Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

รู้จักอาชีพ Content Creator คืออะไร ? ทำไมหลายคนถึงอยากเป็น

รู้จักอาชีพ Content Creator คืออะไร ? ทำไมหลายคนถึงอยากเป็น

ย้อนกลับไปราว 10 ปีก่อน หลาย ๆ คนอาจนึกไม่ถึงว่าเพียงแค่เขียนบทความหรืออัดวิดีโอขึ้นมาจะสามารถสร้างรายได้หลักแสนหรือล้านบาทต่อเดือนได้ แต่เนื่องจากความนิยมของโซเชียลมีเดียที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้ง YouTube, Facebook, Instagram, Twitter และน้องใหม่มาแรงอย่าง TikTok ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ออกมาได้อย่างง่าย ๆ เพียงมีคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน และบัญชีโซเชียลมีเดียของแต่ละแพลตฟอร์มเท่านั้นเท่านั้น จนทำให้เกิดอาชีพใหม่มาแรงแห่งยุคอย่าง Content Creator นั่นเอง 

Content Creator คืออะไร

Content Creator คือ อาชีพที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะพิเศษใด ๆ มากมายนัก เพียงแต่จะต้องหมั่นครีเอทคอนเทนต์ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อสร้างฐาน Audience ให้มากพอจนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง จนสามารถสร้างรายได้จากการสร้างสรรค์คอนเทนต์ และยึดเป็นอาชีพหลักได้ในที่สุด หากจะให้อธิบายอย่างละเอียดยังมี ครีเอเทอร์ดิจิทัลอีกอาชีพนึงที่น่าสนใจ และคุณอาจจะยังไม่รู้จัก

Digital Creator คืออะไร

Digital Creator คือ คนที่ทำหน้าที่ผลิตเนื้อหาหรือที่เราเรียกกันว่าคอนเทนต์ที่น่าสนใจเพื่อให้ความรู้หรือสร้างความบันเทิงให้กับกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ ๆ ซึ่งคอนเทนต์ก็สามารถสร้างสรรค์ออกมาได้หลากหลายรูปแบบตามความถนัดของแต่ละคน อาทิ บทความ บล็อกโพสต์ E-Book  วิดีโอ ภาพถ่าย ดิจิทอลอาร์ต พอดแคสต์ แม้กระทั่ง Thread ใน Twitter ก็เป็นคอนเทนต์ได้เหมือนกัน และอีกหนึ่งเหตุผลที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจในอาชีพ

หน้าที่ของ Content Creator

นอกจากจะต้องคิดคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอแล้ว สโคปงานอื่น ๆ ของ Content Creator ที่ต้องทำหากได้ร่วมงานกับแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อผลิต Digital Content ที่มีคุณภาพสำหรับเพื่อเผยแพร่ตามสื่อ social media หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้

content creator job

1. ศึกษา และวิเคราะห์แบรนด์ สินค้า หรือบริการเพื่อทำความเข้าใจและวางแผนการสื่อสาร

ก่อนเริ่มคิดคอนเทนต์เพื่อโปรโมทแบรนด์ สินค้า หรือบริการต่าง ๆ Content Creator จะต้องศึกษา Business Canvas, SWOT, Customer Persona หรือ Communication Strategy Plan ต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของแบรนด์ สินค้าหรือบริการ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในการสื่อสาร และนำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดไอเดียออกมาเป็นคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ตรงใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์มากที่สุดและทำให้แคมเปญประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

2. หมั่นศึกษาหาความรู้และคิดค้นไอเดียในการสร้างสรรค์ Digital Content

ไอเดียตันหรือคิดคอนเทนต์ไม่ออกเป็นหนึ่งในสิ่งที่ Content Creator หลาย ๆ คนอาจพบเจอได้ แต่ก็สามารถป้องกันได้โดยการหมั่นแสวงหาความรู้และไอเดียการนำเสนอ Online Content ใหม่ ๆ จาก Tools และ Content Creator คนอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ภายในประเทศและต่างประเภทอยู่เสมอ เพื่อนำมาประยุกต์ในการคิดคอนเทนต์ของตัวเองให้มีความน่าสนใจและน่าติดตาม โดย Tools ที่นิยมใช้ในการหาไอเดียครีเอทคอนเทนต์ต่าง ๆ ได้แก่ Google Trends, Google Keyword Planner และ SEMrush นอกจากนั้น Social Listening Tool อย่าง Mandala AI ก็สามารถช่วยให้ Content Creator คิดไอเดียสร้างสรรค์คอนเทน์ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะทำให้รู้ว่าคนกำลังให้ความสนใจกับเรื่องอะไรในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นมาได้รับความสนใจมากขึ้นด้วย เพราะเป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในกระแส

3. สร้างสรรค์คอนเทนต์ตามที่ได้วางแผนไว้  

หลังจากที่ทำความเข้าใจบรีฟที่ได้รับจากแบรนด์และตกลงกันเรียบร้อยแล้วว่าในแต่ละเดือนจะลงคอนเทนต์ทั้งหมดกี่ชิ้น รูปแบบของคอนเทนต์ที่จะลงมีอะไรบ้าง จะโพสต์ลงในแพลตฟอร์มไหนบ้าง และแต่ละคอนเทนต์จะโพสต์วันที่เท่าไหร่และตอนไหน ก็ถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการเป็น Content Creator นั่นก็คือการผลิตคอนเทนต์ตามที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งโดยปกติ Content Creator จะทำ Content Calendar ขึ้นมาเพื่อดูภาพรวมของการโพสต์คอนเทนต์และ Deadline การส่งงานเพื่อจะได้ผลิตคอนเทนต์ได้ทันตามกำหนด โดยส่วนมากจะนิยมทำ Content Calendar ใน Google Sheets หรือ Google Docs เนื่องจากสามารถเข้าไปตรวจสอบและ Track ความคืบหน้าทางออนไลน์ได้

4. ตรวจสอบความเรียบร้อยของคอนเทนต์

เมื่อผลิตคอนเทนต์ออกมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสำคัญที่ Content Creator ต้องทำก่อนส่งงานให้ลูกค้า ก็คือการตรวจสอบความเรียบร้อยของคอนเทนต์ทั้งหมด ตั้งแต่ตรวจสอบว่าเนื้อหาและ Key Message ที่สื่อสารออกไปตรงตามบรีฟที่ได้รับจากแบรนด์หรือไม่ รวมถึงการตรวจสอบไวยกรณ์และคำผิดทั้งข้อความบนรูปภาพ แคปชันหรือบล็อกคอนเทนต์ และซับไตเติ้ล ซึ่งในปัจจุบันก็มี Tool สำหรับตรวจสอบไวกรณ์และคำผิดที่สามารถใช้งานได้ฟรี อาทิ ReadAWrite หรือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานออนไลน์สำหรับภาษาไทย และ Grammarly หรือ ChatGPT สำหรับตรวจสอบไวยกรณ์และคำผิดสำหรับภาษาอังกฤษ หากพบว่ามีข้อผิดพลาด ก็ควรดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย หากไม่มีข้อผิดพลาด ก็สามารถส่งคอนเทนต์ให้ลูกค้า Approve เพื่อ Set Up และกำหนดวันเผยแพร่คอนเทนต์ในแต่ละแพลตฟอร์มที่วางไว้ได้เลย

5. ตรวจสอบผลลัพธ์ของคอนเทนต์หลังเผยแพร่

หลังจากเผยแพร่คอนเทนต์ออกไประยะหนึ่งแล้ว Content Creator จะต้องติดตามดูผลลัพธ์ว่าแต่ละคอนเทนต์ที่ปล่อยออกไปนั้นประสบความสำเร็จตาม KPI ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งก็สามารถดูได้จาก Tool หรือที่เราเรียกกันว่าหลังบ้านของแต่ละแพลตฟอร์มที่ปล่อยคอนเทนต์ออกไป เช่น Meta for Business, Google Analytics และ TikTok for Business ซึ่งการวัดผลก็จะมี Metric หรือตัวชี้วัดที่แตกต่างกันตาม Objective ที่ตั้งไว้ อาทิ  Pageview, Like, Share, Comment, VDO View และ Conversion เป็นต้น โดยประโยชน์ของการติดตามผลลัพธ์ก็คือ Content Creator จะได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และหา Insight เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาคอนคอนเทนต์ถัด ๆ ไปให้มีคุณภาพและสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้นั่นเอง

หากสามารถทำได้ตามนี้ ก็มีโอกาสที่จะะสามารถสร้างรายได้ได้อย่างสม่ำเสมอและยืนระยะในวงการ Content Creator จนสามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้

รูปแบบงานของ Content Creator ต้องทำอะไรบ้าง

ปัจจุบันรูปแบบของคอนเทนต์ที่ผลิตออกมามีทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่ง Content Creator มักเลือกสร้างสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบที่ตัวเองถนัดหรือกำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น ๆ

1. Content รูปแบบ Video

@ekanatclinic ขอบคุณคุณเตเต้ ผู้เขียนหนังสือ Rainbowlogy – ศาสตร์สีรุ้ง ที่ไว้ใจให้เอกณัฏฐ์คลินิกดูแลนะคะ💕 🎉โอกาสรับโปรโมชั่นคอร์สออฟฟิศซินโดรม 5 ขั้นตอน เหลืออีกเพียง 4 วันสุดท้าย! 📌 24, 26, 28 และ 29 พฤศจิกายน 2565 นัดหมายทางข้อความได้เลยนะคะ ✅ ฝังเข็ม ✅ครอบแก้ว ✅ ยืดปรับสมดุลกระดูก ✅ โคมอินฟาเรด ✅ กระตุ้นไฟฟ้า *ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ 🎉ราคาพิเศษเพียง 1,111 บาทเท่านั้น🎉 ❌จากราคาปกติ 1,650 บาท❌ #เอกณัฏฐ์คลินิกฝังเข็มเมืองเอก #เอกณัฏฐ์คลินิกฝังเข็มแพทย์จีน #ออฟฟิศซินโดรม #โปรโมชั่น #พฤศจิกายน #รีวิว #ฝังเข็ม #ครอบแก้ว #ปรับสมดุลกระดูก ♬ Start-up – TimTaj

Video Content เป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเฉพาะ Short VDO ที่มีความยาวไม่เกิน 3 นาที ความท้าท้ายของคอนเทนต์ประเภทวิดีโอคือการดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่วินาทีแรก ๆ เพื่อให้รู้สึกสนใจและดูคลิปวิดีโอจนจบ โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็มีความยาวของวิดีโอที่แนะนำที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • Youtube 7-15 นาที
  • TikTok 7-15 วินาที
  • Facebook น้อยกว่า 1 นาที
  • Instagram Stories 15 วินาที
  • Instagram Reels 15 วินาที – 1 นาที
  • อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับเทรนด์การทำ Video

ตัวอย่างของคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ 

  • Vlog เกี่ยวกับ Lifestyle หรือการท่องเที่ยว
  • วิดีโอ How-To ให้ความรู้ต่าง ๆ 
  • วิดีโอคลิปเพื่อสร้างความบันเทิง 
  • Live Stream 

2. Content รูปแบบ Text

Text Content เหมาะสำหรับ Content Creator ที่มีความชื่นชอบและถนัดในด้านการเขียน โดยวัตถุประสงค์ในการเขียนก็มีได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข้อมูล การให้ความรู้ การจูงใจ และการสร้างความสุขและความบันเทิง 

ตัวอย่างของคอนเทนต์ประเภท Text  

mandala article
  • Caption และ Copywriting
  • บทความ SEO และ Blog
  • การเขียน Review 
  • Email Newsletter
  • E-Book 
  • Thread ใน Twitter

3. Content รูปแบบ Image

Image Content หรือ Visual Content นั้นครอบคลุมทั้งภาพถ่าย ภาพกราฟิก อินโฟกราฟิก และอิลลัสเตชัน ซึ่งหนึ่งในข้อดีของคอนเทนต์ประเภทนี้คือสามารถนำเสนอเรื่องราวที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์คอนเทนต์ประเภทนี้ Content Creator จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์หรือโปรแกรมเพื่อใช้ครีเอทผลงานต่าง ๆ ออกมา เช่น การใช้กล้องถ่ายภาพและหลักการการถ่ายภาพ, โปรแกรม Photoshop และโปรแกรม Illustrator  

ตัวอย่างของคอนเทนต์ประเภท Image

  • ภาพถ่ายประเภทต่าง ๆ เช่น Landscape, Portrait และ Still Life
  • ภาพ Infographic
  • ภาพ 3D
  • ภาพ Graphic และ Illustrator 
  • Meme 

4. Content รูปแบบ Audio

Audio Content นั้นเหมาะสำหรับ Content Creator ที่มีความถนัดทางด้านการพูดหรือการใช้เสียง และมีความเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรม เทคโนโลยี และอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงเพื่อผลิตคอนเทนต์ออกมาให้มีคุณภาพ ซึ่งจุดเด่นของคอนเทนต์ประเภทนี้ก็คือการที่ Content Creator สามารถคอนเน็กกับผู้ฟังได้อย่างใกล้ชิด โดยถ่ายถอดทอดอารมณ์และตัวตนผ่านการใช้เสียงและโทนเสียงต่าง ๆ นอกจากนั้น Audio Content ยังถือได้ว่าเป็นคอนเทนต์ที่รับสารได้ง่าย สามารถฟังได้แทบทุกที่ทุกเวลา

ตัวอย่างของคอนเทนต์ประเภท Audio

The STANDARD PODCAST
  • เพลง
  • Podcast
  • ASMR
  • งานพากย์เสียง
  • Audiobook
  • Sound Effect
mandala banner

วิธีการที่จะเป็น Content Creator ที่ประสบความสำเร็จ

อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าการเป็น Content Creator นั้นไม่ยาก แต่การที่จะประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้นั้นต้องอาศัยวินัยในการโพสต์คอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอและยังต้องหมั่นศึกษาหาความรู้และไอเดียในการคิดคอนเทนต์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา มาดูกันว่าหากอยากเป็น Content Creator ที่ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไรบ้าง 

1. สร้างจุดเด่นและความเป็นตัวของตัวเอง

ในเมื่อใคร ๆ ก็เป็น Content Creator ได้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้มีฐานผู้ติดตามคือการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตัวเองออกมา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Content Creator จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ สายให้ความรู้และสายที่เป็นเอนเตอร์เทนเนอร์ 

2. เลือกคอนเทนต์ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อสร้างความ Niche

การนำเสนอคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะทาง เช่น ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ เทคโนโลยี และสุขภาพ จะช่วยให้คอนเทนต์มีความโดดเด่นและช่วยดึงดูดให้คนที่มีความสนใจเนื้อหาประเภทนั้น ๆ รู้สึกอยากติดตามและสามารถสร้างฐาน Aduience ที่เพิ่มมากขึ้นได้ นอกจากนั้นควรเลือกรูปแบบคอนเทนต์ที่มีความถนัด เพราะจะต้องคิดและผลิตคอนเทนต์ออกมาอย่างสม่ำเสมอ

 3. ศึกษา Platform ที่ต้องการจะนำ Content ไปลง

เนื่องจากในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่สามารถใช้เผยแพร่คอนเทนต์อยู่มากมาย การเลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะสมกับรูปแบบของคอนเทนต์ที่จะนำไปลงและการศึกษา Requirement ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ อย่างละเอียดเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะ Content Creator จะได้สร้างสรรค์คอนเทนต์ให้ตรงกับสิ่งที่แพลตฟอร์มนั้นต้องการซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คอนเทนต์ได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

4. มีความรับผิดชอบและรักษามาตรฐานของคอนเทนต์

เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงและได้ร่วมงานกับแบรนด์ต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่ Content Creator ต้องระลึกไว้เสมอก็คือการมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับการว่าจ้างมาทั้งในแง่ของคุณภาพของคอนเทนต์ที่ต้องตรงตามบรีฟที่ได้รับและการส่งมอบคอนเทนต์ตามเวลาที่ได้ตกลงไว้ เพราะหากพลาดเพียงหนึ่งครั้ง อาจทำให้เสียโอกาสในการได้งานใหม่ ๆ ได้

อาชีพ Content Creator สามารถสร้างรายได้เท่าไหร่

หนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้หลาย ๆ คนอยากผันตัวมาเป็น Content Creator ก็คือรายได้ที่ค่อนข้างสูง ยิ่งมีชื่อเสียงมาก รายได้ก็ยิ่งสูงตาม ตามข้อมูลที่เว็บไซต์ influencermarketinghub ได้จัดลำดับรายได้ของเหล่าคนดังระดับโลกที่ได้รับรายได้ในฐานะ Content Creator ใน Instagram ออกมาดังนี้

content creator salary
source: Influencermarketinghub

1. Cristiano Ronaldo 2,397,000 USD (84,446,310 บาท)

2. Kylie Jenner 1,835,000 USD (64,647,050 บาท)

3. Leo Messi 1,777,000 USD (62,603,710 บาท)

4. Selena Gomez 1,735,000 USD (61,124,050 บาท)

5. Dwayne Johnson 1,731,000 USD (60,983,130 บาท)

6. Kim Kardashian 1,689,000 USD (59,503,470 บาท)

7. Ariana Grande 1,687,000 USD (59,433,010 บาท)

8. Beyonce Knowles 1,393,000 USD (49,075,390 บาท)

9. Khloe Kardashian 1,320,000 USD (46,503,600 บาท)

10. Kendall Jenner 1,290,000 USD (45,446,700 บาท)

สำหรับรายได้ของ Content Creator บนแพลตฟอร์ม Video Content ยอดนิยมอย่าง YouTube นั้นจะขึ้นอยู่กับ Daily Video View และ Average Engagement Rate ซึ่งหากมีจำนวนมาก ก็จะทำให้ได้รับรายได้มากตาม นอกจากนั้นยัง Content Creator ยังสามารถสร้างรายได้จากการ Subscription ของบรรดาผู้ติดตามอีกด้วย

mandala banner

วันนี้คุณพร้อมเป็น Content Creator แล้วรึยัง

โลกในยุคปัจจุบันมีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย และ Content Creator เองก็เป็นอีกหนึ่งในอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะหากประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักในวงกว้างแล้ว ก็มีโอกาสสร้างรายได้จำนวนมหาศาลต่อเดือน แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นก็ต้องอาศัยความมีวินัย ความเป็นมืออาชีพ และหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเพื่อสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ในการสร้างคอนเทนต์ให้น่าติดตามอยู่เสมอ สามารถมีรายรับที่เพียงพอที่จะยึดเป็นอาชีพหลักได้ในระยะยาว

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.