Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

แจกฟรี 10 Social Listening Tools ที่นักการตลาดควรใช้ในปี 2024

แจกฟรี 10  Social Listening Tools ที่นักการตลาดควรใช้ในปี 2024

อยากรู้ว่าอะไรฮิต เทรนด์ไหนกำลังมา อยากทำการตลาดแบบเรียลไทม์มาร์เก็ตติ้ง หรืออยากจะหาไอเดียเพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้คุ้มกับการลงทุน หากใช้วิธีการเดิม ๆ ก็อาจไม่ทันกระแส หรือออกตัวช้ากว่าแบรนด์อื่น ๆ กว่าจะได้เริ่มก็อาจจะช้าจนโดนมองว่าเกาะกระแสได้

วันนี้เราเลยรวบรวม ‘10 Social Listening Tools’ ที่คัดสรรมาให้กับนักการตลาดอย่างเรา ๆ ได้ลองเอาไปใช้ดูเทรนด์ ดูกระแสที่กำลังเกิดขึ้นในโลกออนไลน์รวมถึงได้เอาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดที่วางเอาไว้ในแต่ละได้ไตรมาสอีกด้วย อย่ารอช้าตามมาดูไปพร้อมกันเลย

ทำความรู้จักกับ ‘Social listening tools’

Social Listening

Social Listening Tools คือ เครื่องมือที่เอาไว้ดูเทรนด์ ดูกระแสที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกนักการตลาด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ได้นำไปเทรนด์หรือกระแสที่ฮิตจากโลกออนไลน์ไปวิเคราะห์ข้อมูลประกอบหรือวางกลยุทธ์รับมือกับลูกค้าได้อย่างเหมาะสม รวมถึงนำไปวางแผน ‘Crisis Management’ และ ‘Online Marketing’ ไปพร้อม ๆ กันได้เลย

หากมีเครื่องมีเหล่านี้เป็น Social Eye ในการคิดแคมเปญทางการตลาด ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการรีเสิร์ชหรือทำการเก็บสถิติทั้งออฟไลน์และออนไลน์ร่วมกัน รับรองได้ว่าการคิดแคมเปญ หรือการทำการตลาดที่วางไว้จะลงตัวและตรงเป้ามากขึ้น ช่วยให้เข้าใจ ‘Persona’ หรือเห็นภาพการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ของลูกค้าเรามากยิ่งขึ้นนั่นเอง

10 เครื่องมือ Social listening Tools ที่แนะนำ

ในบทความนี้เราอยากจะแนะนำ 10 เครื่องมือที่น่าสนใจ คือ Mandala Cosmos, Fanpage Karma, Google Trend, Google Alert, Hootsuite, Wisesight Trend, Buzzsumo, Keyhole, Advanced Search และ Exolyt ซึ่งเครื่องมือแต่ละตัวที่ยกมาให้นั้นย่อมมีหน้าตาและการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่หลักการใช้งานก็ยังคงเหมือนกันและมีจุดเด่นต่างกัน ก็ขึ้นอยู่กับจริตและการเลือกใช้งานของแต่ละคนนั่นเอง ลองมาดูข้อดี ลองตัดสินใจอ่านไปพร้อม ๆ กันเลย!

1. Mandala AI

Mandala Cosmos

Mandala AI มีเครื่องมือ Mandala Cosmos ซึ่งเป็นเครื่องมือที่น้องใหม่มาแรง ถึงแม้จะว่าหลายคนจะมองว่าเป็นเจ้าใหม่ในตลาด แต่บอกเลยว่าเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์และส่องเทรนด์ฮิตนั้นน่าใช้งานมาก ๆ นั่นก็เพราะเครื่องมือตัวนี้ได้ออกแบบ UX/UI ที่เอื้อการทำงานให้นักการตลาดอย่างเรามาก ๆ ช่วยให้แบ่งพาร์ทการวิเคราะห์ รวมไปถึงวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้ง่ายขึ้น มีแดชบอร์ดวิเคราะห์โซเชียลมีเดียแยกตามแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Facebook, Instagram, YouTube, TikTok และ X (Twitter) รวมถึงในหน้าเบราว์เซอร์ที่เอาไว้ค้นหาข่าวอีกด้วย

