เราอยู่ในยุคที่ข้อมูลได้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แถมยังเกิดขึ้นมาได้ตลอดเวลา หนำซ้ำข้อมูลเหล่านั้นยังถูกบันทึกและแพร่หลายได้อย่างง่ายได้ด้วยด้วยเทคโนโลยี เรียกว่าทุกการเคลื่อนไหวของผู้คนสามารถถูกบักทึกเก็บโดย Web browser ได้ทั้งหมดเลย หากกล่าวให้เห็นภาพเลยคือ ไม่ว่าคุณจะทำการเสิร์ชหาสินค้า เข้าไปที่เว็บไซต์ไหน แพลตฟอร์มอะไร อยู่ที่หน้านั้นนานแค่ไหน ทุกอย่างถูกเก็บถูกเก็บไว้ทั้งหมดแล้ว
นั่นจึงทำให้ข้อมูลที่หลากหลายและจำนวนมากนี้กลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับนักการตลาดหรือธุรกิจในการนำไปใช้ต่อสำหรับการตลาดยุคนี้ หลาย ๆ ธุรกิจต่างเริ่มใช้ข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการทำธุรกิจ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล วางแผน และปรับใช้ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัวให้เกิดประโยชน์ที่สุด นี่จึงเป็นที่มาของ ‘เราอยู่ในยุคที่โลกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล’
วันนี้บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเจ้าข้อมูลเหล่านี้ ผ่านหลักการตลาด Data-driven Marketing และชี้ให้เห็นว่า การทำธุรกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้นมีประสิทธิภาพอย่างไร
Data-Driven Marketing คืออะไร
Data-Driven Marketing หรือ การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ถือเป็นแนวทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะเป็นการสร้างกลยุทธ์การตลาดโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคจำนวนมหาศาลทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้นักการตลาดได้รับข้อมูลเชิงลึกในด้านความต้องการ แนวทางในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า รวมไปถึงแนวโน้มพฤติกรรมของพวกเขาที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต
Data-Driven Marketing มีความสำคัญอย่างไรในธุรกิจปัจจุบัน
เพราะในการตลาดแต่ละยุคนั้นมีกรอบความคิดที่เหล่านักการตลาดให้ความสำคัญที่ต่างกัน ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยโดยรอบอย่าง ข้อจำกัดในด้านการสื่อสาร การจัดเก็บข้อมูล สภาพเศรษฐกิจ ความสนใจของผู้บริโภคในยุคนั้นๆ และรวมไปถึงศักยภาพของเทคโนโลยี
หลักการตลาด Data-driven Marketing ถือเป็นหลักการตลาดในยุคปัจจุบัน หรือ Marketing 5.0 ที่เน้นไปที่การทำความเข้าใจผู้คนไปพร้อม ๆ กับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย และด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีมากกว่ายุคก่อนมาก นั่นก็ทำให้การแพร่กระจายข้อมูลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคเองก็สามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายมากขึ้น มีโอกาสที่จะถูกโน้มน้าวด้วยเทรนด์ต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ซึ่งนั่นก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า Data-driven Marketing จึงได้กลายเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับธุรกิจในยุคนี้ เพราะเป้าหมายหลักของธุรกิจคือการสร้างกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าอยู่เสมอ เพราะเมื่อแบรนด์เป็นที่ถูกใจ นั่นก็หมายความว่ามีแนวโน้มที่จะสร้างยอดขายได้
แต่จะทำอย่างไรให้ตอบโจทย์พวกเขาได้อยู่ตลอด ? จะรู้ได้อย่างไรว่าความชอบของพวกเขาเปลี่ยนไปเมื่อไหร่ ? ข้อมูล คือตัวช่วยหลักในการหาคำตอบเหล่านั้น
