Marketing Management คืออะไร
การตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจในยุคที่การแข่งขันมีความเข้มข้นมากขึ้นทุกวัน การบริหารการตลาดจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าทางธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ ซึ่ง Marketing Management คือ การบริหารการตลาดหรือการจัดการการตลาดผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน การควบคุมกิจกรรมทางการตลาดของบริษัท เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้บริษัทสามารถสร้างยอดขายและรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ได้ด้วย
จุดประสงค์การทำ Marketing Management มีอะไรบ้าง
การทำ Marketing Management มีจุดประสงค์หลายประการที่จะช่วยสนับสนุนความสำเร็จและการเติบโตของบริษัทได้ ดังนี้
1. เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่
วัตถุประสงค์สำคัญของการทำ Marketing Management คือการดึงดูดลูกค้าใหม่เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์หรือการใช้บริการ ผ่านกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทมากที่สุด เช่น การโฆษณาทางช่องทีวีหรือการทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย การทำแผ่นพับ การสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
วัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการทำ Marketing Management คือ การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญมาก นอกจากนี้ การบริการที่ดีก็เป็นปัจจัยสำคัญ เช่น การจัดส่งสินค้าตรงตามเวลาโดยไม่ทำให้สินค้าเสียหาย
3. เพื่อสร้างผลกำไร
หากไม่ได้รับผลกำไร บริษัทก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ ดังนั้นการสร้างผลกำไรจึงเป็นสิ่งสำคัญ บริษัทจำเป็นต้องได้รับผลกำไรจากการเติบโตของธุรกิจ การกระจายธุรกิจ หรือสร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความหลากหลาย รวมถึงการปรับปรุงธุรกิจให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการทำ Marketing Management เพื่อจุดประสงค์นี้ บริษัทต้องรู้ว่า Marketing Management คืออะไร? และจะบรรลุเป้าหมายตลาดเหล่านี้ได้อย่างไร? ปัจจัยภายในคืออะไร ปัจจัยภายนอกคืออะไรที่มีผลในการสร้างกำไรให้กับบริษัท ทีมบริหารของบริษัทต้องคอยติดตามสถานการณ์การตลาด ต้องสร้างความรู้สึกดี ความน่าเชื่อถือเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า และดึงดูดลูกค้าใหม่ เพื่อสร้างผลกำไรให้มีการเติบโตสูงสุด
4. การเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงที่สุด
วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งของการทำ Marketing Management คือ การสร้างส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด ดังนั้นบริษัทจะใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้ได้ยอดขายสูงสุดในตลาดของผลิตภัณฑ์ตนเอง เช่น การมอบส่วนลดเพื่อดึงดูดลูกค้า การทำบรรจุภัณฑ์ที่น่าดึงดูดและไม่เหมือนใคร การเสนอโปรโมชันพิเศษ เป็นต้น
5. การสร้างชื่อเสียงที่ดีต่อสาธารณะ
ชื่อเสียงที่ดีต่อสาธารณะมีบทบาทสำคัญในการเติบโตของบริษัท หากบริษัทยืนอยู่ในฐานะบุคคลสาธารณะที่ดี นั่นหมายความว่า บริษัทมีโอกาสที่จะเติบโตและกระจายความเสี่ยงได้มากขึ้น ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือ แต่หากยืนหยัดด้วยชื่อเสียงที่ไม่ดี ก็จะไม่สามารถอยู่รอดในระยะยาวได้
ทำไมการทำ Marketing Management ถึงสำคัญสำหรับธุรกิจ
กระบวนการทำ Marketing Management ไม่ใช่สิ้นสุดลงเมื่อแผนการตลาดถูกดำเนินไปแล้ว แต่เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งการทำ Marketing Management ที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน และนี่คือเหตุผลว่าทำไมการทำ Marketing Management ถึงสำคัญกับธุรกิจ
- ช่วยรักษาชื่อเสียงของบริษัท
- ช่วยสร้างและรักษาฐานลูกค้า
- ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับบริษัท
- ช่วยในการวางแผนและจัดการทรัพยากรทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดสรรงบประมาณการตลาด บุคลากร และเวลาให้เหมาะสมกับเป้าหมายของบริษัท
- ช่วยในการวางแผน การจัดการโปรโมชัน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและเพิ่มยอดขายในช่วงเวลาที่ต้องการได้
- ช่วยให้เข้าใจความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า ส่งผลให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้อย่างต่อเนื่อง
- ช่วยสร้างความรู้จักและความสนในผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การทำโฆษณาออนไลน์ การสร้างสรรค์แคมเปญ
- ช่วยดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้หันมาสนใจผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ของบริษัทได้
