- USP คืออะไร?
- การทำ USP สร้างโอกาสให้ธุรกิจของคุณได้อย่างไร?
- ประเภทของการทำ Unique Selling Point
- เคล็ดลับการสร้าง USP ให้ธุรกิจแข็งแกร่ง อยู่เหนือคู่แข่ง
- ข้อจำกัดของการสร้าง Unique Selling Points
- ช่องทางการทำ USP เพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ
- 5 ตัวอย่างแบรนด์ดังที่ทำ Unique Selling Point สำเร็จ
- ค้นหา USP ของธุรกิจคุณให้เด่นเหนือใคร ด้วยเครื่องมือ Mandala AI
การทำ USP หรือ Unique Selling Point เป็นการสื่อสารกับลูกค้าว่าแบรนด์เรามีอะไรดี แบรนด์เราสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้อย่างไร และทำไมลูกค้าจึงตัดสินใจจ่ายเงินให้กับแบรนด์ของเรา ซึ่งการสร้าง USP ก็เหมือนกับการบอกให้ผู้คนทั้งลูกค้าและคู่แข่งรู้ว่าเรามีอะไรดี ถ้าอยากได้สินค้าหรือบริการที่แก้ปัญหานี้ได้จำเป็นต้องมาที่แบรนด์นี้โดยตรงเท่านั้น เพราะแบรนด์อื่นอาจทำได้ไม่ดีเท่ากันหรืออาจทำตามกันไม่ได้เลย ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างและทางเลือกให้กับลูกค้าได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญส่งผลต่อ Final Thoughts ในตัดสินใจจ่ายเงินของลูกค้าได้นั่นเอง อย่างไรก็ตามหากรู้ความสำคัญของการทำ USP แล้ว วันนี้เราจะพามาดูวิธีทำ USP ไปพร้อม ๆ กันเลย
USP คืออะไร?
USP คือ Unique Selling Point หรือที่เข้าใจง่าย ๆ คือ จุดขาย หรือจุดเด่นที่แต่ละแบรนด์สร้างขึ้นมาให้แตกต่างกันและไม่เหมือนใคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถหยิบไปเปรียบเทียบ ดูข้อดี/ข้อเสีย ระหว่างแบรนด์ต่าง ๆ ที่อยู่ในท้องตลาดได้ หากแบรนด์มี USP ที่แตกต่างจากท้องตลาด ก็เป็นทางเลือกให้กับลูกค้าได้ตัดสินใจที่จะจ่ายเงินไปกับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ที่สำคัญคือ หากแบรนด์สร้างคุณค่าให้กับ USP ได้มากพอ แบรนด์ก็จะเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ลูกค้าที่จ่ายเงินให้กับแบรนด์นั้น ๆ มองว่าแบรนด์คือตัวแทนของตัวเอง เกิดความผูกพันและกลายมาเป็น Customer Loyalty ได้นั่นเอง
การทำ USP สร้างโอกาสให้ธุรกิจของคุณได้อย่างไร?