เพราะเหตุใดถึงต้องทำ Data-Driven Marketing
1. ช่วยให้เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
เพราะพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าของแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย นั่นทำให้แบรนด์ต้องทำการวิเคราะห์ตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นอย่างเพศ อายุ แหล่งที่อยู่ รวมไปถึงความสนใจ มากไปกว่านั้นก็ยังมีข้อมูลยิบย่อยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่ง ๆ อีกด้วย การเก็บข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์สามารถสะท้อนความชอบ ความต้องการของพวกเขาได้ ทำให้แบรนด์สามารถสื่อสารและสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอบโจทย์พวกเขาได้นั่นเอง
2. ช่วยวางแผนการตลาดให้มีความแม่นยำมากขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากการการเคลื่อนไหวบนช่องทางต่าง ๆ ของแบรนด์ สามารถช่วยให้ธุรกิจวางแผนการตลาดได้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนที่แบรนด์ควรสื่อสารมากที่สุด, จุดใดใน Customer Journey ที่เกิด Conversion เยอะที่สุด, สารรูปแบบใดเป็นที่ถูกใจผู้คน, และ กลยุทธ์ทางการตลาดใดมีความเหมาะสมกับการสื่อสารแคมเปญ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว Data-driven Marketing ยังช่วยให้แบรนด์จัดการแผนทางการเงินว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้ว่าควรใช้งบประมาณในสัดส่วนเท่าใด ในแต่ละฝ่ายของธุรกิจ
3. สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า
ด้วย Data-driven Marketing นอกจากจะช่วยให้แบรนด์เข้าใจผู้บริโภคและวางแผนทางการตลาดได้อย่างแม่นยำแล้ว วิธีนี้ยังส่งผลให้แบรนด์สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าได้ในท้ายที่สุดอีกด้วย เพราะเมื่อแบรนด์รู้แล้วว่าลูกค้ามีความต้องการแบบไหนและมุมมองต่อแบรนด์ว่าอย่างไร ก็ทำให้แบรนด์สามารถปรับปรุงจุดด้อยและพัฒนาจุดแข็งของแบรนด์ได้ ทั้งในเรื่องของตัวสินค้าและการบริการลูกค้า เพื่อให้พวกเขามีประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์ตั้งแต่เริ่มรู้จักแบรนด์จนไปถึงหลังการขายเสร็จสิ้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็น Brand loyalty เกิดการซื้อซ้ำและมีฐานลูกค้าที่มั่นคงนั่นเอง
4. ช่วยให้สื่อสารแบรนด์ได้อย่างตรงจุด
การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้ธุรกิจรู้ถึงแนวทางการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด เช่นหากแบรนด์ทำการวิเคราะห์ลูกค้า แล้วแบรนด์พบว่ากลุ่มเป้าหมายกำลังประสบปัญหาหนึ่ง ๆ อยู่แบรนด์ก็สามารถสื่อสารหรือทำคอนเทนต์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาได้นั่นเอง ซึ่งนั่นก็เป็นการสร้างคุณค่าให้แก่พวกเขาอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้แบรนด์สามารถรู้ถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของคอนเทนต์ที่ทำให้พวกเขาหยุดอ่าน หรือหยุดดู จากการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นได้อีกด้วย เช่น
- คอนเทนต์สไตล์ไหนดึงดูดใจพวกเขา – Short-form video, Long-form video, มีสาระ, Entertainment, Edutainment
- องค์ประกอบอะไรในคอนเทนต์ที่พวกเขาชอบ – กราฟฟิค, รูปภาพ, กราฟ, มีม
- คอนเทนต์รูปแบบใดที่พวกเขาต้องการจะเสพย์ – Infographics, Case studies, Videos, Blog, How-to
5. ช่วยระวัง และแก้ไข้ Crisis Management ได้เป็นอย่างดี
