Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

OKR คืออะไร ดัชนีชี้วัดความสำเร็จขององค์กร

OKR คืออะไร ดัชนีชี้วัดความสำเร็จขององค์กร

OKR คืออะไร

OKR ย่อมาจาก Objective and Key Results เป็นเครื่องมือในการวัดผลความสำเร็จในองค์กรผ่านการกำหนดเป้าหมาย (Objective) และผลลัพธ์ที่ชี้วัดว่าเราได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Key Results) 
OKR เป็นเครื่องมือวัดผลที่ได้รับความนิยมในองค์กรสมัยใหม่ แทนการใช้ KPI (Key Performance Indicator) ที่เน้นแต่ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญว่าผลลัพธ์นั้นไปตอบโจทย์เป้าหมายอะไรในการทำงานครับ

OKR เเตกต่างกับ KPI อย่างไร

kpi vs okr

องค์ประกอบของการทำ OKR มีอะไรบ้าง

การทำ OKR ไม่ได้มีแต่การกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์ชี้วัดความสำเร็จเท่านั้น แต่ควรเป็นไปตามหลักการ SMART ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญเหล่านี้

Specific: เป้าหมายและผลลัพธ์ของเราควรมีความเจาะจง ทำอะไรไปเพื่ออะไร อะไรคือสิ่งที่วัดว่าเราบรรลุตามเป้าหมาย เพื่อให้ง่ายต่อการทำตาม 

Measurable: ผลลัพธ์ของเราต้องวัดได้ เพื่อสร้าง Business Impact ที่จับต้องได้

Achievable: เป้าหมายและผลลัพธ์ของเราต้องตั้งอยู่บนควาเป็นไปได้ สามารถเอื้อมถึงและจัดการได้ ไม่ตึงหรือสูงเกินไปจนสร้างความเครียดให้พนักงาน

Relevant: เป้าหมายและผลลัพธ์ของเราควรมีความสอดคล้องกับค่านิยมขององค์กร สินค้า หรือบริการที่เราขาย Time-Bound: มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ว่าควรบรรลุ OKR ภายในระยะเวลาเท่าไร 1 เดือน 3 เดือน หรือ ครึ่งปี ขึ้นอยู่กับความยากของเป้าหมายที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของการทำ OKR

1. พนักงานเห็นคุณค่าของงานที่ทำ

การให้พนักงานเป็นผู้กำหนดเป้าหมายของงานที่ทำด้วยตัวเองช่วยให้พวกเขาเข้าใจคุณค่าของงานมากขึ้น ว่าสิ่งที่ทำนั้นให้ประโยชน์อะไร หรือตอบโจทย์องค์กรและ passion ของตัวเองในแง่ไหน แทนที่จะเป็นความรู้สึกว่าโดนบังคับให้ทำอะไรสักอย่าง โดยไม่มีการถามความเห็น

2. ได้ความคิดและมุมมองใหม่ ๆ

การทำ OKR ช่วยให้พนักงานและเจ้านายเห็นความเป็นไปได้ที่อีกฝ่ายอาจมองข้าม การแลกเปลี่ยนกันช่วยให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ในการทำงาน ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร และหลายองค์กรในปัจจุบันก็ไม่ได้จำกัดการทำ OKR อยู่ระหว่างพนักงานและเจ้านายเท่านั้น แต่ยังมีการแชร์ความเห็นกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อเติมเต็มให้ OKR ของพนักงานแต่ละคนมีความรอบด้านมากขึ้น

3. ผลลัพธ์มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาดและบริษัท

OKR เป็นสิ่งที่บริษัทมักจัดทำในทุกไตรมาส ในระยะเวลา 3 เดือนจะมีการพูดคุยเพื่อปรับ OKR ใหม่ ซึ่งเหมาะสมกับยุคปัจจุบันที่ตลาดเปลี่ยนแปลงค่อนข้างไว สิ่งที่ดีใน 3 เดือนที่แล้วอาจจะไม่ดีอีกแล้วในตอนนี้ การได้รีเฟรชเป้าหมายและกำหนดการวัดผลใหม่บ่อยๆ จึงช่วยให้เราสร้างสรรค์งานที่สอดคล้องกับปัจจุบันได้มากขึ้น

