Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

แนวทางทำการตลาดบน Twitter หรือ X แพลตฟอร์มที่นักการตลาดไม่ควรพลาด

แนวทางทำการตลาดบน Twitter หรือ X แพลตฟอร์มที่นักการตลาดไม่ควรพลาด

Twitter ถือเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข่าวสารแบบ Real-time ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อเกิดประเด็นร้อนขึ้นมา มากกว่า 50% ของผู้ใช้ Twitter มักจะเข้าไปติดตามกระแสนั้นในแอปพลิเคชันนี้เป็นที่แรก เรียกได้ว่า หากมีกระแสที่ผู้คนบน Facebook ให้ความสนใจอยู่ในตอนเย็น ผู้คนใน Twitter ได้รับรู้ประเด็นนั้น ๆ ไปแล้วในช่วงเช้า

ด้วยรูปแบบการใช้งานที่เข้าถึงง่าย ในบทสนทนาหนึ่งๆ บน Twitter  สามารถขยายเป็นวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว ผู้ใช้สามารถสื่อสารและถกประเด็นกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้อย่างอิสระแม้ไม่ได้รู้จักกัน ทำให้หลาย ๆ แบรนด์เริ่มเล็งเห็นโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก เพิ่มโอกาสในการขาย และเริ่มหันมาสนใจการทำการตลาด Twitter 

นอกเหนือจากความรวดเร็วในการส่งต่อข้อมูล แพลตฟอร์มนี้มีจุดเด่นอยู่ที่การที่ผู้ใช้ทั่วโลกนั้นสามารถพูดคุยกันได้อย่างสนิทสนม เพราะเป็นการสนทนาระหว่างผู้ใช้งานด้วยกันเอง และเนื้อหาส่วนใหญ่นั้นก็สื่อให้เห็นความจริงใจเพราะมักมาจากประสบการณ์ส่วนตัว

เรื่องราวชีวิตของตัวบุคคล คำแนะนำ การรีวิว ซึ่งบ่อยครั้งที่หัวข้อเหล่านั้นกลายเป็นกระแสไวรัลได้ จุดเด่นนี้เอง ที่ทำให้ Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจสำหรับทำการตลาด Twitter มากยิ่งขึ้น

วันนี้บทความนี้จะพาไปรู้จักกับแพลตฟอร์มนี้ให้มากขึ้น พร้อมแชร์กลยุทธ์ การตลาด Twitter หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดโซเชียลมีเดีย ที่แบรนด์และนักการตลาดไม่ควรพลาด

แนวทางทำการตลาดบน Twitter แพลตฟอร์มที่นักการตลาดไม่ควรพลาด

twitter

Twitter (ทวิตเตอร์) หรือ X คือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความที่สั้น กระชับ ไม่เกิน 280 ตัวอักษรในการแชร์ความคิดเห็น เรื่องราว ประสบการณ์ของตัวเอง พร้อมทั้งสามารถแนบรูป วิดีโอสั้น โพล และลิงค์ ลงในหน้า Feed สาธารณะหรือที่ผู้ใช้เรียกกันว่าการทวีตข้อความ (Tweet) นอกจากนี้ Twitter ก็ยังมี feature อื่น ๆ ดังนี้

  • Retweet: การ forward tweet ของผู้อื่นไปยังหน้า feed สาธารณะ
  • Quote Tweet: ทำงานเช่นเดียวกับการ Retweet แต่สามารถแสดงความคิดเห็นของเราลงไปได้
  • Mention: การกล่าวถึงบัญชีผู้ใช้งาน Twitter อื่น ๆ บน Tweet ซึ่งจะถูกแสดงให้เจ้าของบัญชีนั้นเห็น
  • Reply ใต้ทวีตในรูปแบบของ Thread: การตอบกลับ tweet ของผู้อื่น
  • Likes: เป็นการกดถูกใจในโพสต์ของผู้ใช้คนอื่น ซึ่งจะถูกสะสมเป็นจำนวนรวมในโพสต์นั้น ๆ
  • Hashtags: เครื่องหมาย # ที่ใช้สำหรับการแท็กหรือระบุหมวดหมู่ในโพสต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาหรือติดตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
  • Direct Messages (DMs): ช่องทางการสื่อสารส่วนตัวระหว่างผู้ใช้งาน Twitter
  • Twitter Spaces: พื้นที่ที่ให้ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนใกล้ชิดกันมากขึ้นด้วยเสียงและการสนทนา โดยจะมีโฮสต์ (Host) และผู้ฟังมาร่วมพูดคุย แสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้น
  • Twitter Lists: คือการลิสต์บัญชีผู้ใช้ที่สนใจ จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ง่ายต่อการติดตามข่าวสารของบัญชีกลุ่มนั้นได้ในที่เดียว

