อุตสาหกรรมแฟชั่นเปรียบเสมือนเวทีใหญ่ที่เต็มไปด้วยสีสัน ความคิดสร้างสรรค์ และการแข่งขันอันดุเดือด ท่ามกลางผู้แข่งขันมากมาย การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะทุกวันนี้แฟชั่นไม่ใช่แค่เรื่องของงานออกแบบเสื้อผ้าให้มีดีไซน์สวยงามเพียงอย่างเดียว แล้วจะทำให้ธุรกิจแฟชั่นของคุณประสบความสำเร็จได้ แต่แบรนด์จะโดดเด่นและเป็นที่จดจำได้ต้องร่วมมือกับนักออกแบบแฟชั่น ไปพร้อม ๆ กับการอาศัยกลยุทธ์สำคัญอย่าง Fashion Marketing ที่จะช่วยให้แบรนด์ก้าวไปสู่ความสำเร็จนั่นเอง
Fashion Marketing คืออะไร?
Fashion Marketing หมายถึง กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้เพื่อโปรโมตสินค้าและบริการในธุรกิจแฟชั่น โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก สร้างความแตกต่าง สื่อสารเรื่องราวความเป็นมาของแบรนด์ สินค้า และบริการ เพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย เกิดการจดจำแบรนด์ กระตุ้นยอดขาย เกิดการซื้อซ้ำและบอกต่อ
ทำไม Fashion Marketing ถึงสำคัญกับธุรกิจสายแฟชั่น
ในแวดวงธุรกิจแฟชั่น การที่แบรนด์สักแบรนด์จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนักออกแบบเสื้อผ้า แฟชั่นดีไซเนอร์ หรืออาชีพสไตล์ลิสต์เท่านั้น แต่ต้องอาศัยกลยุทธ์ทางการตลาดในการดำเนินธุรกิจด้วย และนี่คือเหตุผลที่ Fashion Marketing สำคัญกับธุรกิจแฟชั่น
- ช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดึงดูดความสนใจจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และเกิดการจดจำได้
- ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ เกิดความน่าสนใจ และช่วยสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้
- ช่วยกระตุ้นยอดขาย ดึงดูดลูกค้าใหม่ กระตุ้นให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำ และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ได้
- ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การมีส่วนร่วม และสร้างฐานลูกค้าที่เหนียวแน่น
- ท่ามกลางตลาดธุรกิจแฟชั่นที่มีการแข่งขันสูง การใช้กลยุทธ์ Fashion Marketing จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นจากคู่แข่งขึ้นมาได้
เทคนิคการทำ Fashion Marketing ให้เป็นที่รู้จัก ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
ในยุคดิจิทัลอย่างปัจจุบันนี้ การทำ Fashion Marketing ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การโฆษณาบนนิตยสาร หรือให้นายแบบ นางแบบ เดินแบบบนรันเวย์อีกต่อไป แบรนด์แฟชั่นจะต้องปรับตัวและเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อจะได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ซึ่งการทำ Fashion Marketing ให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วยหลายเทคนิคด้วยกัน ดังนี้
1. สินค้าต้องมีคุณภาพ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดแฟชั่น จำเป็นต้องมั่นใจว่าคุณภาพของสินค้า ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และลูกค้าได้รับประโยชน์จากสินค้าชิ้นนั้นอย่างเต็มที่ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญ คือ ต้องจำหน่ายสินค้าในราคาที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพนั่นเอง นอกจากการให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าแล้ว ยังต้องกำหนดคุณสมบัติและสไตล์ของสินค้าให้ชัดเจน เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาสนใจแบรนด์มากขึ้นด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟชั่นควรต้องรู้จักลูกค้าของตนเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้ขายสินค้าได้มากขึ้น อันจะส่งผลไปสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจระยะยาว ขณะเดียวกันฟีดแบคจากลูกค้าก็จะช่วยในการพัฒนาสินค้าของแบรนด์ให้ดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
