Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

9 วิธีการทำการตลาด Facebook พร้อมอัปเดตเทรนด์ในปี 2024

9 วิธีการทำการตลาด Facebook พร้อมอัปเดตเทรนด์ในปี 2024

ต้องยอมรับว่า Facebook ถือเป็นหนึ่งในแพลฟอร์มการตลาดโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ ส่งผลให้ การตลาด Facebook กลายเป็นอีกเรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจ และนักการตลาดออนไลน์ต้องศึกษา และให้ความสำคัญ 

the world most used social platforms
source: datareportal

หากอ้างอิงจากรายงานของ Meta ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 แสดงว่า มีผู้ใช้งานเดือนละ 2.9 กว่าพันล้านราย หรือคิดเป็นประชากร 37% ของประชากรโลกทั้งหมด

ในขณะเดียวกัน ตามการรายงานของ data.ai นั้น Facebook ถูกจัดให้อยู่อันดับสองของแอปพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มแบบ Mobile App รองลงมาจาก YouTube อีกทั้งตัวเลขจำนวนผู้ใช้งานยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จึงไม่แปลกหาก Facebook จะกลายมาเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลที่นักการตลาดออนไลน์ต้องจับตามอง แลหาโอกาสลงมาเปิดตลาดแบรนด์ในช่องทางนี้ด้วย

การตลาด Facebook คืออะไร

การตลาด Facebook คือ วิธีทำการตลาด social media อย่างหนึ่ง โดยมุ่งทำการตลาดดิจิทัลบนแพลตฟอร์ม Facebook ซึ่งเปิดให้แบรนด์นำสินค้าหรือบริการเข้ามาเผยแพร่แก่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มได้ ถือเป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งโปรโมทแบรนด์ของตนได้ ทั้งแบบออร์แกนิก และเสียเงิน เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

mandala banner

9 เทคนิคการทำการตลาด Facebook

แม้จะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวของการทำตลาดในโลกดิจิทัล แต่นักการตลาดก็สามารถเรียนรู้กลยุทธ์บางอย่าง แล้วนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิธีทำการตลาดของตนเองได้

บทความนี้ได้รวบรวม 10 เทคนิคทำการตลาด Facebook น่าสนใจ มาไว้ เพื่อให้เป็นแนวทางปรับใช้กัน ดังนี้

1. เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย

ว่าด้วยการรู้ และเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายหรือ “ว่าที่ลูกค้า” ของแบรนด์นั้นคือใคร โดยเริ่มจากการแจกแจงลักษณะของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นอย่างไร ตั้งแต่ข้อมูลเชิงประชากรอย่างอายุ เพศ ที่อยู่อาศัย ความสนใจ พฤติกรรมการซื้อ แรงจูงใจในการซื้อ ไปจนถึงสิ่งที่ต้องการ และกำลังมองหา ทั้งหมดนี้จะถูกนำไปใช้เป็นฐานตั้งต้นในการสร้างสรรค์คอนเทนต์เข้าถึงต่อไป

2. กระจายเนื้อหาของโพสต์

คือ การวางแผนสร้างสรรค์คอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง วิดีโอ และโพสต์ที่มีแต่ข้อความอย่างเดียว โดยคอนเทนต์แต่ละแบบมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

  • วิดีโอ นักการตลาดอาจสร้างคอนเทนต์ด้วยการโพสต์คอนเทนต์รูปแบบคลิปวิดีโอในหน้าฟีดส์ ถ่ายทอดสด (Livestream) หรือแม้แต่ลงเป็นสตอรี่ก็ได้ ที่สำคัญ คอนเทนต์ประเภทนี้จะได้รับความนิยมจากอัลกอริธึมแพลตฟอร์มเป็นอย่างมากในกรณีที่เป็นคอนเทนต์ออร์แกนิกคุณภาพสูง ไม่ได้บูสต์หรือจ่ายเงินทำโฆษณาใด ๆ
  • ภาพนิ่ง ส่วนใหญ่มักมาในรูปแบบโพสต์พร้อมกับข้อความถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ โดยอาจวางธีมเป็นชุดภาพถ่ายเกี่ยวกับเบื้องหลังการทำงานหรือแคมเปญที่น่าสนใจ วิธีใช้งานสินค้าของแบรนด์ หรือแม้แต่คอลเล็กชันภาพถ่ายของโปรดักส์ที่แฝงความหมายหรือธีมล้อไปกับช่วงเทศกาลต่าง ๆ เพื่อสร้าง Engagement ก็ได้ 
  • ข้อความอย่างเดียว กลุ่มเป้าหมายของบางแบรนด์อาจชอบคอนเทนต์ประเภท “บทความ” หรือโพสต์ที่เป็นข้อเขียนขนาดยาวเป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วคอนเทนต์รูปแบบนี้มักเน้นงานเขียนที่ขายไอเดีย และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเจาะลึก และละเอียด อาจมีภาพประกอบบ้าง แต่หัวใจหลักก็มักเป็น “แกนกลาง” ของคอนเทนต์ว่าต้องการสื่อสารเรื่องอะไรกับกลุ่มเป้าหมาย

