Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Customer Insights คือ? รู้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ วางกลยุทธ์ได้แม่นยำขึ้น

Customer Insights คือ? รู้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ วางกลยุทธ์ได้แม่นยำขึ้น

ในยุคปัจจุบันที่ผู้บริโภคมีอำนาจในการเลือกมากขึ้น การทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้ทำแค่การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าใจความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าใจลูกค้าคือการศึกษา “Customer Insight” หรือข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่ช่วยให้คุณไม่เพียงแค่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร แต่ยังสามารถคาดการณ์แนวโน้มและพฤติกรรมของพวกเขาได้อย่างแม่นยำ การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ไม่เพียงช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงใจลูกค้า แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ของคุณ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด!

Customer Insights คืออะไร

ผู้หญิงใช้คอมวิเคราะห์ข้อมูล

Customer Insight คือ ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม พฤติกรรมการใช้จ่าย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อขายของลูกค้า เป็นต้น 

โดย Customer Insight เกิดจากการวิเคราะห์และตีความข้อมูลดิบ (Data Insight) เพื่อหาความสัมพันธ์หรือแนวโน้มต่าง ๆ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งนั่นเอง 

ทั้งนี้ ข้อมูลของ Customer Insight สามารถรวบรวมได้จากหลากหลายแหล่ง เช่น การสัมภาษณ์ลูกค้า การสำรวจความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลจากการซื้อสินค้าและบริการ ฯลฯ 

ประโยชน์ของการค้นหา Customer Insight

การค้นหา Customer Insight มีประโยชน์มากมายสำหรับธุรกิจ ดังนี้  

1. สามารถคาดเดาสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้

เมื่อเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไรได้อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็สามารถคาดเดาได้ว่าในอนาคตลูกค้าต้องการอะไร โดยความต้องการเหล่านี้อาจรวมถึง ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ คุณสมบัติหรือฟังก์ชันใหม่ ประสบการณ์ใหม่ ๆ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ และยังช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ในตลาดอีกด้วย

2. ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง 

Customer Insight จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร ต้องการอย่างไร ต้องการเมื่อไหร่ และต้องการที่ไหน และยังเข้าใจถึงทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรมในชีวิตประจำวันด้วย  

3. ช่วยในการจำลอง Buyer Persona

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ อาชีพ รวมไปถึงความสนใจ และความต้องการของลูกค้า มีส่วนช่วยสร้าง Buyer Persona ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่ง Buyer Persona คือ การจำลองลูกค้าที่มีตัวตนเสมือนจริง ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ช่วยในการปรับกลยุทธ์การตลาด และแคมเปญต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับ Buyer Persona ของตนเองได้ 

4. ช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกลยุทธ์การตลาด

เมื่อธุรกิจศึกษา Customer Insight และเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้งแล้ว ก็สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกลยุทธ์ทางการตลาด ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าได้ และยังช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนให้ตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

5. ช่วยสร้างความแตกต่างและการแข่งขันได้ในตลาด

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้แล้ว จะช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้

6. ช่วยสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า 

เมื่อเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไรได้อย่างลึกซึ้ง ก็จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ประทับใจ และทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำและเกิดความภักดีต่อแบรนด์ได้ด้วย  

7. ช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ

การทำ Customer Insight คือการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าก่อน ก็เปรียบเสมือนการทำรีเสิร์ช ทำให้การกำหนดกลยุทธ์การตลาดเต็มไปด้วยประสิทธิภาพ เพราะผ่านการตัดสินใจดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานข้อมูลที่มีและเชื่อมโยงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้นั่นเอง

8. สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ 

เมื่อทราบความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง จากการทำ Customer Insight แล้ว สิ่งที่จะได้ตามมาคือจะทำให้สามารถมองเห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้ด้วย

Customer Insight มีกี่ประเภท

ประเภทของ Customer Insight ที่นิยมนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด มีดังต่อไปนี้

1. ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย 

รูปแบบพฤติกรรม ช่องทางการขายสินค้าหรือบริการ การโต้ตอบกับลูกค้า การสนับสนุนสินค้า ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีค่าทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์เช่น ในระหว่างกระบวนการขาย ทีมขายของคุณอาจสังเกตเห็นแนวโน้มพฤติกรรมบางอย่างเมื่อลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ของคุณเป็นครั้งแรก โดยลูกค้ามักจะมีคำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือคุณลักษณะเฉพาะใด ๆ ก็ตาม ซึ่งการสังเกตและรวบรวมข้อมูลนี้ จะช่วยให้คุณทราบถึงกลุ่มลูกค้าประเภทเดียวกันที่คุณยังเข้าไม่ถึง

ดังนั้นคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์หาช่องทางในการเข้าถึงแบบเชิงรุก เพื่อสร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้นได้ ในทำนองเดียวกัน คุณอาจค้นพบแนวโน้มการบริการลูกค้าใหม่ ๆ เช่น การสร้างศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือทางด้านข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ซึ่งเป็นการปรับปรุงและเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้ามากขึ้นด้วย 

2. ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์

ในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกด้านประชากรศาสตร์ของลูกค้า การกำหนดเป้าหมายกลุ่มประชากรบางกลุ่ม จะทำให้คุณสามารถวิเคราะห์ลูกค้าตามคุณลักษณะได้ง่ายขึ้น เช่น

  • อายุ 
  • ที่อยู่
  • รายได้ 
  • การศึกษา 
  • เพศ 
  • สถานภาพการสมรส 

การใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากการวิจัยตลาดนี้ จะทำให้คุณสามารถปรับปรุงการให้บริการ และวิธีการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจงได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังจะเข้าถึงกลุ่ม Millennial ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าใหม่ ช่องทางการสื่อสารที่พวกเขาชื่นชอบอาจจะเป็นสื่อโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน ในทางกลับกันหากเป็นกลุ่ม Baby Boomer การสื่อสารผ่านโทรศัพท์อาจมีความเหมาะสมมากกว่าในการเข้าถึงนั่นเอง

3. ข้อมูลด้านพฤติกรรมของลูกค้า

พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า เช่น ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณอย่างไร ใช้บ่อยเพียงใด บทสนทนาระหว่างการซื้อ ประวัติการซื้อ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้สามารถบอกให้คุณทราบถึงโอกาสในการต่อยอดการขายในอนาคต หรือวิธีการขายอย่างไรให้ขายได้แบบต่อเนื่องเช่นกัน

4. ข้อมูลความภักดีต่อแบรนด์

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความสุขกับธุรกิจของคุณมากเพียงใด ซึ่งวิธีในการรวบรวมข้อมูลนี้ คือผ่านการสำรวจ Net Promoter Score (NPS)® และ CSAT นั่นเอง

5. ข้อมูลการบริการลูกค้า

ข้อมูลการบริการลูกค้าจะเป็นตัวเปิดเผยคุณภาพของสินค้าและบริการ และแสดงให้เห็นถึงบริบทของการโต้ตอบของลูกค้ากับทีมซัพพอร์ตหลังการขาย ว่าลูกค้าพูดอะไร ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับอะไร มีอะไรที่ลูกค้าไม่พอใจหรือไม่ยังเข้าใจหรือไม่ ซึ่งสามารถใช้ระบบ CRM ในการรวบรวมข้อมูลของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์ Customer Insight  ได้

อ่านเพิ่มเติม: CRM คืออะไร

6. ข้อมูลคู่แข่งขัน

ข้อมูลนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า คู่แข่งกำลังทำอะไรอยู่ มีแนวคิด มีวิธีดำเนินงานอย่างไร แล้วคุณจะทำให้ตัวเองโดดเด่นและแตกต่างได้อย่างไร ซึ่งคุณอาจจะต้องทำการวิจัยตลาดหรือวิจัยผู้บริโภค เพื่อรวบรวมข้อมูลคู่แข่งแล้วนำไปวิเคราะห์ต่อยอดในธุรกิจของตนเอง

