Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

E-Marketing ทางเลือกของคนทำธุรกิจในยุคนี้

E-Marketing ทางเลือกของคนทำธุรกิจในยุคนี้

ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยกำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตของพวกเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเราเองก็ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่สะดวกมากขึ้น รวมถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในมุมของการทำการตลาดการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย หรือ “E-Marketing” นับเป็นวิธีที่ช่วยนักการตลาดสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยที่ประหยัดเวลา รวมถึงมีประสิทธิภาพกว่าการทำตลาดแบบเดิม ๆ แล้ว E-Marketing คืออะไร ? มีกี่ประเภท ? และมีประโยชน์อย่างไร ? ตามมาดูเลย

E-Marketing คืออะไร

E-Marketing หรือการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ คือการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นสื่อกลางในการดำเนินการทางการตลาด โดยเป็นการนำเครื่องมือเหล่านี้ผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด เช่น การยิง Ads การทำ SEO การทำคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

ถ้าเปรียบเทียบกับการทำการตลาดแบบดั้งเดิม E-Marketing จะเป็นการสื่อสารแบบ Two-way Communication ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถพูดคุยกันได้ทันที ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ทำให้ผู้ซื้อสามารถสอบถามข้อมูล หรือให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้สะดวกและรวดเร็ว และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวางเนื่องจากอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผู้คนได้ทั่วโลก โดยไม่จำกัดพื้นที่หรือเวลานั่นเอง ต่างจากการตลาดแบบดั้งเดิมที่มักจะเป็นแบบ One-way Communication ที่ผู้ขายเป็นคนโปรโมตและให้ข้อมูลอยู่ฝ่ายเดียว โดยที่ยากที่จะติดต่อกับผู้ซื้อโดยตรง อีกทั้งยังไม่สามารถสื่อสารแบบ Real-Time กับผู้ที่สนใจซึ่งสิ่งนี้เองก็อาจจะเป็นข้อเสียเปรียบที่ทำให้ตอบกลับลูกค้าได้ไม่ทันจนลูกค้าเลิกสนใจในสินค้าและบริการ

ประเภทของ E-marketing มีอะไรบ้าง

E-Marketing ไม่ได้มีเพียงแค่รูปแบบเดียวเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายรูปแบบที่นักการตลาดรุ่นใหม่อย่างพวกเราควรทำความรู้จักเผื่อจะได้ไอเดียในการทำการตลาดใหม่ ๆ โดยใช้ E-Marketing โดยมีทั้งหมด 8 รูปแบบ ดังนี้

1. Influencer Marketing 

ในยุคที่รีวิวจากผู้ใช้งานจริงเปรียบเสมือนตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการโดยตรง แบรนด์และนักการตลาดอย่างเราจะพลาดการนำ Influencer Marketing ไปใช้ในแผนการตลาดไม่ได้ โดย Influencer Marketing คือการที่แบรนด์ร่วมมือกับ Influencer เพื่อโปรโมตสินค้าและบริการ ปกติแล้วแบรนด์มักจะเลือกจ้าง Influencer ที่มีผู้ติดตามเป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เพื่อสามารถทำการตลาดได้อย่างตรงกลุ่ม ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็น Influencer ที่มียอดติดตามมากที่สุดเสมอไป แต่ต้องมียอด Engagement ที่มีประสิทธิภาพ แล้ว Influencer คนไหน มีไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์แบรนด์ของคุณ สามารถใช้ Mandala Analytics เพื่อหาคนที่ใช่สำหรับคุณได้เลย

เครื่องมือทางการตลาด

ตัวอย่าง: ในหมวดวิทยาศาสตร์ ถ้าให้เรานึกถึง Influencer ในแขนงนี้ คงเป็นเรื่องยากที่เราจะคิดออก แต่การใช้เครื่องมือ Mandala AI ในการดึงข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น TikTok, YouTube หรือ Facebook สิ่งนี้จะช่วยให้เราประหยัดเวลา และได้ Influencer ที่โดนใจ มาพร้อมฟังก์ชันวิเคราะห์ยอด Engagement ในแต่ละโพสได้อีกด้วย ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

