Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

CAC คืออะไร? กลยุทธ์สำคัญที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม

CAC คืออะไร? กลยุทธ์สำคัญที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม

เพราะการซื้อขายสินค้าและการบริการในทุกยุคทุกสมัยล้วนเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการจะได้มาซึ่งลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ แบรนด์จะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า CAC หรือต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการหาลูกค้า 1 คนเสมอ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะนับตั้งแต่ต้นทุนการผลิต ค่าโฆษณา ไปจนถึงค่าแรงของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตและโฆษณาสินค้า

ในเมื่อทุกสิ่งที่ได้มาย่อมมีสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเสียไป ดังนั้นการคำนวณ CAC ให้ดีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนควรจะใส่ใจ ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับ CAC กันมากขึ้น วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกันว่าประโยชน์ของ CAC คืออะไร มีวิธีการคำนวณอย่างไร และวิธีการปรับปรุง CAC ให้ลดน้อยลง แต่มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องเริ่มจากตรงไหน  

นอกจากนี้ การมีเครื่องมือทางการตลาดอย่าง Mandala Analytics จาก Mandala AI มาคอยรวบรวมความคิดเห็นและความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพต่อไป 

Mandala AI ตัวช่วยทำการตลาด ลองใช้เลย

CACคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ?

CAC ย่อมาจาก Customer Acquisition Cost คือตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการลงทุน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า รวมถึงการลงทุนเพื่อทำการตลาด โดยมีความสำคัญ คือ

ช่วยในการปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด

เนื่องจาก CAC หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Customer Acquisition Cost คือตัวชี้วัดที่จะสะท้อนให้ผู้ประกอบการเห็นตัวเลขของต้นทุนที่แท้จริงทั้งหมดในการขายสินค้าและการบริการผ่านตัวเลขที่หากยิ่งต่ำนั่นหมายความว่ากลยุทธ์ด้านการตลาดที่แบรนด์นำมาปรับใช้ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น แต่ในทางกลับกันถ้าเกิด CAC สูง นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปรับปรุงกลยุทธ์ของตนเองใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม จนนำไปสู่การเพิ่มยอดขายในท้ายที่สุด

ช่วยในการจัดสรรงบประมาณทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม

  การคำนวณ CAC นอกจากจะช่วยสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทางการตลาดแล้ว ความสำคัญข้อถัดมาของ Customer Aquisition Cost คือการช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดสรรงบประมาณทางการตลาดของตนเองได้อย่างเหมาะสม และยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพสูงสุด 

นอกความสำคัญในข้อนี้แล้ว การคำนวณ CAC ยังมีประโยชน์กับธุรกิจในแง่ของการช่วยให้เจ้าของแบรนด์ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ควรเพิ่ม หรือค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ควรลดเพื่อคุมงบประมาณทั้งหมดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการอีกด้วย

ช่วยในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในการทำธุรกิจย่อมหวังผลกำไร โดยปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์ได้รับผลประกอบการอันเป็นที่พึงพอใจ คือการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนั้นการนำตัวชี้วัดที่จะช่วยให้แบรนด์รู้ค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้า 1 คนอย่าง CAC มาปรับใช้จึงช่วยให้แบรนด์สามารถกำหนดราคาที่เหมาะสมได้

วิธีการคำนวณค่า CAC

ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นการคำนวณ แต่ต้องบอกกันเลยว่าการคำนวณ CAC นั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ผู้ประกอบการจดบันทึกค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ค่าใช้จ่ายจากการขาย และจำนวนลูกค้าใหม่ให้ครบถ้วน แล้วนำค่าใช้จ่ายสองประเภทแรกมาบวกกันก่อนหารด้วยจำนวนลูกค้าใหม่ตามสูตรด้านล่าง ดังนี้

 CAC = (ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด + ค่าใช้จ่ายจากการขาย) ÷ จำนวนลูกค้าใหม่

