Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

เทคนิคการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด ก่อนทำ Marketing Strategy

เทคนิคการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด ก่อนทำ Marketing Strategy

ไม่ว่าจะธุรกิจเล็ก หรือธุรกิจใหญ่ ความท้าทายของทุกธุรกิจคงหนีไม่พ้น “คู่แข่งทางการตลาด” หลายคนอาจมองว่าการมีคู่แข่งทางการตลาดเป็นเรื่องที่น่ากลัวเนื่องจากอาจโดนแย่งลูกค้าและต้องแข่งขันกัน เพื่อเสนอสินค้าและบริการที่โดดเด่นให้กับลูกค้าตลอดเวลา แต่ในทางกลับกันการมีคู่แข่งทางการตลาดนับเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้ธุรกิจและนักการตลาดสร้างสรรค์แคมเปญ สินค้า และบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้า และหมั่นพัฒนาสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอนั่นเอง แล้วมีเทคนิคอะไรที่สามารถช่วยวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพบ้าง ตามมาดูเลย!

การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis) คืออะไร 

competitor analysis วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด

การวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด หรือการทำ Competitor Analysis คือ การที่ธุรกิจรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งทางธุรกิจ เพื่อเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน กลยุทธ์การตลาด และแนวโน้มของตลาด โดยการวิเคราะห์คู่แข่งอย่างละเอียด เช่น ตัวชี้วัดทางตลาดที่ทำให้สินค้าหรือบริการของธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง การนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์การขายและการตลาดที่แข็งแรง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้างกลยุทธ์ที่แตกต่างและโดดเด่นกว่าคู่แข่งในตลาดนั่นเอง

โดยปกติแล้วธุรกิจจะวิเคราะห์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของคู่แข่ง สินค้าหรือบริการของคู่แข่ง กลยุทธ์การตลาดของคู่แข่ง พฤติกรรมของผู้บริโภค และแนวโน้มของตลาด 

ตัวอย่างการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดสำหรับธุรกิจร้านอาหาร เช่น

  • ข้อมูลทั่วไปของคู่แข่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เว็บไซต์ ช่องทางการติดต่อ
  • สินค้าหรือบริการของคู่แข่ง เช่น เมนูอาหาร โปรโมชัน ราคา
  • กลยุทธ์การตลาดของคู่แข่ง เช่น การโฆษณา การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย การตลาดผ่านบุคคล
  • พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ต้องการอาหารประเภทไหน ราคาเท่าไหร่ สถานที่ตั้งร้าน
  • แนวโน้มของตลาด เช่น เทรนด์อาหาร คอนเทนต์อาหารยอดนิยม พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้บริโภค

ตัวอย่างการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น

  • ข้อมูลทั่วไปของคู่แข่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เว็บไซต์ ช่องทางการติดต่อ
  • สินค้าหรือบริการของคู่แข่ง เช่น สินค้าประเภทไหน ราคาเท่าไหร่ จัดส่งอย่างไร
  • กลยุทธ์การตลาดของคู่แข่ง เช่น การทำ SEO การทำ SEM การทำ Affiliate
  • พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ความต้องการสินค้าประเภทไหน ราคาเท่าไหร่ ชำระเงินช่องทางไหน
  • แนวโน้มของตลาด เช่น เทรนด์สินค้ายอดนิยม พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์

การวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดสามารถปรับให้เหมาะกับประเภทธุรกิจและความต้องการของธุรกิจ สิ่งสำคัญคือต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ

mandala ai ฟรี

ทำไมการศึกษาคู่แข่งถึงสำคัญ?

การศึกษาคู่แข่งทางธุรกิจมีความสำคัญต่อธุรกิจทุกประเภท เนื่องจากช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจตลาดและคู่แข่งได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

1. เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับตลาด

การศึกษาคู่แข่งทางธุรกิจช่วยให้เข้าใจถึงแนวโน้มของตลาด ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุโอกาสทางการตลาดและกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับตลาดได้

2. ระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่ง 

การวิเคราะห์คู่แข่งขัน เข้าใจถึงจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างแท้จริงจะช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นไปที่จุดแข็งของธุรกิจและจุดอ่อนของคู่แข่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

3. ป้องกันไม่ให้ธุรกิจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด 

เมื่อธุรกิจทราบความเคลื่อนไหวของคู่แข่งเนื่องจากหมั่นศึกษาและวิเคราะห์คู่แข่งเสมอจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของคู่แข่ง และป้องกันไม่ให้ธุรกิจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่ง

เทคนิคการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด

1. กำหนดคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม

สิ่งแรกที่ควรทำคือการระบุว่าธุรกิจไหนคือคู่แข่งที่แท้จริงของคุณ ปกติแล้วคู่แข่งจะแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ คู่แข่งทางตรง และคู่แข่งทางอ้อม โดยคู่แข่งทางตรงจะเป็นธุรกิจที่นำเสนอสินค้าและบริการที่คล้ายกับสินค้าและบริการของคุณ อีกทั้งยังวางขายในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับธุรกิจของคุณ ในขณะที่คู่แข่งทางอ้อมจะนำเสนอสินค้าและบริการที่แตกต่างจากธุรกิจของคุณ แต่สินค้าและบริการนั้นถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้แก้ปัญหาเดียวกันกับธุรกิจของคุณ หลังจากที่ทราบแล้วว่าคู่แข่งทางตรงและทางอ้อมของคุณคือใครให้ทำการติดตามคู่แข่งเหล่านี้เนื่องจากคู่แข่งสามารถเปลี่ยนแปลงมานำเสนอสินค้าและบริการที่เหมือนกับสินค้าของคุณได้ทุกเมื่อ

