Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

รู้จัก ROI คืออะไร ? การวัดผลการตลาดที่ผู้บริหารมักต้องการคำตอบ

รู้จัก ROI คืออะไร ? การวัดผลการตลาดที่ผู้บริหารมักต้องการคำตอบ

ROI เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ และการตลาด เพราะช่วยให้นักลงทุน เจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมของ “โอกาส” ในการทำธุรกิจ โดยอิงตัวเลขที่แสดงอัตราแนวโน้มของเงินที่ต้องใช้ลงทุนในหลักทรัพย์หนึ่ง ๆ นำไปสู่การวางแผนตัดสินใจ วางกลยุทธ์ทำธุรกิจ เพื่อสร้างกำไรได้มากขึ้นในโลกธุรกิจ นี่เองที่นักลงทุน และนักการตลาดจำเป็นต้องรู้ ต้องทำความเข้าใจกับ ROI เมื่อต้องตัดสินใจทำการตลาดภาพรวมใหญ่

ROI คืออะไร

roi

ROI คือ ตัวชี้วัดการสร้างกำไรของการลงทุน ย่อมาจาก Return of investments มักคำนวณจากการหักลบต้นทุนที่ลงทุนตั้งแต่แรก นำมาหารกับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการลงทุนนั้น แล้วคูณด้วย 100 โดยทั่วไปแล้ว การปรับใช้ ROI (Return of Investments) คือ นำไปใช้วัดการทำกำไรของหุ้น ตัดสินใจลงทุนธุรกิจ รวมทั้งประเมินค่าความสำเร็จจาการทำธุรกรรมในอสังหาริมทรัพย์ ถือได้ว่ามีนำไปปรับใช้ได้ค่อนข้างหลากหลาย 

ถึงอย่างนั้น ROI ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวชี้วัดการลงทุนระยะยาว นักลงทุนจึงต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบก่อนตัดสินใจลงทุนใด ๆ ด้วยทุกครั้ง


ทำไม ROI ถึงสำคัญสำหรับผู้บริหาร


ตามที่กล่าวไปข้างต้น ROI ถือเป็นกุญแจวัด Performance ที่ประเมินความสำเร็จของธุรกิจได้ โดยวัดประสิทธิภาพของการลงทุนว่าจะได้กลับคืนมาเท่าไหร่ หากกล่าวในมุมของนักลงทุนหรือผู้บริหารแล้วนั้น ROI ถือเป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ และ “ธงหลัก” ที่ช่วยให้วางแผนทำการตลาดได้ในอนาคต ช่วยให้เห็นว่าควรบริหารธุรกิจ และเดินเกมการตลาดไปในทิศทางใด แล้วจะปรับเพิ่มประสิทธิภาพของการทำการตลาด เพื่อไปให้ไปถึงเป้าหมายขององค์กรได้อย่างไร

สูตรคำนวน ROI

โดยทั่วไปแล้ว สูตรคำนวณ ROI หรือ Return of Investments มักคำนวณจากกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนนั้น นำมาหารกับเงินลงทุน ก่อนจะนำไปคูณด้วย 100 เพื่อหาค่า ROI ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยเข้าสูตรได้ ดังนี้

example roi

ตัวอย่างการใช้สูตร ROI

จากสูตรคำนวณ ROI ข้างต้น ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณหาค่า ROI ตามตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่  1

นาย A เป็นเจ้าของกิจการขายของออนไลน์หรือเว็บไซต์ E-Commerce เว็บไซต์หนึ่ง ซึ่งเน้นขายสินค้าประเภทของเล่นเด็กเล็ก เมื่อใกล้ถึงช่วงวันหยุดยาว นาย A ต้องการเพิ่มยอดขายสั่งซื้อของเล่นในช่วงนั้น จึงตัดสินใจลงทุนทำแคมเปญยิงโฆษณาออนไลน์ โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมด 10,000 บาท  สำหรับทำยิงโฆษณาในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ของแบรนด์

เมื่อถึงช่วงวันหยุดยาว นาย A คำนวณกำไรสุทธิทั้งหมดที่ขายสินค้าได้ คือ 35,000 บาท ซึ่งมากกว่ายอดขายในช่วงวันหยุดยาวเมื่อปีที่แล้ว หากนาย A ต้องการคำนวณหาค่า ROI ของการลงทุนครั้งนี้ จะเข้าสูตรได้เป็น

example roi

ตัวอย่างที่ 2

มารีเป็นเจ้าของร้านเบเกอรี่แห่งหนึ่งในย่านสีลม โดยมารีเห็นว่าพักหลังร้านขายขนมได้น้อยลง จึงคาดว่าน่าจะมาจากคุณภาพสินค้าที่อาจไม่ถึงตามมาตรฐานของลูกค้าที่เคยซื้อไปกิน ทำให้ตัดสินใจซื้อเตาอบขนมอบเครื่องใหม่ เพื่อช่วยปรุงเบเกอรี่ให้มีคุณภาพที่ดีมากขึ้น 

