Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

4 ช่วงของ Product Life Cycle เทคนิครับมือให้สินค้าไม่ตายตลาด

4 ช่วงของ Product Life Cycle เทคนิครับมือให้สินค้าไม่ตายตลาด

การทำธุรกิจ คือ การนำสินค้าไปแลกกับความคุ้มค่าที่ลูกค้ายอมจ่ายด้วยเงิน แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้นแบรนด์จำเป็นต้องรู้จักสินค้าที่นำไปขายให้ดีก่อน โดยเฉพาะ ‘Product Life Cycle’ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้เพื่อใช้วางแผน วางกลยุทธ์ และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ในการตัดสินใจอีกด้วย

ดังนั้นการทำความเข้าใจสินค้า รู้ธรรมชาติของสินค้าและไปจนถึงรู้จักกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ จึงเป็นเรื่องที่มาคู่กัน เพราะวงเหล่านี้นับเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึง เพื่อใช้ในการตัดสินใจวางกลยุทธ์ทางการตลาด วางแผนโฆษณา บริหารงบประมาณ ไปจนถึงขยายตลาดใหม่ หรือออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างยอดขาย ทำกำไรและขยายตลาดได้ด้วยนั่นเอง

product life cycle คืออะไร

นอกจากความสำคัญที่น่าสนใจของวงจรสินค้าน่าสนใจแล้ว ยังมีรายละเอียดและยังมีเคสตัวอย่างที่อยากชวนให้มาทำความเข้าใจ ลงลึกให้มากขึ้นเพื่อเอาไปเป็นการตัดสินใจให้กับธุรกิจได้ดีขึ้น และสินค้าไม่ล้มหายตายไปจากตลาดนั่นเอง ถ้าพร้อมแล้วมาดูไปพร้อมกันเลย

Product Life Cycle คืออะไร?

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือ Product Life Cycle คือ ระยะเวลาของสินค้าที่นับตั้งแต่เปิดตัวเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ไปจนถึงเอาออกจากชั้นวาง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่แบรนด์ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและขายได้ เรียกว่าการฟูมฟักสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ผู้คนเป็นที่รู้จักมากที่สุด ให้ผู้บริโภคได้หาข้อมูล ได้รู้จัก ได้ลองใช้ ไปจนถึงมอบความคุ้มค่าให้กับลูกค้าได้มากที่สุดนั่นเอง

อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ได้เป็น 4 ขั้นตอน หรือ ‘Product Life Cycle Stages’ โดยแต่ละลำดับก็มีความสำคัญและแผนปฏิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวางแผนรองรับและกลยุทธ์ที่ตั้งเอาไว้ แน่นอนว่าการรู้จักวงจรผลิตภัณฑ์ย่อมช่วยธุรกิจและต่อยอด เพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย การศึกษาจากความล้มเหลวของธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่เข้าใจ Product Life Cycle จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดซ้ำ ๆ และนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องมากขึ้น

Product Life Cycle ช่วยในการทำธุรกิจอย่างไร

ประโยชน์ของการนำ Product Lifecycle ไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยธุรกิจให้เดินหน้าและเติบโตต่อไปได้ สามารถทำได้หลายแบบซึ่งนำไปใช้กับธุรกิจได้ดังนี้ 

  • ช่วยขยายตลาดใหม่

ด้วยการปรับกลยุทธ์ของสินค้าขยายออกไปยังตลาดใหม่ หรือเจาะกลุ่มตลาดที่ไม่เคยเข้าไป เช่น Netflix เกิดจากแนวคิดในการเปลี่ยนบริการเช่ายืม DVD ภาพยนต์หรือซีรีส์ ทั้งการเช่ายืมที่ร้าน หรือการจัดส่งที่บ้าน ไปเป็นการบริการสตรีมมิงซีรีส์และภาพยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์

  • ปรับกลยุทธ์ด้านราคา

เพื่อสร้างความสนใจและดึงดูด ก็สามารถออกแบบราคาของสินค้าให้สอดคล้องกับระยะของวงจรผลิตภัณฑ์ได้ เช่น ราคาเปิดตัวสินค้าใหม่หรือโปรโมชันในช่วงที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก แล้วจึงปรับราคาหรือทำโปรโมชันใหม่ เมื่อระยะเวลาผ่านไปให้ตรงกับวงจรผลิตภัณฑ์นั่นเอง