การสร้าง Unique Selling Point สร้างโอกาสให้กับแบรนด์ได้มากมาย เพราะทำให้กลุ่มลูกค้าที่เราโฟกัสได้มองเห็นว่าแต่ละแบรนด์แตกต่างกันอย่างไร แบรนด์ไหนโฟกัสกับสิ่งใด แบรนด์ไหนทำสินค้าหรือบริการได้ดีหรือไม่ แบรนด์ไหนขาดตกบกพร่องอะไร ก็จะช่วยเปิดโอกาสในการขยายตลาด ขยายช่องทางใหม่ ๆ หาลูกค้าใหม่ ๆ ไปจนถึงออกนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมอบให้กับลูกค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสร้างกำไรให้กับแบรนด์ได้อีกด้วย
นอกจากจะได้โอกาสต่าง ๆ แล้ว การที่แบรนด์เห็นข้อดีของตัวเอง แบรนด์ก็จะรู้ว่าข้อเสียของตัวเองคืออะไร จะช่วยเก็บไปพัฒนาข้อเสีย สิ่งที่ต้องปรับปรุงหรือสร้างบางสิ่งบางอย่าง เพื่อซัพพอร์ตข้อดีของแบรนด์ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ได้มากขึ้นนั่นเอง
ประเภทของการทำ Unique Selling Point
การสร้างหรือการหา Unique Selling Point ของตัวเองสามารถเริ่มการทำได้หลากหลายแง่มุม วันนี้เรารวบรวมมาให้ว่าหากตัดสินใจเริ่มทำ USP สามารถโฟกัสไปที่ส่วนใดได้ หรือจะเริ่มไปพร้อมกันหลาย ๆ ส่วนแล้วหยิบแต่ละส่วนมาปรับให้สอดผสานกัน จนกลายเป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจงของแบรนด์นั้น ๆ ได้มากขึ้น จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- USP ด้านผลิตภัณฑ์ (Product-based USP) คือ การสร้างสินค้าที่แตกต่างและแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการปรับปรุงสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์กับที่อื่น ๆ ในท้องตลาด เช่น Tesla สร้างรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
- USP ด้านบริการ (Service-based USP) คือ การปรับปรุงการให้บริการ หรือสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อช่วยให้การบริการแตกต่าง มีความเฉพาะตัว ยากที่แบรนด์อื่น ๆ จะเลียนแบบได้ เช่น Starbuck ที่มีการบริการแบบเฉพาะตัว
- USP ด้านราคา (Price-based USP) คือ แบรนด์ที่หยิบราคามาเป็นข้อได้เปรียบของแบรนด์เอง เพื่อแข่งขันกับแบรนด์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่โรงงานผลิตเอง จึงได้ราคาถูก หรือจะเป็นราคาที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับสิ่งที่แบรนด์มอบให้ ก็สามารถหยิบมาเป็นข้อแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ได้
- USP ด้านอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand-based USP) คือ การใช้ความเฉพาะเจาะจงของแบรนด์ เพื่อบอกว่าแบรนด์ของเราแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ โดยใช้ความแตกต่าง และข้อได้เปรียบอย่างเทคโนโลยี คุณภาพ สมรรถนะ หรือประสบการณ์การใช้งานที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ อย่าง Apple ที่มีเอกลักษณ์การใช้งานที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นนั่นเอง
- USP ด้านลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche-based USP) คือ ข้อได้เปรียบหรือความแตกต่างที่แบรนด์โฟกัสไปที่ตลาดเฉพาะกลุ่มแทนตลาดใหญ่ เพื่อแก้ Pain point ที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม ซึ่งสินค้าหรือบริการที่แบรนด์สร้างหรือสื่อสารก็จะสอดรับไปกับประสบการณ์ของกลุ่มนั้น ๆ ที่พบเจอหรือใช้งาน ซึ่งสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์อื่นได้
