- Brand Identity คืออะไร
- Brand Identity Prism ต่างจาก Brand Identity อย่างไร
- ความสำคัญของ Brand Identity
- 4 ประเภทของ Brand Identity
- 7 องค์ประกอบของ Brand Identity
- วิธีการสร้าง Brand Identity ให้โดดเด่นกว่าใคร
- 5 ตัวอย่างของการทำ Brand Identity ที่ประสบความสำเร็จ
- Mandala AI เครื่องมือสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ให้น่าจดจำกว่าเดิม
ทำไมสินค้าเหมือนกัน ผลิตจากที่เดียวกัน ราคาพอ ๆ กัน แต่ยอดซื้อ ความปังกลับดังไม่เท่ากัน ความแตกต่างอยู่ที่ตรงไหน และอะไรทำให้ลูกค้าเลือกซื้อและไม่เลือกซื้อสินค้านั้น ๆ วันนี้เราพามาทำความรู้จัก Brand Identity ตัวตนของแบรนด์ที่สร้างอารมณ์และความรู้สึก จนนำไปสู่การผลักดันให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าโดยที่พึงพอใจกับราคาที่จ่ายไป จะมีวิธีการสร้างตัวตนอย่างไร แปะตัวอย่างเคสจากหลากหลายแบรนด์ดังระดับโลกที่น่าสนใจให้ลองดูและเอาไปปรับใช้กับแบรนด์ของคุณได้ในอนาคต พร้อมกับแนะนำเครื่องมือที่สร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ให้น่าจดจำมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย
Brand Identity คืออะไร
Brand Identity คือ ตัวตนของแบรนด์ที่ผู้คนทั่วไปสัมผัสได้ หากให้มองเห็นภาพแบบง่าย ๆ ก็ลองจินตนาการความรู้สึกว่าตื่นเช้าบนที่นอน ‘Muji’ เทียบกับที่นอน ‘Ikea’ ความรู้สึกก็คนละแบบ หรือหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาจากกระเป๋าเป็น ‘iPhone’ กับ ‘Samsung’ ก็ให้ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ซึ่งถึงแม้จะเป็นสิ่งของที่มีวิธีใช้เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันและอัตลักษณ์ ไปจนถึงตัวตนของแบรนด์ ทำให้สิ่งของที่คล้าย ๆ กัน ดึงดูดลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อได้ต่างกัน ซึ่ง Brand Identity ก็เหมือนการบอกผู้คนทั่วไปว่าแบรนด์มีเอกลักษณ์ยังไง แบรนด์มีตัวตนอย่างไร แบรนด์มีจุดยืนอย่างไร ซึ่งการเลือกแบรนด์ก็เหมือนกับการสะท้อนตัวตน ไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตของเราผ่านแบรนด์ที่เลือก แน่นอนว่าถ้าแบรนด์ไหน ตรงจิต ตรงใจ ตรงจริตของลูกค้า ลูกค้าก็จะติดใจและติดตาม เกิดความอยากซื้อ อยากจ่าย จนกลายมาเป็น FC หรือแฟนด้อมที่ภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว
Brand Identity Prism ต่างจาก Brand Identity อย่างไร
เมื่อนักการตลาดหลาย ๆ คนรู้แล้วว่า Brand Identity คืออะไรแล้ว ยังมีอีกคอนเซ็ปต์ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากอัตลักษณ์ของแบรนด์ นั่นก็คือ Brand Identity Prism อีกหนึ่งแนวคิดที่พัฒนาเพื่อทำให้แบรนด์มีชีวิต มีพลังมากขึ้น อีกทั้งเพื่อเชื่อมโยงกับลูกค้าได้ง่ายและลูกค้าให้ความรู้สึกว่าแบรนด์เป็นตัวแทนของเค้า พูดแทนเค้า มีพฤติกรรมเหมือนเค้าได้นั่นเอง
ดังนั้นทั้ง 2 แนวคิดจึงมีความแตกต่างกันชัดเจน เรียกว่า Brand Identity Prism เป็นเวอร์ชันอัปเกรดของแนวคิดแรกซะมากกว่า เพราะ Brand Identity Prism เพิ่มองค์ประกอบและแนวคิดเข้าไป 6 อย่าง คือ Physique, Personality, Culture, Relationship, Reflection และ Self-Image การเจาะลึกหาตัวตนให้เจอผ่านแนวคิด Brand Identity Prism หลังการใช้แนวคิด Brand Identity ก็สามารถทำให้เรามองเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ความสำคัญของ Brand Identity
ความสำคัญของแนวคิดนี้ คือ การสร้างภาพจำเพื่อให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยปกติแล้ว Brand คือ ยี่ห้อหรือตราประทับ แต่การทำให้แบรนด์แต่ละแบรนด์แตกต่างกันคือการกำหนดอัตลักษณ์ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความเชื่อ ความไว้ใจ ความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือ จนสามารถสร้างคุณค่าให้กับสินค้าที่ผลิตออกมามีความโดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง ตลอดจนส่งผลต่อการค้นหาลูกค้า หากลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