mandala al

2. Affiliate Marketing

Affiliate Marketing หรือการตลาดแบบพันธมิตร คือ รูปแบบการทำการตลาดออนไลน์ที่แบรนด์เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถทำการโปรโมตสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางของตนเอง โดยผู้ที่โปรโมตจะได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์ในรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้น โดยตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันก็คือ นายหน้า TikTok ที่บุคคลทั่วไปสามารถติดตะกร้าสินค้าบนคลิปของตนเองและเมื่อมีผู้ชมกดสั่งซื้อสินค้าก็จะได้ค่าคอมมิชชั่นเป็นผลตอบแทน ซึ่งข้อดีของการทำการตลาดแบบนี้คือ บุคคลทั่วไปสามารถหารายได้ได้โดยที่ไม่ต้องสต๊อกสินค้าเอง และไม่ต้องลงทุนมากมาย เพียงแค่มีช่องของตนเองก็สามารถทำได้ ในขณะที่แบรนด์ก็สามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องจ้าง Influencer ที่มีค่าบริการแพงกว่า

@zeechani Gala ออกลิปสีใหม่ 7 สี !! สวยมากก รอบนี้นางแบ่ง Cool tone Warm tone มาให้ด้วยเริ่ดสุด และฉันเคาะให้แล้ว 3 สี ที่มันต้องหมดไวแน่ๆแกร๊ รีบกดก่อนหมดจ้ะ 🤩 #galacamille #ลิปกาล่า #ลิปละลาย ♬ เสียงต้นฉบับ – ซีมีคนเดียว

3. Search Engine Optimization (SEO)

seo

SEO หรือ Search Engine Optimization คือ การปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหาด้วยวิธีที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น การเลือก Keyword ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและมีความเกี่ยวข้องกับ Keyword การปรับโครงสร้างของเว็บไซต์ให้เหมาะสม และการสร้าง Backlink ไปยังเว็บไซต์ วิธีนี้มีความสำคัญต่อธุรกิจทุกขนาดที่ต้องการเพิ่มการเข้าถึงเว็บไซต์และดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ โดยสามารถช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหาซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้คนจำนวนมากใช้ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่าง ๆ ใครอยากรู้จัก SEO มากขึ้น ไปตามอ่านต่อกันได้ที่ วิธีเขียนบทความ SEO ระดับโปร!

4. Pay-Per-Click (PPC)

pay per click

Pay-Per-Click (PPC) คือรูปแบบการโฆษณาออนไลน์ที่ธุรกิจจ่ายเงินให้กับผู้ให้บริการโฆษณาทุกครั้งที่มีผู้คลิกโฆษณาของธุรกิจนั้น ๆ โฆษณา PPC มักปรากฏบนหน้าผลการค้นหาของ Search Engine หรือบนเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยธุรกิจสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะแสดงโฆษณาได้ PPC เป็นรูปแบบการโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นรูปแบบการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพและสามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน ธุรกิจทุกขนาดสามารถใช้ประโยชน์จาก PPC เพื่อเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มยอดขายได้ เช่น การโฆษณาสินค้าหรือบริการ โฆษณาโปรโมชันหรือส่วนลด และโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์

5. Social Media Marketing

social media marketing

Social Media Marketing คือทุกอย่างที่แบรนด์ทำบนช่องทางโซเชียลมีเดียของตนเอง อย่าง Facebook, Instagram, TikTok และ Twitter เพื่อโปรโมตสินค้าหรือบริการ โดยการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการมีโพสต์ที่น่าสนใจ การตอบโต้กับกลุ่มลูกค้า และการหมั่นตรวจสอบและปรับปรุงโซเชียลมีเดียของตนอยู่เสมอเพื่อให้โซเชียลมีเดียของแบรนด์ยังคงมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาเห็น 

