ในยุคที่ทุกคนใช้สื่อโซเชียลเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนเปรียบเสมือนชุมชนออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานหลายล้านคนเข้ามาพูดคุยกัน นี่เลยถือเป็นพื้นที่ออนไลน์ที่ใช้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คุณเช่นกัน วันนี้เลยจะพาทุกคนไปรู้จักกับ Social Media Marketing หรือ SMM คืออะไรกัน?
Social Media Marketing (SMM) คือ
Social Media Marketing (SMM) คือ วิธีทำการตลาดออนไลน์แบบหนึ่ง โดยใช้แพลตฟอร์มและเครือข่ายโซเชียลเป็นสื่อกลางเข้าถึง ทำการตลาดสินค้าและบริการ สร้าง Branding ตลอดจนสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย ต้องยอมรับว่าพลังของการทำการตลาดออนไลน์แบบนี้มีอิทธิพลต่อการรับรู้แบรนด์และการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการของกลุ่มเป้าหมายไม่น้อย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ จำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลที่เพิ่มมากขึ้น
หากอ้างอิงจากรายงาน Global Social Media Statistics พบว่า ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียมีมากถึง 5 พันล้านทั่วโลก เมื่อต้นเดือนเมษายน ปี 2024 ซึ่งเทียบเท่ากับ 62.6% ของประชากรทั่วโลก โดยชี้ให้เห็นว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในเดือนเมษายน 2024
ที่สำคัญ ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาสู่นวัตกรรมที่ผสมผสานทั้งโลกออฟไลน์ออนไลน์มาไว้ด้วยกันนั้น นักการตลาดสายโซเชียลจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งถอดแบบมาจากแนวคิดของ Marketing 5.0 เอื้อให้แบ่งเบางานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างคอนเทนต์ สื่อสาร ตลอดจนส่งต่อสารอันทรงคุณค่านั้นไปยังกลุ่มเป้าหมายตลอด Journey เพราะ Marketing 5.0 ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลัก จึงทำให้นักการตลาดเข้าถึงการคาดการณ์กลุ่มเป้าหมาย วางเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนจัดเก็บฐานข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและตรงจุด
ประโยชน์ของการทำ Social Media Marketing
วิธีทำการตลาดด้วยแพลตฟอร์มโซเชียลนั้นถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยนักการตลาดได้มากพอสมควร โดยเฉพาะการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคุณภาพโซเชียลมีเดียมาร์เก็ตติ้ง จะช่วยให้เข้าถึงและสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ โดยช่วยเพิ่มเรื่องการสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ เหมาะกับแบรนด์ใหม่ที่ต้องการสร้าง Branding ของตนให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แพลตฟอร์มโซเชียลช่วยให้เข้าถึงและสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย โดยสร้างสัมพันธ์ที่ดี ในขณะเดียวกันก็เสริมการสร้าง Brand Loyalty ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่กลายมาเป็นลูกค้าได้ ถือเป็นเครื่องมือทำการตลาดที่จ่ายถูกกว่าเมื่อเทียบกับวิธีโฆษณาของการทำการตลาดแบบเก่า ช่วยให้เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ประกอบการ Startup มีตัวเลือกทำการตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ได้สะดวกขึ้น
นอกจากนี้ นักการตลาดออนไลน์ที่วางแผนทำการตลาดในช่องทางอื่นอย่างบล็อกหรือเว็บไซต์นั้น ก็ได้รับประโยชน์จากการแชร์ลิงก์บทความหรือเว็บไซต์ของตนลงบนช่องทางโซเชียลมีเดียเช่นกัน เพราะกลุ่มเป้าหมายที่ติดตามคอนเทนต์จากโพสต์ในแพลตฟอร์มโซเชียลจะกดลิงก์เข้ามา กลายเป็น Traffic ให้กับบล็อกและเว็บไซต์นั้น ๆ สร้างโอกาสเพิ่ม Conversion ได้อีกทาง
ที่สำคัญหากนักการตลาดวางเป้าหมายสร้าง Engagement แพลตฟอร์มโซเชียลถือเป็นช่องทางที่ช่วยให้แบรนด์รับรู้ผลตอบรับจากแคมเปญหรือการใช้สินค้าและบริการจากลูกค้าได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างบทสนทนาและการสื่อสารที่จับต้องและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น รู้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายสนใจเรื่องใดจากการแชร์ ไลค์ หรือคอมเมนต์ เพื่อนำไปสร้างกิจกรรมทางการตลาดเพิ่มยอดขายต่อไปได้