มารีลงทุนซื้อเตาอบขนมใหม่ในราคา 7,000 บาท เมื่อครบสิ้นปี มารีขายเบเกอรี่ที่ทำจากเตาอบใหม่ ได้รายได้อยู่ที่ 50,000 บาท ซึ่งมากกว่ายอดขายที่เคยทำได้เมื่อปีก่อน หากมารีต้องการคำนวณหา ROI จากการลงทุนซื้อเตาอบใหม่แล้วนั้น จะได้เป็น

roi

ROAS คืออะไร แตกต่างจาก ROI อย่างไร


เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยว่า ROI กับ ROAS ต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ROAS หรือ Return on Ad Spend คือ ตัวชี้วัดทางการตลาดอย่างหนึ่ง

ซึ่งเน้นวัดปริมาณรายได้ที่ได้จากการลงโฆษณา โดยคิดต่อหน่วยดอลลาร์ กล่าวได้ว่าวัดผลตอบแทนของแคมเปญโฆษณาหนึ่ง ๆ ในขณะที่ ROI วัดผลตอบแทนทั้งหมดจากการลงทุนทุกอย่าง นี่เองที่ทำให้เห็นว่า ROI แสดงภาพรวมการวัดผลลงทุนที่ใหญ่กว่า ROAS เพราะ ROI พิจารณาถึงการสร้างกำไร ส่วน ROAS มองเพียงรายได้ตอบแทนเท่านั้น

mandala banner

ประโยชน์ของ ROI

ลองมาดูกันว่า ROI มีข้อดีอย่างไรบ้าง

1.เปรียบเทียบคู่แข่ง หนึ่งในวิธีที่จะทำให้ประเมินได้ว่า ธุรกิจเติบโตไปในระดับไหน ถือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ก็ต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งในแวดวงอุตสากรรมธุรกิจเดียวกัน โดยใช้ ROI เป็นเครื่องมือช่วยชี้วัดอัตราการเติบโต และประสบความสำเร็จของธุรกิจ หากค่า ROI ขององค์กรอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคู่แข่งในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ก็ถือว่าได้รับผลตอบแทนกลับมาในจุดที่ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่หากค่า ROI ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแล้วนั้น นักลงทุนอาจต้องพิจารณาต่อไปว่า จะยกระดับยอดขายของธุรกิจไปได้ด้วยวิธีใดบ้าง รวมทั้งควรปรับเปลี่ยนแนวทางทำธุรกิจอื่นอย่างไรอีกต่อไป

2.ช่วยกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้ว ROI จะใช้เป็นตัวชี้วัดสองทาง ทางแรกคือช่วยในการตัดสินใจลงทุน โดยนักลงทุนอิงจากตัวเลขกำไรหักลบกับเงินลงทุน เพื่อใช้ประเมินการลงทุนครั้งต่อไปจะใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับมาตามที่ต้องการ อีกทางคือใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด โดยนักการตลาดใช้เป็นตัวชี้วัดว่างเงินลงทุนในแคมเปญทำการตลาดนั้น ได้ผลตอบแทนกลับมาคุ้มค่าหรือตรงตามเป้าหมายทำการตลาดหรือไม่ ควรโยกย้ายจัดสรรเงินลงทุนกับแคมเปญการตลาดแบบใดมากกว่า

3.มองเห็นโอกาสการลงทุน เพราะ ROI แสดงอัตราประสบความสำเร็จที่นักลงทุนได้รับจากการลงทุนหลักทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจต่าง ๆ โดยนักลงทุนจะประเมินได้ว่า การลงทุนแต่ละครั้งนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร อยู่ระดับไหน โดยอิงจากผลตอบแทนที่ได้รับกลับมา 

4.ประเมินการเติบโตขององค์กร โดยทั่วไปแล้ว การซื้อหลักทรัพย์เพิ่มหรือลงเงินโฆษณามากขึ้นนั้นมักช่วยเพิ่มยอดขายตามไปด้วย ถึงอย่างนั้น นักลงทุนอาจประเมินตัวเลขยอดขายที่แท้จริงได้ยาก การปรับใช้ ROI เข้ามานั้นจึงช่วยให้นักลงทุนคาดการณ์อัตราการเติบโตของตัวเลขดังกล่าวได้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนเงินลงทุนสำหรับลงทุนหรือทำการตลาดสำหรับเพิ่มยอดขายต่อไปได้ง่ายขึ้น