4. ลดความเครียดของพนักงาน

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่า OKR จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า KPI ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกกดดันน้อยลง และอยู่ในสภาพอารมณ์ที่พร้อมจะสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น ต่างกับการใช้ KPI ที่มีลักษณะ Top-down ซึ่งบีบพนักงานให้ต้องทำได้ตามเป้าเท่านั้น

5. รักษาคนทำงานไว้ได้

คนในยุคปัจจุบันมองหาองค์กรที่ฟังเสียงของพนักงาน และอยากมีส่วนร่วมกับที่ทำงานมากขึ้น การทำ OKR ช่วยทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรใส่ใจความเห็นและความต้องการของพวกเขา ไม่ได้เห็นเป็นลูกจ้างที่มีหน้าที่ตามสั่ง

mandala banner

ตัวอย่างของการทำ OKR

ตัวอย่าง OKR ฝ่ายการตลาด (Marketing)

Objective: เพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ (Brand Awareness) 10% ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2023

เป้าหมายข้างต้นมีความเฉพาะเจาะจง มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน และสามารถทำได้จริง ซึ่งเป็นไปตามหลักการ SMART

Key Results:

  • สร้างโฆษณาที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ 1 ล้านคน
  • เพิ่มผู้ติดตามบนช่องทาง Facebook ให้ได้ 50,000 คน
  • เพิ่ม Engagement Rate ให้ได้ 3%

จะเห็นได้ว่าการกำหนด Key Results ที่ดีควรจับต้องและวัดได้ เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เป็นที่พอใจของทั้งองค์กร เจ้านาย และตัวพนักงานเอง

ตัวอย่าง OKR ฝ่ายบุคคล (Human Resources)

Objective: ลดอัตราการลาออกของพนักงานให้ได้ 15% ภายในครึ่งปีแรกของ 2023

นอกจากจะเป็นไปตามหลักการ SMART แล้ว เป้าหมายข้างต้นยังมีความสอดคล้องกับการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร ที่ต้องการรักษา Talent ที่มีความสามารถไว้

Key Results:

  • จัด 1-1 Conversion ระหว่างพนักงานและเจ้านายทุก 2 อาทิตย์
  • แก้ปัญหาที่ได้รับรายงานให้ได้ภายในระยะเวลา 3 วัน 
  • จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจในการทำงาน และวิเคราะห์ความคืบหน้าทุกเดือน

Key Results เหล่านี้มีความเหมาะสม และตอบโจทย์เป้าหมายที่เราตั้งไว้

ตัวอย่าง OKR ฝ่าย IT

Objective: พนักงาน 50% ขององค์กรต้องมีความพร้อมในการใช้ระบบ ERP ใหม่ขององค์กรภายใน Q1 ปี 2024

เป็นการตั้งเป้าหมายที่ Specific, Time-bound, Achievable และมีความสอดคล้องกับแผนกงานที่ทำ

Key Results:

  • จัด Training Module ให้พนักงาน 1 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ ลำดับตามขั้นตอนการใช้
  • จัด Q&A session ให้พนักงานสามารถเข้ามาถามตอบแบบ Live ทุก 2 อาทิตย์
  • ตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้งานระบบผ่าน Hot Desk ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

ทั้งหมดล้วนเป็น Key Results ที่จะช่วยให้พนักงานสามารถบรรลุ Objective ที่ตั้งร่วมกันกับหัวหน้างานได้ ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด

mandala banner

สรุป

OKR เป็นเครื่องมือวัดผลความสำเร็จที่ทั้งทำได้ง่าย และมีความรอบด้านกว่า KPI ทั้งยังเป็นการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและหัวหน้างาน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยเป้าหมายเดียวกัน สามารถนำไปปรับใช้ได้กับองค์กรทุกขนาด ตั้งแต่ Startup ไปจนถึง Cooperate ครับ

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.