10 วิธีใช้ Twitter พัฒนาธุรกิจสำหรับนักการตลาด

how to twitter marketing

สำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดที่กำลังสนใจเพิ่มช่องทางทางการตลาด แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรเริ่มจากตรงไหน บทความนี้จะพาคุณไปเรียนรู้การใช้ Twitter เพื่อให้กลยุทธ์ของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือแม้แต่กลุ่มผู้ใช้ที่กำลังใช้แอปฯนี้อยู่ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดได้ด้วยเช่นกัน

1. กำหนดเป้าหมายทางการตลาด

แน่นอนว่า การเลือกใช้ Twitter มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์ก็ต้องมีการตั้งผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการใช้แอปฯนี้ เช่นเดียวกับการวางแผนการตลาดบนช่องทางอื่น ๆ แบรนด์ต้องกำหนดเป้าหมายเพื่อวัดผลว่ากลยุทธ์ที่วางมานั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ เป้าหมายทางการตลาดบน Twitter สามารถกำหนดได้หลายแบ เช่น ต้องการให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก, การเพิ่มจำนวนการมองเห็น, การเพิ่มยอด Traffic, การเพิ่มยอดFollower, การเพิ่มยอด Engagement เป็นต้น

2. สร้าง Twitter Voice ที่เป็นเอกลักษณ์

การสร้าง Twitter Voice ของตัวเองคือการที่แบรนด์กำหนดแนวทาง รูปแบบการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคำ ภาษา รูปภาพที่ใช้ สิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนบุคลิกภาพของแบรนด์ และถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับแบรนด์ในการสร้างตัวตนให้มีเอกลักษณ์ หากบุคลิกภาพของแบรนด์นั้นไม่โดดเด่น ก็มีโอกาสที่จะไม่เป็นที่จดจำ ไปซ้ำกับแบรนด์คู่แข่ง และนั่นหมายความว่าอาจไม่สามารถดึงดูดและสร้างฐานลูกค้าได้

3. ใช้ Twitter Lists

Feature Twitter Lists ที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นนั้น ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับแบรนด์ในการจัดการคอนเทนต์บน Timeline เพื่อการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนติดตามข่าวสารของคู่แข่ง การใช้ feature นี้เข้ามาช่วยจะทำให้แผนการทำการตลาดของแบรนด์นั้นง่ายขึ้นมาก

4. สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายแบบ Real-time ด้วย Twitter Spaces

อีก feature ที่เราได้ทำความรู้จักกันไปคือ Twitter Spaces ที่เป็นพื้นที่ในการเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายผ่านการพูดคุยด้วยเสียงแบบ Real-time หรือ Live Audio ถือเป็นอีกรูปแบบของการสื่อสารที่ไม่ใช่แค่ตัวหนังสืออย่างเดียว แบรนด์สามารถใช้พื้นที่ตรงนี้ในการแชร์ทริค ความรู้ หรือแม้แต่การชวนกลุ่มเป้าหมายมาถกประเด็น เปิดให้ตั้งคำถาม เพิ่มความใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

5. โฆษณาแบรนด์ด้วย Twitter Ads

Mac x new jeans

ไม่ว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์มไหน แบรนด์ของเราต่างก็มีคู่แข่งอยู่เสมอ ดังนั้นการลงทุนกับงบโฆษณาก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องวางแผนควบคู่ไปกับการวางคอนเทนต์ที่จะใช้ในการโปรโมทด้วยเช่นเดียวกัน