ควรกำหนดใช้ ROI ช่วงใด

จริง ๆ แล้ว การกำหนดใช้ ROI ทำได้หลากหลายกรณี ซึ่งมักใช้ในกรณีต่อไปนี้

  • วัดมูลค่าการลงทุน ไม่ว่านักลงทุนจะลงทุนกับหลักทรัพย์เดียว หรือลงทุนหลายหลักทรัพย์ก็ปรับใช้ ROI มาช่วยประเมินการสร้างกำไรได้ โดยพิจารณาจากราคาซื้อหลักทรัพย์แต่ละอัน ควบคู่กับกำไรสุทธิรายปี และจำนวนปีที่ถือครองหลักทรัพยย์นั้น เพื่อหามูลค่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน 
  • วัดผลกลยุทธ์การตลาด นักการตลาดสามารถใช้ ROI ช่วยวัดผลความสำเร็จในการทำการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าได้ รวมทั้งยังช่วยให้มองเห็นอัตราความสำเร็จการปิดยอดขายได้ ทำให้เห็นว่า เงินลงทุนที่ใช้ทำแคมเปญการตลาดแต่ละแคมเปญนั้น ได้ผลตอบแทนคืนกลับมาเท่าไหร่
  • ประเมินอัตราเงินลงทุนทั้งหมด เงินลงทุนทั้งหมดหรือสินทรัพย์รวมช่วยให้นักลงทุนมองเห็นภาพรวมการผลิต จนนำไปสู่การตัดสินใจเพิ่มการผลิตสำหรับสร้างอัตราการขายสินค้า และบริการที่เพิ่มขึ้นได้ หากเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้นักลงทุนประเมิน ROI ได้ โดยอิงจากยอดขายของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น

เว็ปคำนวณ ROI

หากคุณเป็นนักลงทุนหรือนักการตลาดมือใหม่ ที่สนใจ และเริ่มต้นปรับใช้ ROI อาจเริ่มจากการใช้เครื่องมือเว็บคำนวณ ROI เหล่านี้เป็นแนวทางเบื้องต้นก่อนได้

AppMaster

appmaster roi

เว็บไซต์ช่วยคำนวณ  ROI แบบอัตโนมัติ มาพร้อมฟีเจอร์ตัวสร้างแอปลพิเคชัน Web apps designer และอีกหลายฟังก์ชัน ที่ช่วยคำนวณ ROI แบบง่ายและเร็ว เพราะไม่มีการสร้างรหัส และโค้ดที่ซับซ้อน ช่วยลดภาระงาน ทั้งในด้านต้นทุน การสร้างเครื่องมือคำนวณ ROI ไว้ใช้เอง และความสะดวกสบายในการเรียนรู้ และใช้งาน สนใจใช้งาน AppMaster คลิก

Miniwebtool

miniwebtool roi

ถือเป็นเว็บไซต์รวมเครื่องมือคำนวณ และตัวชี้วัดการทำกำไรหลายแบบ โดยหนึ่งนั้นก็มีส่วนของการคำนวณ ROI ไว้ให้บริการเช่นกัน ข้อดีของเว็บคำนวณ ROI นี้ คือ ใช้งานง่าย รวดเร็ว และสะดวกสบาย โดยกรอกตัวเลขตามรายการที่คำนวณ และกดเลือกคำนวณ ROI จากนั้นระบบจะประมวลผลออกมาให้ทันที Miniwebtool จึงเหมาะกับการคำนวณหาผลตอบแทนจากการลงทุนแบบเร็ว และง่ายในเบื้องต้น

Calculoid

calculoid roi

อีกหนึ่งเว็บคำนวณ ROI สำหรับนักลงทุน และเจ้าของธุรกิจที่หาเครื่องมือไว้ใช้งานประจำ และแม่นยำ จุดเด่นคือ ไม่ต้องใส่รหัสหรือโค้ดที่ซับซ้อน ฝังเข้ากับเว็บไซต์ได้ง่าย เชื่อมต่อกับ Zapier ได้ รวมทั้งรองรับการใช้งานบนมือถือ 100% ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนใช้งาน Calculoid ฟรีก่อนได้

HubSpot ROI Calculator

hubspot roi

หากใครเป็นนักการตลาดหรือสนใจเรื่อง Inbound Marketing มานั้น คงคุ้นเคยกับชื่อของ HubSpot ไม่น้อย นอกจากได้ชื่อว่าเป็นฮับความรู้ทางการตลาดดิจิทัลน้ำดีแล้ว HubSpot ยังมีเครื่องมือรองรับใช้งานทางการตลาด และการลงทุนอย่างเว็บคำนวณ ROI ด้วย ความแตกต่างของเว็บคำนวณ ROI นี้ คือ จะเน้นคำนวณผลตอบแทนเชิงการตลาด และการขาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำแคมเปญแต่ละอย่างค่อนข้างละเอียด เหมาะกับนักการตลาด และนักขาย

mandala banner

ทีมการตลาดของคุณได้มีการกำหนด ROI แล้วหรือยัง

เพราะ  ROI เป็นมากกว่าตัวเลขชี้วัดว่าองค์กรทำกำไรได้เท่าไหร่ แต่ยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพของการลงทุนในแต่ละครั้งได้ ตลอดจนผลลัพธ์ปลายทางเมื่อเทียบกับคู่แข่งหรือภาพรวมในอุตสาหกรรมของธุรกิจนั้นทั้งหมด ไม่ว่าตอนนี้คุณจะเริ่มวางแผน และลงมือทำการตลาดไปถึงขั้นไหนแล้ว การปรับใช้ ROI เข้ามาในงานการตลาดจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.