Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

รู้จัก Digital Nomad คืออะไร? ทำไมจึงน่าสนใจในยุคดิจิทัล 

รู้จัก Digital Nomad คืออะไร? ทำไมจึงน่าสนใจในยุคดิจิทัล 

ในโลกยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้การทำงานนอกสถานที่เป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น จึงทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยที่หันมาเลือกเป็น “Digital Nomad” (ดิจิตอล โนแมด) กันมากขึ้น แต่ Digital Nomad คืออาชีพอะไร หากอยากทำอาชีพ Digital Nomad มีงานอะไรบ้างให้เราทำ แล้วจะเริ่มต้นอย่างไรดี วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากกัน

Digital Nomad คืออะไร? 

Digital Nomad คือ ผู้ที่ทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานประจำอยู่ที่ออฟฟิศ ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจสำหรับคนรุ่นใหม่ โดย Nomad Worker นอกจากจะไม่ต้องประจำอยู่ออฟฟิศแล้ว ยังรวมไปถึงสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ หรือ Work From Anywhere ไปจนถึงการไม่ยึดติดอยู่กับที่อยู่อาศัย มีอิสระในการเดินทาง สามารถย้ายถิ่นฐานตัวเองไปนั่งทำงานอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้เลย

ดิจิตอล โนแมด

จากผลสำรวจของเว็บไซต์ Nomad List พบว่า ในปี 2024 ผู้ที่เป็น Digital Nomad นั้นทำงานประมาณ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จากที่บ้าน โดยความนิยมของสถานที่นั่งทำงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้

  • 60% ชอบทำงานที่บ้าน
  • 15% ชอบทำงานที่ Coworking spaces 
  • 8% ชอบทำงานจากคาเฟ่
  • 6% ชอบทำงานที่ออฟฟิศ
  • 4% ชอบทำงานโต๊ะรับประทานอาหาร
  • 3% ชอบทำงานที่โซฟา
  • 2% ชอบทำงานบนเตียง
  • 1% ชอบทำงานริมระเบียง
  • 1% ชอบทำงานจากรถบ้าน
  • น้อยกว่า 1% ทำงานในครัว

และที่เหลือรายงานว่าชอบนั่งทำงานที่สระว่ายน้ำ บนเรือ ในสวน หรือห้องสมุด

รู้จัก 4 ประเภทของ Digital Nomad  

digital nomad มีงานอะไรบ้าง

โดยทั่วไป Digital Nomad สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. Remote Workers

เป็นผู้ที่ทำงานให้กับบริษัทหรือองค์กรแบบทำงานจากที่บ้านหรือนอกสถานที่ทำงาน โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารต่าง ๆ เช่น อีเมล วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ในการติดต่อประสานงาน มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือน สวัสดิการคล้ายพนักงานประจำ แต่มีอิสระในการทำงานมากกว่า

2. Freelancers 

เป็นผู้ที่ทำงานอิสระโดยไม่ได้สังกัดองค์กรใดโดยตรง แต่รับงานเป็นรายโปรเจกต์ไป โดยสามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา เช่น นักเขียน กราฟิกดีไซเนอร์ นักการตลาดออนไลน์ โดยฟรีแลนซ์จะไม่มีรายได้ประจำ แต่มีโอกาสได้รับรายได้สูงจากโปรเจกต์ขนาดใหญ่ หรือรายได้จากหลายโปรเจกต์ที่เข้ามาให้ทำ ทั้งนี้ต้องมีความรับผิดชอบสูง มีวินัยสูง เนื่องจากต้องจัดการตารางเวลาและงานด้วยตนเอง 

3. Online Business Owners

เป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์ที่สามารถดำเนินกิจการผ่านเว็บไซต์หรือออนไลน์แพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ เช่น เจ้าของร้านค้าออนไลน์ ธุรกิจดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ ทั้งนี้ อาจเป็นเจ้าของธุรกิจเดี่ยว ๆ หรือมีพนักงานและทีมงานช่วยทำงานก็ได้ ซึ่งรายได้ขึ้นอยู่กับกำไรจากการดำเนินธุรกิจ แต่ก็มีโอกาสทำรายได้สูง