วิธีการหาข้อมูล Customer Insight

พนักงานบริการติดต่อลูกค้า

ข้อมูล Customer Insight มีความสำคัญต่อธุรกิจทุกประเภท เพราะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการของลูกค้าและสามารถตอบสนองได้อย่างตรงจุด วิธีการหาข้อมูล Customer Insight นั้นมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และงบประมาณของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น

1. การสำรวจ (Survey)

การสำรวจความคิดเห็นลูกค้าเป็นวิธีการหาข้อมูล Customer Insight ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง สามารถทำได้โดยการส่งแบบสอบถามหรือทำแบบสำรวจออนไลน์ไปยังกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภค โดยคำถามในแบบสำรวจ ควรออกแบบมาเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ปัญหาที่พบ ความต้องการในอนาคต เป็นต้น 

ยกตัวอย่าง:  บริษัทขายเครื่องสำอางแห่งหนึ่งต้องการหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าใหม่ของบริษัท ทางบริษัทจึงส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภค โดยคำถามในแบบสอบถาม เช่น คุณใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าประเภทใด คุณมีปัญหาผิวหน้าใดบ้าง คุณให้ความสำคัญกับคุณสมบัติใดมากที่สุดในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า เป็นต้น

2. การสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้บริโภค (Focus Group) 

การทำ Focus Group กับกลุ่มผู้บริโภค หรือการสัมภาษณ์ลูกค้าโดยตรง (Customer interviews) เป็นวิธีการรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้า โดยผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการและกระตุ้นให้กลุ่มพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้รับจากการ Focus Group จะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์มากกว่าการสำรวจความคิดเห็นแบบทั่วไป ซึ่งข้อมูลที่ได้รับก็จะสามารถนำไปพัฒนา ปรับปรุง หรือต่อยอดธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ยกตัวอย่าง:  บริษัทขายเสื้อผ้าออนไลน์แห่งหนึ่งต้องการหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคเกี่ยวกับเว็บไซต์ของบริษัท ทางบริษัทจึงจัด Focus Group ขึ้น โดยเชิญผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทเข้าร่วม และในระหว่างการ Focus Group ผู้เชี่ยวชาญจะมีวิธีกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้านี้ พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท เช่น สิ่งแรกที่พวกเขาสังเกตเห็นเมื่อเข้าเว็บไซต์ ปัญหาที่พบเมื่อเข้าเว็บไซต์ สิ่งที่ต้องการให้มีเพิ่มเติมในเว็บไซต์ เป็นต้น 

3. ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ Customer Insight

การใช้เครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยจัดการข้อมูล จะช่วยให้ธุรกิจสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือเหล่านี้สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ความต้องการของลูกค้า และแนวโน้มของตลาดได้ 

ยกตัวอย่าง:  บริษัทขายสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่งต้องการหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ทางบริษัทจึงใช้ Social Listening Tool ของ Mandala AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะช่วยให้บริษัททราบว่า ผู้บริโภคพูดถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างไร พูดถึงผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งอย่างไร และกำลังสนใจผลิตภัณฑ์ประเภทใดอยู่ เป็นต้น

mandala ใช้ฟรี

4. ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media Analytics)

การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, X, Instagram, TikTok, YouTube ฯลฯ จะทำให้ได้ทราบข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ทั้งด้านประชากรศาสตร์ ประเภทเนื้อหาบนสื่อโซเชียลมีเดียที่ลูกค้าชื่นชอบ ช่วงเวลาที่ลูกค้าใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียมากที่สุด รวมถึงได้ทราบความคิดเห็นลูกค้าบนสื่อโซเชียลมีเดียด้วย ซึ่งสามารถรวบรวมและนำมาวิเคราะห์เพื่อช่วยให้ธุรกิจเข้าใจว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือแบรนด์ของตน ทำให้ทราบแนวโน้มความนิยมของผลิตภัณฑ์ ทราบถึงปัญหา หรือข้อร้องเรียนของลูกค้าได้ด้วย