Mandala Cosmos

ที่สำคัญยังมี ‘Ripples’ แดชบอร์ที่รวบรวมเพจยอดนิยมและแสดงผลโดยแบ่งตามประเภทเพจ ทำให้นักการตลาดสามารถเลือกดูเทรนด์ได้ว่าเทรนด์ไหนกำลังมาและมีเพจไหนที่มีความสนใจใกล้เคียงกับเรา และพวกเขากำลังสนใจในเรื่องไหนอยู่ เป็นต้น

Mandala Analytics

นอกจากนี้ ‘Mandala Cosmos’ ยังมีเครื่องมือที่น่าสนใจ นั่นก็คือ ‘Mandala Analytics’ แดชบอร์ดที่เรียกได้ว่าเป็นทั้ง Social Monitoring และ Social Listening Tools ที่รวบรวมสถิติ ข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ลงลึกไปถึงหน้าฟีด แฮชแท็ก วิเคราะห์การเมนชัน ไปจนถึงวิเคราะห์ความคิดเห็นได้เลย โดยเครื่องมือจะวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียยอดนิยม รวมถึงยังวิเคราะห์ผ่านฟอรั่ม เว็บบอร์ดและกระทู้ต่าง ๆ เพื่อให้เรานำไปใช้เป็นข้อมูลต่อยอดได้อีกด้วย

จุดเด่นของ ‘Mandala Cosmos’

ศึกษาเพิ่มเติม: ตัวอย่างการใช้ Social listening จากเคส 9near

  • Discover Now – ฟีเจอร์ที่สามารถดูเทรนด์ผ่านโซเชียลมีเดียชั้นนำว่าปัจจุบันกระแสไหนกำลังมา เทรนด์ไหนน่าสนใจ โดยจัดหมวดหมู่ธุรกิจเอาไว้ให้นักการตลาดเลือกดูได้ชัดเจน และง่ายที่สุด มากถึง 48 หมวดหมู่ เลือกได้ตั้งแต่ Location ภาษา เลือกดูโพสต์/คอมเมนต์ ไปจนถึงเลือกคีย์เวิร์ด และแฮชเแท็ก เป็นต้น
  • Prism Analytics – ฟีเจอร์ที่นำรูปภาพจากโพสต์มาวิเคราะห์สีเพื่อดู Code สี โดยสามารถดึงค่าสีจากรูปภาพได้จาก Color distribution และ สามารถเเยกเฉดสีได้จาก Color Chroma ที่สำคัญยังมี AI ที่กำหนด Mood & Tone ของภาพได้ และยังสามารถช่วยดูเทรนด์สีจากรูปภาพได้อีกด้วย
  • Mandala Alchemy – ฟีเจอร์เด่นที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการแจ้งเตือนเทรนด์ตามเงื่อนไขที่เราตั้งค่าเอาไว้ มั่นใจได้ว่าจะไม่พลาดกระแสใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์ได้อย่างแน่นอน

    เชื่อได้ว่า ‘Mandala Cosmos’ เหมาะกับนักการตลาดที่กำลังมองหา และต้องการตัวเลขเชิงสถิติมาอ้างอิงการวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างแน่นอน โดยมีตัวเลขที่สามารถวัดผลได้และนำมาเป็นค่าอ้างอิงเพื่อพัฒนาแผนการตลาดได้ในอนาคตอีกด้วย
mandala ai ฟรี

2. Fanpage Karma

fanpage karma

Fanpage Karma คือ เครื่องมือตรวจสอบเทรนด์ที่โฟกัสการใช้งานบนแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่หน้าตาและการออกแบบจะเน้นการเปรียบเทียบแบรนด์นั้น ๆ บนแพลตฟอร์มโซเชียลที่หลากหลาย มีแดชบอร์ดแสดงผลเปรี่ยบเทียบข้อมูลของแบรนด์นั้น ๆ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดฮิตในเวลานี้  

แน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ มีแสดงผลครบตรงกับที่นักการตลาดต้องการ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มกราฟหรือชาร์ตหากต้องการ หรือเพิ่มแฟคเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลก็สามารถเพิ่มได้ง่ายดาย เรียกว่าใช้วิเคราะห์ครบจบในหน้าเดียวได้เลย นักการตลาดที่ชอบเจาะลึกแบรนด์ใดแบรนด์นึงแบบลงลึกกับหลาย ๆ ช่องทางออนไลน์ของแบรนด์นั้นน่าจะชอบและตรงใจแน่นอน อีกทั้งยังสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ ‘Public’ ที่เชื่อมบัญชีโซเชียลมีเดียและตั้งโพสต์ให้กับทุกแพลตฟอร์มยอดฮิตได้อีกด้วย

