Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Google Search Console คืออะไร เรื่องที่ต้องเข้าใจให้ดี !?

Google Search Console คืออะไร เรื่องที่ต้องเข้าใจให้ดี !?

การตลาดยุคดิจิทัลไม่ได้มีความท้าทายเพียงแค่ต้องตามทันกระแสบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียให้ทันเท่านั้น แต่ความสำคัญของการปรับปรุงเว็บไซต์ยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่สะท้อนต่อประสิทธิภาพในการทำการตลาดออนไลน์อีกด้วย 

ซึ่งโซลูชันที่สามารถช่วยให้รู้ถึงมุมมองของผู้บริโภค จะต้องเป็นเครื่องที่สามารถใช้ทำ Social Listening ได้อย่างตรงจุด ทั้งยังต้องเจาะลึกถึงเทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ว่า คงจะต้องรวม Mandala Analytics จาก Mandala AI เอาไว้ด้วย เพราะถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่อส่งเสริมการใช้งานของผู้บริโภคและสร้างยอดขายให้ธุรกิจได้เติบโต หากสนใจ คลิกปุ่มทดลองใช้ด้านล่างนี้ได้เลย

ยิงแอดได้ตรงจุดกว่าเดิม สมัครใช้ Mandala AI เลย

แต่ใครที่ยังไม่เข้าใจว่า เราจะสามารถใช้เครื่องมือทางการตลาดไปช่วยทำอะไรได้บ้าง ในกรณีที่ต้องปรับปรุงเว็บไซต์ วันนี้เรามีข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับเครื่องมือที่เรียกกันว่า Google Search Console ที่มีประโยชน์ต่อการทำการตลาดออนไลน์ ไปหาคำตอบกันว่า Google Search Console คืออะไร และมีบทบาทสำคัญมากน้อยแค่ไหนในการทำธุรกิจ !

Google Search Console คืออะไร ?

Google Search Console คือบริการเว็บฯ ฟรีที่ให้บริการโดย Google ช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถตรวจสอบ ดูแลรักษา และแก้ไขปัญหาการปรากฏของเว็บไซต์ในผลการค้นหาบน Google โดยจะช่วยให้เข้าใจว่า ประสิทธิภาพของเว็บไซต์นั้น ๆ เป็นอย่างไรใน Google Search นอกจากนี้ ยังจะช่วยบอกถึงปัญหาของเว็บไซต์ ให้สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขได้อย่างถูกจุด เพื่อสร้าง Traffic และ Engagement ของเว็บไซต์ให้ดีมากยิ่งขึ้น

ฟังก์ชันที่สำคัญของ Google Search Console

  • Performance Report รายงานผลการเข้าชมเว็บไซต์

Google Search Console มีฟังก์ชันและวิธีใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยรายงานประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงจำนวนคลิก และตัวเลขของผู้เข้าชมแบบออแกร์นิก โดยจะมีข้อมูลสำคัญ ดังนี้

  • Total Click จำนวนที่มีคนคลิกเข้ามาดูเว็บไซต์ของเราจากผลการค้นหาแบบ Organic
  • Total Impression จำนวนครั้งที่เว็บไซต์ของเราแสดงผลในหน้า Google หากค่านี้สูงขึ้นก็เท่ากับว่าเว็บไซต์ของเราติดอันดับได้ดีขึ้น 
  • Keyword คำค้นหาที่ User ใช้เสิร์ช แล้วคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์
  • Click จำนวนคลิกที่เกิดขึ้นจาก Keyword นั้น ๆ
  • Impression ความถี่ในการแสดงผลบนหน้า Google
  • CTR (Click-Through Rate) เปอร์เซ็นต์ที่คนเสิร์ชจะคลิกเข้ามาในเว็บไซต์
  • Average Position ตำแหน่ง หรืออันดับเฉลี่ยของหน้าเว็บฯ ที่ติดอยู่บน Google โดยอันดับเว็บไซต์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

แน่นอนว่ารายงานเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมาก สำหรับการนำไปวิเคราะห์และวางแผนทำ SEO (Search Engine Optimize) เพื่อให้สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขเว็บไซต์ให้ไต่อันดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการดูรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้

  • การเช็กสถานะการเก็บข้อมูลเพจ

เป็นฟังก์ชันที่ช่วยตรวจสอบข้อมูล URL ว่ามีการเก็บ Indexing แล้วหรือยัง โดยจะแสดงทั้งวันที่และเวลาในการเก็บข้อมูลล่าสุด รวมถึงยังช่วยแสดงผลว่า เว็บไซต์ของคุณรองรับต่อประสบการณ์ใช้งานบนมือถือได้ดีหรือไม่

  • ฟังก์ชันตรวจสอบปัญหาภายในเว็บไซต์

ตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์ เพื่อจัดการปัญหาที่กระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งาน โดยสถานะที่จะแสดงให้เห็นหลัก ๆ ได้แก่

