเจน เช่น การทำให้ข้าวเหนียวมะม่วงเป็น Soft Power จุดดึงดูดอาจอยู่ที่รสชาติแบบไทย โดยเลือกใช้ข้าวเหนียวและมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้รู้ว่านี่คือเอกลักษณ์ของชาติไทยที่หาได้แค่ที่นี่เท่านั้น

4. สร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจ

เมื่อเรามีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันแล้ว การตอกย้ำให้ Soft Power นั้นแข็งแกร่งขึ้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่ทำให้แข็งแกร่งพอ อาจกลายเป็นแค่กระแสชั่วคราวและดับหายไป ดังนั้น จึงต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจด้วยการทำโฆษณา ให้คนเห็นซ้ำ ๆ เพื่อย้ำจุดแข็งของธุรกิจ ทำให้คนจดจำและเกิดแรงจูงใจที่จะซื้อสินค้าของเราได้ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจให้ดีขึ้น 

ตัวอย่าง Soft Power ข้าวเหนียวมะม่วงของไทย

Soft Power เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้กว้างมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ควรมองข้ามสื่อมีเดียอื่น ๆ ซึ่งสามารถค้นหาวิธีดูเทรนด์ต่าง ๆ ทางการตลาดผ่าน Social Listening ที่จะช่วยให้คุณรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ และเทรนด์ดี ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย ลองเลย

เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI

กลยุทธ์การสร้าง Soft Power มีอะไรบ้าง ?

1. สร้างเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจ สินค้า และบริการ

การสร้าง Soft Power ให้แก่ธุรกิจ เริ่มต้นด้วยการสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจ หรือการเปลี่ยนความธรรมดาให้กลายเป็นความพิเศษที่น่าดึงดูด แบรนด์ต้องสร้างจุดขายของตนเองโดยการนำความสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ ทั้งในการสร้างเรื่องราว การผลิตสินค้า หรือบริการที่ดึงดูดและสร้างภาพลักษณ์ที่ประทับใจให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

2. สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าในทุกจุดสัมผัส เพิ่มความประทับใจและความผูกพัน

เมื่อสร้างความน่าสนใจและดึงจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ออกมาได้แล้ว การสร้างประสบการณ์และความประทับใจที่ดีแก่ลูกค้า ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้การสร้าง Soft Power ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้ เพราะสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจคือ Brand Experience หรือการทำ Touch Point ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้มีอารมณ์ร่วมเยอะขึ้น เป็น Experience Marketing ที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายของคุณเกิดความประทับใจและนำไปสู่การบอกต่อสิ่งดี ๆ แก่ลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ 

3. มีส่วนร่วมกับสังคมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม

หนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจในรูปแบบของ Soft Power คือการมีส่วนร่วมกับสังคม ผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่แบรนด์ได้ในเวลาเดียวกัน

4. สร้างนวัตกรรมและพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ อยู่เสมอ 

แน่นอนว่าหัวใจของการทำการตลาดของแบรนด์คือ จะต้องทันกระแสและสถานการณ์เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับการรับรู้ของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เช่น แบรนด์นันยางเคยเกาะกระแสการเปิดตัวเพลงใหม่จากวง BLACKPINK กับเพลง Pink Venom โดยเปิดพรีออร์เดอร์รองเท้าแตะช้างดาวสีประจำวง BLACKPINK ชมพู-ดำ ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาพร้อมยอดพรีออร์เดอร์ไปจำนวนมากให้แก่เหล่าแฟนคลับ

ตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ Soft Power

หลังจากได้เรียนรู้และทำความเข้าใจว่ากลยุทธ์การสร้าง Soft Power มีอะไรบ้างไปแล้ว ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ Soft Power กัน

Apple

  • ความเข้าใจ (Understanding) : Apple มีความเข้าใจลึกซึ้งในความต้องการและความพอใจของลูกค้า โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบสวยงาม ใช้งานง่าย และมีคุณภาพสูง นอกจากนี้ยังมีบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม ทำให้ลูกค้ายินดีจ่ายเพิ่มเพื่อรับประสบการณ์ที่ดีขึ้น
  • การสร้างความเชื่อมั่น (Credibility) : Apple มีความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการของตนเอง ซึ่งสิ่งสำคัญเหล่านี้จะช่วยสร้างความไว้วางใจจากลูกค้าได้เป็นอย่างดี

Nike

  • ความเข้าใจ (Understanding) : Nike เป็นกลุ่มธุรกิจที่ผลิตเสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ทางการกีฬา สร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด
  • การสร้างคุณค่า (Value Creation) : Nike มุ่งสร้างคุณค่าที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายและวัฒนธรรมการกีฬา ซึ่งมีผลต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการนำนักกีฬาชื่อดังมาเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

Starbucks

  • การสร้างอารมณ์ (Emotional Appeal) : Starbucks มีการสร้างประสบการณ์และบรรยากาศที่แตกต่าง ทำให้ลูกค้ารู้สึกอยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง ด้วยการบริการที่น่าสนใจของพนักงาน เช่น การเขียนชื่อลงบนแก้วแต่ละใบอย่างใส่ใจ และการนำเสนอรสชาติของเครื่องดื่มที่มีให้เลือกอย่างมากมาย รวมถึงเมนูที่มีเฉพาะในหน้าเทศกาล ทำให้ได้รับความสนใจจากเหล่าผู้บริโภคเป็นอย่างมาก 
  • การสร้างระบบค่านิยม (Value System) : Starbucks มีระบบค่านิยมที่เน้นความยั่งยืนด้วยการพยายามเข้าไปเป็นส่วนนึงในชีวิตประจำวันของทุกคนด้วยบรรยากาศที่อบอุ่นภายในร้าน และกลิ่นหอมของกาแฟ ที่ทำให้คุณสดชื่นได้ในยามเช้า นอกจากนี้ยังมีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามเทรนด์ โดยการเป็นผู้นำในวัฒนธรรมกาแฟของโลก ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งการสรรหาเมล็ดพันธุ์ใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลก หรือวิธีการชงกาแฟในรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับรสนิยมที่เปลี่ยนไป เช่น Starbucks Reserve หรือเมนูกาแฟ Nitro Cold Brew เพื่อแข่งขันกับแบรนด์กาแฟอินดี้รุ่นใหม่ ๆ 

Soft Power ถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สังคมที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ ดังที่มีคำกล่าวเล่นบนโลกโซเชียลฯ ว่า “ทุกสิ่งสามารถเป็น Soft Power ได้” ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ก็ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นจริง และเพื่อไม่ให้คุณพลาดกระแสสังคมออนไลน์ไป เราขอแนะนำเครื่องมือ Mandala Analytics จาก Mandala AI ที่มีฟีเจอร์ครบครัน ช่วยให้คุณมีวิธีดูเทรนด์ ค้นหาเทรนด์ พร้อมเก็บรวมรวบข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้ฟรีได้แล้ววันนี้

เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI
Blog Conversion Banner
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.