2. กำหนดส่วนที่ควรศึกษาในธุรกิจของคู่แข่ง

แน่นอนว่าในการสำรวจคู่แข่งมีหลายปัจจัยที่เราต้องคำนึกถึง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งราคา กลยุทธ์การจัดส่งสินค้า ส่วนแบ่งตลาด สินค้าหรือบริการใหม่ที่กำลังเข้าสู่ตลาด คุณภาพของการดูแลหลังการขาย และช่องทางการขายและการทำการตลาดที่คู่แข่งใช้ โดยจดปัจจัยทั้งหมดที่ต้องการศึกษาออกมา เพื่อดูว่ามีอะไรบ้างและควรสำรวจปัจจัยไหนก่อน เพื่อสามารถสำรวจได้อย่างครบถ้วนโดยที่ไม่ลืมปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องสำรวจ

3. สำรวจคู่แข่งตามปัจจัยที่กำหนดไว้

insight analysis

หลังจากที่กำหนดแล้วว่าควรสำรวจคู่แข่งในปัจจัยไหนบ้าง อาจลองใช้ตัวช่วยอย่าง Mandala Analytics เพื่อช่วยให้นักการตลาดสามารถสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้ฟีเจอร์ Insight Analytic ช่วยสรุปข้อมูลคู่แข่งจากหลากหลายแหล่งข้อมูลให้เหลือเพียง 1000 ข้อความ เพื่อช่วยให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์แคมเปญ และข้อมูลต่าง ๆ ของคู่แข่งโดยใช้เวลาไม่นานแต่ยังคงได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้มองข้อมูลคู่แข่งได้ง่ายขึ้น

4. ประยุกต์ใช้ SWOT Analysis 

การนำหลักการ SWOT Analysis มาใช้จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับจุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ของคู่แข่ง ผ่านการประเมินแต่ละส่วนไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ การขาย และการตลาดของคู่แข่ง โดยอาจใช้คำถาม เช่น

  • คู่แข่งทำอะไรได้ดี? (เช่น สินค้า การตลาด การโฆษณา)
  • คู่แข่งได้เปรียบตรงไหนมากที่สุด?
  • อะไรคือพื้นที่ที่เป็นจุดอ่อนที่สุดของคู่แข่ง?
  • แบรนด์ของเราได้เปรียบต่อคู่แข่งตรงไหน?
  • มีสิ่งไหนที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า?

หลังจากที่ถามคำถามเหล่านี้ เราอาจจะได้คำตอบที่สามารถนำมาพัฒนาธุรกิจได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้รู้ว่ามีพื้นที่ไหนที่ควรพัฒนาในธุรกิจของคุณ

5. ระบุส่วนที่ควรพัฒนา

หลังจากที่ใช้กลยุทธ์ SWOT Analysis กับคู่แข่งเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาระบุจุดที่ธุรกิจของเราจะต้องพัฒนาและปรับปรุง เพื่อให้สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเหนือคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ เราสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการโดยการเพิ่มหรือแก้ไขคุณลักษณะ ลดราคาเพื่อทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น หรือปรับปรุงการดูแลหลังการขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรืออาจมีปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงได้

6. พัฒนาธุรกิจให้โดดเด่นยิ่งขึ้น

หลังจากที่สามารถกำหนดจุดที่ต้องการพัฒนาได้แล้ว เราสามารถค่อย ๆ พัฒนาธุรกิจไปที่จะจุด โดยเริ่มจากการวางแผนว่าจะทำการพัฒนาในส่วนไหนก่อน อะไรคือจุดที่ต้องรีบพัฒนามากที่สุด อะไรคือสุดที่ควรพัฒนาหลังสุด อาจมีการลองเรียงลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญก่อนที่จะเริ่มพัฒนาแต่ละจุด เพื่อไม่ให้สับสนในการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจ

7. ติดตามผลลัพธ์อยู่เสมอ

หลังจากลงมือพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจตามแผนที่วางไว้แล้ว จะต้องหมั่นตรวจสอบและติดตามผลลัพธ์อยู่เสมอ โดยมีการตั้ง KPIs เพื่อวัดผลการดำเนินการของธุรกิจ โดยมีการวัดยอดขายด้วยกำไรและขาดทุนเพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงได้ผลสำเร็จหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องมือตัวช่วยอย่าง Mandala Analytics เพื่อสรุปผลของแคมเปญต่าง ๆ ให้นักการตลาดสามารถวัดผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถประหยัดเวลาได้มากขึ้นอีกด้วย

mandala ai ฟรี

สรุป

กระบวนการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดนับเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก่อนที่จะทำกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับธุรกิจของคุณเพราะจะช่วยให้คุณรู้ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อนของคู่แข่ง รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ อย่างครบถ้วนมากพอที่จะรู้ว่าธุรกิจของเราควรจะพัฒนากลยุทธ์การตลาดอย่างไรให้แตกต่างจากคู่แข่ง โดยสามารถประยุกต์ 7 เทคนิคที่ได้อ่านมา เพื่อให้นักการตลาดสามารถทำกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมก้าวขึ้นสู่ผู้นำในอุตสาหกรรมของตน

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.