รูปแบบการทำ Ads บน Twitter นั้นมีอยู่ทั้งหมด 6 แบบ ดังนี้

  1. Promoted Ads: รูปแบบการโฆษณาแบบมาตรฐาน ที่สามารถทำได้ด้วยการทวีตข้อความ ใช้รูปภาพ หรือวิดีโอ ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถ Retweet และ Like Ads นั้นได้ตามปกติ ซึ่งจะมีคำว่า Promoted กำกับอยู่ใต้ทวีตของ Ads นั้น ๆ
  1. Follower Ads: โฆษณาที่มีไว้เพื่อเพิ่มยอด Follower โดยเฉพาะ มักจะปรากฎในหน้า Timeline มีรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชี รวมทั้งมีปุ่ม Follow ให้กดติดตามได้ทันที 
  1. Twitter Takeover: เป็นโฆษณาในระดับพรีเมียม ช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้มากที่สุด ด้วยการเข้ามา Takeover ในแถบ Timeline และ Explore ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์จะเห็นโฆษณาได้อย่างชัดเจนทั้งบน Desktop และ Mobile แบ่งออกเป็น 2แบบ คือ
  • Timeline Takeover – โฆษณาที่ผู้ใช้งานจะเห็นได้ทันทีที่เข้ามาในแอปฯ โดยจะอยู่บนสุดของ Timeline
  • Trend Takeover/ Trend Takeover – โฆษณาที่ทำหน้าที่คล้ายกับ Timeline Takeover เพียงแต่ผู้ใช้งานจะพบเห็นโฆษณานี้ได้ที่หน้า Explore สำหรับ Trend Takeover+ นั้นจะมีการเพิ่มวิดีโอเข้าไปด้วย เพื่อดึงดูดผู้ใช้ให้สนใจยิ่งขึ้น
  1. Twitter Amplify: รูปแบบโฆษณาที่ช่วยให้คอนเทนต์แบรนด์ถูกพบเห็นได้มากขึ้นด้วยการจัดหมวดหมู่โฆษณาให้สอดคล้องกับตัววิดีโอระดับพรีเมียมจากแบรนด์ผู้เผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกัน 
  1. Twitter Live: การโฆษณาในรูปแบบการถ่ายทอดสดแบบ Real-time ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถรับชมพร้อมกันได้จากทั่วโลก สามารถใช้โปรโมทได้หลาย ๆ แคมเปญเช่นการเปิดตัวสินค้าใหม่ การประชุม หรือแม้แต่ event ต่างๆ ของแบรนด์
  1. Twitter Ad Feature: การทำโฆษณารูปแบบ Polls, Conversion Buttons, App Buttons, Website Buttons, Branded Hashtag และ Branded Notifications เป็นต้น 

6. ใช้ Twitter Advanced Search

Advanced Search ใน Twitter คือการใช้ตัวกรองเข้ามาช่วยในการค้นหาข้อมูลให้ง่ายขึ้น เพราะในทุก ๆ นาที ผู้ใช้งานต่างก็ทวีตข้อความจำนวนมากในหลากหลายหมวดหมู่ ทำให้ข้อมูลบน Timeline นั้นอาจมีมากเกินไป ด้วย feature นี้แบรนด์สามารถกรองทวีตที่ต้องการค้นหาด้วยการระบุวันที่ คำ hashtag หรือแม้แต่ชื่อบัญชีลงไป เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงประเด็นกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด  

7. วัดผลด้วย Twitter Analytics

คงเป็นสิ่งที่นักการตลาดทราบดีอยู่แล้วว่า การทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถวัดผลได้ ซึ่ง Twitter เอง ก็มี  feature ที่เรียกว่า Twitter Analytics ที่สามารถช่วยตรวจสอบและวัดผลแคมเปญการตลาดของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น จำนวนการเข้าถึงคอนเทนต์ของแบรนด์, ยอด Engagement, จำนวนผู้ใช้ที่พูดถึงแบรนด์ เป็นต้น

8. สร้างบทสนทนากับบัญชีอื่น ๆ  

การโต้ตอบบทสนทนาบน Twitter หรือที่เรียกว่าการ Reply ในรูปแบบ Thread นั้นถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้แต่การไป Reply กับแบรนด์อื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีด้วยเช่นกัน เพราะนั่นคือการเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้พบเห็นแบรนด์ของเรามากขึ้น สิ่งสำคัญคือการสร้างบทสนทนาที่เป็นมิตร หรือหากเพิ่มความสนุกเข้าไปด้วยจะยิ่งสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้ได้ดี

