หากยิ่งรู้จักลูกค้ามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จมากเท่านั้น เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้ธุรกิจสร้างสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุดเท่านั้น แต่การทำความรู้จักลูกค้าอย่างรอบด้านยังช่วยให้ธุรกิจวางแผนสื่อสารและสร้างแผนการตลาดที่เหมาะสมได้ในทุกแพลตฟอร์ม
ในสมัยก่อน ธุรกิจส่วนใหญ่มักเริ่มต้นทำความรู้จักลูกค้าด้วยการให้ลูกค้ามาทดลองใช้บริการที่สนใจด้วยตัวเอง ตลอดจนการแจกแบบสอบถามเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของคนหมู่มาก แต่ในปัจจุบันนี้ ธุรกิจเริ่มทำความรู้จักกลุ่มลูกค้าได้ง่าย ๆ โดยการวิเคราะห์ลูกค้าด้วย Customer Segmentation อย่างการใช้เครื่องมือ Mandala Analytics จาก Mandala AI เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI
แล้ว Customer Segmentation คืออะไร มีกี่ส่วน แต่ละส่วนมีอะไรบ้าง และจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจในส่วนไหน มาหาคำตอบได้ในบทความนี้กัน
รู้จัก Segmentation กันก่อน
ก่อนที่จะไปทำความรู้จักว่า Customer Segmentation คืออะไร และสำคัญกับธุรกิจอย่างไร เจ้าของธุรกิจควรทำความเข้าใจเรื่องของ Segmentation ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การทำ Customer Segmentation ด้วยเช่นกัน
Segmentation หรือ การแบ่งส่วนตลาด คือ หนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุดเท่านั้น แต่ยังถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยกำหนดทิศทางการสื่อสารของธุรกิจ แผนการตลาดเพื่อเป้าหมายที่ต้องการ ไปจนถึงการกำหนดตำแหน่ง หรือ Position ของธุรกิจในตลาดและอุตสาหกรรมทั้งหมด
Customer Segmentation คืออะไร?
เมื่อทำความรู้จัก Segmentation เป็นที่เรียบร้อย เจ้าของธุรกิจจำนวนไม่น้อยอาจเข้าใจว่า การทำ Segmentation เพียงอย่างเดียวก็น่าจะเพียงพอต่อการทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น การทำ Segmentation หรือ Market Segmentation นั้นสามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจถึงการแบ่งส่วนในตลาดเพียงอย่างเดียว แต่อาจไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ครบทุกด้าน
ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์ลูกค้าด้วย Customer Segmentation จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจทุกรายละเอียดและความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ แนวทางการสื่อสาร และแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปได้
Customer Segmentation มีกี่ส่วน มีตัวอย่างอะไรบ้าง?
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการวิเคราะห์ลูกค้าด้วย Customer Segmentation เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาธุรกิจ ตลอดจนช่วยวางแผนการตลาดเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะเริ่มต้นการวิเคราะห์อย่างไรให้ตอบโจทย์ ลองมาเริ่มแบ่งส่วนและกำหนดกลุ่มเป้าหมายตาม 4 ประเภทของการทำ Customer Segmentation ดังนี้
1. Behavioral Segmentation
Behavioral Segmentation เป็นการแบ่งส่วนการตลาดตามพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภคที่แตกต่างกันไป
เช่น จากผลการศึกษาในปี 2022 พบว่า ลูกค้ากลุ่ม Gen Z จะมี Attention Span อยู่ที่ 8 วินาที และจะให้ความสำคัญกับคอนเทนต์จริง ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 1.3 วินาทีเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการสร้างฐานลูกค้ากลุ่ม Gen Z ธุรกิจจึงต้องสร้างแนวทางการสื่อสารและการตลาดที่ดึงดูดความสนใจได้ในระยะเวลาอันสั้น
2. Demographic Segmentation
Demographic Segmentation เป็นการแบ่งส่วนการตลาดตามปัจจัยของตัวผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ เพศ อายุ ขนาดครอบครัว รวมไปถึงสถานะ บุคคลที่มีปัจจัยทั้งหมดนี้แตกต่างกัน ไม่เพียงแต่จะมีความชอบต่างกันเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาและความต้องการเฉพาะที่ต่างกันด้วย ทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์บุคคลตามปัจจัยต่าง ๆ ได้เช่นกัน
3. Geographic Segmentation
Geographic Segmentation เป็นการแบ่งส่วนการตลาดตามภูมิศาสตร์ เช่น จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ โดยในแต่ละภูมิภาคนี้ ไม่เพียงแต่จะมีลักษณะการใช้ภาษาที่แตกต่างกันเท่านั้น ยังมีวัฒนธรรม ความชอบพื้นถิ่น ตลอดจนความต้องการและปัญหาในแต่ละภูมิสังคมที่แตกต่างกันด้วย โดยธุรกิจสามารถนำข้อมูลในส่วนนี้ไปสร้างแนวทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายตามภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ได้
4. Psychographic Segmentation
Psychographic Segmentation เป็นการแบ่งส่วนการตลาดตามจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิต ความชอบ สิ่งจูงใจให้ตัดสินใจทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไปจนถึงรูปแบบการดำรงชีวิต โดยการแบ่งส่วนตลาดเช่นนี้สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจถึงพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้สามารถวางแผนการตลาดและสร้างแนวทางการสื่อสารที่สร้างยอดขายได้ในอนาคต
เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI

เทคนิคการวิเคราะห์ลูกค้าผ่าน Customer Segmentation
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ลูกค้าผ่าน Customer Segmentation เป็นที่เรียบร้อย เจ้าของธุรกิจจำนวนไม่น้อยอาจสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้มากที่สุด และหากคุณเป็นอีกคนที่สงสัยเรื่องเดียวกันนี้อยู่ ลองมาทำตาม 3 เทคนิคที่นำมาฝากนี้กัน
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
เมื่อทำการวิเคราะห์ลูกค้าผ่าน Customer Segmentation ทั้ง 4 ประเภทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าของธุรกิจยังควรนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาเพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นสัดส่วน จากนั้นจึงเลือกโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่ธุรกิจสามารถตอบโจทย์และมีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจมากที่สุด
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจากการวิเคราะห์ลูกค้านี้ สามารถช่วยให้ธุรกิจจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถสร้างแผนธุรกิจ แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแผนการตลาดที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาได้
2. เข้าใจพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายแต่ละแพลตฟอร์ม
หลังจากที่เลือกโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมแล้ว ธุรกิจยังควรมองหาข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight ของพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการซื้อสินค้าและพฤติกรรมการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ
เช่น หากธุรกิจต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ Gen Z นอกจากจะศึกษาพฤติกรรมการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว ธุรกิจยังควรศึกษา Aesthetique หรือความสุนทรียะ ที่ Gen Z มีความชื่นชอบ จากนั้นจึงวางแผนการสื่อสารที่สอดคล้องกับจุดยืนของแบรนด์ต่อไป
3. อัปเดตข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ
แม้การทำ Customer Segmentation จะมีตัวอย่างและเคล็ดลับมากมาย แต่การเท่าทันโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจำเป็นต้องอาศัยการอัปเดตข้อมูลอยู่เป็นประจำเช่นกัน
ดังนั้น ไม่เพียงแต่จะโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าที่สนใจเท่านั้น แต่ธุรกิจยังต้องอัปเดตข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวางแผนพัฒนาธุรกิจที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย
จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ลูกค้าด้วย Customer Segmentation ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จสูงสุด
เริ่มต้นวิเคราะห์ Segmentation ที่เหมาะสม พร้อมเลือก Customer Segmentation ให้ตอบโจทย์ธุรกิจด้วยการทำ Social Listening กับ Mandala AI ตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทุกแพลตฟอร์ม อัปเดตทุกพฤติกรรมและความชอบของทุกกลุ่มเป้าหมายแบบเรียลไทม์ พร้อมเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทุกความสำเร็จของธุรกิจที่เป็นจริง เริ่มต้นทดลองใช้งานง่าย ๆ เพียงกรอกแบบฟอร์มให้ครบ
เข้าใจทุกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ด้วย Mandala AI