3. สำรวจช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโพสต์

คือ การเรียนรู้ และเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายหรือว่าที่ลูกค้าของแบรนด์นั้นใช้งานแพลตฟอร์มตอนไหน ช่วงเวลาใด เพื่อช่วยจัดการ และวางแผนตารางเวลาในการส่งต่อคอนเทนต์ของแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ถูกที่ และถูกจังหวะ นักการตลาดสายโซเชียลจึงต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้เป็นพื้นฐาน รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ไหน แบรนด์เน้นกลุ่มเป้าหมายแบบ B2B หรือ B2C แล้วเวลาที่กลุ่มเป้าหมายใช้งาน Facebook คือช่วงเวลาใดบ้าง

นอกจากนี้ อาจลองตั้งเวลาโพสต์คอนเทนต์หลากหลายแบบ คละกันไปในแต่ละสัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบ Insights ของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายว่าแบบใดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่ากัน วิธีนี้จะช่วยให้นักการตลาดรักษาฐานกับกลุ่มเป้าหมายเดิม และเพิ่มโอกาสขยายฐานกลุ่มเป้าหมายใหม่ด้วย

4. สร้างคอนเทนต์ร่วมกับครีเอเตอร์

คือ การร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์น้ำดีมีคุณค่า โดยร่วมทำกับครีเอเตอร์ หรือ Influencers ที่มีความรู้หรือความสนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจของแบรนด์ นักการตลาดทำได้ โดยว่าจ้างครีเอเตอร์เพื่อให้ลงคอนเทนต์แบบ Sponsored หรือส่งสินค้าของแบรนด์ให้ครีเอเตอร์หรือ Influencer ไปใช้งานและสร้างคอนเทนต์เผยแพร่ออกไปในช่องทางของเจ้าตัวก็ได้ วิธีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งที่ช่วยโปรโมทแบรนด์ รวมทั้งสร้างฐานกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นในอนาคต

5. ทำรีวิว

เมื่อว่าด้วยการทำรีวิวแล้ว ก็หมายถึงรายการคำติ-ชมจากผู้ใช้งานสินค้าหรือบริการจริง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มักอ่านรีววก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ๆ การทำรีวิวแบรนด์ในแพลตฟอร์ม Facebook ทำได้โดยแนบลิงก์หน้า review สินค้าบน Facebook ส่งไปให้ในอีเมลส่งสินค้าแก่ลูกค้า หรือขอให้ผู้ใช้งานมารีวิวในหน้าเพจ โดยมอบของสมนาคุณเล็ก ๆ น้อย ๆ ตอบแทนให้แก่ผู้รีวิว การทำรีวิวจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้า และใช้บริการมากขึ้นได้

6. เข้าร่วมคอมมูนิตี้

เข้าร่วมกรุ๊ปของ Facebook โดยดูว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์มักสนใจหรืออยู่ในกรุ๊ปไหนบ้าง จากนั้นก็เริ่มชวนสนทนาด้วยคอนเทนต์ที่มีหัวข้อเก่ียวกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ไปในตัว ที่สำคัญ นักการตลาดต้องศึกษา และทำความเข้าใจกฎระเบียบ และข้อบังคับของกรุ๊ปอย่างเคร่งครัด ดูว่ากรุ๊ปเคร่งเรื่องการแชร์คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาโปรโมทแบรนด์หรือไม่ ระดับไหน