9. ใช้ประโยชน์จาก Hashtag

Hashtag เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากเพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการค้นข้อมูล การติด # Hashtag นั้น จะต้องใช้คำที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เพราะถ้าหากคำๆนั้นไม่เกี่ยวข้องเลย ผู้ใช้ที่พบเห็นอาจะจะสูญเสียความสนใจในตัวคอนเทนต์ตลอดจนตัวแบรนด์เองได้ 

man and women sitting in front of camera

10. กลยุทธ์ Key Opinion Customer (KOC) กลยุทธ์นี้คือการที่ผู้ใช้ทั่วไป มาแนะนำ รีวิว หรือสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับสินค้า เหมือนกับการบอกต่อ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการ “ป้ายยา” แต่ที่สำคัญผู้ใช้นั้นต้องได้ใช้สินค้าจริง ๆ กลยุทนี้ธ์สามารถดึงดูดและสร้างความเชื่อใจจากผู้ที่พบเห็นได้ จากการสำรวจพบว่า บทสนทนาบน Twitter มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ใช้งานมากถึง 76%

ตามทันทุกกระแสให้ทันด้วยฟีเจอร์ Twitter Trends

ด้วยธรรมชาติของแพลตฟอร์มนี้ที่มีผู้ใช้งานหลายคนมาแชร์ข่าวสารหรือถกประเด็นในหลากหลายหัวข้อในแต่ละวัน Twitter จึงมี เทรนด์ทวิตเตอร์ (Twitter trends) ไว้เพื่อให้ผู้ใช้สำรวจกระแสที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้

twitter trend

ผู้ใช้สามารถการติดตามกระแสเหล่านี้ได้ง่ายๆ ด้วยการเข้าสู่หน้า Explore ของ Twitter และดูส่วนที่เรียกว่า ทวิตเตอร์มาแรงวันนี้, Trending, หรือ Trends for you ที่จะแสดงลิสต์ของประเด็นที่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงเวลานั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน การเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีความสำคัญ หรือเรื่องราวที่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งาน Twitter อื่นๆ ทั่วโลก

การติดตามข่าวในทวิตเตอร์ โดย Twitter trends สามารถช่วยให้ผู้ใช้ทั่วไปตลอดจนแบรนด์และนักธุรกิจรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นแบบ Real-time ได้ ทำให้เข้าใจแนวโน้มและทิศทางของกระแสไวรัลต่าง ๆ นำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นแหล่งข่าวสารหรือปรับใช้กับแผนการตลาดของแบรนด์ต่อได้

เมื่อเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นแหล่งรวบรวมข่าวอย่างทันเหตุการณ์ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดอย่างมาก เพราะเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากไว้ อีกทั้งยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

twitter advertising reach
ข้อมูลจาก Datareportal

ในปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่เพียงกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปที่มาติดตามข่าวสารบน Twitter เท่านั้น ทั้งแบรนด์และนักธุรกิจต่างก็หันมาใช้ Twitter กันมากขึ้น จากสถิติแล้ว จำนวนผู้ใช้งานที่สามารถเข้าถึงโฆษณาบนทวิตเตอร์ (Twitter Ads) ในปี 2023 นั้นมีมากถึง 556 ล้านบัญชีทั่วโลก ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนตุลาคม ในปี 2022 มา 12 ล้านบัญชีเลยทีเดียว ตัวเลขนี้เป็นการส่งสารถึงเหล่านักการตลาดและนักธุรกิจโดยนัยแล้วว่าพวกเขาไม่ควรนิ่งเฉยแล้ว

ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม Twitter

twitter app

1. แพลตฟอร์มที่โดดเด่นในการติดตามเทรนด์และข่าวสาร

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าแพลตฟอร์มนี้เป็นแหล่งข่าวชั้นดีสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการตามเทรนด์ให้ทันเหตุการณ์ ไม่พลาดประเด็นสำคัญที่สังคมให้ความสนใจอยู่ และสำหรับนักการตลาดเอง ก็สามารถจับตามองกระแสที่เกิดขึ้นบน Twitter เพื่อดูแนวโน้มของผู้คน ว่ากำลังสนใจหัวข้อไหนหรือคอนเทนต์ประเภทใดอยู่และสามารถนำข้อมูลนั้นมาปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์ให้มีประสิทภาพได้อีกด้วย 

