Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

เกาะกระแส Meme Marketing ทางเลือกการตลาดสมัยใหม่

เกาะกระแส Meme Marketing ทางเลือกการตลาดสมัยใหม่

ในยุคที่ Marketing พัฒนาจาก 1.0 ไปสู่การทำตลาดที่ลึกขึ้นและตรงจริตผู้คนมากขึ้น เทคนิคการใช้ ‘Meme’ หรือ ‘มีม’ คำนี้มีที่มาอย่างไรไปดูพร้อม ๆ กันเลย มีมคือ การล้อเลียน มุกตลกขำขันที่สะท้อนความคิดเห็นออกมาเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือไฟล์ Gif ที่แสดงถึงสถานการณ์บางอย่างที่สร้างความตลกขบขันให้กับผู้ที่เห็นภาพนั้น และสร้างการพูดถึงจนเกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นั่นเอง เพราะมีมเข้าไปนั่งในใจคนทั่วไปได้ง่าย เข้าถึงทุกเพศ ทุกวัย เลยเป็นเหตุผลที่นักการตลาดหลาย ๆ แบรนด์ได้หยิบมีมเหล่านี้ไปใช้ทำการตลาดสร้างภาพลักษณ์ที่เข้าถึงง่าย เป็นกันเอง และง่ายต่อการสื่อสาร จึงไม่แปลกที่นักการตลาดหลาย ๆ แบรนด์จึงเลือก Meme Marketing มาทำกลยุทธ์ทางการตลาดนั่นเอง

Meme Marketing คืออะไร ?

‘Marketing Meme’ เป็นการหยิบภาพล้อเลียน ภาพตลก หรือมีมมาผสมกับการทำการตลาด ซึ่งปรับปรุงจากมีมไปสู่การสื่อถึงแบรนด์ การขายของ หรือการให้บริการที่ผู้คนได้สัมผัสกับแบรนด์นั่นเอง แน่นอนว่าการที่แบรนด์จะเข้าไปนั่งในใจลูกค้าได้นั้น ก็จำเป็นต้องสื่อสารในสิ่งที่ลูกค้าคุ้นเคย คุ้นชิน เพื่อให้ลูกค้ามองว่าเนี่ยแหละตัวเองขณะกำลังใช้สินค้าหรือบริการต่าง ๆ จากแบรนด์นั้น ๆ การเลือกใช้มีมเป็นกลยุทธ์การตลาดจึงทำให้ลดช่องว่างที่ห่างกันของแบรนด์และลูกค้า แน่นอนว่ายิ่งเทรนด์การตลาดพัฒนาไปสู่ความเป็น Personalize มากขึ้น กลยุทธ์นี้เองจึงสอดแทรกเข้าไปนั่งในใจลูกค้าได้มากขึ้นนั่นเอง

5 ตัวอย่าง Meme Marketing ที่ดังตลอดกาล

มีมที่เรียกได้ว่า ฮอตฮิตตลอดการและผ่านหู ผ่านตาชาวเน็ตมากที่สุด และเป็นมีมที่มีแพทเทิร์นตายตัว และชาวเน็ตแค่มองก็รู้แล้วว่าจุดขำ จุดหักมุมอยู่ตรงไหน เห็นผ่านตามาเป็นระยะเวลานาน ลองมาดูไปพร้อมกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

  1. Distracted Boyfriend

เป็นมีมที่มีต้นกำเนิดมาจากช่างภาพชื่อ ‘Antonio Guillem’ ที่ถ่ายไว้เมื่อปี 2015 และโพสต์ลงขายในเว็บซื้อขายภาพชื่อดังอย่าง iStock.com มีมนี้ถูกใช้ครั้งแรกที่กลุ่มเฟซบุ๊กของชาวตุรกีเมื่อปี 2017 ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นมีมที่ผ่านตาชาวเน็ตกันมาอย่างยาวนานนั่นเอง

  1. Blinking White Guy

เป็นมีมในรูปแบบ Gif ที่ให้ความรู้สึก ไม่อยากจะเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งคนในภาพคือ Drew Scanlon ที่ในปี 2013 ทำอาชีพ Video Editor ที่เว็บไซต์เกมชื่อ Giant Bomb โดยภาพดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ Drew Scanlon กำลังดู Jeff Gerstmann เล่นเกม Starbound บนสตรีมออนไลน์ และกระพริบตาจนกลายเป็นมีม เมื่อ Jeff Gerstmann พูดออกอากาศว่า ‘farming with my hoe’ และมียูสเซอร์จาก x ได้นำโพสต์ในปี 2017 จนกลายเป็นมีมดังที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั่นเอง

  1. Disaster Girl

เป็นภาพของเด็กสาววัย 5 ขวบ ชื่อว่า ‘Zoe Roth’ ถูกถ่ายโดยคุณพ่อในปี 2005 ที่ Mebane, North Carolina ซึ่งภาพเบื้องหลังเป็นไฟที่กำลังไหม้บ้านข้าง ๆ อยู่โดยเมื่อปี 2021 ตัวเธอได้นำภาพนี้ไปขายผ่าน NFT โดยทำรายได้ไป $ 500,000 เลยทีเดียว แน่นอนว่าภาพนี้ยังคงเห็นอยู่ในปัจจุบันและหลายแบรนด์ยังได้นำไปใช้อีกด้วย

  1. Bad Luck Brian

มีชื่อไทยว่า ‘ไบรอัน เดอะซวย’ ที่กลายเป็นมีมเมื่อปี 2012 โดยที่คุณพ่อของ Kyle Craven ได้นำรูปนี้ไปโพสต์บนเว็บไซต์ Reddit ว่า ‘ไปสอบใบขับขี่…ถูกจับได้ว่าเมาแล้วขับ’ หรือ ‘แอบตดในห้องเรียน อึเล็ดมาด้วย’ ภาพดังกล่าวจึงกลายเป็นมีมที่ให้ความรู้สึกถึงพยายามที่จะทำดีแต่ก็ยังซวยอยู่นั่นเอง

  1. Success Kid

เป็นภาพของ Sam Griner ที่ทำท่าทางเหมือนจะกินทราย ถูกถ่ายไว้ตอนวัย 11 เดือน เมื่อปี 2007 ซึ่งถ่ายโดยคุณแม่บนชายหาดในขณะกำลังท่องเที่ยว ภาพนี้ถูกโพสต์ลงใน Flickr และในปี 2008 จึงกลายมาเป็นมีมที่แพร่หลายนั่นเอง

จะเห็นได้ว่ามีมที่นิยมที่ดังตลอดกาลมักจะมีสถานการณ์ที่ทำให้คนที่เห็นหรือดูรู้สึกสิ่งนั้นตามไปด้วยเสมอ ซึ่งความรู้สึกที่ได้มองเห็นนี้ส่งผลต่ออารมณ์ที่หลากหลายของผู้ที่ได้ดู ซึ่งแน่นอนว่าแบรนด์สามารถสอดแทรกสินค้าหรือบริการเข้าไปในมีมได้เช่นกันโดยใช้ Insight เข้าไปช่วย และยังมีแนวทางในการใช้มีมเหล่านี้ด้วยในพาร์ทต่อไป

5 แนวทางในการสร้าง Meme Marketing แบบง่าย ๆ

จะเห็นได้ว่าการสร้าง Meme Marketing ที่ยกตัวอย่างไปนั้นจะมีรูปแบบและแนวทางที่คล้าย ๆ กันอยู่สามารถหยิบจับไปประยุกต์ใช้กับแผนการตลาดได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตามแนวทางที่หยิบมาใช้นั้นสามารถเพิ่มหรือลดวิธีการใช้งานให้เหมาะสมกับแบรนด์ของตนได้ตามต้องการ 5 แนวทางนี้จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ตามลิสต์นี้ได้เลย

  1. รู้ว่าเสียงของแบรนด์ (Brand Voice) คืออะไร ? 

การที่เราจะเริ่มทำการตลาดด้วยมีมนั้น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องรู้เลยนั่นก็คือ การสร้าง Brand Voice ให้อิมแพค จำเป็นต้องรู้ว่าแบรนด์ของเรามีลักษณะใด สื่อสารออกไปแล้วเป็นตัวตนของแบรนด์หรือเปล่า ซึ่งจะทำให้การสร้างหรือการเลือกมีมแต่ละอัน จำเป็นต้องเลือกให้เข้ากับแบรนด์ด้วย เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา พร้อม ๆ กับคงเอกลักษณ์ของแบรนด์ตัวเองไว้ด้วยนั่นเอง

  1. ผู้รับสารของแบรนด์คือใคร ?

