การอ่านและดูรีวิวสินค้าจากบุคคลลที่มีความน่าเชื่อถืออย่าง Influencer เรียกได้ว่าเป็นกิจวัตรของคนยุคใหม่ก่อนเลือกซื้อสินค้า นักการตลาดและแบรนด์จึงเริ่มหันมาสนใจ Influencer Marketing โดยผลสำรวจจาก HubSpot พบว่า Micro Influencer สามารถสร้างการมีส่วนร่วมมากกว่า Macro Influencer มากถึง 60 % ด้วยเหตุนี้ทั้งแบรนด์และนักการตลาดจึงให้ความสำคัญกับ Micro Influencer แล้ว Micro Influencer คือใคร มีข้อดีและทริคในการเลือกใช้ Micro Influencer อย่างไรบ้าง ตามมาอ่านกัน
Micro Influencer คืออะไร
Micro Influencer คือ ผู้ที่มียอดติดตามระหว่าง 10,000 ถึง 50,000 คน ถึงแม้ยอดคนติดตามจะไม่มากเท่ากุลุ่ม Macro Influencer แต่กลับเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก Micro Influencer เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านที่พวกเขาถนัดจึงถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถดึงดูดกลุ่มคนที่มีความชอบเหมือนกันได้จึงเหมาะกับการใช้เพื่อสร้าง Engagment ให้กับแบรนด์
ซึ่งปกติแล้ว Influencer จะแบ่งเป็น 5 ประเภทด้วยกันตามยอดผู้ติดตาม ได้แก่
- Nano Influencer มีผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน
- Micro Influencer มีผู้ติดตาม 10,000 – 50,000 คน
- Mid-tier Influencer มีผู้ติดตาม 50,000 – 500,000 คน
- Macro Influencer มีผู้ติดตาม 500,000 – 1,000,000 คน
- Mega Influencer มีผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป
ทำไมนักการตลาดถึงสนใจ Micro Influencer
ข้อมูลจาก HubSpot พบว่า 56% ของนักการตลาดที่ลงทุน Influencer Marketing เลือกทำงานกับ Micro Influencer และ 44% ของนักการตลาดกล่าวว่าประโยชน์ของการร่วมงานกับ Micro Influencer ที่สำคัญที่สุดคือการมีค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้ เนื่องจาก Micro Influencer มีราคาที่ไม่สูงมาก โดยมีราคาต่ำกว่ากลุ่ม Mid-tier Influencer, Macro Influencer และ Mega Influencer ในขณะที่สามารถสร้าง Engagement ระหว่างผู้ติดตามได้สูงจึงเป็นที่นิยมในเทรนด์การตลาดและการโฆษณาในปัจจุบันนั่นเอง
ข้อดีของการจ้าง Micro Influencer
สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
จากการสำรวจของ SPIRALYTICS พบว่า 82% ของผู้บริโภคมักจะทำตามคำแนะนำจาก Micro Influencer มากกว่า Influencer กลุ่มอื่นๆ โดยสาเหตุหลักคือ Micro Influencer สามารถเข้าถึงกลุ่ม Niche Market ที่ให้ความสำคัญกับการแนะนำแบบปากต่อปากได้ อีกทั้งการยืนยันจาก Micro Influencer จะช่วยเพิ่มน้ำหนักว่าแบรนด์นั้นๆ มีสินค้าและบริการที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ
เพิ่มยอดขายให้เเบรนด์
การทำการตลาดโดยใช้ Micro Influencer ยังช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการ เนื่องจาก Micro Influencer มีความน่าเชื่อถือในกลุ่มคนที่ชอบและสนใจในด้านเดียวกัน อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ กับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีจึงช่วยให้แบรนด์สามารถเพิ่มยอดขายได้ โดย Shopify พบว่า Micro Influencer มียอด Engagement มากที่สุด โดยเฉพาะในช่องทาง TikTok โดยอาจเรียก Influencer เหล่านี้ว่า TikToker ก็ได้
ช่วยให้เเบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น
การสื่อสารนับเป็นเรื่องสำคัญในการทำการตลาดและเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ (Brand Awareness) โดย SPIRALYTICS พบว่า ภาพที่โพสต์โดย Micro Influencer มี conversion 20% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของ Macro Influencer ดังนั้นโพสต์ของ Micro Influencer จึงเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้ติดตาม และสามารถช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
แบรนด์สามารถเข้าถึง Micro Influencer ได้ง่าย
โดยปกติ Mid-tier Influencer, Macro Influencer และ Mega Influencer เป็นกลุ่ม Influencer ที่มีผู้ติดตามมากตั้งแต่ 50,000 จนถึง 1 ล้านคน จึงมักจะร่วมงานกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ต่างจาก Micro Influencer ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากกว่า อีกทั้งยังเปิดกว้างในการร่วมงานกับแบรนด์ใหม่ๆ มากกว่าอีกด้วย
ราคาจับต้องได้
อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำงานร่วมกับ Macro-Influencer ที่เข้าถึงผู้คนถึงระดับแสนไปจนถึงล้านคนมีงบประมาณที่ค่อนข้างสูง ต่างจาก Micro-Influencer ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้จำน้อยกว่า แต่มีความตรงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า อีกทั้งยังใช้งบประมาณที่ถูกกว่า ข้อมูลจาก HubSpot พบว่า 44% ของนักการตลาดกล่าวว่าประโยชน์ของการร่วมงานกับ Micro Influencer ที่สำคัญที่สุดคือการมีค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้
ทริคในการเลือก Influencer ในการช่วยโปรโมทเเบรนด์ของคุณ
1. ศึกษาฐานลูกค้าของ Influencer ว่าเป็นกลุ่มประเภทไหน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้ Influencer ก็คือการเลือก Influencer ที่มีฐานลูกค้าตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ เพราะจะช่วยให้คอนเทนต์ของ Influencer ที่โปรโมทแบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอาจใช้เครื่องมือ Top Channel ของ Mandala Analytics เพื่อดูว่า Influencer คนไหนมี Engagement สูงสุดใน keyword ที่ลูกค้าใช้ค้นหา พร้อมบอกช่องทางจำนวนที่ Influencer พูดเกี่ยวกับ Keyword นั้นชัดเจนจึงช่วยให้นักการตลาดทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้น
2. ศึกษารูปแบบคอนเทนต์ที่ Influencer สามารถทำ Engagement ได้สูง
Engagement คือการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ติดตามกับ Influencer สามารถวัดได้จากจำนวนการกดไลก์ คอมเมนต์ และแชร์ โดยคอนเทนต์ที่มี Engagement สูงสามารถดึงดูดผู้ติดตามได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากรูปแบบคอนเทนต์ที่มี Engagement สูงตรงเป็นไปในทิศทางเดียวกับคอนเทนต์ที่แบรนด์ให้ความสนใจ ก็จะช่วยคงความเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าในตัวแบรนด์ไว้ได้ เช่น แบรนด์เครื่องสำอางค์เหมาะกับการจ้าง Influencer ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการแต่งหน้า และคอนเทนต์ที่มียอด Engagement สูงคือการแต่งหน้าเลียนแบบนักร้อง K-pop
3. ประเมินความคุ้มค่าของการว่าจ้าง
นอกจากการเลือก Influencer ที่มีฐานลูกค้าตรงกับกลุ่มเป้าหมายและคอนเทนต์ที่มี Engagement สูงแล้ว แบรนด์ยังควรพิจารณาถึงงบประมาณในการว่าจ้าง Influencer อีกด้วย โดยควรประเมินว่างบประมาณที่มีอยู่นั้นเพียงพอกับผลลัพธ์ที่คาดหวังหรือไม่ โดยเรื่องค่าจ้างเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตกลงกันให้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนร่วมงานกัน
4. ศึกษาเเพลตฟอร์มไหนที่ Influencer มีฐานลูกค้าเยอะ
แต่ละแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียก็มีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นแบรนด์ควรศึกษาว่า Influencer มีฐานลูกค้าเยอะในแพลตฟอร์มไหน เพื่อให้คอนเทนต์ที่โปรโมทแบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. ตรวจสอบประวัติและชื่อเสียงของ Influencer
นอกจากเรื่องอื่นๆ แล้ว แบรนด์ควรตรวจสอบประวัติและชื่อเสียงของ Influencer เพื่อให้แน่ใจว่า Influencer นั้นเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ได้ โดยดูว่า Micro Influencer ในไทยที่แบรนด์สนใจเคยมีข่าวเสียหาย หรือมีชื่อเสียงไปในทางด้านไหน
ตัวอย่าง Micro Influencer
สายแฟชั่น
@nnookkk__
สายบันเทิง
@sunphenix
สายการตลาด
@marketing101_byaimmie
สายอาหาร
@apiece.k
Micro Influencer จิ๋วแต่แจ๋ว
แม้ว่า Micro Influencer จะมียอดผู้ติดตามไม่มากเท่า Macro Influencer แต่ถ้าพิจารณาจากความคุ้มค่าเรื่องค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้ และความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด นับว่า Micro Influencer เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ที่ต้องการทำการตลาดแบบ Influencer Marketing โดยการเลือก Micro Influencer ที่ใช่นั้นเป็นหัวใจของการโฆษณาให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายโดยยังคงตัวตนของแบรนด์ไว้ นักการตลาดและแบรนด์ควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้ โดยสามารถใช้ Mandala Analytics เป็นตัวช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วและง่ายขึ้น