ที่ขาดไม่ได้คือรีพอร์ตที่ออกแบบมาให้ใช้ง่ายเพียง 3 ขั้นตอนโดยการเลือกบัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์เรา เลือกดีไซน์ และรอผลรีพอร์ตผ่านทางอีเมล์ได้เลย

จุดเด่นของ ‘Fanpage Karma’

fanpage karma
  • Dashboard – ตารางแสดงผลของบัญชีที่ต้องการใช้งานซึ่งแสดงผลเฉพาะโซเชียลมีเดียที่แบรนด์นั้น ๆ มีเท่านั้น
  • Insight – แสดงข้อมูลเชิงลึกของเพจในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งสามารถเพิ่มปัจจัยเข้าไปตามต้องการ
  • Discovery – ค้นหาเทรนด์และกระแสตั้งแต่ 2 ชม. ขึ้นไป เลือกข้อมูลหมวดหมู่ที่น่าสนใจ และประเภทคอนเทนต์ได้
  • Alerts – การแจ้งเตือนข้อมูลต่าง ๆ จากคู่แข่งของเราที่โพสต์เนื้อหาลงโซเชียลมีเดีย

สำหรับเครื่องมือนี้ จุดเด่นคือการใช้งานง่ายเพียงแค่หน้าเดียวก็มีข้อมูลที่นักการตลาดจำเป็นต้องใช้ครบและเพียงพอ แต่แลกมาด้วยการจำกัดเพียงการใช้งานบนโซเชียลมีเดียอย่างเดียว ซึ่งแตกต่างจากเจ้าอื่นที่มีช่องทางฟอรั่ม ไปจนถึงเว็บบอร์ด

3. Google Trends

google trend

Google Trends อีกหนึ่งเครื่องมือเช็คเทรนด์ที่หลาย ๆ คนนึกถึง เพราะคุ้นหู คุ้นตาและนักการตลาดส่วนใหญ่ชินมือกันหลายคน สำหรับนักการตลาดมือใหม่แล้วกูเกิลเทรนด์ทำหน้าที่ตรวจสอบความนิยม

หรือกระสผ่านทางคีย์เวิร์ดบนโลกออนไลน์ อาจจะเป็นคำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อคน ชื่อสินค้า เหตุการณ์ หรืออีเวนต์ที่กำลังเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ 

นักการตลาดหลาย ๆ คนจึงนำมาใช้ประโยชน์อย่างการช่วยวางแผนธุรกิจ สร้างคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับ SEO หรือสังเกตความนิยมเว็บไซต์ของตัวเองได้อีกด้วย 

ด้วยฟีเจอร์ที่ใช้งานง่ายสามารถหาเทรนด์ และเปรียบเทียบได้ง่ายเลือกได้ทั้งแบบเรียบไทม์หรือค้นหาเทรนด์ไปจนถึงหลักชั่วโมง อีกทั้งยังสามารถเลือกประเภทข้อมูลในหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการและยังสามารถเลือกค้นหาได้ไปจนถึงรูปภาพ เว็บไซต์ ข่าว กูเกิลช้อปปิ้ง และยูทูปด้วย

จุดเด่นของ ‘Google Trends’

google trend
  • Explore – เครื่องมือที่ใช้ค้นหา เปรียบเทียบคีย์เวิร์ดที่ต้องการ เลือกช่วงเวลา เลือกประเภท และสถานที่ที่ค้นหาคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ได้ด้วย
  • Trending Now – เอาไว้ตรวจสอบกระแสฮิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้เฉพาะ ‘Daily Search Trends’ เท่านั้น ขณะที่ ‘Real Time Search Trends’ ไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย

เรียกได้ว่าเครื่องมือนี้ใช้การค้นหาเทรนด์ผ่านทางคีย์เวิร์ดยอดนิยมสำหรับนักการตลาด แต่หากต้องการเกาะติด และติดตามกระแสเหล่านั้นเครื่องมือนี้อาจไม่ค่อยตอบโจทย์นักเพราะการใช้งานไม่เอื้อกับโซเชียลมีเดีย รวมถึงการขอตัวเลขหรือรายงานไม่สามารถทำได้ เมื่อเทียบกับเครื่องมือแบบอื่น

