ในยุคดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด การสร้างเนื้อหาหรือผลิตคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ให้มีคุณภาพ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจจึงเป็นเรื่องสำคัญ และด้วยเหตุผลนี้เองจึงก่อให้เกิดอาชีพที่เรียกว่า “Digital Content Creator” ขึ้นมา เพราะ Digital Content Creator คือ กำลังสำคัญในการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อพัฒนาเเบรนด์สินค้า และบริการ รวมถึงช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาชีพ ดิจิทัลครีเอเตอร์ ผู้ผลิตเนื้อหาบนสื่อดิจิทัลหรือสื่อออนไลน์ที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี พร้อมแนะนำเทคนิคการทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
Digital Content Creator คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร?
Digital Content Creator คือ ผู้ผลิตเนื้อหาหรือนักสร้างคอนเทนต์บนสื่อดิจิทัลทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะอยู่บนบล็อก เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน สื่อโซเชียลมีเดีย หรือสื่อดิจิทัลใดก็ตาม โดยเนื้อหานั้นอาจมาในรูปแบบงานเขียนบทความ ภาพกราฟิก วิดิโอ เสียง ฯลฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ ให้ความรู้ ความบันเทิง ที่สำคัญต้องบอกตัวตนของแบรนด์ องค์กร หรือธุรกิจนั้น ๆ ได้ด้วย
ทั้งนี้ เนื้อหา หรือคอนเทนต์ที่ผลิตออกมาจะต้องมีความน่าสนใจ น่าดึงดูดให้น่าติดตาม เพราะเป้าหมายหลักของการเป็นดิจิทัลครีเอเตอร์ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้อ่านหรือผู้ชม รวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจ เนื่องจากเนื้อหาที่ผลิตออกมานั้น เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาดบนช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ รวมถึงการตลาดบนโซเชียลมีเดีย ที่ช่วยขับเคลื่อนแบรนด์ หรือธุรกิจให้เติบโตเป็นที่รู้จักและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้
โดยดิจิทัลครีเอเตอร์มักแฝงจะตัวอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของบริษัท เช่น Copywriter, SEO Specialist, Creative Director เป็นต้น และหน้าที่ในแต่ละวันของเหล่าดิจิทัลครีเอเตอร์ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเป็นนักสร้างคอนเทนต์ประเภทใด เช่น ด้านงานเขียน ด้านกราฟิก ด้านวิดิโอ เป็นต้น นอกจากการแสวงหาข้อมูลหรือไอเดียใหม่ ๆ ตลอดเวลาแล้ว หน้าที่หลักที่จะคล้าย ๆ กัน เช่น
- วิเคราะห์แบรนด์หรือธุรกิจก่อนผลิตคอนเทนต์ออกมา เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรผลิตคอนเทนต์อะไร รูปแบบไหน ต้องสื่อสารผ่านช่องทางใด ถึงจะเข้าตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
- วางแผน และผลิตคอนเทนต์จริง โดยกำหนดให้ชัดเจนเลยว่าจะลงผลงานกี่ชิ้นต่อเดือน เวลาไหน เผยแพร่ช่องทางออนไลน์ใดบ้าง แล้วลงมือสร้างคอนเทนต์จริงออกมา
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของผลงานก่อนออกสู่สาธารณะ
- ติดตามผลลัพธ์และประสิทธิภาพของงานหลังจากเผยแพร่ไปแล้ว เพื่อนำมาต่อยอดหรือปรับปรุงชิ้นงานต่อไปในอนาคต
Digital Content Creator แตกต่างจาก Content Creator อย่างไร
ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า Digital Content Creator (ดิจิทัลคอนเทนต์) กับ Content Creator (คอนเทนต์ครีเอเตอร์) นั้นแตกต่างกัน เพราะ Content Creator คือ นักสร้างสรรค์เนื้อหา โดยไม่จำกัดว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์มใด อาจจะผลิตบนแพลตฟอร์มของสื่อออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดีย หรือจะอยู่ในรูปแบบออฟไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร บิลบอร์ด ก็ได้เช่นกัน