แน่นอนว่าการที่แบรนด์มีอัตลักษณ์ของตัวเองที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ก็ส่งผลถึงการสื่อสาร การบอกกล่าวไปยังลูกค้าว่าแบรนด์นี้มีหน้าตา บุคลิกเป็นแบบไหน จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้แบรนด์นั้น ๆ ตามความรู้สึก และพฤติกรรมของลูกค้าคนนั้น ๆ นั่นเอง แถมยังสามารถหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น ไปจนถึงออกแคมเปญต่าง ๆ เพื่อแสดงจุดยืนของแบรนด์และรักษากลุ่มลูกค้าเก่าของแบรนด์ได้ด้วย ความสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์จึงขาดไม่ได้และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแบรนด์ไปโดยปริยาย
4 ประเภทของ Brand Identity
การสร้างและกำหนดอัตลักษณ์ของแบรนด์สามารถจัดกลุ่มและกำหนดกลุ่มได้ง่าย ๆ และเพื่อให้ทั้งนักการตลาดได้โฟกัสได้ถูกต้อง และเจ้าของกิจการตัดสินใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น จึงแบ่งกลุ่มอัตลักษณ์ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
- Graphic Identity อัตลักษณ์ของแบรนด์ที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น สี โลโก้ แคปชัน บทความ รูปภาพ เป็นต้น
- Sensorial Identity อัตลักษณ์ของแบรนด์ที่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก อย่างกลิ่น เสียง รสชาติ การสัมผัส เช่น การได้กลิ่นแอร์ของร้าน การได้ยินเสียงดนตรีบางเพลง และการได้ชิมรสชาติของบางแบรนด์ เป็นต้น
- Behavioral Identity แบรนด์ที่สร้างอัตลักษณ์เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือนำเสนอ Customer Journey อย่างการที่จะซื้อสินค้าใน Ebay จะซื้อผ่านการประมูล หรือการที่รู้กันว่า Double Day ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็จะมักเข้าไปซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ที่แอปน้ำเงิน หรือแอปส้ม เป็นต้น
- Functional Identity อัตลักษณ์ของแบรนด์ที่ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากสินค้าที่แบรนด์ทำออกมา ไม่ว่าจะเป็น รองเท้าเพื่อสุขภาพ เก้าอี้แก้อาการปวดหลัง แว่นต่าที่ตัดแสง เป็นต้น ซึ่งหากฟังก์ชันการใช้งานง่าย ตอบโจทย์และแก้ปัญหาของผู้ใช้งานได้ดี แบรนด์นั้นก็มีอัตลักษณ์ที่ตอบโจทย์ได้นั่นเอง
7 องค์ประกอบของ Brand Identity
การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ สามารถสร้างขึ้นตามองค์ประกอบ 7 ข้อ ดังนี้
1. Logo ตราสินค้าหรือยี่ห้อที่บ่งบอกว่าสินค้านี้มาจากแบรนด์ไหน
2. Brand Name ชื่อยี่ห้อสินค้าเพื่อระบุว่าเป็นยี่ห้ออะไร เพื่อให้จำติดปาก ติดหูและติดตาลูกค้าได้
3. Graphic & Image เพื่อสร้างภาพจำให้กับลูกค้าได้ว่า ภาพนี้รูปแบบนี้ มาจากแบรนด์ไหน แบรนด์ไหนชอบภาพสีแบบนี้ จัดวางองค์ประกอบแบบนี้ เป็นต้น
4. Color Scheme รูปแบบสีที่แต่ละแบรนด์ใช้เป็นประจำ ซึ่งรูปแบบสีจะใช้แบบเดียวกันทุกช่องทางที่ต้องสื่อสารไปยังลูกค้า
5. Typography รูปแบบอักษรที่แบรนด์เลือกใช้เพื่อสื่อสารไปยังลูกค้าและภายในองค์กรด้วย
6. Tone & Voice โทนและเสียง จะใช้เพื่อสื่อสารไปยังลูกค้า ว่าจะเป็นแบรนด์ที่มีลักษณะใดซึ่งจะเปลี่ยนโทนเสียงให้เข้ากับสารที่ต้องการสื่อออกไป
7. Slogan เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่คุ้นหู คุ้นตา และรู้จักแบรนด์มากขึ้น
วิธีการสร้าง Brand Identity ให้โดดเด่นกว่าใคร
การสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นและติดตาติดใจลูกค้ามีวิธ๊การสร้างแบรนด์ได้ ดังนี้
- ศึกษาลูกค้า แบรนด์และคู่แข่ง วิเคราะห์ตลาดและคู่แข่งว่ามีหน้าตาอย่างไร ทำตลาดแบบไหน ซึ่งการศึกษาแบรนด์ ลูกค้าและคู่แข่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ เก็บข้อมูลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น