การเลือก USP ให้กับแบรนด์เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ขึ้นมาเลยก็ว่าได้ ก็เพื่อทำให้ลูกค้ารู้ว่าเหตุผลที่จ่ายเงินให้กับสินค้าหรือบริการนี้มีอะไร และทำไมถึงต้องจ่ายเงินให้กับแบรนด์นี้ ทำให้หลาย ๆ แบรนด์ก็ต้องเลือกว่าจะมุ่งมั่นหรือสร้าง USP จากทางไหนขึ้นมา เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างแบรนด์ตัวเองและแบรนด์คู่แข่งอีกด้วย
เคล็ดลับการสร้าง USP ให้ธุรกิจแข็งแกร่ง อยู่เหนือคู่แข่ง
การสร้าง USP ให้ธุรกิจแข็งแกร่ง และเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด เป็นสิ่งที่หลาย ๆ แบรนด์ต้องการ เพื่อให้ลูกค้ามีเหตุผลในการตัดสินใจจ่ายเงินให้กับแบรนด์นั้น ๆ ซึ่งการที่ทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์ต่าง ๆ ได้เปรียบหรืออยู่เหนือคู่แข่งในตลาด มีวิธีการสร้าง USP ได้ดังนี้
- ระบุ Pain Points ของลูกค้า ลูกค้าประสบปัญหาอะไร และสินค้าหรือบริการของเราช่วยแก้ปัญหาตรงนั้นของลูกค้าได้หรือไม่ เพื่อให้แบรนด์มีแนวทางและจุดเริ่มต้นในการหาคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการที่จะไปแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหรือทำให้ลูกค้าสนใจสินค้าหรือบริการของแบรนด์ได้นั่นเอง
- ระบุเอกลักษณ์เฉพาะหรือประโยชน์ที่มี บอกได้ว่าสินค้ามีอัตลักษณ์อย่างไร มีประโยชน์ในแบบเฉพาะอย่างไร และทำไมแบรนด์อื่นไม่สามารถทำตามได้ ซึ่งเอกลักษณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้แต่ละแบรนด์ในการสร้างความแตกต่างเฉพาะตัว จะเลียนแบบได้ยาก ซึ่งทำให้ลูกค้าเห็นความแตกต่างได้อย่างดี
- ให้ความสำคัญกับตลาด Niche ตลาดเฉพาะกลุ่มเป็นอีกตลาดที่แบรนด์สามารถลงไปเล่นได้ หรือปรับสินค้าบางชนิดเข้าไปตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดเฉพาะกลุ่มนั้น ๆ ได้ด้วย ซึ่งเป็นการเปิดตลาดใหม่และสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้ด้วย
- สิ่งที่จะมอบให้ผู้บริโภค การบริการก็เป็นอีกชนิดที่แบรนด์สามารถเพิ่มเข้าไป เพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างแบรนด์ต่าง ๆ ในตลาดได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ในการซื้อหรือใช้สินค้าของแบรนด์ได้มากขึ้น และสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย
- แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม อีกหนึ่งเทคนิคในการสร้าง USP คือ การดูเทรนด์ ดูทิศทางของตลาด หาก USP ที่สร้างไม่ตรงกับความต้องการหรือเทรนด์ในตลาด ก็ไม่อาจทำให้ USP ของแบรนด์โดดเด่นขึ้นมาได้ หรืออาจทำให้เกิดผลกลับกันที่ลูกค้าอาจมองว่าแบรนด์นี้ล้าหลังได้เช่นกัน
เทคนิคทั้งหมดนี้จะช่วยให้แบรนด์มีแนวทางในการสร้าง USP ที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้ พร้อมช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและช่วยให้ธุรกิจแข็งแรงขึ้นกว่าเจ้าอื่น ๆ ในตลาดได้นั่นเอง
ข้อจำกัดของการสร้าง Unique Selling Points
ข้อจำกัดในการสร้าง USP ของแบรนด์ที่ควรรู้เพื่อหาทางรับมือหรือวางแผนรองรับและปรับปรุงหากตัดสินใจสร้าง USP ให้กับแบรนด์ มีดังนี้
- ข้อจำกัด USP เป็นประโยชน์ แต่อาจทำให้ตลาดอิ่มตัว เมื่อสร้าง USP ที่แตกต่างกันน้อย ซึ่งจำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง ที่แตกต่างจริง ๆ ทั้งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยสำคัญ ๆ หรือการพยายามสร้าง USP ด้วยความน่าสนใจและแตกต่างโดยสะท้อนไปยังลูกค้า