2. กระบอกเสียงของผู้ใช้งาน

เพราะผู้ใช้บน twitter นั้นมีอิสระในการ Tweet ข้อความ นั่นแปลว่าหากเกิดกระแสทางสังคมในเชิงลบก็มีโอกาสที่ผู้ใช้จำนวนมาก จะออกมาแสดงความเห็นต่อหัวข้อนั้น ๆ เช่นเดียวกันในมุมการตลาด หากผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่น่าพอใจต่อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะออกมาทวีตถึง feedback ที่แบรนด์ควรปรับปรุงได้ นักการตลาดควรให้ความสำคัญกับ feedback และความเห็นของผู้ใช้เสมอ อีกทั้งยังสามารถสำรวจ feedback ของผู้ใช้ต่อแบรนด์คู่แข่ง เพื่อนำมาปรับกับแนวทางการตลาดของแบรนด์ตัวเองได้อีกด้วย 

3. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและเพิ่มยอดขาย  

Twitter เป็นแอปฯที่มาพร้อมกับ Feature และ Ads Tools ที่หลากหลาย หากนักการตลาดสามารถนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้กับคอนเทนต์และเป้าหมายทางการตลาดของแบรนด์ได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถทำให้ลูกค้าเห็นแบรนด์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคอนเทนต์นั้นถูกใจผู้พบเห็นก็นำไปสู่การเพิ่มยอดขายได้

4. สร้าง User Generated Content (UGC) ได้ง่าย

หากอธิบายให้เห็นภาพชัดที่สุดเลยคือเมื่อมีแบรนด์ที่มีกิจกรรมหรือมีสินค้าร่วมกับศิลปิน กลุ่มแฟนคลับของศิลปินนั้นๆก็ต่างพยายามสร้างเทรนด์ด้วยการทวีตข้อความ พร้อมติด Hashtag ของกิจกรรม ผ่านบัญชีของตัวเอง แบรนด์ก็จะได้รับยอด Engagement ที่ล้นหลาม แถมยังมาในรูปแบบออแกนิคอีกด้วย

ศึกษาเพิ่มเติม: รู้จัก User Generated Content (UGC)

5. ได้ไอเดียในการทำการตลาดใหม่ ๆ 

หากแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มทำการศึกษาการตลาดบน Twitter แล้วแต่ยังจับทางไม่ถูก หรือทำการตลาดมาสักพักแล้วแต่ KPI ยังไม่ถึงเป้าหมายเสียที การศึกษาจากแคมเปญอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้วก็ถือเป็นการเรียนรู้ที่ดีอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ต้องไม่ใช่การไปคัดลอกกลยุทธ์ของผู้อื่นมา แต่ควรเป็นการศึกษา ปรับใช้ และต่อยอด ที่สามารถนำไปสู่การเกิดไอเดียใหม่ๆ ในการทำแผนการตลาด เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้ใช้

mandala banner

การตลาด Twitter เป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องให้ความสำคัญ !

Twitter ได้ทำให้การส่งต่อคอนเทนต์เป็นเรื่องที่ง่ายดายและรวดเร็ว แบรนด์ที่ทำการตลาดบน 

Twitter สามารถสร้างโอกาสในการดึงดูดผู้ใช้และผู้ติดตาม สร้างการรับรู้แบรนด์ และเพิ่มยอดขายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้ประโยชน์จาก feature บนตัวแอปฯ จะยิ่งเพิ่มแนวโน้มในการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จ 

แต่หากยังกังวลในเรื่องของการจัดการข้อมูล และการใช้ feature ที่มีจำนวนมาก การใช้เครื่องมือ social listening tools อื่น ๆ เข้ามาช่วยอย่าง Mandala AI. เป็นอีกหนึ่งข้อแนะนำ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นเรื่องง่าย ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ครบถ้วนภายในคลิกเดียว แถมยังชี้นำแนวทางในการวางแผนการสื่อสารของแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.