- กำหนดเป้าหมาย เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็สามารถกำหนดเป้าหมายวางแผนงานที่ตอบโจทย์ได้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งก็สามารถใช้เครื่องมือหรือฟีเจอร์มาช่วยก็ย่อมง่ายขึ้น
- ระบุกลุ่มเป้าหมาย เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้ว ก็ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเพื่อสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ออกไป
- กำหนดโทนเสียงของข้อความ เพื่อปรับระดับการสื่อสาร โทนเสียง และบุคลิกของข้อความที่ต้องการสื่อสารออกมา
จะเห็นได้ว่าการสร้างบุคลิกของแบรนด์จำเป็นต้องศึกษา วางเป้าหมาย ระบุกลุ่มที่ต้องการสื่อสารและโทนเสียงในการสื่อสาร ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้สามารถใช้เครื่องมือช่วยในการสร้างแบรนด์ได้ง่ายขึ้นอย่างการใช้เครื่องมือ Mandala Ai ที่มีฟีเจอร์ เพื่อรองรับการใช้งานทางการตลาด ตั้งแต่ การหาเทรนด์การตลาด การวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บข้อมูลบนโลกออนไลน์ พร้อมกับตัวชี้วัดและการวิเคราะห์ที่หลากหลาย สามารถใช้เป็นไอเดียในการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้นั่นเอง
5 ตัวอย่างของการทำ Brand Identity ที่ประสบความสำเร็จ
1. Bar B Q Plaza
แบรนด์ไทยที่ใช้ Graphic Identity เป็นพี่ก้อนเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าที่สร้างภาพจำให้กับลูกค้า การใช้อัตลักษณ์นี้ช่วยเป็นตัวแทนของแบรนด์ ลูกค้าได้รู้ว่าจะสื่อสารไปหาใคร คุยกับใครอยู่และจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร ที่สำคัญยังช่วยให้เข้าถึงลูกค้าง่ายขึ้น
2. รสดี
แบรนด์เครื่องปรุงอาหารจากไทยที่ใช้ Sensorial Identity ที่โดดเด่น พร้อมกับสโลแกน ‘คู่ครัว รสดี’ เพื่อสื่อสารถึงความอร่อย จากการใช้เครื่องปรุงจากรสดี ที่จัดจ้าน เข้มข้น รสชาติดีสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ
3. Wongnai
รีวิวร้านอาหารที่ออกแบบการใช้งานเพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคหรือใช้ Behavioral Identity เป็นการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งที่อยู่ในตลาด ซึ่งออกแบบการใช้งานได้น่าสนใจและเป็นจุดแข็งของแบรนด์นี้
4. SCG
แบรนด์ไทยที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างความแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่งด้วยการใช้ Functional Identity ในการสร้างคุณค่าและความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ไม่ว่าจะเป็นการเทคโลยีที่นำมาใช้กับสินค้าและบริการต่าง ๆ เป็นต้น
5. กสิกร
แบรนด์ธนาคารที่สร้างอัตลักษณ์ที่การบริการและการใช้งานเพื่อสร้างประสบการณ์ทีดีของผู้บริโภคซึ่งเป็นการใช้ Behavioral Identity เพื่อสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ซึ่งออกแคมเปญ แอปพลิเคชัน และการใช้งานที่อิงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายด้วย
Mandala AI เครื่องมือสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ให้น่าจดจำกว่าเดิม
นักการตลาดหลาย ๆ คนคงจะเห็นความสำคัญในการสร้างแบรนด์และหยิบใช้แนวคิดอย่าง Brand Identity ไปสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากแนวคิดในการสร้างแบรนด์ ลองใช้เครื่องมือทางการตลาดที่น่าสนใจ เช่น Mandala AI เข้ามาช่วยก็ทำให้การวิเคราะห์ เก็บข้อมูลตัวเลข สถิติ การใช้ Social Listening ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสร้างแบรนด์ก็ช่วยให้แบรนด์มีประสิทธิภาพ วางอัตลักษณ์ได้ตรงกับค่านิยมของแบรนด์และตรงกับจริตของลูกค้าได้ ทำให้การสร้างแบรนด์ง่ายขึ้น ก็นับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน