Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

รู้จักวาง Brand Positioning ให้ธุรกิจ สร้างตัวตนให้คนจำไม่ลืม! 

รู้จักวาง Brand Positioning ให้ธุรกิจ สร้างตัวตนให้คนจำไม่ลืม! 

ท่ามกลางตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่งทางธุรกิจทั้งในอุตสาหกรรมเดียวกันและคนละอุตสาหกรรม การสร้างตัวตนให้คนจดจำแบรนด์ได้นั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ถ้าขาดจุดเด่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ แบรนด์ที่จะอยู่รอดต่อไปได้ในตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่งจึงต้องมีการวาง Brand Positioning อย่างมีประสิทธิภาพและแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง

Brand Positioning คืออะไร ?

Brand Positioning คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่เป็นการสร้าง “เอกลักษณ์” ให้กับแบรนด์ ผ่านการกำหนดตำแหน่งของแบรนด์ในใจของลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถจดจำและเข้าใจว่าแบรนด์มีจุดเด่นอะไรที่แตกต่างจากคู่แข่ง และทำไมควรตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์นั้น ๆ มากกว่าแบรนด์ของคู่แข่ง

การสร้าง Brand Positioning ก่อนทำธุรกิจสำคัญอย่างไร ?

brand positioning คืออะไร

การสร้าง Brand Positioning ก่อนทำธุรกิจเปรียบเสมือนการวางรากฐานให้ธุรกิจ ช่วยให้เราสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าจริง ๆ แล้วแบรนด์ของเราคือใคร ทำอะไร มีจุดแข็งและจุดอ่อนอะไร นอกจากนี้ยังช่วยให้เราสามารถเข้าใจว่าลูกค้าของเราคือใคร และมีความต้องการอะไร และที่สำคัญคือทำให้เราสามารถรู้ว่าคู่แข่งคือใคร แตกต่างจากแบรนด์ของเราอย่างไร เมื่อเข้าใจทั้งสามสิ่งนี้ก็จะสามารถกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพได้ การสร้าง Brand Positioning ยังช่วยให้แบรนด์ของเราโดดเด่นจากคู่แข่ง ทั้งคุณค่าและภาพลักษณ์ที่แตกต่าง ความน่าเชื่อถือ ไปจนถึงความน่าสนใจ ง่ายต่อการจดจำของกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

ประเภทของ Brand Positioning 

  • การวางตำแหน่งตามลักษณะการใช้งาน (Functional Positioning) 

Brand Positioning ประเภทนี้เป็นการเน้นไปที่คุณสมบัติ ประโยชน์ ประสิทธิภาพของสินค้าหรือบริการ เหมาะกับแบรนด์ที่มีสินค้าที่คุณสมบัติโดดเด่น และแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง เช่น การเน้นความทนทาน ความเร็ว หรือคุณสมบัติเฉพาะของสินค้าและบริการนั้น เช่น ไดร์เป่าผมที่สามารถทำให้ผมแห้งได้ภายใน 2 นาที ช่วยประหยัดเวลาการใช้งานของลูกค้า

  • การวางตำแหน่งโดยการแทนด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Positioning) 

การวางตำแหน่งโดยการแทนด้วยสัญลักษณ์มักเป็นการเชื่อมโยงแบรนด์กับค่านิยม ความเชื่อ ไลฟ์สไตล์ บุคลิก และสถานะทางสังคมของลูกค้า เหมาะกับสินค้าที่ช่วยให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น เมื่อใช้สินค้าและบริการของแบรนด์นี้จะให้ความรู้สึก และอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ให้ความรู้สึกหรูหรา ภูมิใจเมื่อได้ใช้งาน ตัวอย่างสินค้า เช่น น้ำหอมแบรนด์หรู เสื้อผ้าแบรนด์เนม รถยนต์สปอร์ต 

  • การวางตำแหน่งจากการได้สัมผัสประสบการณ์ด้านต่าง ๆ (Experiential Positioning)

การวางตำแหน่งจากการได้สัมผัสประสบการณ์ด้านต่าง ๆ เป็นการเน้นไปที่ประสบการณ์ ความรู้สึก อารมณ์ที่ลูกค้าได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการ เหมาะกับสินค้าและบริการที่เน้นความพึงพอใจ ความผ่อนคลาย ความสนุกสนานของลูกค้า เช่น สวนสนุก ร้านอาหารบรรยากาศดี  โรงแรม บริการสปาและนวด

  • การวางตำแหน่งที่แตกต่างจากคู่แข่ง (Competitive Positioning)

การตำแหน่งตัวเองในทางที่แตกต่างจากคู่แข่งคือการเน้นที่ความเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าของแบรนด์ เพื่อทำให้แบรนด์นั้น ๆ มีความแข็งแกร่ง โดดเด่น และมีคุณค่าที่แตกต่างจากคู่แข่ง อาจมีการใช้กลยุทธ์ด้านราคา คุณภาพสินค้าและบริการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่แตกต่างมาใช้เพื่อช่วยให้การวางตำแหน่งของแบรนด์มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น

5 ขั้นตอนในการสร้าง Brand Positioning ให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง 

ขั้นตอนในการสร้าง Brand Positioning ให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง

ขั้นที่ 1 กำหนดตำแหน่งของแบรนด์ในปัจจุบัน

ในการสร้าง Brand Positioning ให้โดดเด่น ขั้นตอนแรกคือต้องรู้ก่อนว่าปัจจุบันแบรนด์ของเราอยู่ที่ตำแหน่งไหนในตลาด โดยการวิเคราะห์ว่าลูกค้ามองแบรนด์ของเราอย่างไร พิจารณาสินค้าหรือบริการของเรา และประเมินกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ เพื่อให้รู้ว่าแบรนด์ของเรามีความแตกต่างและนำเสนอคุณค่าอะไรต่อลูกค้าในปัจจุบัน

ขั้นที่ 2 ระบุและวิเคราะห์คู่แข่งโดยตรงให้ชัดเจน 

หลังจากที่รู้ตำแหน่งของแบรนด์ในปัจจุบัน ต่อมาต้องศึกษาจุดเด่น จุดด้อย และกลยุทธ์ของคู่แข่ง เพื่อให้รู้ว่าแบรนด์ของเราสามารถสร้างตำแหน่งที่แตกต่างจากคู่แข่งในอนาคตได้อย่างไร อาจทำได้ผ่านการใช้เครื่องมือตัวช่วย เช่น Mandala AI เพื่อทำการวิเคราะห์ Brand Positioning ของคู่แข่งว่าเขาให้คุณค่าอะไร มีจุดอ่อน จุดแข็ง และใช้กลยุทธ์อะไร

ขั้นที่ 3 สร้าง Position Map 

หลังจากที่เราทราบตำแหน่งของแบรนด์เราและคู่แข่งในปัจจุบันแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการนำข้อมูลที่ได้มาสร้าง Position Map ที่แสดงตำแหน่งของแบรนด์และคู่แข่งในมิติต่าง ๆ เช่น คุณภาพ ราคา และความสร้างสรรค์เพื่อเปรียบเทียบแบรนด์ของเรากับคู่แข่ง วิเคราะห์จุดยืนของแต่ละแบรนด์ เพื่อค้นหาช่องว่างในตลาด

ขั้นที่ 4 กำหนดเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ไม่เหมือนใคร

ขั้นตอนที่เปรียบเหมือนหัวใจสำคัญของการทำ Brand Positioning คือการกำหนดเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ในตลาด ผ่านการค้นหาจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่ง กำหนดคุณค่าที่แบรนด์ของเราต้องการนำเสนอ และสร้างเรื่องราวของแบรนด์ที่ต่างจากแบรนด์อื่นเพื่อเป็นจุดขายสำคัญของแบรนด์

ขั้นที่ 5 หมั่นปรับปรุงและแก้ไขตำแหน่งของแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ

แม้จะได้กำหนดจุดยืนหรือตำแหน่งของแบรนด์ไปแล้ว แต่อย่าลืมว่าเราต้องหมั่นตรวจสอบจุดยืนของเรากับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอว่าเขามองแบรนด์เราเป็นไปในทางเดียวกับจุดยืนที่เราได้ตั้งไว้หรือไม่ แล้วในสายตาเขาคิดว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์เรามีความโดดเด่นมากกว่าหรือน้อยกว่าคู่แข่งอย่างไร ถ้าเจอจุดที่สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้ก็ควรจะแก้ไข เพื่อให้ตำแหน่งของแบรนด์ยังคงมีประสิทธิภาพในสายตาลูกค้าอยู่เสมอ

ตัวอย่างกลยุทธ์และการวางตำแหน่งแบรนด์ในสายธุรกิจเดียวกัน 

หลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการสร้าง Brand Positioning กันไปแล้ว เรามาดูกันว่าแบรนด์ดังระดับโลกเขามีการสร้างจุดยืนและตำแหน่งของแบรนด์ในสายตาของลูกค้าอย่างไรให้เป็นที่จดจำ พร้อมเปรียบเทียบแบรนด์ในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีธุรกิจคล้ายกัน เช่น ตัวอย่าง Spotify vs. Apple Music, Google Meet vs. Zoom และ Nike vs. Adidas

1. Spotify vs. Apple Music

spotify vs apple music brand positioning

Spotify

Brand Position ของ Spotify เน้นที่การวางจุดยืนให้แบรนด์ดูมีความทันสมัยและมีการเชื่อมต่อกับวัฒนธรรมดนตรีทั่วโลก เนื่องจากผู้ใช้งานของ Spotify มีหลากหลายเชื้อชาติ ทางแบรนด์จึงพยายามเข้าถึงผู้ใช้งานที่หลากหลายเชื้อชาติโดยมีการรองรับภาษาต่าง ๆ ในแอปพลิเคชัน เพื่อให้ความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน มีการปรับคอนเทนต์ให้เข้ากับผู้ใช้แต่ละประเทศ และจัด Offline Events เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ฟังและสนับสนุนศิลปินในแต่ละประเทศซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแพลตฟอร์ม 

Apple Music

Brand Position ของ Apple Music คือคุณภาพทางด้านเสียงเพลง โดยมีการนำเทคโนโลยี Lossless และ Spatial Audio มาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานจะได้รับฟังเสียงเพลงที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพ Apple Music จึงเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพของเสียงและดนตรี เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ฟังที่ต้องการรับฟังเพลงที่มีคุณภาพเสียงระดับพรีเมียม

  • การวางกลยุทธ์ Brand Positioning ของ Spotify เทียบกับ Apple Music

ทั้งสองแบรนด์มีการใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน Spotify มุ่งเน้นไปที่ความทันสมัยและการเชื่อมต่อกับวัฒนธรรมดนตรี กลยุทธ์ที่สำคัญอีกอย่างของแบรนด์คือการเน้นพัฒนาและปรับปรุงอัลกอริทึมที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับฟังเพลงแนวเดียวกับที่เขาสนใจเพื่อให้ผู้ฟังได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ในขณะที่ Apple Music มุ่งเน้นไปที่การใช้งานเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับคุณภาพของเสียงและการเชื่อมต่อกับ Ecosystem เต็มรูปแบบ เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของเสียงเพลงและเสียงดนตรีได้รับฟังเสียงที่มีคุณภาพ 

2. Google Meet vs. Zoom

google meet vs zoom brand positioning

Google Meet

Brand Position ของ Google Meet คือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการประชุมทางวิดีโอทางธุรกิจ โดยเป็นหนึ่งในเครื่องมือของ Google Workspace เน้นไปที่ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของผู้ใช้งานในระหว่างที่ประชุมอยู่บน Google Meet 

Zoom

Brand Positioning ของ Zoom คือเครื่องมือที่มีความเสถียรระหว่างใช้งานและมีคุณภาพสูงในการประชุมทางวิดีโอ มุ่งเน้นความสะดวก คุณภาพของการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงก็ใช้งานได้ และให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ มีฟีเจอร์เปลี่ยนฉากหลังเป็นอะไรก็ได้ เพื่อปิดบังว่าตนเองอยู่ที่ไหนหรือปิดห้องรก ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น

  • การวางกลยุทธ์ Brand Positioning ของ Google Meet เทียบกับ Zoom 

ทั้งสองแบรนด์มีการใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน โดย Google Meet มุ่งเน้นความปลอดภัยและการทำงานร่วมกับ Google Workspace อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับผู้ที่ทำงานบน Google Workspace อยู่แล้ว หรือผู้ที่ต้องการประชุมแบบกลุ่มเล็ก มีความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ Zoom มุ่งเน้นความสะดวกของผู้ใช้งาน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงก็สามารถได้ภาพและเสียงที่เสถียร เหมาะกับผู้ที่ต้องการประชุมทางธุรกิจระดับกลางไปถึงใหญ่

3. Nike vs. Adidas

nike vs adidas brand positioning

Nike

Brand Position ของ Nike คือการให้คำมั่นสัญญากับผู้ใช้งานว่าจะมอบรองเท้าที่สมบูรณ์แบบให้กับนักกีฬาทุกประเภท คำว่า ‘นักกีฬา’ ของ Nike ไม่ได้หมายถึงนักกีฬามืออาชีพเท่านั้น แต่หมายถึงทุกคนที่ใครก็สามารถเป็นนักกีฬาได้เหมือนกัน ตำแหน่งของ Nike คือแบรนด์ที่ให้กำลังใจในการก้าวข้ามขีดจำกัด ดั่งสโลแกน Just Do It ดังนั้น ทุก Touchpoint ของ Nike จึงถูกสร้างมาเพื่อประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน ไม่ใช่เพียง Sport Wear แต่เป็น Active Wear ด้วย

Adidas

Brand Position ของAdidas เน้นที่การผสมผสานกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่ในชีวิตประจำวัน และการออกกำลังกาย โดยAdidas มักจะโฟกัสที่การผสมผสานวัฒนธรรมและการทำนวัตกรรมเพื่อให้ได้ดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งาน มีความเป็นแฟชั่นที่ทันสมัย สโลแกนของ Adidas คือ “All In” แทนความมุ่งมั่นในกีฬาผ่านการรวมความเป็นเลิศในการออกแบบและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

  • การวางกลยุทธ์ Brand Positioning ของ Nike เทียบกับ Adidas

Nike และ Adidas ต่างก็เป็นแบรนด์กีฬาชั้นนำ แต่มีกลยุทธ์ Brand Positioning ที่แตกต่างกัน Nike มุ่งเน้นไปที่การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนก้าวข้ามขีดจำกัด ผ่านการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง แคมเปญโฆษณาที่สร้างแรงบันดาลใจ และเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ตอบโจทย์นักกีฬา ส่วน Adidas มุ่งเน้นไปที่ความเป็นไปได้ ความคิดสร้างสรรค์ และความแตกต่าง ผ่านการออกแบบที่ล้ำสมัย พร้อมร่วมมือกับนักออกแบบและศิลปิน

วาง Brand Positioning แบบง่าย ๆ ด้วยการใช้ Mandala 

Brand positioning เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากการมี Brand position ที่มีประสิทธิภาพมีส่วนช่วยในการจดจำของกลุ่มเป้าหมายในตลาด อีกทั้งยังทำให้แบรนด์โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง สิ่งสำคัญคือแบรนด์ต้องมีการวิเคราะห์แบรนด์คู่แข่งให้ดีว่าเขามีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร โดยสามารถใช้เครื่องมือ Mandala AI เพื่อช่วยในการศึกษาคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างแบรนด์ของคุณเป็นแบรนด์แรกในใจกลุ่มเป้าหมาย

mandala ai ฟรี
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.