ช่วยในการสร้างรายได้มากขึ้นจากการลงทุนในแคมเปญทางการตลาด ซึ่งแคมเปญการตลาดที่วางไว้ขึ้นอยู่กับวงจรสินค้าในแต่ละระยะที่วางแผนการตลาดให้สอดคล้องกันเพื่อได้ความคุ้มค่าในการทำแผนการตลาด

  • สร้างการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

การที่รู้จักวงจรเหล่านี้จะทำให้การตัดสินใจในการวางแผน วางกลยุทธ์ช่วยให้เห็นภาพและวางแผนได้ง่ายในการตัดสินใจหรือบริหารได้ง่ายขึ้น

  • วางแผนและเตรียมการรับมือคู่แข่งได้ดีขึ้น

เมื่อรู้ว่าสินค้าของเรามีวงจรชีวิตยาวนานแค่ไหน ก็จะสามารถเตรียมรับมือคู่แข่งได้ดีขึ้น เพราะแต่ละระยะของวงจรจะมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างกัน จึงสามารถวางแผนรับมือกับคู่แข่งในตลาดได้เหมาะสม

จะเห็นว่าการเข้าใจวงจรผลิตภัณฑ์สามารถนำไปใช้กับธุรกิจและวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้างโอกาส สร้างยอดขาย ไปจนถึงพลิกฟื้นธุรกิจให้เติบโตได้อย่างดี

รู้จัก 4 วงจรของ Product Life Cycle

วงจรของ Product Life Cycle

1. ช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ (Introduction)

เป็นช่วงที่สินค้าเปิดตัว กลุ่มลูกค้ายังไม่เคยหินสินค้าชนิดนี้มาก่อน จึงจำเป็นต้องแนะนำ สร้างการรู้จักให้กับสินค้าที่เปิดตัวใหม่ไปยังตลาดให้มากที่สุด โดยสภาวะนี้สินค้าและตลาดที่อยู่ในระยะนี้จะมีลักษณะดังนี้

ยอดขายน้อย การแข่งขันต่ำ กำไรไม่มาก ตลาดไม่รู้จักสินค้า

แบรนด์หรือธุรกิจจึงต้องทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากที่สุด สามารถทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักได้หลากหลายช่องทางมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกส่วนลด แจกคูปอง แจกสินค้าทดลอง เพื่อให้เกิดการบอกต่อและพูดถึงมากที่สุด อีกทั้งหากวงจรสินค้าอยู่ช่วงนี้คุณภาพผลิตภัณฑ์ต้องมีแข็งแรง มีคุณภาพดี ตอบโจทย์ผู้บริโภคอีกด้วย

โชคดีที่ยุคดิจิทัลเปิดโอกาสให้เราสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “การสร้างการรับรู้และความต้องการสินค้า” โดยอาศัยพลังของโฆษณาออนไลน์ ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกว่าโฆษณาแบบดั้งเดิม เพื่อให้กลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จ เราจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่เป็นช่องทางในการสื่อสารและขายสินค้า เช่น โซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ของตัวเอง การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองจะช่วยให้เราทำ Retargeting Ads กลับไปยังคนที่เคยเข้าชมเว็บไซต์แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ เว็บไซต์ยังสามารถติดตั้งระบบต่างๆ เพื่อช่วยบริหารจัดการสินค้า ลูกค้า และเพิ่มช่องทางการติดต่อได้อีกด้วย


2. ช่วงตลาดเติบโต (Market Growth)

ช่วงเติบโตของผลิตภัณฑ์ คือ ช่วงที่ยอดขายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มรู้จักและต้องการสินค้ามากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่คู่แข่งเข้ามาแข่งขันมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการตลาดสูงขึ้น เพื่อรักษายอดขายและส่วนแบ่งการตลาดไว้ โดยสภาวะนี้สินค้าและตลาดที่อยู่ในระยะนี้จะมีลักษณะดังนี้

ยอดขายเพิ่มขึ้น ใช้งบการตลาดมากขึ้น การแข่งขันสูงขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น

ในระยะนี้การทำการตลาดหรือการวางแผนจะกระตุ้นการซื้อซ้ำให้มากที่สุด รวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ซื้อให้มากที่สุด เพื่อยืดช่วงเวลาของการเติบโตให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงตลาดอิ่มตัว (Maturity Stage) ซึ่งยอดขายเริ่มทรงตัวหรือลดลง โดยผู้ประกอบการมักใช้กลยุทธ์ทางการตลาด เช่น การเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ (Product Line Extension) ด้วยการปรับเปลี่ยนสี รสชาติ ขนาด หรือราคา หรือการทำโปรโมชันต่าง ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำและลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อีกครั้ง


3. ช่วงตลาดอิ่มตัว (Market Maturity)

ช่วงที่ 3 ของ Product Life Cycle คือช่วงที่ยอดขายเริ่มเติบโตอย่างช้า ๆ และเป็นระยะนี้เป็นช่วงที่สินค้าติดตลาดเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าได้ใช้สินค้าเป็นจำนวนมาก มีลูกค้าประจำมากขึ้น ยอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่อาจจะช้าลงต่างจากช่วงแรก ๆ ทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดน้อยลง ทำให้คู่แข่งเพิ่มขึ้น แต่ลูกค้าใหม่ ๆ ยังมีไม่มาก

โดยสภาวะนี้สินค้าและตลาดที่อยู่ในระยะนี้จะมีลักษณะดังนี้

ยอดขายเติบโตช้า ๆ การลงทุนต่ำ การแข่งขันสูง กำไรสูง

ในช่วง Market Maturity ที่การแข่งขันสูง คุณต้องดูแลลูกค้าเก่าและใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า โดยในช่วงนี้ธุรกิจหรือแบรนด์จะวางกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้า มองหาตลาดใหม่ เพิ่มช่องทางการขายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นขายผ่าน Market Place ขายผ่านเว็บไซต์ตัวเอง เพื่อเพิ่มโอกาสและหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อขายสินค้าเพื่อให้ยอดเติบโตขึ้น รวมถึงการหาวิธีการขายใหม่ ๆ เช่น การไลฟ์สด การทำ Affiliate ฯลฯ


4. ช่วงถดถอย (Sales Decline)

ระยะนี้จะเป็นช่วงตลาดได้ลองสินค้ามาทั้งหมดแล้ว สังเกตจากยอดขายที่ลดลงอย่างมาก ความต้องการของตลาดลดลง มีคู่แข่งแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม 

โดยสภาวะนี้สินค้าและตลาดที่อยู่ในระยะนี้จะมีลักษณะดังนี้

ยอดขายลด การลงทุนต่ำ การแข่งขันสูง กำไรสูง

ในช่วงที่ยอดขายลดลง ธุรกิจควรปรับตัวและนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้ เพื่อชะลอการลดลงของยอดขายและเพิ่มรายได้ โดยเน้นการใช้ข้อมูลลูกค้าในการตัดสินใจ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และการทำการตลาดออนไลน์ที่ครอบคลุม สิ่งที่แบรนด์หรือธุรกิจรับมือก็คือการระบายสินค้าออกไปให้มากที่สุด ไม่ว่าจะด้วยกลยุทธ์ใด ๆ ก็ตาม อย่างการจัดโปรโมชัน การลดแลกแจกแถม ทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือสร้างการซื้อซ้ำให้กับลูกค้าประจำ รวมถึงการออกสินค้า แตกไลน์สินค้า และปรับปรุงบางอย่างใหม่จะทำให้วงจรผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งนั่นเอง


อยากเลี่ยงช่วงถดถอย ไม่อยากให้ยอดขายตก ทำอย่างไร?

1. กลยุทธ์ขายเพิ่ม (Up-selling)

การขายเพิ่มก็เป็นอีกเทคนิคในการดันให้สินค้าที่ตลาดรู้จักขายพ่วงไปพร้อมกับสินค้าอื่น เพื่อให้สามารถใช้ด้วยกันได้ หรือจัดเซต จัดโปรโมชันให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานอย่างคุ้มค่ามากมีที่สุด โดยนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลลูกค้าจากการสำรวจความคิดเห็นหรือการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อ เพื่อให้การนำเสนอผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

2. ออกสินค้าใหม่ (Launch New Product)

การออกสินค้าใหม่เป็นกลยุทธ์ที่หลีกเลี่ยงชว่งถดถอยของธุรกิจออกไปได้ ทำให้ตลาดตื่นตา ตื่นใจ และพูดถึงสินค้าใหม่ออกมาเสมอ เป็นการกระตุ้นให้ตลาดหันกลับมาให้ความสนใจ เปรียบเทียบข้อมูล เพื่อซื้อสินค้าใหม่นั่นเอง สังเกตได้ว่าสินค้าใหม่ที่ออกมาจะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงทั้งดีไซน์ ประสิทธิภาพ และการใช้งานต่าง ๆ ให้ดีขึ้น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ หลีกเลี่ยงการออกสินค้าใหม่ที่ปิดโอกาสการขายสินค้าเดิมที่อยู่ในธุรกิจนั่นเอง

3. กลยุทธ์การขยายตัว (Expansion Strategy)

เพื่อยืดการใช้งานสินค้าเดิมให้ยาวนานขึ้น หรือตกแต่ง เปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือแก้ไขการใช้สินค้าเดิมให้หลากหลายและแตกต่างขึ้น เพื่อให้ตลาดสัมผัสถึงความแตกต่างของสินค้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการออกสีใหม่ การติดตั้งส่วนประกอบบางอย่างเพื่อการใช้งานที่ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น เช่น สินค้ารุ่นที่มีสีจำนวนจำกัด สินค้ามีการตกแต่งพิเศษ สินค้ามีการใช้งานพิเศษ

4. ใช้เครื่องมือ Social Listening Tools ติดตามผล 

นอกจากการออกสินค้าใหม่ การเพิ่มการขาย หรือการใช้กลยุทธ์ขยายไลน์สินค้าใหม่แล้ว การใช้เครื่องมือทาง Social Listening Tools มาติดตามผล หาข้อมูลเชิงลึก หาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค รวมไปถึงการหยิบเครื่องมือเหล่านี้ มาจัดการคอมเมนต์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น ก็เป็นไอเดียในการช่วยพัฒนาสินค้า หรือบริการ รวมถึงกระตุ้นยอดขายที่ธุรกิจอยู่ในระยะถดถอยได้อีกด้วย

3 Case studies ที่รับมือกับช่วง Product Life Cycle ได้ดีที่สุด!

1. Coca-Cola

การที่ Coca-Cola ออกสินค้าใหม่ในปี ค.ศ. 1985 ด้วยการออกสินค้าใหม่ คือ ‘New Coke’ ที่ปรับส่วนผสมใหม่ออกมา เนื่องจากส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงในรอบ 15 ปี รวมถึงหวังให้เครื่องดื่มสูตรใหม่เป็นที่ต้องการในตลาด แต่หลังจากออกสินค้าใหม่ มีผู้โทรเข้ามากกว่า 1,500 สาย/วัน รวมถึงมีผู้คนเดินประท้วงกว่า 100,000 คน เพื่อบอกให้บริษัทกลับมาใช้โค้กสูตรเดิม หลังจากผ่านไป 79 วัน หลังจากออกโค้กสูตรใหม่ออกมา บริษัทก็ได้มีการนำโค้กสูตรเดิมกลับมาและเปลี่ยนชื่อเป็น ‘Classic Coke’ นั่นเอง

new coke product life cycle

เมื่อดูแล้วก็สามารถแบ่ง Product Life Cycle ออกเป็น 4 ช่วง ได้ ดังนี้

  • Introduction: บริษัทออกเครื่องดื่ม ‘New Coke’ เมื่อตลาดรับรู้จึงเกิดการประท้วงขึ้น จนแก้ปัญหาด้วยการออกโค้กรสชาติเดิม แต่มาในชื่อ ‘Classic Coke’
  • Market Growth: ตลาดกลับมาซื้อและสนใจเครื่องดื่มสูตรเดิม
  • Market Maturity: Classic Coke ยังได้รับความนิยมและยังคงเป็นรสชาติหลักของ Coke อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีรสชาติแบบอื่น ๆ ที่มีขายในต่างประเทศ รวมถึงแบบไม่มีน้ำตาลอีกด้วย
  • Sales Decline: ยังไม่มีแนวโน้มที่จะผ่านระยะนี้ในเวลาอันใกล้