4. Passive Income Investors 

เป็นผู้ที่มีรายได้จากการลงทุนหรือทรัพย์สินที่เป็นแหล่งสร้างรายได้อัตโนมัติ (Passive Income) เช่น กองทุนรวม หุ้นที่จ่ายเงินปันผลประจำ อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ผลงาน ฯลฯ โดยที่สามารถควบคุมดูแลได้จากระยะไกล ทั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกพอสมควร รวมถึงมีความเสี่ยงและความผันผวนของรายได้ด้วย แต่ภายหลังสามารถรับรายได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องทำงานอีก จึงต้องให้ทักษะในการบริหารจัดการสูงนั่นเอง

ข้อดี vs ข้อจำกัดของการเป็น Digital Nomad 

การเป็น Digital Nomad เป็นวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดที่น่าสนใจ ดังนี้

ข้อดี

  1. มีอิสระและความยืดหยุ่นในการทำงาน รวมไปถึงการใช้ชีวิต เพราะ Digital Nomad สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาตามสะดวก ไม่จำเป็นต้องอยู่ประจำออฟฟิศ เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์การทำงานก็สามารถทำงานได้
  2. ได้มีโอกาสในการเดินทางและสัมผัสวิถีชีวิตใหม่ ๆ เพราะการที่ไม่จำกัดสถานที่ทำงาน ทำให้ Digital Nomad มีอิสระในการเดินทาง ได้ไปพบเจอวัฒนธรรมใหม่ ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
  3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะหากไม่ต้องเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ หรือย้ายไปอยู่ในเมือง ในประเทศที่ค่าครองชีพไม่สูง ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในในชีวิตประจำวันไปได้มาก
  4. ช่วยสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว สามารถวางแผนการทำงาน เพื่อแบ่งเวลาให้กับการท่องเที่ยวและการทำกิจกรรมที่ชอบได้มากกว่าการทำงานแบบประจำ
  5. เมื่อไม่ต้องมานั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ ก็จะช่วยลดความกดดันและความเครียดจากการทำงาน ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

ข้อจำกัด

  1. การจัดการตนเองและการวางแผนที่ยาก เพราะต้องอาศัยวินัยและความรับผิดชอบสูง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการตารางเวลาและจัดสรรการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  2. ความเสี่ยงของรายได้ที่ไม่แน่นอน ผู้ที่เป็น Digital Nomad อาจประสบปัญหาขาดรายได้หรือไม่สม่ำเสมอในบางช่วงเวลา 
  3. อาจเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หากไม่ได้นั่งทำงานที่ออฟฟิศ
  4. ความยากในการแยกแยะระหว่างเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว อาจทำให้ต้องทำงานเกินเวลาจากการที่ไม่มีกฏระเบียบในการทำงานของตนเองเหมือนอยู่ที่ออฟฟิศ
  5. ความท้าทายในการวางแผนภาษีและการเดินทาง โดย Digital Nomad อาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดและกฎระเบียบที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศที่เดินทางไป เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษี วีซ่าพำนัก เป็นต้น

สุดท้ายแล้ว การเป็น Digital Nomad เป็นเรื่องของความพร้อมและความตั้งใจส่วนบุคคล โดยต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าข้อดีและข้อจำกัดเหล่านี้เหมาะกับวิถีชีวิตและการทำงานของตนเองหรือไม่

อยากทำงานเป็น Digital Nomad เริ่มต้นอย่างไรดี?  

work from anywhere

1. หาจุดแข็งตัวเองให้เจอ 

อย่างแรกเลยต้องหาจุดแข็ง ระบุทักษะ และความสามารถที่คุณมี แล้ววิเคราะห์ดูว่าทักษะเหล่านั้นเหมาะสมกับงานประเภทใด เช่น งานเขียน งานออกแบบ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ งานให้คำปรึกษา จากนั้นต้องเตรียม Portfolio เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการหางาน

2. ศึกษาตลาดงาน 

ลองศึกษาตลาดงานให้ดี ดูว่าจุดแข็งใดที่คุณมีจะทำให้คุณมีโอกาสได้งานทำนอกสถานที่มากที่สุด  

3. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม 

หากคุณต้องการทำงานนอกประเทศ ก็จะเป็นจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา กฎหมายในประเทศที่คุณวางแผนจะไปอาศัยอยู่ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ง่ายขึ้น พร้อมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่า กฎหมายแรงงาน และการจ่ายภาษีอย่างละเอียด เพราะแต่ละประเทศมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน  

4. วางแผนทางการเงินให้พร้อม 

เมื่อการออมเงินมีความสำคัญมากในการเป็น Nomad Worker เนื่องจากคุณต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้ในช่วงที่ยังหางานใหม่ไม่ได้ เพราะมีค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทาง รายจ่ายสำหรับที่พักอาศัย ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยแนะนำให้ออมเงินก้อนหนึ่งให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี พร้อมวางแผนเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้ด้วย

5. ทดลองก่อน 

ก่อนตัดสินใจจะเป็น Nomad Worker เต็มตัว หรือโยกย้ายถิ่นฐานถาวร ให้ทดลองมีชีวิตแบบ Digital Nomad ชั่วคราวก่อน ซึ่งจะช่วยให้คุณเตรียมความพร้อมและประเมินสไตล์การใช้ชีวิตแบบนี้ได้

6. กำหนดงบประมาณ 

การกำหนดงบประมาณที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่ากินค่าอยู่ อินเทอร์เน็ต และค่าประกันภัย จะทำให้คุณแน่ใจว่ามีงบประมาณเพียงพอสำหรับการเป็น Nomad Worker ทั้งนี้ หากคุณตั้งใจย้ายถิ่นฐานไปนั่งทำงานอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ การจองตั๋วเครื่องบินและที่พักล่วงหน้าจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย

7. เตรียมอุปกรณ์การทำงานให้พร้อม 

คุณต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน เช่น โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน Pocket Wifi อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถทำงานได้ทุกที่

8. ต้องมีทักษะการบริหารจัดการตนเอง 

เนื่องจากจะไม่มีเจ้านายคอยกำกับ ดังนั้นต้องมีความรับผิดชอบสูง มีมีวินัยในการทำงาน สามารถทำงานตามกำหนดเวลาได้อย่างเคร่งครัด

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก เช็กเทรนด์ทั่วโลกง่าย ๆ ด้วย Mandala AI. 

สำหรับ Digital Nomad และผู้ประกอบการที่ต้องติดตามเทรนด์โลกอยู่ตลอดเวลา การคาดเดาว่าสิ่งใดกำลังมาแรงนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากข้อจำกัดทางสถานที่ เวลา และข้อมูล แต่ด้วย “Mandala Cosmos” ซึ่งเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเทรนด์ทั่วโลก ที่จะช่วยให้ Digital Nomad ไม่พลาดทุกเทรนด์สำคัญอีกต่อไป

mandala cosmos เช็กเทรนด์

Mandala Cosmos เป็นฟีเจอร์ใหม่ของ Mandala AI ที่เป็นระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและ AI สำหรับนักการตลาดดิจิทัล ช่วยให้คุณสามารถมองเห็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในพริบตา ด้วยความสามารถของ Mandala Cosmos คุณจะเห็นว่ากระแสอะไรที่กำลังมาแรง และนำข้อมูลมาประมวลผลอย่างชาญฉลาดด้วย AI แล้วนำเสนอให้คุณในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

ไม่ว่าคุณจะอยู่บนชายหาดหรือร้านกาแฟเล็ก ๆ มุมใดมุมหนึ่งของโลก Mandala Cosmos จะช่วยให้คุณไม่พลาดข้อมูลสำคัญที่จะพาไปสู่การเติบโตทางธุรกิจครั้งใหม่ และความก้าวหน้าทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

mandala ai ฟรี
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.