การรู้จักลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ก็จะช่วยให้การสื่อสารออกไปได้ผลที่ดี ตรงจุด ตรงจิต ตรงใจกลุ่มลูกค้า ซึ่งจะทำให้สารที่สื่อสารออกไปมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ตรงกลุ่มเป้าหมายขึ้น และการสื่อสารไม่ผิดเพี้ยนไปจากสารที่ต้องการจะสื่อ อีกทั้งการสื่อสารที่ตรงกลุ่มลูกค้าทำให้ช่วยตอกย้ำความเป็นแบรนด์ ให้ตรงใจกับลูกค้ามากที่สุดเช่นกัน

  1. เรียบง่าย เข้าใจง่าย

นับเป็นข้อสำคัญของการทำมีมการตลาดอีกเช่นกัน เพราะมีมที่ถูกพูดถึงบ่อย ๆ ก็เพราะความตลก ขำขัน ซึ่งหากสื่อสารได้เข้าใจง่าย ก็จะช่วยสร้างความบันเทิง ความสนุกให้กับผู้คนที่ได้เจอ ได้เห็นหรือได้อ่านมีมนั้น ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้คนได้เป็นอย่างดี

  1. สร้างแพทเทิร์นและทำตาม

มีมที่เห็นทั่วไปบนโลกออนไลน์นั้น มักจะมีแพทเทิรน์ให้ได้ยิ้ม ได้สนุกกันทุกมีม เหมือนนั่งอ่านการ์ตูนสั้น 3 ช่อง ที่เข้าใจง่ายและมีแพทเทิร์นตายตัว ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เมื่อหยิบมีมใดมาแล้ว ต้องทำตามบริบทของมีมนั้น ๆ เพื่อให้เกิดความมีส่วนร่วมด้วยอารมณ์ระหว่างผู้อ่านและมีมนั้น ๆ แน่นอนว่าหากแบรนด์ประยุกต์เอาสินค้าและบริการมาใช้ทำมีม ก็ลองหยิบ Insight ที่ลูกค้าเจอมาทำปรับใช้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเช่นกัน

  1. โปรโมทให้ถึง

อีกหนึ่งส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดกระแส ก็คือการทำให้มีมที่สร้างไว้ส่งต่อออกไปให้ทุกคนได้เห็น จะเห็นได้ว่าบางโพสต์ก็มีการใช้โฆษณาโปรโมตหรือสร้างแคมเปญเพื่อต่อยอดและสร้างสรรค์คอนเทนต์มารองรับอีกด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมให้มีมของเรามีพลัง และกระจายไปสู่ผู้รับสารหลายช่องทางมากขึ้นนั่นเอง

ตัวอย่างแบรนด์ดังที่ชอบทำ Meme Marketing

การหยิบมีมมาทำการตลาดนั้น หลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามหรือมีความสงสัยว่าใครทำหรือทำยังไง วันนี้เราเลยยกตัวอย่างการผสมผสานมีมลงไปในแบรนด์เพื่อทำการตลาด จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายแบรนด์ชั้นนำที่หยิบมาทำการตลาดและสามารถลองหยิบเอาไปทำบ้างก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ซึ่งแต่ละแบรนด์หยิบไปทำยังไง และมีมีมไหนที่คุ้นตาบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย

  1. Netflix

เรียกว่าใช้มีมมาเป็นการตลาดเป็นหลักในการสื่อสารและสร้างแบรนด์ เพราะด้วยลิขสิทธิ์ซีรีส์ที่สามารถหยิบทุกอย่างในซีรีส์ทุกเรื่องบนแพลตฟอร์มออกมาสร้างการตลาด สร้างแบรนด์ได้ไม่มีวันหมด ทั้งซีรีส์ การ์ตูน และภาพยนตร์ การที่หยิบเอาตัวละคร มาผสมกับมีมที่นิยมในโลกออนไลน์ทำให้เกิดการผสมผสานที่ลงตัวและสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ Meme Marketing เป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ของแบรนด์นี้ได้เป็นอย่างดี

  1. TInder India
https://marketingmind.in

อีกหนึ่งแบรนด์ที่เรียกว่าเล่นกับความรู้สึกของลูกค้าได้อย่างดี ที่ออกแคมเปญการตลาด ‘Adult Can Wait’ ที่สื่อสารกับคนรุ่นใหม่ให้สนุกกับชีวิตในแต่ละช่วงวัยก่อน เพราะวัยผู้ใหญ่สามารถรอได้ และแน่นอนว่าการหยิบมีมออกมาสื่อสารทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้ง่ายและเป็นวงกว้างมากขึ้น

  1. KFC

แบรนด์ KFC สาขาสเปนที่หยิบเอามีมมาทำการตลาดทุกโพสต์ ซึ่งเป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่าการโพสต์มีมเป็นสิ่งที่ทุกคนทั่วโลกเข้าใจ ไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเรื่องภาษา วัฒนธรรม เพราะแม้กระทั่งมีมที่ไม่มีข้อความ คนทั่วไปก็เข้าใจได้ง่าย ๆ นั่นเอง

  1. McDonald’s

อีกหนึ่งแบรนด์ที่เข้าไปนั่งในใจลูกค้ามาอย่างยาวนานและยังคงทำการตลาดด้วยมีมอีกเช่นกัน แต่เป็นการพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองลงไปเป็นมีมเอง ซึ่งเป็นการใช้ Insight เข้ามาสผมผสานออกมาเป็น Meme Marketing ที่เข้าถึงลูกค้าได้น่าสนใจอีกเช่นกัน

  1. Burger King

เรียกว่าเป็นคู่รัก คู่ซี้กับแบรนด์ด้านบนก็ว่าได้ เบอร์เกอร์คิงก็ใช้มีมและหยิบสินค้าและบริการมาเป็นมีมของตัวเองด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่อยู่คู่และยาวนานก็คงจะเป็นความเป็นคู่กัดกับแมคโดนัลด์ไปตลอดแน่นอน

ข้อดี vs ข้อเสีย Meme Marketing

แน่นอนว่าการทำมีมมาใช้ในการตลาดย่อมมีข้อดีและข้อเสียเช่นกัน ซึ่งเราได้ลิสต์ข้อดีข้อเสียเอาไว้ให้นักการตลาดหลาย ๆ คนได้ลองชั่งน้ำหนักดูความเหมาะสมในการนำเทคนิคมีมไปใช้ในการตลาดได้

ข้อดี

  • เข้าถึงง่าย ตรงใจ เชื่อมโยงถึงความรู้สึกได้ง่าย
  • สร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างดี
  • ต้นทุนต่ำ งบประมาณการทำไม่มาก
  • มีโอกาสทำให้เกิดกระแสได้ง่าย

ข้อเสีย

  • ไม่แน่นอน บางมีมดัง แต่บางมีมก็ผ่านหายไป
  • เป็นกระแสได้ไม่นาน และผ่านไปไว
  • อาจทำให้หลาย ๆ แบรนด์ทำตามและถึงจุดอิ่มตัวได้ไว
  • ทำให้ไม่ตรงกับบุคคลิกของแบรนด์ จนถูกมองว่าพยายามเกินไป
  • มีความเสี่ยงผิดกฏหมาย เพราะอาจผิดลิขสิทธ์ได้

จะเห็นว่าข้อดีและข้อเสียของการใช้เทคนิคมีมมาทำการตลาด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าจะปรับตัวหรือประยุกต์การใช้มีมยังไงให้พอดี พอเหมาะ กลมกล่อมกับแบรนด์ที่นำไปใช้ เพราะบางแบรนด์ก็จำเป็นต้องการความน่าเชื่อถือเช่นกัน

Meme Marketing เป็นไวรัลได้ง่ายขึ้น ด้วยการใช้ Mandala AI

เมื่อเห็นแนวทาง 5 อย่างแล้ว การเลือกมีมหรือหรือมุกตลกไปผสมผสานกับแบรนด์และกลั่นกรองออกมาเป็นมีมนั้นจำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่นักการตลาดสามารถหยิบจับมาใช้อ้างอิง และเริ่มไอเดียได้ อย่างเช่นการหา Insight หาเทรนด์ หรือหาสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นกระแสในโลกออนไลน์ได้ง่ายกว่าเดิมด้วย Mandala Cosmos สำรวจเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ และการพูดถึงบนโซเชียลเพื่อเกาะกระแสในการทำการตลาด และนำมาชั่งน้ำหนักว่าเข้ากับสินค้ากับบริการของเราอย่างไร แน่นอนว่าหากหยิบจับมาได้ตรงจุด พูดได้ตรงใจลูกค้า ก็สามารถปรับใช้การตลาดด้วยมีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและลงตัวมากขึ้นแน่นอน

Mandala AI
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.