2. ราคาจับต้องได้
นักการตลาดแฟชั่นจำเป็นต้องกำหนดราคาสินค้าในระดับที่ลูกค้าสามารถซื้อได้ ในขณะเดียวกัน บริษัทก็ยังคงได้รับกำไรที่เหมาะสมด้วย โดยทั่วไปแล้วราคาของสินค้าแฟชั่นจะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
- ความต้องการของแบรนด์ (Brand Demand)
- ต้นทุนการผลิต (Cost of Production)
- ระดับกำไรที่ต้องการ (Desired Profit Level)
ซึ่งการกำหนดราคาจะขึ้นอยู่กับทั้งต้นทุนของสินค้าและราคาขายที่ตั้งใจไว้ และหลายบริษัทมักใช้กลยุทธ์การลดราคา เพื่อกระตุ้นยอดขาย เช่น การจัดโปรโมชัน ลดราคาช่วงเทศกาล หรือการลดราคาสินค้าค้างสต๊อก เพื่อช่วยดึงดูดลูกค้า และเป็นการส่งเสริมการตลาดในอีกทางหนึ่ง
3. เข้าถึงสินค้าได้ง่าย
การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจแฟชั่นได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเลือกวิธีการกระจายสินค้าไปตามแหล่งต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยสถานที่ขายสินค้าอาจเป็นร้านค้าจริง หรือเว็บไซต์ชอปปิงออนไลน์ก็ได้แล้วแต่แผนการตลาดของแบรนด์ นอกจากนี้ ผู้บริโภคมักจะค้นหาความต้องการของตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนั้นเว็บไซต์จึงมีผลต่อยอดขายสินค้าแฟชั่นด้วยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ
4. โปรโมตสินค้าด้วยเครื่องมือโฆษณาออนไลน์
การสร้างแบรนด์และการส่งเสริมการขาย เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโต ซึ่งการส่งเสริมการขาย คือ การสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการให้กับลูกค้า นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือโฆษณาออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ช่วยขยายธุรกิจให้เติบโต รวมถึงช่วยวิเคราะห์และปรับปรุงภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ด้วย
5. ดึงดูดด้วยแพ็คเกจจิ้ง
การสร้างรักแรกพบด้วยแพ็คเกจจิ้งเพียงปลายตาเดียว ถือว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจอย่างหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกสนใจสินค้าชิ้นนั้น ๆ ได้ทันที ดังนั้นอย่าปล่อยให้โอกาสนี้หลุดลอยไป แบรนด์ควรออกแบบแพ็คเกจจิ้งให้มีเอกลักษณ์และน่าดึงดูดความสนใจ เพราะท้ายที่สุดแล้วแพ็คเกจจิ้งก็เป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ มีส่วนช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ด้วย
นอกจากนี้ การที่สินค้ามีแพ็คเกจจิ้งจะช่วยป้องกันสินค้าระหว่างขนส่งได้อีกทาง แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า แพ็คเกจจิ้งที่ออกแบบมาสามารถจัดส่งพัสดุได้อย่างไร้ปัญหาด้วย
ตัวอย่างจากแบรนด์ GENTLEWOMAN
กระเป๋า The Dumpling Club รุ่นใหม่ 8 สี จาก Gentlewoman ที่ทำแพ็คเกิจจิ้งเหมือนเกี๊ยวได้น่ารับประทานสุด ๆ พร้อมให้ Influencer สายแฟชั่นบิวตี้รีวิว Unboxing กระตุ้นยอดขาย
6. ให้ความสำคัญกับกิจกรรมหรือเทศกาลสำคัญ