แต่ครีเอเตอร์ดิจิทัลนั้นจะผลิตเนื้อหาออกมาเพื่อเผยแพร่บนสื่อออนไลน์เท่านั้น ที่เราจะมักคุ้นเคยกัน เช่น Facebook, Instagram, YouTube, TikTok เป็นต้น
เทคนิคการเป็น Digital Content Creator ที่ประสบความสำเร็จ
การประกอบอาชีพครีเอเตอร์ในยุคดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จได้นั้น นอกจากการมีทักษะทางด้านการเขียนแล้ว คุณควรมี Digital Content Creator Skills ด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น
1. เสริมทักษะด้าน SEO
โลกแห่งการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน ทำให้คุณต้องแข่งขันในการสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ และทำให้ Search Engine ยกตัวอย่างเช่น Google สนใจในตัวคุณ เพื่อให้คอนเทนต์ของคุณเติบโตได้ไวที่สุด ดังนั้นการเรียนรู้ SEO ขั้นพื้นฐานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะทักษะการเขียน การใช้เครื่องมือในการหาคีย์เวิร์ด เพื่อนำมาปรับใช้ในงาน เพราะหลักการทำ SEO จะส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสติดอันดับต้น ๆ ในการค้นหา ทำให้แบรนด์เป็นที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดผู้ชมเว็บไซต์โดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโปรโมตด้วย และหากเว็บไซต์ของคุณมีการอัปเดตเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น Video Content, Brand Content หรือคอนเทนต์ใด ๆ ก็ตาม ก็จะช่วยให้รักษาฐานผู้ติดตามแบรนด์หรือธุรกิจไว้ได้
2. ต้องวิจัย วิเคราะห์ และกลั่นกรองเนื้อหาอย่างถี่ถ้วน
คอนเทนต์ที่ดีนอกจากจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเพื่อนำมาผลิตคอนเทนต์แล้ว คุณจะต้องนำมาวิเคราะห์ให้เป็น และต้องมีการกลั่นกรองข้อเท็จจริงก่อนเผยแพร่เนื้อหาออกสู่โลกออนไลน์ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากที่สุด นอกจากนี้ การศึกษางานของบุคคลอื่น จะช่วยให้คุณได้อัปเดตความรู้อยู่เสมอ อีกทั้งช่วยในการพัฒนาความสามารถในการเขียนให้ดีขึ้นได้ด้วย
3. ต้องมีความสม่ำเสมอ
ยิ่งคุณเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์และสม่ำเสมอมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีคนสนใจเข้าชมเว็บไซต์หรือช่องทางสื่อที่คุณแผยแพร่มากเท่านั้น ที่สำคัญต้องทำคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ มีความต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการมองเห็น ขยายฐานผู้ติดตาม และกลุ่มเป้าหมายของคุณจะได้ไม่ลืมคุณด้วย
4. ศึกษากลุ่มเป้าหมาย
หากคุณศึกษาลึกลงไปเกี่ยวกับกลุ่มคนติดตามคอนเทนต์ของคุณ หรือกลุ่มลูกค้าของคุณได้มากพอ คุณจะพบกับความน่าสนใจและแนวคิดใหม่ ๆ แบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลพื้นฐานทางประชากรศาสตร์ เช่น อายุ ความชอบ การศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติการซื้อ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ได้ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะคุณได้รู้จักกลุ่มกลุ่มเป้าหมายของคุณอย่างแท้จริงว่าเขาชอบอะไร สนใจอะไร หรือมีแนวคิดการใช้ชีวิตอย่างไร จากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับใช้ให้เข้ากับกลยุทธ์ในการสร้าง Brand Content ให้เป็นประโยชน์ ดังนั้นหากอยากเป็นดิจิทัลครีเอเตอร์ที่ประสบความสำเร็จก็อย่าลืมศึกษากลุ่มเป้าหมายของคุณให้ดี
5. ต้องรู้จักประเมินและวิเคราะห์แบรนด์หรือธุรกิจด้วย
คุณจำเป็นต้องรู้จักบุคลิกและตัวตนของแบรนด์ รวมไปถึงจุดแข็ง จุดอ่อน วิธีการของคู่แข่ง และแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้คอนเทนต์ของคุณเกิดมูลค่าสูงสุด อย่างไรก็ตาม คุณจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเนื้อหาที่สื่อสารออกไป มีความกลมกลืนกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ ถึงจะเรียกว่ามีประสิทธิภาพ ดังนั้นการวิเคราะห์แบรนด์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และยังช่วยในการคาดการณ์ ROI หรือผลตอบแทนจากการลงทุนผลิตเนื้อหาที่สื่อสารออกไปอีกด้วย