4. Google Alert

Google Alert

Google Alert  อีกหนึ่งเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลและติดตามเทรนด์ ผ่านการป้อนคีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่ต้องการแทรคอย่างเฉพาะเจาะจง 

ซึ่งก็จะมีการทำงานคล้ายคลึงกับ Google Trends ที่เราได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ เพียงแต่ Google Alert นั้นไม่สามารถเปรียบเทียบคำ 2 คำขึ้นไปได้

แต่ถึงอย่างนั้น Google Alert ก็ยังมีข้อดีที่มาทดแทนในส่วนนี้ได้คือ เครื่องมือนี้จะสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนได้ นอกจากนี้ก็ยังเลือกได้อีกด้วยว่าต้องการดูข้อมูลจากแหล่งไหน เช่น ข่าวสาร บล็อก หรือ วิดีโอ เป็นต้น 

นักการตลาดจึงสามารถใช้ประโยชน์ในการนำมาแทรคชื่อแบรนด์ตัวเอง แบรนด์คู่แข่ง ชื่อสินค้า ชื่ออินฟลูเอนเซอร์ และอื่น ๆ และให้ระบบสร้างรายงานสรุปเป็นแบบรายวันหรือรายสัปดาห์ให้

ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยส่วนตัว ในการตรวจจับและวิเคราะห์คำนั้น  ๆ โดยเฉพาะ แถมยังส่งรายงานตรงถึงมือ ช่วยให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดในแคมเปญหนึ่ง ๆ ได้ดีเลย

จุดเด่นของ ‘Google Alert’

Google Alert Feature
  • Create Alert – หรือการสร้างการแจ้งเตือน โดยผู้ใช้สามารถเลือกได้เลยว่าจะให้ระบบสรุปรายงานวันละครั้ง หรือแบบรายสัปดาห์
  • Source – เลือกแหล่งข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงได้ ไม่ว่าจะเป็น ข่าวสาร บล็อก เว็บ วิดีดอ หนังสือ  หรือการสนทนา

แม้การทำงานของเครื่องมือนี้อาจจะดูเฉพาะตัวไปบ้าง แต่หากใช้ควบคู่ไปกับ Google Trends โดยติดตามสิ่งที่กำลังเป็นกระแสก่อน แล้วนำคีย์เวิร์ดนั้น ๆ มาแทรคใน Google Alert ต่อ ก็จะช่วยให้นักการตลาดได้ข้อมูลที่ครบถ้วนยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด

5. Hootsuite

hootsuite

เรียกว่าเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่อยู่คู่กับนักการตลาดมานานนม Hootsuite คือ เครื่องมือบริหารคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียทำให้เห็นภาพรวมของแบรนด์คุณบนโลกออนไลน์ได้ดีขึ้น แน่นอนว่าช่วยประหยัดเวลาในการจัดการคอนเทนต์ และยังใช้ตอบคอมเมนต์หรืออินบ็อกได้ด้วย

นอกจากจะมีเครื่องมือที่จัดการคอนเทนต์แบบ All in one แล้ว ยังมีเครื่องมือที่ใช้ติดตามกระแสและเทรนด์ที่กำลังมาแรงบนโซเชียลมีเดียได้ด้วยการสร้างแดชบอร์ดที่เลือกได้ว่าจะดูเฉพาะคอนเทนต์ในเพจตัวเองหรือค้นหาเทรนด์ที่เกิดขึ้นผ่านแฮชแท็กบนโซเชียลมีเดียเช่นกัน

จุดเด่นของ ‘Hootsuite’

hootsuite

จุดเด่นของเครื่องมือนี้ มักจะอยู่ในรูปแบบของ ‘Social Media Management Tool’ ใช้เพื่อดูแลและบริหารคอนเทนต์ครบทุกแพลตฟอร์มในเครื่องมือเดียว แต่ก็มีเครื่องมือที่ใช้ดูเทรนด์และดูกระแสเข้ามาด้วย คือ