7. ติดตาม Insight

ว่าด้วยการติดตาม Insight ของกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานบนแพลตฟอร์ม Facebook ซึ่งครอบคลุมข้อมูลเชิงกายภาพ (ประเมินแนวโน้มที่กลุ่มเป้าหมายจะกลายมาเป็นลูกค้าจริง) จำนวนที่ unfollow (ประเมินอัตรารักษาฐานกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์) ช่องทางที่ทำให้คนฟอลโลวแบรนด์ (วิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายเข้าถึง และรู้จักแบรนด์จากช่องทางใด) สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายทำกับเพจ (วิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมาย Action อะไรบ้าง รวมทั้งดูว่าคอนเทนต์ที่ไม่ได้ใช้เงินโปรโมทสร้าง Traffic ให้กับเว็บไซต์แบรนด์ได้อย่างไรบ้าง) ทั้งหมดนี้ ล้วนทำให้นักการตลาดเห็ยภาพรวม และวางแผนทิศทางทำการตลาดให้เหมาะสมกับธุรกิจได้ยิ่งขึ้น

8. Retarget กลุ่มเป้าหมาย

คือ ยิงโฆษณาคอนเทนต์ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์หรือเพจแบรนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยเพิ่มแนวโน้มตัดสินใจซื้อ เปลี่ยนจากกลุ่มเป้าหมายมาเป็นลูกค้าตัวจริงได้ง่ายขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้รู้จักแบรนด์ก่อนหน้านั้นแล้ว สิ่งสำคัญในการทำ Retarget กลุ่มเป้าหมายนั้น นักการตลาดควรเลือกทำแบบ Custom Audiences กับกลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์แบรนด์มาก่อน ใช้งานแพลตฟอร์มบน Mobile App มีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์คอนเทนต์บน Facebook รวมทั้งคนที่เคยซื้อสินค้าของแบรนด์แล้ว

9. ทดสอบ A/B Test

คือ การทำแคมเปญทดสอบเปรียบเทียบของชุดโฆษณาหรือคอนเทนต์ที่ต้องการโปรโมท ซึ่งแบ่งออกมาทดสอบเป็น 2 ชุด เพื่อดูว่าคอนเทนต์ชุดไหนสร้างผลลัพธ์ได้ดีกว่ากัน วิธีนี้จะช่วยให้นักการตลาดใช้เป็นแนวทาง วางกลยุทธ์ทำการตลาด Facebook ให้เหมาะกับแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นักการตลาดอาจเริ่มจากการใช้งานเครื่องมือทำ A/B Test บนแพลตฟอร์ม Facebook ได้แก่

  • Ad Format นักการตลาดควรเลือกใช้รูปแบบทำโฆษณาสำหรับ A/B Test โดยใช้รูปแบบหลากหลายใน 1 ad set เพื่อดูว่ารูปแบบใดที่สร้าง engagement กับกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
  • Placement หรือตำแหน่งของการแสดงคอนเทนต์ที่ลงโปรโมท โดยดูว่าตำแหน่งใดที่ดึงดูดสายตากลุ่มเป้าหมายได้มากกว่ากัน 
  • Objective หรือเป้าหมายของการทำแคมเปญ โดยทั่วไปแล้ว อัลกอริธึมของแพลตฟอร์มมักใช้เป็นตัวช่วยสร้างกลุ่มเป้าหมายที่แคมเปญนั้นต้องการ 
  • CTA หรือ Call-to-Action ถือเป็นจุดสุดท้ายที่กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายกระทำในสิ่งที่แบรนด์ต้องการในการทำแคมเปญ โดยอาจเลือกใช้คำแตกต่างกันระหว่างทำ A/B Test เพื่อดูว่า CTA แบบใดดึงดูดความสนใจ จนทำให้กลุ่มเป้าหมาย Action จนเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าได้ในท้ายที่สุด

เทรนด์การทำการตลาดเฟสบุ้คในปี 2024

trends

นอกจากทำความเข้าใจวิธีทำการตลาด Facebook แล้ว นักการตลาดจำเป็นต้องรู้ และติดตามเทรนด์ของการทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์มนี้ด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะจะช่วยให้วางแผนทำการตลาดบน Facebook ได้รัดกุม และนำหน้าคู่แข่ง ลองมาดูกันว่าเทรนด์ทำการตลาด Facebook ของปี 2024 มีอะไรน่าสนใจบ้าง