2. Apple (iPhone)

จากการขายคอมพิวเตอร์และไอพอด ก็เป็นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีชื่อว่า iPhone โดยเป็นโทรศัพท์ที่สามารถฟังเพลง พูดคุย และเล่นอินเตอร์เน็ต รวมถึงมีความสามารถอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่เปลี่ยนโลกให้กับตลาดเป็นที่รู้จักครั้งแรก จนถึงปัจจุบันสินค้า iPhone จัดว่าเป็นสินค้าขายดีอันดับ 1 ของ Apple อีกด้วย

iphone product life cycle

เมื่อดูแล้วก็สามารถแบ่ง Product Life Cycle ออกเป็น 4 ช่วง ได้ ดังนี้

  • Introduction: ช่วงแนะนำสินค้า iPhone ให้ตลาดเป็นที่รู้จัก และสร้างความต้องการให้กับตลาดได้ตั้งแต่เปิดตัว ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถทำได้ทั้ง ฟังเพลง คุยโทรศัพท์ และเล่นอินเตอร์เน็ต รวมถึงฟังก์ชันอย่างอื่นได้อีกด้วย
  • Market Growth: ตลาดตอบรับและเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในช่วงเปิดตัว จึงเกิดปรากฏการณ์ของไม่พอจำหน่าย การต่อคิวข้ามคืน ไปทั่วโลก
  • Market Maturity: ถึงแม้จะอยู่ในจุดที่อิ่มตัวจากการขาย iPhone แต่ก็ยังมีระบบและ Ecosystem ที่ออกแบบมาเพื่อบริการ ไม่ว่าจะเป็น iCloud Drive, Apple TV, Apple Music เป็นต้น อีกทั้งยังออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเครื่องไหน ก็สามารถเชื่อมต่อและใช้ร่วมกันได้ ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้ iPhone ได้อย่างไร้รอยต่อ
  • Sales Decline: ยังไม่มีแนวโน้มที่จะผ่านระยะนี้ในเวลาอันใกล้

3. Havaianas

บริษัทผลิตรองเท้าแตะที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรองเท้าแตะญี่ปุ่นที่ผลิตจากไม้และฟาง โดยใช้ยางออกแบบเป็นรองเท้าหูคีบและได้รับความนิยมจากชนชั้นล่างของประเทศจนได้รับความนิยมจากทุกเพศทุกวัยในทั่วโลกโดยมียอดขายมีละ 200 ล้านคู่

Havaianas product life cycle

เมื่อดูแล้วก็สามารถแบ่ง Product Life Cycle ออกเป็น 4 ช่วง ได้ ดังนี้

  • Introduction: เปิดตัวครั้งแรกอย่างประสบความสำเร็จด้วยกลุ่มลูกค้าที่เป็นชนชั้นแรงงานในประเทศ
  • Market Growth: ครองส่วนแบ่งตลาดรองเท้าแตะเป็นสัดส่วนถึง 90%
  • Market Maturity: ออกแบบรองเท้าลาย สีใหม่ ๆ ทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย รวมถึงการโฆษณาทางโทรทัศน์ด้วยดาราดัง
  • Sales Decline: ยังไม่มีแนวโน้มที่จะผ่านระยะนี้ในเวลาอันใกล้

ติดตามทุก Performance ของธุรกิจคุณอย่างใกล้ชิดด้วย Mandala AI.

อย่างไรก็ตามไม่ว่าผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเราอยู่ในระยะไหน ก็จำเป็นต้องติดตามกระแสต่าง ๆ เทรนด์ที่น่าสนใจ รวมไปถึงข้อมูลของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงแบรนด์ ผลตอบรับของแคมเปญ หรือร่วมกิจกรรมทางการตลาด เพื่อประเมิน ไปจนถึงวางแผนป้องกัน และแก้ไขเพื่อให้สินค้าหรือบริการของธุรกิจเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าให้มากที่สุด แน่นอนว่าหากใช้เครื่องมือ Social Listening Tools อย่าง ‘Cosmos Trend’  จะช่วยติดตามกระแสและสิ่งที่โลกออนไลน์พูดถึงได้อย่างรวดเร็ว ก็เป็นโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น รวมไปถึงการที่หยิบเครื่องมือเหล่านี้มาวิเคราะห์พร้อม ๆ กับการใช้ Product Life Cycle จะช่วยสร้างแผนการตลาด สร้างโปรโมชัน วิเคราะห์ตลาดได้ตรง มีประสิทธิภาพ และนำไปใช้ได้จริงมากขึ้นอีกด้วย

mandala banner

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.