- ช่วยทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท
- ช่วยในการวิเคราะห์ผลและปรับปรุงแผนการตลาดตามความเหมาะสมกับสภาพการตลาดปัจจุบัน เพื่อรักษาความนิยมและชื่อเสียงของบริษัท
5 ขั้นตอนการทำ Marketing Management สำหรับ Marketing Manager
การทำ Marketing Management มีขั้นตอนหลายขั้นตอนที่ Marketing Manager ต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ประเมินความดีพอระหว่างผลิตภัณฑ์กับตลาด
ในการนำเสนอสินค้าหรือการปรับปรุงพัฒนาสินค้าใด ๆ ก็ตาม ควรถามคำถามเพื่อเน้นย้ำให้ดีว่า ลูกค้าต้องการหรือไม่? ลูกค้าต้องการมากเลยหรือไม่? หากใช่ ก็อาจจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จได้ ซึ่งการได้มาในคำตอบนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้จัดการฝ่ายการตลาด เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ของคุณและตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างไร
ในการดำเนินการนี้ อาจเป็นการสำรวจฐานลูกค้าตัวเองเกี่ยวกับคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกันก็ควรรวบรวมคำติชมเกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้าและความพอดีของตลาดผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่ายการตลาดทำการส่งแบบสำรวจไปยังรายชื่ออีเมลของบริษัทที่มีอยู่ และขอให้พวกเขาให้คะแนนความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ สอบถามความถี่ของการใช้ผลิตภัณฑ์ว่าบ่อยแค่ไหน มีอะไรที่อยากให้พัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม และพวกเขาจะรู้สึกอย่างไรถ้าไม่มีสินค้านี้อีกต่อไปในตลาด
ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ได้ข้อสรุปสิ่งที่ลูกค้าชื่นชอบ พร้อมได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาทางการตลาด ด้านที่ต้องปรับปรุง ซึ่งข้อมูลที่ต้องปรับปรุงสามารถนำไปให้ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือเจ้าของธุรกิจรับทราบ และนำไปพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ทั้งนี้ในบริษัทขนาดใหญ่ งานนี้อาจตกเป็นหน้าที่ของผู้จัดการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ แต่สำหรับทีมเล็ก ๆ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดทั่วไปจะเป็นผู้นำในการดำเนินงานนี้
2. สร้างกลยุทธ์ทางการตลาด
รากฐานสำคัญของการจัดการการตลาดและการบริหารการตลาด คือการสร้างและดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งเป็นแผนงานที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างรายได้จากจุด A ไปยังจุด B นี่เป็นแผนการที่เป็นรูปธรรมในการใช้ช่องทางและสื่อต่าง ๆ ในการทำการตลาดผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านการวิจัยตลาด การสัมภาษณ์ลูกค้า และแม้กระทั่งการวิเคราะห์ผลตอบรับจากลูกค้า
แม้ว่าเป้าหมายสุดท้ายของการจัดการการตลาดทั้งหมดคือการเพิ่มยอดขาย แต่กลยุทธ์ทางการตลาดมีมากกว่าการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ลูกค้ากดปุ่มซื้อ มันคือการสร้างเส้นทางของผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนเป็นลูกค้า ที่จะดึงดูดให้มีโอกาสเป็นลูกค้าตั้งแต่ครั้งแรกที่พวกเขาได้ยินชื่อเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ ไปจนถึงช่วงเวลาที่พวกเขาซื้อ และอาจมากกว่านั้น โดยเส้นทางของผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นตอนการตระหนักรู้: ลูกค้าตระหนักดีว่าพวกเขามีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไข และแบรนด์ของคุณอาจเสนอวิธีแก้ปัญหาได้ เช่น มีคนวางแผนการเดินทางเดินป่าและตระหนักว่าพวกเขาต้องการรองเท้าเดินป่าที่ดีกว่าเดิมจากที่มีอยู่
- ขั้นตอนการพิจารณา: ลูกค้าตรวจสอบวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ เช่น พวกเขาอ่านข้อมูลจำเพาะของรองเท้าเดินป่าของคุณเพื่อดูว่าราคาเหมาะสมหรือไม่
- ขั้นตอนการตัดสินใจ: ลูกค้ามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อแล้ว เช่น พวกเขาพิจารณาว่ารองเท้าของคุณมีคุณภาพดีกว่าที่มีอยู่ และอยู่ในราคาที่สมเหตุสมผล และพวกเขาก็ซื้อ
3. สร้างข้อความให้กับแบรนด์
ข้อความของแบรนด์สามารถสื่อสารเกี่ยวกับพันธกิจและบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของแบรนด์ รวมถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การสร้างข้อความถึงแบรนด์จะสื่อสารถึงจุดยืนของบริษัทคุณว่ามีวัตถุประสงค์อะไร เหตุใดจึงมีอยู่ และอะไรที่ทำให้บริษัทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้จัดการฝ่ายการตลาดจะต้องมีส่วนร่วมในการออกไอเดียและนำข้อมูลเชิงลึกของกลยุทธ์ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาข้อความทางการตลาดที่เหมาะสม โดยสิ่งที่ต้องสร้างได้แก่
- พันธกิจ
- ข้อความที่ระบุถึงตำแหน่งของแบรนด์
- สโลแกน
- ข้อความบนเว็บไซต์