เพราะการทำ Data-driven Marketing คือ การตามให้ทันข้อมูล และนำข้อมูลมาปรับใช้ให้ทันท่วงที ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้นักการตลาดสามารถคาดการณ์แนวโน้มจะที่เกิดขึ้นในระยะสั้นได้ แบรนด์สามารถวิเคราะห์โดยอิงข้อมูลเก่าที่เคยมีพร้อมกับข้อมูลในปัจจุบันได้ นั่นก็จะทำให้แบรนด์เห็นแพทเทิร์นของพฤติกรรมผู้บริโภครวมไปถึงแนวโน้มตลาดได้ และสามารถวางแผนตั้งรับมือได้ทัน หรือในกรณีที่เกิดวิกฤติขึ้นแล้ว การคอยตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายมองแบรนด์ว่าอย่างไร จุดสำคัญไหนที่ทำให้พวกเขาไม่พอใจ นั่นก็ช่วยให้แบรนด์จัดการกับปัญหาจากต้นตอได้ ก่อนที่สถานการณ์จะเลยเถิด
วิธีการสร้างกลยุทธ์การตลาดด้วยข้อมูลดาต้า
1. ตั้งเป้าหมายการใช้ข้อมูล: ก่อนจะเริ่มทำการเก็บข้อมูล อันดับแรกแบรนด์จะต้องมีเป้าหมายก่อนว่าข้อมูลนั้น ๆ จะเป็นประโยชน์หรือช่วยธุรกิจอย่างไร เพราะหากคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจน นั่นก็ช่วยทำให้คุณรู้ด้วยอีกว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับข้อมูลที่ได้มา
2. เริ่มเก็บข้อมูล: เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว แบรนด์ก็ต้องพิจารณาว่าข้อมูลแบบไหนที่ควรทำการเก็บเพื่อนำมาวิเคราะห์และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ จากนั้นเริ่มทำการรีเสิร์ชว่าคุณสามารถหาข้อมูลเหล่านั้นได้จากช่องทางไหนบ้าง
3. รวบรวมและจัดการข้อมูล: ขั้นตอนถัดไปคือการเลือกช่องทางหรือแพลตฟอร์มในการจัดเก็บข้อมูลและ หากเลือกแหล่งจัดเก็บได้แล้ว ควรจัดแบ่งตามหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ความสะดวกในการนำข้อมูลไปใช้
4. สร้างทีมในการวิเคราะห์ข้อมูล: ในการทำแคมเปญหนึ่ง ๆ การสร้างทีมหรือ outsource ทีมที่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะได้ใช้ข้อมูลที่ได้มาให้มีประสิทธิสูงสุด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการตลาดของแต่ละแบรนด์ด้วยเช่นกัน
5. ปรึกษาเรื่องสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กร
เพราะข้อมูลขององค์กรนั้นถือมีความสำคัญอย่างมาก นั่นหมายความว่าควรมีการป้องกันการรั่วไหล โดยจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลให้เพียงแค่คนภายในองค์กรเท่านั้น ทั้งนี้ธุรกิจหนึ่ง ๆ อาจกำหนดได้ว่า ฝ่ายหรือทีมไหนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้และเข้าถึงได้มากแค่ไหน ตามความเกี่ยวข้องของแคมเปญ
6. วัดและติดตามผล: มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ธุรกิจจำเป็นต้องมีกระบวนการในการติดตามข้อมูลและวัดผลอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อคอยวัดผลลัพธ์ของแคมเปญว่ามีประสิทธิมากแค่ไหน เพราะหากได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ นั่นก็จะทำให้แบรนด์รู้ได้ว่าข้อมูลที่ถูกนำไปใช้ในการสร้างกลยุทธ์ อาจจะยังไม่สอดคล้องกับเป้าหมายทางการตลาดที่ตั้งไว้และทำการปรับปรุงแผนการในภายหลังได้
ข้อมูลสามารถได้รับมาจากไหนบ้าง
1. ข้อมูลแบรนด์
แหล่งข้อมูลแหล่งแรกที่ธุรกิจสามารถหาได้เลยคือข้อมูลของแบรนด์เอง ธุรกิจสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้โดยตรงจากลูกค้าของแบรนด์ผ่าน Touch point ต่าง ๆ เช่น การซื้อออนไลน์ แบบสำรวจลูกค้าและโปรแกรมสะสมคะแนนของสมาชิก เป็นต้น