  • Monitor own content – เอาไว้ดูกิจกรรมทั้งหมดบนโซเชียลมีเดียในที่เดียว เพื่อสามารถตรวจสอบและรับมือคอมเมนต์ต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
  • Discover New Content – เป็นการค้นหาเทรนด์คอนเทนต์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยแฮชแท็ก คีย์เวิร์ด หรือประโยค ต่าง ๆ ได้

นับว่าเป็นเครื่องมือจัดการคอนเทนต์ที่กำลังขยับมาดูเทรนด์และกระแสนิยมบนโลกออนไลน์ที่น่าจับตาดู หากนักการตลาดคนไหนชินกับการจัดการดูคอนเทนต์ด้วยเครื่องมือชิ้นนี้อยู่แล้ว การมีฟังก์ชันติดตามเทรนด์เพิ่มเข้ามาก็ช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้มากขึ้นด้วย

6. Wisesight Trend  

wisesight trend

Wisesight Trend คือ อีกหนึ่งเครื่องมือติดตามเทรนด์ในโลกออนไลน์ เครื่องมือนี้เป็นการรวบรวมโพสต์ที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลและเว็บไซต์ข่าว นำมาเรียงจัดอันดับโพสต์ที่มีเอนเกจเมนต์สูงที่สุด เลือกมาแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชม.สามารถเลือกแยกดูได้ตามกลุ่มธุรกิจ กลุ่มครีเอเตอร์หรือดูตามไฮไลท์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ๆ เป็นต้น

แต่มีข้อจำกัดคือดูย้อนหลังได้เพียงแค่ 7 วัน และเลือกดูได้เฉพาะ Top Content, Top Hashtag รวมถึงดูแยกว่าคีย์เวิร์ดใดกำลังติดเทรนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเลือกแสดงผลหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเรียงคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นล่าสุดหรือเรียงตามยอดเอนเกจเมนต์มากที่สุดนั่นเอง

จุดเด่นของ ‘Wisesight Trend’

wisesight
  • Trend – ที่แสดงและจัดอันดับคอนเทนต์ที่มียอดเอนเกจเมนต์บนโซเชียลมีเดียยอดนิยมสูงที่สุด พร้อมกับเรียงลำดับตามความนิยมของโพสต์นั้น ๆ โดยแสดงผลทุกแพลตฟอร์ม
  • Voice Overview – แสดงสถิติข้อมูลในรูปแบบกราฟโดยแบ่งช่องทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่าง ๆ อย่างชัดเจน รวมถึงแยกกลุ่มอุตสาหกรรม ประชากรและอายุได้ด้วย ที่สำคัญยังแสดงยอดเอนเกจเมนต์สูงสุดเรียงลำดับจากเพจหรือแอคเคาท์ที่ใช้คีย์เวิร์ดหรือแฮชแท็กเหล่านั้นที่เป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน
  • Monitor View – หน้าแดชบอร์ดที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกโซเชียลมีเดียของแบรนด์มามอนิเตอร์หน้าฟีดได้ตามต้องการ

7. Buzzsumo  

buzzsumo social listening tools

Buzzsumo เป็นเครื่องมือ Social Listening Tools ที่มีประโยชน์ในการค้นหาคอนเทนต์ยอดนิยม หรือคอนเทนต์ที่มีคนแชร์มากที่สุดบนโซเชียลมีเดียหลากหลายแพลตฟอร์ม เหมาะกับนักการตลาดที่ต้องการหาไอเดียในการทำคอนเทนต์ใหม่ ๆ เพราะระบบสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกของคอนเทนต์ต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์หรือสามารถดูคอนเทนต์ที่เป็นกระแสย้อนหลังได้นานถึง 5 ปี และยังเลือกดูคอนเทนต์โดยแบ่งตามอุตสาหกรรมได้อีกด้วย 

เมื่อเราป้อนหัวข้อ คีย์เวิร์ด หรือ URL ลงไป ฐานข้อมูลของ BuzzSumo จะดึงสถิติต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียจากช่องทางยอดนิยม เช่น Facebook, Twitter, Pinterest และอื่น ๆ มาสรุปผลให้ ข้อมูลประเภทนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการนำไปวิเคราะห์ว่าเนื้อหาแบบไหนที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายของเรามากที่สุด ทำให้นักการตลาดนำต่อยอดในการทำแคมเปญการตลาดต่อได้นั่นเอง

Buzzsumo นั้นเป็นเครื่องมือที่มีค่าใช้จ่าย โดยราคาจะขึ้นอยู่กับแพลน แต่ทั้งนี้ก็ยังมีแบบ Free trial ให้มากถึง 30 วัน

จุดเด่นของ ‘Buzzsumo’

buzzsumo
  • Predict Viral Hits – ระบบสามารถวิเคราะห์คอนเทนต์ที่เป็นกระแสได้ โดยอิงจาก Trending Score 
  • Geographic Filtering – คัดกรองข้อมูลโดยแบ่งตามภูมิภาคได้ ช่วยให้นักการตลาดได้ข้อมูลเชิงลึกที่เฉพาะเจาะจง
  • Custom Feed – คัดกรองข้อมูลโดยแบ่งตามอุตสาหกรรม เช่น กีฬา เทคโนโลยี แฟชั่น การตลาด เป็นต้น

8. Keyhole  

keyhole social listening tools 

Keyhole ขึ้นชื่อในการเป็น Social Media Listening Tool นั่นหมายความว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์บนโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น (X) Twitter, Facebook, Instagram, TikTok, Linkedin หรือ YouTube 

โดยเราสามารถติดตาม URL แฮชแท็ก หรือคีย์เวิร์ด เพื่อให้ระบบประมวลข้อมูลออกมาเป็นสถิติต่าง ๆ ให้ว่า มีผู้ใช้อยู่ที่จำนวนเท่าไหร่ที่กำลังใช้แฮชแท็กหรือคีย์เวิร์ดนั้น ๆ อยู่, โพสต์นั้น ๆ มียอด Engagement, Reach, Impression อยู่เท่าไหร่ หรือแม้แต่วิเคราะห์ Sentiment ของโพสต์ว่าอยู่ในเชิงบวก ลบ หรือเป็นกลางให้ได้อีกด้วย 

ทั้งนี้นักการตลาดสามารถป้อนคำด้วยชื่อแบรนด์ ชื่ออินฟลูเอ็นเซอร์ ชื่อแคมเปญ หรือแม้แต่โปรไฟล์บนโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ Keyhole วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติต่าง ๆ ให้และนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลต่อได้อีกว่า กลุ่มเป้าหมายของเรามีการพูดถึงแบรนด์หรือแคมเปญของเราว่าอย่างไร มีจุดไหนที่แบรนด์สามารถปรับปรุงในแคมเปญหน้าเพื่อให้ถูกใจผู้คนได้มากขึ้น 

Keyhole มีค่าใช้จ่ายในราคาที่แตกต่างออกไปตามแพลน แต่ธุรกิจก็สามารถเข้าไปลองใช้ฟรีก่อนได้ด้วยเช่นกัน

จุดเด่นของ ‘Keyhole’

keyhole
  • Dashboard – แสดงข้อมูลเชิงลึกจากโพสต์ต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูล 
  • Profile Analytic – ติดตามและวิเคราะห์การเติบโตของเพจแบรนด์เราเองหรือแบรนด์คู่แข่งได้
  • Sentiment – วิเคราะห์ Social Sentiment ว่าโพสต์นั้นถูกพูดถึงในเชิงบวก ลบ หรือเป็นกลาง 

9. Advanced Search

twitter advanced search

สำหรับแบรนด์หรือธุรกิจที่มุ่งเน้นไปที่การทำการตลาดบน Twitter หรือ X บนตัวแพลตฟอร์มนั้นก็มีเครื่องมือให้ผู้ใช้ได้ใช้อย่างสะดวก นั่นก็คือ Advanced Search 

ด้วยเครื่องมือนี้ แบรนด์สามารถติดตามการสนทนา คำ วลี และแฮชแท็กที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มนี้ได้อย่างสะดวก ไม่ต้องคอยนั่งเช็คตามฟีดหรือรอการแจ้งเตือนจากบัญชีที่ Mention ถึงแบรนด์ของเรา เพื่อดูว่าแคมเปญหรือแบรนด์ของเราเองมีการพูดถึงอย่างไร 

นอกจากนี้  Advanced Search ก็ยังมีตัวกรองที่ช่วยให้การค้นหานั้นเจาะจง เรียกได้ว่าจำกัดการค้นหาให้แคบลงอย่างวัน เวลา จำนวน Engagement หรือแม้แต่ชื่อบัญชี ถือว่าช่วยให้ผู้ใช้งานได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างตรงประเด็นและภายในเวลาอันสั้นนั่นเอง 