ช่องทางการทำการ Social Media Marketing ในปี 2024
ปัจจุบันแพลตฟอร์มโซเชียลมีมากมาย นักการตลาดออนไลน์ที่ต้องการทำ โซเชียลมีเดียมาร์เก็ตติ้ง จึงมีช่องทางให้เลือกทำการตลาดหลายแบบ เช่น การตลาดบน Facebook, Instagram, TikTok, YouTube, และ X โดยบทความนี้ได้รวบรวมและสรุปจุดเด่นของแพลตฟอร์โซเชียลแต่ละแพลตฟอร์มมาบางส่วน ดังนี้
1. Facebook
ถือเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลขนาดใหญ่แพลตฟอร์มหนึ่ง รวมทั้งมีการใช้งานส่งต่อคอนเทนต์มากที่สุด โดยถือว่าเป็นเครื่องมือทำธุรกิจประเภท B2C ที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่ง มาพร้อมฟีเจอร์และเครื่องมือช่วยทำโฆษณาดิจิทัลขั้นสูง รวมทั้งสร้างโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่แบบออร์แกนิกได้มากพอสมควร โดยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ค่อนข้างหลากหลายเจเนอเรชัน เหมาะสำหรับกิจกรรมทางการตลาดที่เน้นสร้างการรับรู้แบรนด์ และโฆษณาสินค้าและบริการ
2. Instagram
ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลที่นักการตลาดเลือกทำการตลาดพอ ๆ กับ Facebook จุดเด่นของ Instagram คือเป็นพื้นที่เปิดให้แชร์คอนเทนต์น่าสนใจ ซึ่งถือเป็นวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายที่ดีอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันผู้ใช้งานยังค้นหาสินค้าและบริการของแบรนด์ต่าง ๆ ตลอดจนสั่งซื้อได้ภายในแอปพลิเคชัน โดยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่คือคนกลุ่มมิลเลนเนียลเหมาะแก่การทำคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ โฆษณา และ User-Generated Content อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาด Instagram
3. TikTok
เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มโซเชียลที่เข้าถึงผู้คนและขายของแล้วนั้น TikTok ถือเป็นอีกแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในช่วงสองปีที่ผ่านมา นอกจากเป็นพื้นที่ของการสร้างและส่งต่อคอนเทนต์ประเภทวิดีโอขนาดสั้นแล้วนั้น ยังถือเป็นพื้นที่ในการสร้างคอมมูนิตี้ของแบรนด์ กลุ่มเป้าหมายหลักมักเป็นมักเป็นกลุ่มคน Gen Z ตามมาด้วยกลุ่มคนมิลเลเนียลม เหมาะสำหรับธุรกิจประเภท B2B และ B2C อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาด TikTok
4. YouTube
ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างคอมมูนิตี้สำหรับแบรนด์ ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานได้นาน เพราะมีฟีเจอร์แชร์คอนเทนต์ขนาดยาวกว่า ทำให้เหมาะแก่การทำคอนเทนต์ประเภทให้ข้อมูลความรู้ สร้างการรับรู้แบรนด์ คอนเทนต์แนวสร้างความบันเทิงขนาดยาว และ How to ต่าง ๆ ซึ่งประยุกต์ได้กับธุรกิจประเภท B2B และ B2C
5. X (Twitter)
เป็นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างไวต่อกระแสโซเชียลบนสังคมไทย เนื่องจากเวลาที่คนต้องการที่จะระบายหรือบ่นอะไรมักจะระบายลงในแพลตฟอร์ม X และในแพลตฟอร์มนั้นได้มีฟีเจอร์ Twitter Trend ที่เก็บ แฮชแท็กที่เป็นกระแสอยู่ในสังคมในปัจจุบันมาจัดอันดับความนิยม ซึ่งในส่วนนี้สามารถช่วยนักการตลาดออนไลน์ที่ต้องการทำการตลาด Twitter ในการทำคอนเทนต์ประเภทในเชิงไวรัลทันต่อกระแสตอบรับสังคมเป็นต้น
6. LINE
แพลตฟอร์มโซเชียลประเภทใช้งานติดต่อแชทพูดคุยเป็นหลักอย่าง LINE นั้น ก็กลายเป็นช่องทางทำการตลาดผ่าน Line ที่ยอดนิยมในไทยไม่น้อย เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนต้องมี จึงเหมาะแก่การทำการตลาดที่เน้นเข้าถึงและสร้าง Engagement กับผู้ใช้งานทางหนึ่ง เอื้อให้แบรนด์สร้างบัญชีติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ ที่สำคัญกลุ่มเป้าหมายในช่องทางนี้ก็ถือว่าหลากหลาย มีตั้งแต่ผู้สูงวัยไปจนถึงระดับวัยรุ่น
7. LinkedIn
แพลตฟอร์มประเภทที่มุ่งเน้นในเรื่องธุรกิจ และอาชีพการงาน การที่ธุรกิจมี LinkedIn จะช่วยเป็นสื่อกลางในการผู้จ้างและผู้ถูกจ้าง อีกทั้งยังสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณได้อีกด้วย