หนำซ้ำข้อมูลประเภทนี้ที่เป็นข้อมูลที่มีค่าอย่างมาก เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดต่าง ๆ ของลูกค้า ซึ่งหากนักการตลาดทำการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเหล่านี้ ก็จะสามารถรู้ถึงข้อมูลเบื้องหลังที่สะท้อนถึงความชื่นชอบของลูกค้า พฤติกรรมการซื้อ และข้อมูลทางสถิติทางประชากร ช่วยให้พวกเขาสร้างแคมเปญการตลาด การสื่อสารแบรนด์ ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของพวกเขาได้
นอกจากนี้ ข้อมูลของแบรนด์นี้ สามารถช่วยชี้ให้เห็นรูปแบบและแนวโน้มของลูกค้า รวมไปถึงเทรนด์ทางการตลาดได้ ทำให้ธุรกิจสามารถใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดในอนาคตได้
2. ข้อมูลจาก Partnership หรือ Influencer ที่เคยว่าจ้าง
นอกจากข้อมูลจากตัวแบรนด์เองนั้น ธุรกิจยังสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีค่าจากคู่ค้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอื่น ๆ หรือเหล่าอินฟลูเอนเซอร์หรือ KOL ได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นแบรนด์เสื้อผ้า ก็สามารถทำ Partnership ร่วมกับบริษัท E-commerce ในการส่งเสริมการขายและแชร์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคร่วมกันได้ เช่น พฤติกรรมออนไลน์ เครือข่ายทางสังคม และรูปแบบการซื้อ เป็นต้น
การแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้นักตลาดสามารถเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ลึกซึ้งมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้แบรนด์เพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าได้อีกด้วย
3. ข้อมูลจาก 3rd Party เช่น social media
นอกจากนี้ ก็ยังมีข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เช่น แพลตฟอร์ม Social media ซึ่งทุกวันนี้ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าอย่างมาก ด้วยจำนวนผู้ใช้ Social media ในมีประเทศไทยที่มีมากถึง 58.1 ล้านคน โดยเฉลี่ย ถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลย ชี้ให้เห็นถึงช่องทางในการวิเคราะห์ผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ รวมกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้อย่างดี
นักตลาดสามารถวิเคราะห์ลูกค้าได้จาก ตัวชี้วัดต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านั้น เช่น ยอดการกดไลค์ แชร์ และคอมเมนต์ เพื่อทำความเข้าใจว่าคอนเทนต์ใดสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
มากไปกว่านั้นการคอยตรวจสอบการเคลื่อนไหวของผู้คนบนช่องทางออนไลน์ ยังสามารถทำได้ด้วยการทำ Social monitoring ที่เป็นการคอยติดตามบทสนทนาของผู้คน เทรนด์ หรือหัวข้อต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่พูดถึง
ซึ่งการทำ Social monitoring จะมีประสิทธิภาพอย่างมากหากใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย อย่าง Mandala AI ที่มีฟีเจอร์ Insight Analytics ที่ช่วยให้นักการตลาดติดตามการเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์แบบเรียลไทม์ ให้ข้อมูลที่ละเอียด อย่างหัวข้อที่กำลังเป็นที่นิยม หรือ Sentiment บนหัวข้อนั้น ๆ ทำให้นักการตลาดนำข้อมูลเหล่านั้นไปช่วยในการวางแผนการสร้างคอนเทนต์และกลยุทธ์การตลาดที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทภาพสูงสุด
ตัวอย่างธุรกิจที่ได้มีการทำ Data-Driven Marketing
1. Starbucks
แบรนด์ร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks เองก็ได้มีการใช้ Data-driven Marketing โดยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความชอบของลูกค้า เมนูที่ลูกค้าสั่งบ่อย ประวัติการซื้อ สถานที่ตั้งผ่านแอปบนมือถือและโปรแกรมสะสมคะแนน จากนั้น Starbucks จะนำข้อมูลนี้จะใช้ในการแนะนำโปรโมชั่น เมนูแะนำ และรางวัลเฉพาะบุคคล ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมแบรนด์ แถมยังขับเคลื่อนธุรกิจให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำไปในตัวอีกด้วย