คุณสมบัติการเป็น Digital Content Creator
การเป็น Digital Content Creator หรือ นักสร้างคอนเทนต์ดิจิทัลนั้น สามารถทำงานได้ทั้งในรูปแบบการเป็นที่ปรึกษาหรือการพนักงานประจำ ทั้งนี้หลายองค์กรนิยมเลือกใช้ฟรีแลนซ์ในการทำคอนเทนต์ เนื่องจากความยืดหยุ่นในสไตล์การทำงาน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และสามารถจ้างได้ในรูปแบบโปรเจคระยะสั้น ๆ ซึ่งช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้
อย่างไรก็ตาม การเป็น Digital Content Creator นั้น คุณจะต้องมีความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคุณจะต้องแสดงความสามารถในความเชี่ยวชาญด้านการผลิตคอนเทนต์ มีตัวอย่างคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อแสดงถึงศักยภาพการทำงานของคุณ รวมไปถึงต้องสามารถนำเสนอ Brand Content ได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้ ดังนั้น อย่าลืมสร้างความแตกต่างให้กับตัวคุณเอง แสดงศักยภาพที่มีให้คนเห็นด้วยว่าทำไมพวกเขาถึงต้องจ้างคุณ มากกว่าจ้างคนอื่น
อาชีพนี้สร้างรายได้อย่างไร ?
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เหล่า Digital Content Creator มีโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้น ไม่ว่าจะมาจากการให้คำปรึกษาและผลิตคอนเทนต์ให้กับธุรกิจ องค์กร หรือแบรนด์สินค้าต่าง ๆ การเขียนบทความ การทำรีวิวสินค้า การเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ การโฆษณาสินค้า ยิ่งคนที่มีบล็อกหรือช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเอง มีผู้ติดตามจำนวนมาก ก็มีโอกาสที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ทำรีวิว โดยรายได้ก็จะสูงตามยอดผู้ติดตามด้วย
จะเริ่มเป็น Digital Content Creator ได้อย่างไร
การจะเริ่มเป็น Digital Content Creator นั้นไม่ใช่เรื่องยาก ขอแค่เพียง
- ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม
- ต้องเข้าใจเครื่องมือหรือโปรแกมต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างสรรค์เนื้อหานั้น ๆ ว่าใช้งานอย่างไร
- ต้องมีทักษะเฉพาะติดตัว เช่น การตัดต่อวิดีโอ การออกแบบแอนิเมชัน หรือการเขียนโค้ด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อหาดิจิทัลที่คุณต้องการผลิตออกมาด้วย
- ต้องเรียนรู้ศึกษาเทรนด์ต่าง ๆ ในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น TikTok Trend และก้าวทันโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงต้องมีการพัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง
- สร้างสรรค์ผลงานและสะสมประสบการณ์ให้มากที่สุด โดยเริ่มจากการสร้างคอนเทนต์ในสื่อโซเชียลมีเดียของตนเองก็ได้ หากเป็นไปได้ควรทำหลาย ๆ แพลตฟอร์ม ที่สำคัญต้องทำอย่างสม่ำเสมอด้วย สามารถศึกษาช่องจาก ดิจิตอลครีเอเตอร์ที่มีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลาได้ที่ด้านล่าง
@siri_jong
Mandala AI ทางลัด ก่อนเข้าวงการ Digital Content Creator
จะเห็นได้ว่าอาชีพ Digital Content Creator นั้นไม่ได้มีหน้าที่แค่เขียนคอนเทนต์อย่างเดียว แต่ยังต้องมีทักษะหลากหลายด้าน มีความรู้ ความเข้าใจทางการตลาด ที่สำคัญต้องทันกระแสของโลกออนไลน์ ยิ่งปัจจุบันนี้มี Metaverse หรือโลกเสมือนจริง รวมไปถึงเทคโนโลยี AI ที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรค์คอนเทนต์สำหรับธุรกิจ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นเพียงใช้ Mandala Cosmos & Ripple ในการสำรวจเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ และดูคู่แข่งทางการตลาดได้หลายแพลตฟอร์มในเวลาเดียว เพื่อนำมาปรับใช้ในการออกแบบคอนเทนต์ได้อย่างทันสมัยและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด