Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

กลยุทธ์ Tie-In ใช้อย่างไรให้โดนใจกลุ่มลูกค้าทุก generation แบบเนียน ๆ

กลยุทธ์ Tie-In ใช้อย่างไรให้โดนใจกลุ่มลูกค้าทุก generation แบบเนียน ๆ

Tie-in หรือเรียกว่าการโฆษณาสินค้าที่แฝงมากับเนื้อหาหรือประเด็นที่สนใจ การตลาดแบบนี้มีมานานแล้ว โดยมาพร้อมกับการเติบโตของยูทูปเบอร์และแปรเปลี่ยนปรับความเนียนให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น โดยให้เป็นเนื้อเดียวและผสมกลมกลืนกับรายการหรือคอนเทนต์นั้น ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคที่นักการตลาดใช้มายาวนาน แน่นอนว่าเป็นอีกไอเดียในการทำการตลาดที่มาร์เก็ตเตอร์หลายคนสามารถหยิบไปใช้ ประยุกต์กับแคมเปญได้ จะช่วยให้ทั้งแบรนด์และคอนเทนต์เข้าไปสู่หัวใจของผู้บริโภคได้หากเนียนขึ้น วันนี้ชวนทำความเข้าใจเทคนิค รูปแบบและตัวอย่างเพื่อความเข้าใจมากขึ้น และเอาไปใช้กับแคมเปญการตลาดได้ทุกระดับ ไปดูพร้อมกันเลย

ทำความเข้าใจ Tie-in คืออะไร

Tie-in คือ การนำสินค้าหรือบริการหยิบยกขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนจดจำได้ในขณะที่กำลังเสพคอนเทนต์หรือกำลังจดจ่อกับประเด็นที่กำลังสนใจอยู่ ไม่ว่าจะผ่านการอ่าน การดู การฟัง การสัมผัสและการลิ้มรส การที่สอดแทรกสินค้าหรือบริการไปพร้อมกับคอนเทนต์ต่าง ๆ นั้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้ว่าถึงประโยชน์ของสินค้าตัวนั้น ๆ ไปพร้อม ๆ กับการโฟกัสที่คอนเทนต์ต่าง ๆ อยู่ด้วยนั่นเอง 
เทคนิคการทำแคมเปญลักษณะนี้มีหลายวิธีการ มีสเกลหลากหลายไปจนถึงรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับคอนเทนต์ สินค้า/บริการ ไปจนถึงวัตถุประสงค์ของการแคมเปญต่าง ๆ นั่นเอง ว่าต้องการแค่เพิ่มการรับรู้หรือต้องการเพิ่มประสบการณ์ของผู้บริโภคไปพร้อมกันด้วย ซึ่งรูปแบบการโฆษนาแฝงสามารถทำความเข้าใจได้ดังนี้

รูปแบบของการ Tie-in มีอะไรบ้าง

live-stream

1.Tie-In ใน Livestream เป็นรูปแบบการ Tie-in ที่มาพร้อมกับรายการสด หรือคอนเทนต์เรียลไทม์ที่กลุ่มเป้าหมายกำลังดู ฟัง หรือสนใจประเด็นนั้น ๆ ผสานเป็นเนื้อเดียวกับสินค้า/บริการที่เข้ากับคอนเทนต์ที่กำลังจัดอยู่ใยรูปแบบ Live Stream แทนนั่นเอง

watch movie

2.Tie-In ใน ภาพยนต์ เป็นการหยิบสินค้า/บริการ ขึ้นมาใช้งานด้วยตัวละครที่อยู่ในภาพยนต์ สอดผสานไปกับบทบาทและเนื้อเรื่องในภาพยนต์เรื่องนั้น ๆ เพื่อแฝงการโฆษณาสินค้าไปในหนังเรื่องที่ต้องการนั่นเอง

@awnnwr วันนี้พี่วอร์ดูแลน้องเยอะมาก ปกติหยิ่นจะคอยประคบประหงมพี่ตลอด วันนี้เป็นอ้อนให้พี่ดูแลหรอคะะ ฮือออรักเฮียอะ รักหยิ่นด้วย 😭😭 และเค้ารักกันจริงๆ ขอทายอินคำพี่เต “เปลี่ยนไปมากนะเราอะ” ฮึกกก 😭😭 ##yinyin_anw##warwanarat#หยิ่นวอร์ ♬ ลาก่อน – แอคนี้ไม่คลั่งรักแล้ว

3.Tie-In โดย Influencer/Kol จะเห็นได้จากการรีวิวหรือเป็นผู้สนับสนุนรายการที่จะอยู่คู่กับอินฟลูเอนเซอร์ในรายการหรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาและผสมผสานสินค้า/บริการใส่เข้าไปในคอนเทนต์ เพื่อให้สินค้าและคอนเทนต์ที่สร้างสอดคล้องแนบเนียนเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น

ศึกษาเพิ่มเติม: อินฟลูเอนเซอร์โปรโมทยังไงให้ขายดี

@qzaddroaming RoV: สกิน collab ครั้งแรกของ rov #rov #qzadd #kfc #collab ♬ เสียงต้นฉบับ – Qzadd

4.Tie-In ใน Game การแปลงสินค้า/บริการให้อยู่ในรูปแบบไอเทม สกิน หรือของใช้ภายในเกมที่แจกเป็นกรณีพิเศษจำเป็นต้องผ่านเควสหรือเนื้อเรื่องภายในเกมหรือตั้งระยะเวลากำหนดช่วงกิจกรรมในเกมเป็นต้น

ตัวอย่างคอนเทนต์ที่มีการ Tie-In

ยกตัวอย่างคอนเทนต์ที่มีการโฆษณาสินค้าไปกับคอนเทนต์ที่เห็นอยู่ในคอนเทนต์และผ่านตาดังนี้

1. การ Tie-in ใน Livestream เช่น รายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ ที่หยิบขนมปังมากินคู่กับการอ่านข่าวและพูดคุยประเด็นต่าง ๆ เป็นต้น

2. การ Tie-in ใน ภาพยนต์ ยกตัวอย่างเช่น ในภาพยนต์ Mission Impossible ที่พระเออย่างทอมครูซ ใส่แว่นตา หรือขับมอเตอร์ไซค์แบรนด์ดัง, Fast and Furious ที่มีการใช้รถยนต์แบรนด์ดัง ๆ เข้ามาในภาพยนต์ เป็นต้น 

3. การ Tie-In โดย Influencer/Kol เช่น ยูทูบเบอร์อย่าง 9Arm ที่ใช้สินค้าหรือบริการระหว่างการทำคอนเทนต์ หรือ Farose ที่หยิบสินค้า/บริการ มาปรับเป็นคอนเทนต์เพื่อสอดคล้องกับคอนเทนต์ เป็นต้น

4. การ Tie-In ใน Game เช่น เกม ROV ที่แจกสกินหรือไอเทม เกม Pubg ที่แจกของขวัญหรือไอเทมในเกม เป็นต้น

Tie-In อย่างไรให้โดนใจทุก Generation

แน่นอนว่าการโฆษณาสินค้าไปพร้อม ๆ กับสร้างคอนเทนต์จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักและเกลี่ยอารมณ์ ความรู้สึก สิ่งที่คนดูได้รับไปพร้อม ๆ กับการขายสินค้าให้อยู่ในน้ำหนักที่สมดุล ไม่ขายสินค้ามากเกินไปจนลืมแก่นหลักของคอนเทนต์ หรือการทำคอนเทนต์มากเกินไปจนละเลยการขายสินค้านั่นเอง โดยสามารถปรับใช้ให้ตรงใจและเข้าใจความรู้สึกทุกกลุ่ม ทุกอายุได้ดังนี้ 

1.ศึกษาพฤติกรรมของ Generation จำเป็นต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายหรือผู้ติดตามคอนเทนต์และสินค้าว่าเข้ากันได้มากน้อยแค่ไหน และทำอย่างไรให้คอนเทนต์ต่าง ๆ เข้ากับพฤติกรรมของช่วงวัยนั้น ๆ เพื่อให้ลดกำแพงและเข้าใจกลุ่มผู้เสพคอนเทนต์นั้นจริง ๆ

2.ไม่ Hard Sell จนเกินไป หากเป็นการยัดเยียดสินค้า/บริการมากเกินไปให้กับผู้ที่รับชมคอนเทนต์นั้น ๆ จะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่านั่งดูโฆษณาแทน ทำให้นอกจากการที่ไม่ดูคอนเทนต์นั้น ๆ แล้ว ยังเกิดความรู้สึกรำคาญแบรนด์ต่อไปอีกด้วย

3.ไม่แทรกสินค้ามากเกินจนน่ารำคาญ การที่ทำคอนเทนต์ต่าง ๆ แล้วสอดแทรกสินค้าจนทำให้แกนหลักของเรื่อง หรือเนื้อหาคอนเทนต์ผิดเพี้ยนจากหัวข้อออกไปนั้น ทำให้ผู้ที่รับชมหรือต้องการเสพคอนเทนต์เกิดความรู้สึกรำคาญได้นั่นเอง

4.เลือกสื่อที่สอดคล้องกับโปรดักส์ ช่องทางการโฆษณาก็เป้นปัจจัยหลักในการสอดแทรกการแฝงโฆษณาเข้าไป หากช่องทางดังกล่าวสอดคล้องกับสินค้า/บริการ ก็ทำให้คอนเทนต์ที่ออกมาเป็นเนื้อเดียว ผสมผสาน กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้คนดูเอนจอยกับคอนเทนต์นั้น ๆ ได้โดยไม่รู้สึกรำคาญนั่นเอง

สรุป

การใช้เครื่องมือการตลาดประเภทนี้ ยังคงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเครื่องมือที่จำเป็นต่อแบรนด์อยู่เช่นเคย หากใช้การโฆษณาแฝงที่แนบเนียนและไม่เป็นที่ขวางหู ขวางตา จนผู้คนรู้สึกรำคาญหรือทำให้แก่นเรื่อง หรือแกนหลักคอนเทนต์ผิดเพี้ยนไปจากหัวข้อ ก็ย่อมเกิดประโยชน์กับแบรนด์มากกว่า ที่สำคัญผู้บริโภคได้ประโยชน์ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดและเป็นหัวใจหลักของการทำแคมเปญ Tie-in นั่นเอง

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.