ตัวอย่าง

บริษัท A มีค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและค่าใช้จ่ายจากการขายต่อเดือนอยู่ที่ 500,000 บาท โดยในแต่ละเดือนมีลูกค้าใหม่อยู่ที่ 200 คน ดังนั้น Customer Acquisition Cost ของบริษัท A คือ 2,500 บาท ต่อลูกค้าหนึ่งคน เป็นต้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการนำข้อมูลเชิงลึก เช่น เทรนด์การตลาด ความสนใจของลูกค้าเป้าหมาย จึงต้องมีเครื่องมือทางการตลาดอย่าง Mandala Analytics จาก Mandala AI มาช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

Mandala AI ตัวช่วยทำการตลาด ลองใช้เลย
ผู้ประกอบการและทีมงานกำลังคำนวณค่า CAC

6 เทคนิคปรับปรุงค่า CAC ให้ลดลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กำหนด Persona ของธุรกิจให้ชัดเจน

เนื่องจากประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทางการตลาด มักขึ้นอยู่กับว่ามีความสอดคล้องกับพฤติกรรม ความสนใจ และความสามารถในการนำเสนอสิ่งที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการระบุ Person ให้ชัดเจนผ่านการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลูกค้า แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับใช้ในการสร้างกลยุทธ์ จึงช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอสิ่งที่ลูกค้ามองหาได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

เพิ่มมูลค่า (Add Value)

เพราะการเพิ่ม Conversion Rate คือเป้าหมายหลักของการทำโฆษณา ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของตนเอง เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ จนนำไปสู่การซื้อสินค้า ด้วยวิธีการเหล่านี้

  • การปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าถึงง่าย 
  • การจัดทำเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย
  • การจัดโปรโมชันที่ดึงดูดใจ และกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ

สร้างสรรค์คอนเทนต์ เพิ่ม Organic Marketing

จัดทำคอนเทนต์บนช่องทางออนไลน์ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยสร้างการรับรู้ และความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจได้ ดังนั้นจึงควรสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่สอดคล้องกับความสนใจของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายเพื่อดึงดูดให้คนรู้จักแบรนด์จนนำไปสู่การขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น

ทำ Retargeting เจาะกลุ่มลูกค้าเก่า

การทำ Retargeting หรือการทำให้โฆษณาของร้านค้าไปปรากฏบนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ ที่ลูกค้าเก่าเข้าไปใช้บริการ จึงเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ลูกค้าเก่าจดจำแบรนด์ และกระตุ้นให้กลับมาซื้อสินค้ากับแบรนด์อีกครั้ง

รักษากลุ่มลูกค้าเดิมไว้ให้ดีที่สุด

นอกจากจะต้องหาลูกค้าใหม่แล้ว การรักษากลุ่มลูกค้าเดิมก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้ค่า CAC ต่ำ โดยตัวอย่างของวิธีรักษากลุ่มลูกค้าเดิม ได้แก่ การนำระบบ CRM มาปรับใช้เพื่อติดต่อและสื่อสารกับลูกค้า

ทั้งหมดนี้คือวิธีที่จะช่วยลด CAC และช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่แบรนด์ได้ รวมถึงเป็นการปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพ โดยที่ Mandala AI มีเครื่องมือ Mandala Analytics ที่ช่วยให้เข้าใจเทรนด์และความสนใจของลูกค้า ตลอดจนติดตาม KPI และประสิทธิภาพของแต่ละแคมเปญ เพื่อการพัฒนาธุรกิจและแผนการตลาดต่อไป  

Mandala AI ตัวช่วยทำการตลาด ลองใช้เลย

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. Customer Acquisition Cost: สูตรคำนวน และวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพ. สืบค้นวันที่ 24 มิถุนายน 2567 จาก
    https://www.marketingoops.com/exclusive/insider-exclusive/customer-acquisition-cost/
Blog Conversion Banner
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.