ผู้ใช้ (X) Twitter ทุกบัญชีสามารถใช้ Advanced Search ได้เลยเพราะเป็น Social Monitoring Tools ที่มาพร้อมแพลตฟอร์ม ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ 

จุดเด่นของ ‘ Advanced Search’

Twitter advanced search filters
  • Account Filter – คัดกรองโดยชื่อบัญชี เพื่อค้นหา Tweet ที่มีชื่อบัญชีนั้น ๆ หรือ การ Mention จากบัญชีหนึ่งไปยังบัญชีหนึ่ง 
  • Reply Filter – คัดกรองเพื่อดูแค่ Reply หรือทั้ง Reply และ Tweet ต้นทาง
  • Engagement Filter – คัดกรองโดยระบุยอด Engagement เช่นยอด Reply ขั้นต่ำ, ยอด Like ขั้นต่ำ หรือ ยอด Repost ขั้นต่ำ
  • Date Filter – คัดกรองโดยระบุช่วงเวลาตามที่ต้องกาาร

10. Exolyt

Exolyt TikTok listening tool

Exolyt เป็น Social Listening Tool สำหรับแพลตฟอร์ม TikTok โดยเฉพาะ กล่าวได้เลยว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนักการตลาดในยุคนี้ เพราะหลาย ๆ แบรนด์ ต่างก็ขยับมาทำการตลาดบน TikTok กันแล้ว 

Exolyt จะช่วยให้แบรนด์สามารถติดตามเทรนด์และข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบน TikTok ได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการสรุปผลลัพธ์การเติบโตของแคมเปญ วิดีโอ แฮชแท็ก เสียงและเพลง หรือแม้แต่การวิเคราะห์โปรไฟล์ของผู้ใช้งาน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าแบรนด์สามารถวิเคราะห์โปรไฟล์ของแบรนด์เองหรือคู่แข่งด้วยก็ได้เช่นกัน

สำหรับ Exolyt นั้นเป็นเครื่องมือที่มีค่าใช้จ่าย แต่นักการตลาด แบรนด์ หรือครีเอเตอร์ก็สามารถเข้าไปลองใช้ฟรีก่อนได้ด้วยเช่นกัน

จุดเด่นของ ‘Exolyt’

Exolyt video performance
  • Account Monitoring – ติดตามและสรุปผลเชิงสถิติของบัญชี ไม่ว่าจะเป็นบัญชีของแบรนด์เอง คู่แข่ง หรือ อินฟลูเอ็นเซอร์
  • TikTok Trends – ติดตามเทรนด์ได้ในที่เดียวไม่ว่าจะเป็นบัญชี วิดีโอ หรือเสียงที่กำลังเป็นที่นิยม และยังสามารถเลือกดูได้หลายประเทศในที่เดียว
  • Video Performance – วิเคราะห์และสรุปผลเชิงสถิติของวิดีโอคอนเทนต์บน TikTok
  • Hashtag Analytics – วิเคราะห์และสรุปผลเชิงสถิติของแฮชแท็กบน TikTok
  • Google Sheet – เชื่อมโยงฐานข้อมูลบน TikTok เข้ากับ Google Sheet และจัดเก็บอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้นำข้อมูลไปใช้ต่อได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

สรุปจุดเด่นของแต่ละ Product

เรียกได้ว่าลิสต์เครื่องมือติดตามเทรนด์และกระแสดังกล่าวมีข้อดีและความน่าสนใจที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของนักการตลาดที่อยากเลือกใช้งานเพื่อมอนิเตอร์กระแสต่าง ๆ และนำไปประยุกต์ สร้างสรรค์กลยุทธ์ทางการตลาดได้ทันกระแสและแม่นยำขึ้น 

สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการนำเครื่องมือไปใช้งานและตอบจุดประสงค์ทางการตลาดมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการวางกลยุทธ์ทางการตลาดเอง โดยการนำเทรนด์และกระแสมาผสมผสานกันเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ก็หวังว่าเหล่ามาร์เก็ตเตอร์ทั้งหลายจะได้นำเครื่องมือที่ลิสต์ไว้ตอบโจทย์ทางการตลาดได้มากที่สุด

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.