- ต้นทุนและความพยายาม ในการนำไปใช้กับตลาด ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนวิจัยสินค้า วิจัยตลาด ไปจนถึงการสร้างแคมเปญการตลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่แบรนด์ต้องกลับมาวิเคราะห์และชั่งน้ำหนักการตัดสินใจให้รอบคอบมากขึ้น
- ตลาดเปลี่ยนไป พฤติกรรมและตลาดมักผันผวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ซึ่งหากใช้ระยะเวลานานหรือสร้าง USP ได้เสร็จเรียบร้อย ตลาดอาจเปลี่ยนมุมมอง ความคิดหรือเทรนด์ไปยังมุมมองอื่น ๆ ได้
- การลอกเลียนแบบ หาก USP ที่สร้างขึ้นมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ตลาดหรือคู่แข่งก็ลอกเลียนแบบตามซึ่งทำให้ความได้เปรียบในการแข่งขันลดน้อยลงได้
- ความต้องการเปลี่ยนไป ความต้องการของลูกค้าอาจเปลี่ยนไปได้ ซึ่งเมื่อก่อนลูกค้าอาจชอบแบบนี้ แต่ในอนาคตความต้องการของลูกค้าอาจเปลี่ยนไปไม่ตรงกับ USP ที่แบรนด์สร้างขึ้นมา จึงทำให้ต้องสำรวจและเข้าไปมอนิเตอร์ดูว่าความต้องการของลูกค้ายังคงตรงกับ USP ที่แบรนด์สร้างหรือไม่
- ขาดความยืดหยุ่น การที่สร้าง USP ทำให้แบรนด์จำเป็นต้องมุ่งไปที่ตลาดนั้น ๆ ซึ่งทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวได้ตามเงื่อนไขของตลาด หรือความต้องการของลูกค้า สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องท้าทายในการปรับ USP ให้ไม่เสี่ยงต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือทำให้ลูกค้าสับสนนั่นเอง
ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้แบรนด์หรือธุรกิจจำเป็นต้องวางกรอบและวางแผนให้ชัด รวมถึงยอมรับถึงข้อจำกัดที่เกิดขึ้นระหว่างกับสร้าง USP ให้กับธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมบางอย่างขององค์กรได้อีกด้วย
ช่องทางการทำ USP เพื่อสื่อสารกับลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ
การสร้าง USP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการสื่อสารให้ลูกค้าได้เข้าใจตรงกันว่า แบรนด์มีความแตกต่างจากแบรนด์อื่นยังไง โดยสื่อสารไปยังลูกค้าในหลากหลายช่องทางเพื่อเป็นข้อมูลให้กับลูกค้าได้มากที่สุด ดังนี้
- Advertising: การโฆษณาผ่านช่องทางออฟไลน์ต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะใช้บิลบอร์ดต่าง ๆ ตั้งแต่ป้ายโฆษณาใหญ่ ๆ BTS รถเมล์ รถตุ๊ก ๆ หรือแกร๊บไบค์ ไปจนถึงวิทยุ รายการทีวี เป็นต้น
- Social Media: ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Influencer การใช้ Seeding บนเว็บไซต์ การทำ Tie-in สินค้า การเป็นสปอนเซอร์ การโพสต์ลงกลุ่ม เป็นต้น
- Content Marketing การใช้ Content นำเสนอข้อดี จุดขายของแบรนด์ที่ต้องการโปรโมต ไม่ว่าจะเป็นทำ รีวิว ทำวีดีโอสั้น วีดีโอยาว เขียนบทความ สร้างคอนเทนต์ขึ้นมา เพื่อสื่อสารไปยังลูกค้าได้มากขึ้น
- Digital Marketing การใช้เครื่องมือโปรโมตผ่านโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น FB Ads, Google Ads, E-mail Marketing, Line OA รวมถึงใช้ X ในการโฆษณาได้อีกด้วย