5. ใช้ระบบ CRM (Customer Relationship Management) 

การใช้ระบบ CRM เป็นระบบที่ช่วยรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการซื้อ ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน ข้อมูลประชากรศาสตร์ แนวโน้มหรือเทรนด์ของลูกค้า เป็นต้น หรืออาจเป็นการสำรวจเส้นทางการซื้อผ่านเว็บไซต์ก็ได้เช่นกัน

โดยสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้านี้ นำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ พัฒนากลยุทธ์การตลาด และสร้างประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้น

ยกตัวอย่าง: สมมติว่าเป็นธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ แล้วต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ผ่านระบบ CRM ก็อาจจะสำรวจหาแนวโน้มความนิยมของประเภทของเสื้อผ้าที่ลูกค้าซื้อซ้ำบ่อย ๆ สีที่ขายดี จุดประสงค์ในการซื้อ เป็นต้น โดยธุรกิจอาจพบว่า ประเภทเสื้อผ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือชุดเดรส และลูกค้าส่วนใหญ่มักจะซื้อชุดเดรสสีดำและสีขาวเพื่อใส่ทำงาน

ตัวอย่างบริษัทที่มีการทำ Customer Insight โดยใช้ Customer Data

ตัวอย่างบริษัทที่มีการทำ Customer Insight โดยใช้ Customer Data เช่น 

  • Facebook: ที่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของ User เช่น ประเภทเนื้อหาที่ User ชอบกดไลก์ หรือสินค้าที่ User ให้ความสนใจ แล้ว Facebook ก็จะใช้ข้อมูลนี้ เพื่อเสนอโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของ User 
  • Netflix: ที่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูของสมาชิก เช่น รายการทีวี ภาพยนตร์ หรือคอนเสิร์ตที่สมาชิกดู ระยะเวลาที่สมาชิกดูแต่ละรายการ เป็นต้น โดย Netflix ก็ใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อแนะนำรายการที่คิดว่าสมาชิกน่าจะชอบ
  • Amazon: ที่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อของสมาชิก เช่น สินค้าที่เคยซื้อ สินค้าที่อยู่ในตะกร้าสินค้า เป็นต้น แล้ว Amazon ก็ใช้ข้อมูลนี้ เพื่อแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องให้กับสมาชิก

ไม่ต้องเสียเวลาเก็บข้อมูล เพียงใช้ Mandala AI เจาะลึกทุกข้อมูลโซเชียลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ 

ทุกวันนี้การเข้าถึง Customer Insight นั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมีเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Social Listening Tool จาก Mandala AI ที่สามารถช่วยวิเคราะห์ Customer Insight เจาะลึกทุกข้อมูลโซเชียลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ 

mandala insight

โดย Mandala AI มาพร้อมฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น คลังจัดเก็บคีย์เวิร์ดและแชนแนล การเก็บข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย ระบบจัดการแท็ก ฯลฯ ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์แนวโน้มเทรนด์และข้อมูลใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์ เพื่อเสริมศักยภาพของ Data นำไปสู่การค้นพบมุมมองของผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายที่มีผลต่อธุรกิจ แนวโน้มเทรนด์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงช่วยคัดกรองคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญต่อความต้องการของคุณ เพื่อการตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดที่เร็วและแม่นยำมากขึ้น ส่งผลไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อยกระดับและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจไม่ว่าประเภทใดก็ตาม จำเป็นจะต้องศึกษา Customer Insight อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน แล้ววันนี้คุณเข้าใจข้อมูลผู้บริโภคของคุณแล้วหรือยัง? 

mandala ใช้ฟรี
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.