2. Disney+
Disney+ แพลตฟอร์ม Streaming หนังและซีรีส์ ที่กำลังมาแรงอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม ซึ่งแบรนด์เองก็ได้ใช้ Data-driven Marketing เข้ามาช่วยให้แบรนด์มอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้ในการแนะนำหนังหรือซีรีส์เฉพาะผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งก็เป็นการอิงข้อมูลการเสิร์ช พฤติกรรมการรับชม เรื่องไหนที่ผู้ใช้ดูจบหรือเรื่องไหนที่ผู้ใช้กดออกระหว่างทาง เป็นต้น
3. Airbnb
Airbnb แพลตฟอร์มจัดหาที่พักที่ให้บริการโดยโฮส ก็ได้ใช้การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มให้ทั้งเจ้าของที่พักและแขก โดยแบรนด์จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลรายการที่พัก รีวิวของผู้ใช้ และรูปแบบการจองเพื่อให้คำแนะนำที่พักแบบเฉพาะตัวแก่ผู้ใช้ นอกจากนี้ Airbnb ยังใช้อัลกอริธึมการกำหนดราคาแบบไดนามิกเพื่อช่วยเจ้าของที่พักกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง ความต้องการ และที่พักที่มีความใกล้เคียงกัน
4. Spotify
Spotify แพลตฟอร์ม Streaming เพลง ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ก็ได้มีการใช้ Data-driven Marketing ในธุรกิจ โดยมีฟีเจอร์ Spotify Wrapped ที่เป็นการ รวบรวมข้อมูลของผู้ใช้จากการฟังเพลงทั้งปี มารวบรวมและสร้างเป็น Playlist ที่ Personalized ให้เฉพาะบุคคล ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้อย่างมาก
5. Nike
Nike เองก็ได้ใช้ประโยชน์จากการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลผ่านแอป NikePlus และโปรแกรมสมาชิก ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้ใช้ การเลือกรองเท้า และประวัติการซื้อ โดยระบบของแบรนด์จะทำการแนะนำผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลและโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะบุคคลให้แก่ลูกค้า ซึ่งแนวทางนี้ไม่เพียงแต่กระตุ้นยอดขาย แต่ยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวสำหรับกลุ่มคนที่ชื่นชอบ Nike อีกด้วย
เข้าใจผู้บริโภคด้วย Data-driven Marketing
Data-driven Marketing ทำให้เราเห็นได้เลยว่าการใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นมีคุณค่าและสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับแบรนด์ได้ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายของตัวเองแล้ว ยังทำให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้นไปปรับใช้กับกลยุทธ์การตลาดได้อีกหลายทาง แถมยังช่วยให้ธุรกิจ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าของแบรนด์ สร้างฐานลูกค้าใหม่ และกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นได้ในท้ายที่สุด
มากไปกว่านั้นจากตัวอย่างทั้ง 5 แบรนด์ที่เราได้ทำความเข้าใจกันไปนั้น ก็ได้สะท้อนถึงความสำคัญของ Data-driven Marketing ในยุคที่โลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้แต่แบรนด์ระดับโลกยังให้ความสำคัญกับข้อมูลและกลยุทธ์นี้ สำหรับธุรกิจ SME แล้วการนำกลยุทธ์นี้ไปปรับใช้ตามความเหมาะสมทางธุรกิจก็ถือเป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์และช่วยให้แบรนด์ของคุณประสบยความสำเร็จได้อย่างแน่นอน