จะมีอะไรดีไปกว่าการสร้างคอนเทนต์การตลาดได้ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะนั่นเป็นการปักธงในใจให้พวกเขาเลือกที่จะกดเข้ามาในเว็บไซต์ หรือช่องทางต่าง ๆ เพื่อสอบถาม หรืออาจนำไปสู่การซื้อขายสินค้าและบริการได้เลยทีเดียว ซึ่งกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์เป้าประสงค์นี้ก็คือ การทำ “Contextual Marketing” พร้อมตอบชัด คืออะไร ทำแล้วดีอย่างไร? พร้อมสนับสนุนให้คุณไปถึงเป้าหมายในการทำ Contextual Marketing ได้อย่างตรงจุด ด้วยบริการเครื่องมือสุดล้ำจาก Mandala AI เริ่มเลย !
ทำคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI
Contextual Marketing ตัวอย่างการทำคอนเทนต์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ
Contextual Marketing คือ การตลาดที่เน้นการส่งเนื้อหาหรือโฆษณาที่ตรงกับบริบทหรือความสนใจของผู้ใช้ในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในยุโรป แบรนด์ท่องเที่ยวอาจแสดงโฆษณาเกี่ยวกับทัวร์ยุโรปไปยังกลุ่มเป้าหมายที่กำลังค้นหาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Contextual Marketing คือกลยุทธ์ที่สร้างคอนเทนต์การตลาดที่สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแม้กระทั่งอีเมลก็ตาม
ข้อดีของการทำ Contextual Marketing
- ตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ: เนื้อหาหรือโฆษณาที่ตรงกับบริบทของผู้ใช้ มีโอกาสที่จะได้รับความสนใจและดึงดูดการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมาย มากกว่าการสร้างเนื้อหาหรือโฆษณาทั่วไป
- ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า: Contextual Marketing คือตัวช่วยที่ทำให้แบรนด์สามารถเข้าใจความสนใจและความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การสร้างความผูกพันกับลูกค้าในระยะยาว
- สามารถวัดผลได้: Contextual Marketing คือหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่สามารถวัดผลผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น อัตราการคลิกลิงก์ อัตราการซื้อได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างของการทำ Contextual Marketing
- การแสดงโฆษณาบนเว็บไซต์ตามอัลกอริทึมของผู้ใช้บัญชี ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรองเท้ากีฬา แบรนด์รองเท้ากีฬาอาจแสดงโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวขึ้นมาให้แก่ผู้ใช้ ทั้งในรูปแบบของโพสต์รูปภาพทั่วไป อัลบั้ม ตลอดจนวิดีโอ รวมไปถึงสตอรี่และ Reels อีกด้วย
- การแสดงโฆษณาบนโซเชียลมีเดียตามพฤติกรรมของผู้ใช้: ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้มีสถิติการโพสต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอยู่บ่อย ๆ แบรนด์การท่องเที่ยวอาจแสดงโฆษณาเกี่ยวกับทัวร์ หรือตั๋วเครื่องบินไปให้แก่ผู้ใช้ได้
- การส่งอีเมลตามความสนใจของผู้ใช้: ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้เคยซื้อสินค้าจากแบรนด์เสื้อผ้า และมีการลงทะเบียนข้อมูลติดต่อเอาไว้ ทางแบรนด์ก็จะทำการส่งอีเมลแนะนำสินค้าใหม่ โปรโมชัน ดีลลับ และอื่น ๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องไปให้นั่นเอง
สรุปให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า “Contextual Marketing” นั้น คือกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าสำหรับธุรกิจทุกขนาด เหมาะสำหรับแผนการตลาดที่ต้องการจะเจาะลูกค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ จนไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการซื้อ และเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เติมเต็มการทำ Contextual Marketing ได้อย่างตรงจุด ด้วยบริการเครื่องมือสุดล้ำจาก Mandala AI ฟรี
ทำคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI
Contextual Marketing ต่างจาก Personalization Marketing อย่างไร?
ถึงจะได้รู้ไปแล้วว่าการทำ Contextual Marketing คืออะไร แต่หลายคนก็อาจจะสงสัยในความคลุมเครือที่คาบเกี่ยวกับการตลาดแบบ Personalization Marketing อยู่บ้าง เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เน้นด้านการส่งสารที่ตรงความสนใจหรือความต้องการของลูกค้าเหมือนกัน แต่ในความเหมือนก็ยังมีความต่างที่สรุปออกมาได้ทั้งหมด 3 ประการสั้น ๆ ดังนี้
- บริบทความสนใจ: Contextual Marketing จะเน้นที่บริบทหรือความสนใจที่เกิดขึ้นแบบ “เรียลไทม์” ในขณะที่ Personalization Marketing จะเน้นที่ความสนใจและความต้องการของลูกค้าแบบภาพรวมมากกว่า
- ข้อมูลที่นำมาใช้: Contextual Marketing จะใช้ข้อมูลเชิงลึกจากบริบทของผู้ใช้ในขณะนั้น ในขณะที่ Personalization Marketing ใช้ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ที่จะเก็บและวิเคราะห์ ก่อนจะนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างเนื้อหา
- ลักษณะการนำไปใช้สร้างเนื้อหา: Contextual Marketing มักใช้กับเนื้อหาหรือโฆษณาแบบเรียลไทม์ ในขณะที่ Personalization Marketing มักใช้กับเนื้อหาหรือโฆษณาแบบกำหนดเป้าหมาย
สรุปความต่างของ Contextual Marketing VS Personalization Marketing คืออะไร?
สรุปแบบชัด ๆ สำหรับ Contextual Marketing นั้นจะเป็นกลยุทธ์ที่เน้นความเป็น “เรียลไทม์” เพื่อส่งเนื้อหาหรือโฆษณาที่ตรงกับบริบทหรือความสนใจของผู้ใช้ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องทางกระบวนการซื้อขาย ซึ่งจะนำไปสู่การปิดยอดดีลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในทางกลับกัน สำหรับกลยุทธ์การทำ Personalization Marketing จะเป็นการส่งเนื้อหาหรือโฆษณาที่ตรงกับความสนใจและความต้องการของลูกค้า โดยผ่านการพิจารณาจากข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ประวัติการซื้อสินค้า พฤติกรรมการท่องเว็บ และข้อมูลทางประชากรศาสตร์เสียก่อน เพื่อที่จะสร้างคอนเทนต์การตลาดที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น การแนะนำสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องตามประวัติการซื้อของผู้ใช้ หรือการนำเสนอดีล/ส่วนลดเฉพาะบุคคล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือการไปช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า และนำไปสู่การสร้าง Brand Royalty ได้ในอนาคต
นอกจากนี้ทั้งสองกลยุทธ์ยังสามารถนำมาปรับใช้ร่วมกัน เพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมัดใจลูกค้าได้อย่างอยู่หมัด ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับนักการตลาดและการวางแผนที่แตกต่างกันออกไป และการที่จะทำทั้งสองกลยุทธ์นี้ให้มีประสิทธิผลสูงสุด ก็จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาข้อมูลเชิงลึกทางการตลาด เพื่อนำมาวิเคราะห์ก่อนนำไปสร้างคอนเทนต์ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพและผลักดันเป้าหมายทางการตลาดให้สำเร็จได้ในที่สุดนั่นเอง
เริ่มต้นทุกความสำเร็จของธุรกิจได้ง่าย ๆ ด้วยการสร้างคอนเทนต์การตลาดที่ทรงพลัง เพียงใช้บริการจาก Mandala AI ที่จะช่วยให้การทำคอนเทนต์กลายเป็นเรื่องง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทดลองใช้ฟรีได้แล้ววันนี้ หรือปรึกษาเราได้เลย สนใจทดลองใช้บริการ หรือหากมีข้อสงสัย สามารถส่งข้อความมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ https://www.mandalasystem.com/contact_us