ขั้นตอน และเทคนิคการทำ Social Media Marketing มีอะไรบ้าง
ผู้ประกอบการหรือนักการตลาดที่หันมาจับทางออนไลน์ และอยากเริ่มต้นทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย อาจเริ่มต้นได้ ดังนี้
- สำรวจ Personas ของผู้ซื้อหรือกลุ่มเป้าหมาย นักการตลาดต้องรู้ว่า Buyer Personas หรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คือใคร เป็นอย่างไร สนใจเรื่องไหน แล้วมีความต้องการหรือ Pain Points อะไรที่สินค้าหรือบริการของแบรนด์ตอบโจทย์เรื่องนั้นได้บ้าง โดยเริ่มจากการจัดกลุ่มของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเข้าถึง เมื่อเข้าใจ Personas ของกลุ่มเป้าหมายแล้ว จะช่วยให้นักการตลาดรู้ว่าจะสร้างคอนเทนต์แบบไหนให้เข้าถึงและสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้
- เลือกแพลตฟอร์มโซเชียลที่จะทำการตลาด ความท้าทายของ โซเชียลมีเดียมาร์เก็ตติ้ง คือ นักการตลาดตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกทำการตลาดบนแพลตฟอร์มไหน จริง ๆ แล้ว เรื่องนี้ไม่มีคำตอบหรือสูตรสำเร็จว่าควรใช้แพลตฟอร์มไหน แต่ให้พิจารณาว่า กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ใช้เวลาเล่นโซเชียลมีเดียบนแพลตฟอร์มไหนมากกว่า
- ตั้งตัววัดผลหรือ KPIs สิ่งหนึ่งที่นักการตลาดสาย SMM ต้องยึดไว้คือ ทุกอย่างควรขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การตั้งตัววัดผลหรือ KPIs จึงถือว่าสำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกเมื่อเริ่มวางแผนทำการตลาดด้วยช่องทางนี้ โดยมุ่งเน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องและไปในทางเดียวกับเป้าหมายแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นการเน้นจำนวนคนเข้าถึงและเห็นโพสต์ (Reach) จำนวนคลิกคอนเทนต์ (Clicks) จำนวนการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคอนเทนต์ทั้งหมด (Engagement) จำนวนกดไลก์ แฮชแท็ก ตลอดจนน้ำเสียงที่กลุ่มเป้าหมายกล่าวถึงแบรนด์ (Sentiment)
- สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า แม้แบรนด์จะรู้จักคู่แข่ง ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายดีแค่ไหนนั้น เมื่อถึงคราวต้องสร้าง “ของ” ในนามแบรนด์ตัวเองแล้วนั้น หัวใจหลักของการทำคอนเทนต์ที่ดี จึงอยู่ที่ “คุณค่า” ของคอนเทนต์ที่จะส่งมอบให้แก่กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
โดยคอนเทนต์นั้นต้องมีเอกลักษณ์ ทั้งในแง่ของ “สาร” ที่ต้องการสื่อ ตลอดจนวิธีการสื่อสารและนำเสนอเรื่องราวดังกล่าวออกไป ซึ่งจะทำให้ผู้คนจดจำตัวตนของแบรนด์ได้ในที่สุด อาจเริ่มจากดูว่าคู่แข่งโพสต์คอนเทนต์แบบไหน แล้วเราจะวิธีสื่อสารในแบบตัวเองอย่างไร รวมทั้งประยุกต์ใช้ฟีเจอร์ของแพลตฟอร์มที่เลือกใช้เข้ามาช่วยนำเสนอคอนเทนต์ให้ได้มากที่สุด - บริหารจัดการตารางคอนเทนต์ เมื่อได้คอนเทนต์แล้ว อีกหนึ่งงานที่ขาดไม่ได้คือลงตารางโพสต์คอนเทนต์ เครื่องมือบริหารจัดการของแพลตฟอร์มโซเชียลจึงเข้ามาช่วยงานส่วนนี้โดยเฉพาะ โดยเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้นักการตลาดเขียนแคปชัน เตรียมภาพและวิดีโอ รวมทั้งตั้งเวลาโพสต์ล่วงหน้าได้ โดยระบบจะแชร์คอนเทนต์ตามเวลากำหนดอัตโนมัติ ที่สำคัญ นักการตลาดยังติดตามวัดผลคอนเทนต์ได้ว่าเป็นอย่างไร เพื่อเก็บข้อมูลไว้พัฒนาคอนเทนต์ต่อไป
SMM กลยุทธ์ใช้สื่อดิจิทัลช่วยแบรนด์เติบโตได้จริง!
ต้องยอมรับว่า Social Media Marketing ถือเป็นอีกกลยุทธ์ทำการตลาดออนไลน์ที่สำคัญ เนื่องจากนักการตลาดใช้เป็นพื้นที่ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ ทำความเข้าใจพฤติกรรม และความสนใจของลูกค้า จนนำไปสู่การสร้างกิจกรรมทางการตลาด และการขายที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ โดยแต่ละแพลตฟอร์มต่างมีจุดเด่นและกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกทำการตลาดแบบไหนและอย่างไร เพราะสื่อดิจิทัลสำคัญจึงทำให้มีเครื่องมือ Social Listening Tools ขึ้นมา อัพเดตกระแสสังคมแบบเรียลไทม์ ลดเวลาสำรวจข้อมูล วิเคราะห์คู่แข่ง พร้อมตอบโจทย์การทำธุรกิจทั้งผู้ประกอบการและนักการตลาดยุคใหม่