1. Facebook Reel

ถือเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์น่าจับตามองของการทำการตลาด Facebook  เพราะผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าวเข้ารับชม Reels เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อปีที่ผ่านมา รวมทั้งผู้ใช้งานยังนิยมแชร์ Reel เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ นักการตลาดยังวางแผนโฆษณาสินค้า และบริการผ่ารการทำคอนเทนต์ Reel ได้ด้วย ซึ่งขยายโอกาสในการสร้างรายได้จากการทำวิดีโอเผยแพร่บนแพลตฟอร์ม Facebook ระยะสั้นไปในตัว

2. Facebook Shop

ยังนับเป็นช่องทางสำคัญสำหรับแบรนด์ในการขายสินค้า และบริการให้แก่กลุ่มเป้าหมาญโดยตรง ถึงอย่างนั้น Facebook Shop เหมาะกับแบรนด์ที่สร้างฐานลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มนี้มาตั้งแต่แรก

3. เครื่องหมาย Verified

ปัจจุบันเครื่องหมาย Verified เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้งานทั่วไป โดยเก็บค่าบริการส่วนนี้เพิ่มเติม ถึงอย่างนั้น Facebook ก็มีแผนว่าจะเปิดให้แบรนด์ใช้งานได้ในระยะยาว นักการตลาดจึงควรจับตามองกระแสการตลาด Facebook นี้ไว้ แม้จะยังไม่ได้ใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าว แบรนด์เองก็วางแผนปรับตัวได้ โดยอาศัยการทำงานกับครีเอเตอร์ที่มีเครื่องหมายดังกล่าว เพื่อช่วยสร้างคอนเทนต์สนับสนุนสินค้า และบริการที่น่าเชื่อถือ

4. คอนเทนต์จาก AI

กระแสปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เริ่มเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในแง่เข้ามาแทนที่ทำงานแทนมนุษย์ แต่หากว่ากันมุมการตลาดออนไลน์แล้วนั้น Facebook ได้ลงทุนกับนวัตกรรมดังกล่าวมาหลายปีแล้ว โดยประกาศจะปรับใช้ AI เข้ามาในการทำคอนเทนต์ดิจิทัล ยกให้เป็นเครื่องมือช่วยสร้างสรรค์งาน ทั้งภาพ วิดีโอ ไปจนถึงประสบการณ์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ

5. ยุคของครีเอเตอร์

Facebook จะกลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับครีเอเตอร์ โดยได้เปิดฟีเจอร์โหมดครีเอเตอร์บนโปรไฟล์ผู้ใช้งานทั่วไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นโอกาสทองของนักสร้างคอนเทนต์ที่จะหารายได้จากการทำงานดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการทำ Reel, Streaming และ Subscriptions

6. งาน CS  กับแชทบอท

Facebook กำลังพัฒนา AI ที่เข้ามาช่วยงานด้านการตอบคำถาม และให้ความช่วยเหลือผู้คนเบื้องต้นหรือที่เรียกว่าแชทบอท โดยได้พัฒนา AI ที่มีโมเดลภาษามากมาย จนถึงขั้นสร้างบทสนทนาได้เหมือนมนุษย์ แชทบอทดังกล่าวจะนำมาใช้ช่วยงานด้าน Customer Service เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับบริการลูกค้าทั่วไป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจึงมีส่วนช่วยลดภาระงานส่วนนี้ได้มากขึ้น

mandala banner

สรุปการตลาดเฟสบุ้ค

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook คืออีกหนึ่งแพลตฟอร์มทรงอิทธิพล นอกจากใช้เป็นแพลตฟอร์มเสพข่าวสาร และติดต่อกันแล้ว ยังถือเป็นช่องทางโอกาสสำคัญสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจที่เน้นทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียล ความท้าทายของการทำคอนเทนต์การตลาดไม่เพียงอยู่ที่อัลกอริทึมแพลตฟอร์ม แต่นักการตลาดยังต้องเข้าใจกระแสโลก คู่แข่ง ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายของตนเองด้วย เพื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือ และฟีเจอร์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม มาช่วยทำการตลาด Facebook ให้บรรลุเป้าหมายได้ต่อไป

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.