- ข้อความในการสื่อสารสำหรับช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย อีเมล และอื่น ๆ
4. ติดตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพ
ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาจกำหนดเป้าหมายและติดตามตัวชี้วัดเพื่อวัดประสิทธิภาพของแคมเปญ เช่น
- เว็บไซต์: จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์
- สื่อโซเชียลมีเดีย: จำนวนผู้ติดตาม อัตราการมีส่วนร่วมบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ความคิดเห็น การแชร์
- อีเมล: การสมัครสมาชิกผ่านทางอีเมล อัตราการคลิก อัตรา Conversion
- การทำ SEO: ความสำเร็จของกลยุทธ์ SEO อาจวัดจากการจัดอันดับการค้นหา อัตราการคลิก
- การโฆษณา: ผู้ลงโฆษณาติดตามต้นทุนต่อโอกาสในการขาย ราคาต่อคลิก ผลตอบแทนจากการลงทุน อัตรา Conversion เพื่อวัดความสำเร็จของแคมเปญ
- การบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า: สำรวจว่าลูกค้ามีความสุขไหม มีอัตราการเลิกซื้อหรือเลิกใช้สินค้าสูงหรือไม่ เป็นต้น
ซึ่งการติดตามตัวชี้วัดเหล่านี้ จะให้ข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับสถานะของแคมเปญการตลาดและโปรแกรมการตลาดของคุณ รวมทั้งช่วยแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อธุรกิจขนาดเล็กของคุณ ตัวอย่างเช่น การติดตามอัตราการเปิดอ่านอีเมล สามารถทำให้ทราบว่า จดหมายข่าวทางอีเมลของคุณประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ของคุณได้อย่างไร ซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มา ไปปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นตั้งหัวเรื่องหรือเพิ่มรูปภาพและอิโมจิได้ในการส่งอีเมลครั้งต่อไปได้
5. สร้างทีมที่ยอดเยี่ยม
เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตขึ้น ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาจจำเป็นต้องจ้างทีมในการติดตามส่วนประสมทางการตลาดที่กำลังเติบโต และให้การสนับสนุนในทีมที่ดี ไม่ว่าจะเป็น
- กำหนดความคาดหวังที่สามารถวัดผลได้และสื่อสารความคาดหวังเหล่านี้ ไปยังทีมการตลาด
- ตรวจสอบผลลัพธ์ของผลงานและผลการปฏิบัติงานของทีมเป็นระยะ ๆ และทำการปรับเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น หากการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดียลดลง กลยุทธ์ใหม่ใดที่จะช่วยสร้างยอดไลค์ การแชร์ และการติดตามให้มากขึ้นได้
- ทำหน้าที่เป็นผู้นำ คอยให้คำปรึกษาและจัดหาทรัพยากรเพื่อสนับสนุนทำการทำงานเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
- ดูแลเครื่องมือและทรัพยากร ช่วยในการจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการทำงาน ซึ่งอาจรวมถึงการกำหนดเวลาโพสต์ผ่านโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มการทำการตลาดที่เหมาะสม โปรแกรมออกแบบ เครื่องมือสำหรับการทำ SEO เครื่องมือวิเคราะห์ผล
- สร้างกระบวนการทางธุรกิจ ขั้นตอนการทำงานเฉพาะสำหรับทีม ว่าควรทำอะไร เพื่อใคร โดยใครต้องเป็นคนทำงานนั้น ๆ เพื่อให้สามารถทำงานตามเป้าหมายทางการตลาดที่กำหนดไว้ได้
- จัดการงบประมาณการตลาด อาจรวมถึงซอฟต์แวร์และเครื่องมือในการทำงาน เงินเดือนพนักงาน ค่าจัดกิจกรรม และค่าโฆษณา
ข้อดีของการทำ Marketing Management
การทำ Marketing Management มีข้อดีอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
- ช่วยเพิ่ม ROI, ยอดขายและสร้างรายได้ที่มากขึ้น
- ช่วยสร้างความรู้จักและความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างฐานลูกค้า
- ช่วยสร้างกระบวนการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
- ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
- ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
- ช่วยในการพัฒนาสินค้าและบริการ
- ช่วยให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้ดี
- ช่วยในการวางแผนและจัดการทรัพยากรทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
การทำ Marketing Management มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจ และมีผลต่อยอดขาย รายได้ และชื่อเสียงของบริษัทในระยะยาว
สรุป
การทำ Marketing Management มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจ และมีผลต่อยอดขาย รายได้ และชื่อเสียงของบริษัทในระยะยาว
ดังนั้นการทำ Marketing Management จำเป็นต้องทำเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ต้องมีการปรับปรุงและปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดและความเปลี่ยนแปลงในองค์กร มีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การวางแผน การดำเนินการ และการติดตามผล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การตลาดและรักษาความสำเร็จของกิจการได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพนั่นเอง