6. Content Marketing

อย่างที่ได้เกริ่นไปว่าในการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญก็คือคอนเทนต์หรือเนื้อหาของโพสต์ต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งคอนเทนต์ที่ดีจะต้องมีเนื้อหาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่แค่ส่งข้อความแบบกว้าง ๆ แต่โฟกัสไปที่กลุ่มคนที่สนใจเนื้อหาของเราโดยเฉพาะ โดยใช้การเล่าเรื่อง แบ่งปันข้อมูล สร้างความเชื่อมั่น และการจดจำให้กับแบรนด์ พร้อมชักชวนผู้อ่านไปสู่ขั้นตอนต่อไป เช่น การขอข้อมูลเพิ่มเติม ลงทะเบียนอีเมล หรือซื้อสินค้าเพื่อกลายเป็นลูกค้าเต็มตัว

7. Email Marketing

email marketing

Email Marketing คือ การทำการตลาดผ่านอีเมล โดยการส่งอีเมลไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในสินค้าหรือบริการของเรา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างการรับรู้ของแบรนด์ กระตุ้นให้เกิดยอดขาย หรือสร้างโอกาสในการขายใหม่ ๆ จุดเด่นของการตลาดผ่านอีเมลคือ ROI สูง ดังนั้น Email Marketing จึงเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ Inbound Marketing สำหรับหลายธุรกิจ ซึ่งการส่งอีเมลที่ได้ผลในยุคใหม่คือการใช้ข้อความที่กระตุ้นกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะบุคคล โดยวิเคราะห์จากข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนว่ามีความสนใจในสินค้าและบริการไหน เช่น แบรนด์อาจจะมีการส่งโปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้าที่เกิดในแต่ละเดือนเพื่อทำให้เขารู้สึกว่าแบรนด์ของเราใส่ใจผู้บริโภค

8. Mobile Marketing

mobile marketing

Mobile Marketing เป็นการใช้ช่องทางอย่างเว็บไซต์ อีเมล SMS โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชัน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ จุดเด่นของการตลาดประเภทนี้คือสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทันทีทุกช่วงเวลาใน Customer Journey สามารถสร้างการรับรู้แบรนด์และกระตุ้นยอดขาย รวมถึงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้นผ่านการใช้งานอุปกรณ์มือถือที่แพร่หลาย ตัวอย่าง การส่งโปรโมชันผ่านข้อความ หรือผ่านการแจ้งเตือนบนหน้าจออุปกรณ์มือถือ โดยโฆษณาที่ปรากฏภายในแอปพลิเคชัน และแบนเนอร์ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์บนมือถือก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการตลาดประเภทนี้

ประโยชน์ของการทำ E-Marketing

1.กระตุ้นยอดขาย

การทำการตลาดแบบ E-Marketing สามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ได้โดยที่ไม่จำกัดทั้งสถานที่และเวลา อย่างที่ทราบกันว่าตัวแปรสำคัญของการตลาดประเภทนี้คืออินเทอร์เน็ต เมื่อเรามีอินเทอร์เน็ตก็ช่วยให้แบรนด์สามารถขยายกลุ่มเป้าหมายไปในพื้นที่ห่างไกล แม้จะอยู่คนละจังหวัด หรือคนละประเทศก็ไม่มีผล ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นนั่นเอง

2.สร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์

ถ้าเปรียบเทียบกับการทำการตลาดแบบเดิม ๆ การใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายของ E-Marketing ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Influencer หรือเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถหารายได้ได้ผ่านการสมัครเข้า Affiliate Program เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการเพิ่มการรับรู้ให้กับแบรนด์ อีกทั้งการทำ SEO หรือพัฒนาคอนเทนต์ให้น่าสนใจอย่างสม่ำเสมอก็ช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในกลุ่มเป้าหมาย

3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

การที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความทันสมัยอย่างสมาร์ตโฟนที่สามารถพกพาได้และเปรียบเสมือนอวัยวะที่ 33 ของเราช่วยให้เราสามารถตอบกลับข้อความ ข้อสงสัยของผู้ที่สนใจในสินค้าและบริการได้แบบทันที ซึ่งยิ่งตอบเร็วเท่าไหร่ก็จะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มเป้าหมายได้มากเท่านั้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการปิดการขายสินค้า เปลี่ยนจากกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าได้อีกด้วย

แล้วธุรกิจของคุณเลือกใช้ E-Marketing แบบไหน

การทำ E-Marketing มีความสำคัญต่อธุรกิจทุกขนาดที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยธุรกิจควรเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และกระตุ้นยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.