  1. Server Error เป็นปัญหามาจากฝั่งของผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเซิร์ฟเวอร์เช่าโฮสต์ ทำให้สามารถติดต่อเพื่อแจ้งปัญหากับทางผู้ให้บริการได้เลย
  2. Page Not Found ปัญหาที่เกิดจากหน้าเว็บไซต์บางหน้าหายไป ซึ่งอาจเกิดจากการลบหน้าเพจ การเปลี่ยน URL เว็บไซต์ ส่งผลให้บอทของ Google ไม่พบเจอหน้าดังกล่าว และประมวลผลออกมาเป็น Error
  3.  ฟังก์ชันส่ง Sitemap ให้กับ Google 
ฟังก์ชันของGoogle Search Console วิธีใช้และประโยชน์

ฟังก์ชันช่วยส่งแผนผังเว็บไซต์ เพื่อสนับสนุนการทำงานของบอท Google ทำให้ได้เรียนรู้เส้นทางภายในเว็บฯ จำนวนหน้า และข้อมูลเนื้อหา โดย Google ก็จะทำหน้าที่เข้ามาเก็บข้อมูล เพื่อนำไปจัดอันดับ เหมาะสำหรับทั้งเว็บไซต์เก่าและใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเว็บฯ เปิดใหม่ แนะนำว่าต้องมีการอัปเดต Sitemap เพื่อให้ Google ช่วยดันแรงก์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟังก์ชันที่สำคัญและน่าสนใจของ Google Search Console เท่านั้น แต่ภายในโปรแกรมก็ยังมีฟังก์ชันให้เลือกใช้อีกมากมาย และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการนำไปปรับปรุงเว็บไซต์ ใครที่ต้องการปรับให้เว็บฯ ของธุรกิจมีคุณภาพ ติดแรงก์ เสิร์ชเจอง่าย ก็ต้องลองเข้าเลื่อนเล่นกันดู

ประโยชน์จากการใช้งาน Google Search Console

  • ช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพการค้นหา เพื่อนำไปปรับปรุงเว็บไซต์
  • ตัวช่วยส่งข้อความแจ้งเตือนเกี่ยวกับปัญหา พร้อมเข้าไปแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
  • เพิ่มความรวดเร็วในการจัดอันดับเว็บไซต์ ด้วยการส่ง Sitemap ฉบับอัปเดต
  • ช่วยตรวจสอบการบล็อกและลบหน้าเว็บไซต์ พร้อมดำเนินการแก้ไขให้กลับแสดงผลในหน้า Search
  • ทดสอบผลการค้นหาที่แสดงจริง ทั้งเวอร์ชันบน PC และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่
  • ให้คุณเข้าถึงข้อมูล Search Console API ได้สะดวกขึ้น พร้อมนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ดี

Google Search Console : วิธีใช้เพื่อเข้าถึงฟังก์ชันพัฒนาหน้าเว็บฯ !

  • ยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์: ดูข้อมูลทั้งหมดใน Search Console ด้วยการยืนยันในหน้าการตั้งค่าการยืนยันของพร็อพเพอร์ตี้ แล้วคลิกการยืนยันการเป็นเจ้าของ
  • ตรวจสอบว่า Google ค้นพบและอ่านหน้าเว็บฯ ได้: เริ่มเข้าถึงรายงานการครอบคลุมดัชนีภาพรวมเว็บไซต์ ตรวจสอบรายการที่มีและแก้ไขข้อผิดพลาดตามคำเตือนที่ Google แสดง
  • ส่ง Sitemap ไปยัง Search Console Google: ให้ Google ค้นพบหน้าต่าง ๆ ด้วยการอัปเดต Sitemap ผ่านเครื่องมือดังกล่าว แต่อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน ก่อนกดอัปเดต 
  • เริ่มตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์: หลังจากทำตามขั้นตอนด้านบนจนเสร็จครบถ้วน ก็สามารถเข้าถึงรายงานประสิทธิภาพการค้นหา ปริมาณการเข้าชม และตัวเลขเชิงลึกของเว็บไซต์ได้ง่าย ๆ ที่เครื่องมือนี้เลย

หากคุณเป็นนักการตลาดที่อยากหาเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมมาร่วมบูรณาการใช้งานกับ Google Search Console เราขอแนะนำ Mandala Analytics โซลูชันในการทำ Social Listening จาก Mandala AI ที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดบนโซเชียลมีเดียแบบเจาะลึก เพื่อสร้างแคมเปญที่เก็บรายละเอียดจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ครบถ้วน พร้อมอัปเดตเทรนด์การตลาด การวัดผล และการวิเคราะห์คู่แข่งอย่างละเอียด!

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. Google Search Console คืออะไร? คนทำเว็บไซต์ควรรู้ คนทำ SEO ไม่ควรพลาด!. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 
  2. เริ่มต้นใช้งาน Search Console. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567
Blog Conversion Banner
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.