- Search Marketing ใช้ช่องทางการค้นหาเพื่อส่งสารไปยังลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้ SEO ที่สร้างบทความและใช้คีย์เวิร์ด เพื่อรองรับการค้นหาของลูกค้า รวมถึงการใช้ Search Ads ผ่านช่องทาง Market Place อย่าง Lazada, Shopee เป็นต้น
จะเห็นว่าการสื่อสารบอกกล่าวไปยังลูกค้าเพื่อบอกว่า USP ของแบรนด์มีอะไรบ้าง หน้าตาเป็นอย่างไร ลูกค้าใช้งานอย่างไร ลูกค้าได้ประโยชน์อะไร ไปยังทุกช่องทางการสื่อสาร เป็นอีกเครื่องมือสำคัญในการสร้าง USP เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าใจ สัมผัส และทดลองใช้สินค้าหรือบริการได้มากขึ้น เพื่อเข้าใจความแตกต่างของสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ได้นั่นเอง
5 ตัวอย่างแบรนด์ดังที่ทำ Unique Selling Point สำเร็จ
- Gentle Woman
อย่างที่รู้กันว่าธุรกิจแฟชั่นมีอยู่มากมายเต็มตลาด แต่การจะชูแบรนด์ตัวเองออกมาให้โดดเด่นกว่าคู่แข่งนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่ง Gentle Woman เจอ USP ของตัวเอง และสามารถทำได้โดยใช้การแก้ปัญหาให้กับลูกค้า และออกกระเป๋า ‘Tote bag’ ที่ใช้ง่ายที่สุดในชีวิตประจำวันขึ้นมา สร้างรายได้และทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
โดยเน้นสร้าง USP ด้านสินค้า หรือ (Product-based USP) ไปพร้อม ๆ กับใส่โลโก้ ‘Gentle Women’ เข้าไปในสินค้าด้วย รวมถึงยังดีไซน์แบบกระเป๋าทั้งสายที่เหมาะกับคนตัวเล็ก-ใหญ่ ถือสบาย การใช้งานกระเป๋าที่ไปได้ทุกที่ ใช้ได้ทั้งวัน อีกทั้งยังใช้การโปรโมตผ่านช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ โซเชียลมีเดีย ไปจนถึง Digital Marketing และคีย์เวิร์ดเสิร์ชด้วย ทำให้ผลประกอบการปี 2565 มีรายได้รวมที่ 594,095,401.92 และสร้างกำไรสุทธิ 183,876,645.68 บาท
- Canva
บริษัทสตาร์ทอัปขนาดเล็กสู่บริษัทใหญ่ระดับโลกที่มีคนใช้งานทั่วโลกถึง 170 ล้านคน เริ่มต้นด้วยกราฟิกดีไซน์เนอร์ที่รวมตัวกัน และไปพิชชิ่งที่ Silicon Valley เพื่อหาเงินทุนมาพัฒนาระบบ โดยมีแนวคิดที่ว่า “ไม่คิดว่าคุณจะเป็นใคร…ทุกคนควรได้รับโอกาสในการออกแบบได้” ซึ่งทำให้การใช้งาน Canva เรียกได้ว่าคนทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานการออกแบบมาเลยก็ใช้ได้อย่างสบายใจ ทำให้มีคนใช้งานหลายสิบล้านคนทั่วโลกนั่นเอง
ซึ่งโมเดลของ Canva คือการใช้ Product-based USP ที่ใคร ๆ ก็สามารถใช้งานได้ โดยไม่ต้องมีพื้นฐานด้านการออกแบบเลย แน่นอนว่าการสื่อสารของ Canva จะใช้งานทุกช่องทาง ทุก Touch Point ให้กับผู้ใช้งานทั่วโลก จนสร้างผลกำไรปี 2023 อยู่ที่ 2 พันล้านดอลลาร์
- Shopify
ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับผู้ขายสินค้าและพัฒนาการขาย E-Commerce ซึ่งเกิดจากการเห็นความต้องการของจำนวนผู้ขายที่มากพอ ๆ กับผู้ซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ โดยที่ผู้ประกอบการที่ต้องการขายสินค้าบนโลกออนไลน์ยังขาดเครื่องมือและประสบการณ์ Shopify จึงให้บริการและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้กับผู้ประกอบการนั่นเอง โดยให้บริการเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น พร้อมฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อรองรับการวิเคราะห์ข้อมูล จัดการสินค้าคงคลัง จัดการระบบจัดส่งสินค้า ไปจนถึงระบบชำระเงินนั่นเอง
