Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

OEM คืออะไร ทำไมเจ้าของแบรนด์ควรรู้ 

OEM คืออะไร ทำไมเจ้าของแบรนด์ควรรู้ 

เราคงคุ้นเคยกับคำว่า OEM มายาวนาน ไม่ว่าจะมาจากแบรนด์ดัง ๆ หรือแบรนด์ที่กำลังสร้างตัวเอง การทำธุรกิจประเภทนี้ก็เป็นอีกประเภทที่ได้รับความสนใจจากใครหลาย ๆ คน ที่อยากจะผันตัวเองมาลงทุนหรือเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองสักหนึ่งอย่างที่แตกต่างจากการซื้อแฟรนไชส์ การขายของออนไลน์ หรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ 
วันนี้เราจะพามารู้จักอีกหนึ่งประเภทการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ ดูแลธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการนั่นก็คือการสร้างแบรนด์ด้วยการลงทุน OEM จะมีรายละเอียดยังไงบ้างมาดูไปพร้อมกันเลย

OEM คืออะไร

oem

OEM คือ Original Equipment Manufacturer หรือที่เจ้าของธุรกิจรู้จักกันดีว่าเป็น โรงงานรับผลิตสินค้าแบบไม่ตีแบรนด์ โดยที่หากใครต้องการสินค้าชิ้นไหนไปทำตลาด ไปสร้างแบรนด์ก็จะติดต่อโรงงานให้ผลิตสินค้าที่ต้องการ ตามจำนวนที่ตกลงกัน พร้อมกับคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โรงงาน OEM จึงมีทั้งเครื่องจักรและระบบการผลิตที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้านั้น ๆ เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ที่สนใจจะทำสินค้าประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องไปเปิดโรงงานเอง ไปลงทุนกระบวนการผลิตเอง ช่วยลดระยะเวลาและตัดกระบวนการผลิต รวมถึงลดความเสี่ยงลงแล้วไปโฟกัสที่การทำการตลาดเพื่อให้สินค้าขายได้น่าจะตอบโจทย์ของนักลงทุนและผู้ที่กำลังก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการมือใหม่นั่นเอง

ข้อดี – ข้อเสียของโรงงาน OEM มีอะไรบ้าง

ด้วยความแตกต่งทั้ง 2 แบบนี้ ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์หรือผู้ว่าจ้างจะเลือกแบบไหน ชอบแบบใด ก็สามารถเลือกลงทุนกับโรงงานนั้น ๆ ได้เหมือนกัน วันนี้เราเลยพามาดูข้อดีและข้อเสียของ โรงงาน OEM กันก่อนว่ามีข้อดีตรงจุดไหนบ้างและข้อเสียที่ว่าแบรนด์จะยังพิจารณาอยู่ไหม ไปดูกันเลย

ข้อดี

  • ต้นทุนต่ำ ลูกค้าสามารถนำสินค้าไปตีแบรนด์ของตัวเองและพร้อมวางขายแทบจะทันที 
  • ลดความเสี่ยง ลูกค้าไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานหรือลงทุนผลิตสินค้าเอง 
  • สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้คล่องตัวกว่า
  • มีผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษา แนะนำ หรือพัฒนาสินค้าคอยดูแล

ข้อเสีย

  • สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะเป็นแบบสำเร็จรูป ไม่แตกต่างจากท้องตลาดมากนัก
  • แบรนด์ไม่สามารถควบคุมการผลิตได้เอง คุณภาพและมาตรฐานขึ้นอยู่กับโรงงานเท่านั้น
mandala banner

สินค้าประเภท OEM มีอะไรบ้างที่ได้รับความนิยม

สินค้าที่ได้รับความนิยมและลงทุนกับการทำ OEM มีหลากหลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เลือกใช้งานง่าย หยิบใช้สะดวก ซึ่งสินค้าประเภทนี้มีดังนี้

food

1.อาหาร แน่นอนว่ามีครบทั้งอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป ไปจนถึงวัตถุดิบ เครื่องปรุง อาหารคาวหวาน ครบทุกประเภทที่เห็นได้ตั้งแต่ในตลาดไปจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่

make up

2.เครื่องสำอาง เป็นอีกประเภทที่นิยมใช้โรงงาน OEM ผลิตสินค้าและสร้างแบรนด์ของตัวเอง มีครบทุกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ซึ่งหาโรงงานผลิตได้ไม่ยากนัก

broom

3.ของใช้ทั่วไป เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันถ้าคุ้นหน้าคุ้นตาก็คงเป็นสินค้าอย่างไม่ถูบ้าน ไม้กวาด โต๊ะ เก้าอี้ แกตเจ็ต IT สเปรย์ทำความสะอาดต่าง ๆ เป็นต้น 