จะเห็นได้ว่า Shopify สร้าง USP ไปที่กลุ่มเฉพาะอย่าง Niche-based USP หรือโฟกัสไปที่ผู้ขายนั่นเอง แน่นอนว่ามีการโปรโมตให้กับผู้ขายไปทุกช่องทางอีกเช่นกัน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับบริษัทในปี 2023 อยู่ที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์
- Yakult
‘อยากรู้เรื่องยาคูลท์ ถามสาวยาคูลท์สิคะ’ เป็นวลีที่นับว่าเป็นแบรนด์ที่มีภาพจำและประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน ด้วยการมีสินค้าขายเพียงชนิดเดียวนั่นคือ นมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ ชิโรต้า ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายมาอย่างยาวนาน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า ‘เคล็ดลับของการมีอายุยืนยาวของคนเราคือการมีสุขภาพลำไส้ที่ดี ’ และมีการช่องทางการขายเป็นเอกลักษณ์คือใช้การแบบ Door to Door จนประสบความสำเร็จและเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์มายาวนาน
จะเห็นได้ว่าแบรนด์ไทย ๆ อย่างยาคูลท์มีกลยุทธ์สร้าง USP ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ด้านสินค้าที่ใช้ Product-based USP เพื่อสร้างความแตกต่างจากธุรกิจอื่น และยังบอกเล่า USP ของแบรนด์ผ่านทางออฟไลน์ นั่นก็คือ ‘สาวยาคูลท์’ จนทำให้แบรนด์ยาคูลท์ เติบโตต่อเนื่องผ่านยุคสมัยที่ยาวนานในไทยกว่า 87 ปี โดยที่ปี 2565 สร้างรายได้ที่ 4,960 ล้านบาท และกำไรอยู่ที่ 798 ล้านบาทเลยทีเดียว
- Spotify
แอปฯ ฟังเพลงที่ฮอตฮิตติดมือถือของคนไทยและคนทั่วโลกจนเกิดการฟังเพลงเถื่อนแพร่หลาย และมีให้โหลดใช้ฟรีบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งจุดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นก่อตั้ง Spotify โดยต้องการให้คนที่ฟังเพลงเลือกฟังเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์แทน ซึ่งก่อนหน้านี้ Daniel Ek (แดเนียล เอ็ก) และ Martin Lorentzon (มาร์ติน ลอเรนต์ซอน) ได้ตระเวนดีลค่ายเพลงให้เข้ามาร่วมวางขายหรือให้บริการฟังเพลงผ่านแอปฯ นี้ จนในที่สุดค่ายเพลงในสวีเดนก็เข้าร่วมกับแอปฯ นี้ และสามารถสร้างรายได้จากการขายเพลงหรือบริการฟังเพลงผ่านแอปฯ Spotify ได้
จะเห็นว่า Spotify ใช้การสร้าง USP แบบ Service-based USP เพื่อเอาชนะการฟังเพลงเถื่อน รวมถึงสร้างจุดแข็งของตัวเองอย่างการชวนค่ายเพลง รวมถึงคนทำ Pod Cast ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมให้บริการใน Spotify และยังสื่อสาร USP ผ่านทุกช่องทางทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ โฆษณา ทุกช่องทาง จนสร้างผลกำไรในปีล่าสุดอยู่ที่ 3,357 ล้านยูโร หรือ 1.2 แสนล้านบาท
ค้นหา USP ของธุรกิจคุณให้เด่นเหนือใคร ด้วยเครื่องมือ Mandala AI
จะเห็นได้ว่าการสร้าง USP ให้กับแบรนด์จะช่วยสร้างความแตกต่าง สร้างความจดจำให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก และส่งผลต่อการสร้างแบรนด์ไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย ซึ่งหากนักการตลาดหรือผู้ประกอบการท่านใดต้องการสร้าง USP ให้กับแบรนด์ตัวเอง เราอยากแนะนำเครื่องมือที่สามารถช่วยหาข้อดี จุดเด่น หาเทรนด์ต่าง ๆ เอาไว้ประกอบข้อมูลในการสร้างแบรนด์และหาจุดขายของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา มองเห็นมุมมองใหม่ ๆ เจอ Insight ที่น่าสนใจ เพื่อกระเทาะข้อดีหรือจุดเด่นของแบรนด์ออกมาใช้เป็น USP เพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้อย่างดีอีกด้วย