Supplement oem

4.ยา เป็นอีกประเภทที่ได้รับความนิยม แต่ก็ยังเป็นสินค้าเฉพาะทาง เฉพาะอาชีพซึ่งการดำเนินการจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนตรวจสอบหลายขั้นตอน แต่ก็ถือว่าเป็นสินค้าจำเป็นและการันตีกำไรได้อย่างแน่นอน

ทำอย่างไรถึงขายสินค้าจากโรงงาน OEM ได้อย่างดี

ด้วยสินค้าลักษะนี้ที่จำเป็นต้องมีการลงทุนกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เหมือน ๆ กันทำให้เกิดความแตกต่างได้น้อย การทำให้สินค้าให้ขายได้และทำกำไรได้มากย่อมเป็นปัจจัยสำคัญอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการและกลยุทธ์ที่ทำให้ขายสินค้าประเภทนี้ได้ มีดังนี้

1. มีความเเตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ถึงแม้จะมาจากโรงงานเดียวกัน หลาย ๆ แบรนด์เข้าถึงโรงงานรับผลิตได้ง่าย จำเป็นต้องสร้างความแตกต่างด้วยการสร้างแบรนด์ให้ดีและเป็นที่จดจำให้ได้ จะส่งผลให้สินค้าเป็นที่จดจำได้มากขึ้นไปด้วยนั่นเอง

2. มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน การวางกลุ่มเป้าหมาย จัดกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน จะช่วยเพิ่มโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น สื่อสารชัดเจน ตรงใจกับลูกค้า ส่งผลต่อการเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย

ศึกษาเพิ่มเติม: เข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างยอดขาย

3. มีคุณภาพสินค้าที่ดี แบรนด์จำเป็นต้องควบคุมสินค้าเช็คคุณภาพ มีกระบวนการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานเพื่อให้สินค้าที่ส่งต่อถึงมือลูกค้าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ตก QC และการันตีความปลอดภัยให้กับลูกค้าอีกด้วย

4. วางกลยุทธ์การตลาด ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ ออฟไลน์ การใช้ KOL กลยุทธ์การตลาดที่วางไว้เพื่อสื่อสารไปยังลูกค้าจำเป็นต้องสร้างคุณค่าให้กับสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่างกับสินค้าในท้องตลาด จะช่วยให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักและสร้างยอดขายได้มากขึ้น

5. สร้าง Value Added ให้กับสินค้า การสร้างคุณค่าให้กับสินค้า จะช่วยสร้างความแตกต่างจากสินค้าที่มีในตลาดมากขึ้น ทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าของสินค้านั้น ๆ และสินค้านั้นช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร ซึ่งทำให้สร้างความแตกต่างกับสินค้าในท้องตลาดได้อย่างดี

ตัวอย่างแบรนด์ในไทยที่ใช้โรงงาน OEM ในการผลิต

ถ้ามองไปรอบตัวอย่างน้อยย่อมมีสินค้า OEM ของเราอย่างน้อย 1 ชิ้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามสินค้า OEM ที่เป็นแบรนด์ไทย และได้รับความนิยมที่อยากยกตัวอย่างนั่นก็คือ แบรนด์ Saijo Denki ที่เริ่มต้นจากการผลิตชิ้นส่วนและสินค้าให้กับผู้ว่าจ้างหรือแบรนด์ต่าง ๆ ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นผลิตแอร์และตีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นแบรนด์ที่มีครบครันทั้งการรับจ้างผลิตแบบ OEM ซึ่งมีลูกค้าคือ แอร์ Carrier, แอร์ York รวมถึงลูกค้าเจ้าอื่น ๆ เป็นต้น และยังสามารถเทิร์นตัวเองมาเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เรียกว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จแบรนด์นึงในไทยที่ทำได้ทั้ง OEM และสร้างแบรนด์ของตัวเองได้ด้วย

mandala banner

สรุป

การลงทุนและสร้างแบรนด์กับธุรกิจ OEM ยังน่าสนใจและเป็นอีกทางเลือกของผู้ที่ต้องการสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจในธรรมชาติของธุรกิจประเภทนี้มากขึ้นเพื่อวางกลยุทธ์ ทำการตลาด สร้างแบรนด์ให้น่าสนใจ กำหนดประเภทธุรกิจที่จะลงทุนไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ของใช้ทั่วไป ไปจนถึงยาเวชภัณฑ์ตามความถนัดและความชำนาญ รวมทั้งเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าที่อยู่ในท้องตลาดเพื่อสร้างความแตกต่างขึ้นมาจากแบรนด์อื่นให้ได้ เพื่อสร้างยอดขายและกำไรที่คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุดนั่นเอง

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.