กิจกรรมและเทศกาลสำคัญนำมาซึ่งความรู้สึกเชิงบวกและสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้บริโภคได้ นักการตลาดด้านแฟชั่นควรใช้ประโยชน์จากกิจกรรมหรือเทศกาลเหล่านี้ ในการออกแบบคอลเลกชันพิเศษ เพื่อเพิ่มยอดขายในช่วงเทศกาลสำคัญนั่นเอง
ตัวอย่างแบรนด์ VSHOP
7. ฟังเสียงจากลูกค้า
ความภักดีที่ลูกค้ามีให้กับแบรนด์เกิดขึ้นได้จากการรับฟังคำติชมต่าง ๆ ของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าของตนเอง เพราะคำติชมและความคิดเห็นต่าง ๆ สามารถช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งมอบสิ่งต่าง ๆ ให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น ดังนั้น นักการตลาดแฟชั่นควรทำโพลต่าง ๆ บนสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อจะได้ทราบความต้องการของลูกค้า รวมถึงปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการได้มากขึ้น ซึ่งวิธีนี้มีส่วนช่วยเพิ่มความสนใจในแบรนด์ได้ด้วย
อัปเดตแนวโน้มเทรนด์ใหม่ ๆ สําหรับการตลาด Fashion Marketing
หากคุณเป็นแบรนด์แฟชั่นที่ต้องการก้าวนำคู่แข่งในปี 2024 นี่คือแนวโน้มเทรนด์ Fashion Marketing เด็ด ๆ ที่น่าจับตามอง พร้อมช่วยให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จได้
1. เทรนด์ Mob Wife
เทรนด์แฟชั่น “Mob Wife” หรือลุคส์ภรรยาสาวม็อบที่โดดเด่นด้วยการแต่งกายด้วยผ้าพิมพ์ลายสัตว์ พร้อมกางเกงหนังมัน ๆ เงา ๆ เครื่องประดับสีทองขนาดใหญ่ รองเท้าส้นสูง และเสื้อเฟอร์หรือเสื้อคลุมขนสัตว์ตัวใหญ่อันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งตรงข้ามกับเทรนด์ Quiet Luxury อย่างสุดขั้ว จนทำให้มียอดวิวบน TikTok มากกว่า 127 ล้านครั้งแล้ว ซึ่งเทรนด์นี้ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายสำหรับแบรนด์ที่ยังไม่เคยมีสินค้าประเภทนี้เลย
ตัวอย่างแบรนด์ Valichain
แบรนด์จิวเวลลี่กันน้ำ 100% ของบิวตี้บล็อคเกอร์คุณไทน์ กรกนก วรรณกิจ หรือ Valentine ที่หลายคนรู้จักกัน ซึ่งสามารถจับเทรนด์ Mob Wife ได้ไวสุด ๆ ผ่านการทำคอนเทนต์เกี่ยวกับเทรนด์ Mob Wife พร้อมแนะนำสินค้าของแบรนด์หลายชิ้นที่สามารถแมทช์ลุค Mob Wife ได้ด้วย
@valichain Mob Wife Aesthetics ใส่อะไรบ้าง #valichain #TikTokFashion #mobwife #mobwifeaesthetic #mobwifeera #boldjewelry #fashiontrends #TikTokUni #tiktoklooks #คลาสแฟชั่น #กรีนสกรีน #กรีนสกรีนวิดีโอ ♬ Love In Portofino – Dalida & Raymond Lefèvre Et Son Grand Orchestre
2. ปีแห่งการสร้างชื่อเสียงระยะยาว
ในตลาดแฟชั่นปัจจุบัน ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการวางกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างชื่อเสียงระยะยาวให้กับแบรนด์ เราอาจจะเห็นแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ปรากฏอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งบนฟีด Instagram หรือ TikTok แต่หากไม่มีความหมายที่ลึกซึ้งก็ไม่สามารถพาแบรนด์ไปไกลได้
ลองดูแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Chanel ซึ่งประสบความสำเร็จมานานหลายทศวรรษด้วยเอกลักษณ์มากมาย ทั้งการใช้เลขรหัส ดอกคามิเลีย ผ้าทวีด ฯลฯ ขณะเดียวกันแบรนด์ Chanel ก็ยังคงปรับปรุงดีไซน์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอ
3. It Bag กับเทรนด์กระเป๋าไนลอน
สมัยยุค 90s คำว่า It Bag คือคำที่เรียกใช้กระเป๋าประจำซีซั่นของแบรนด์ดังต่าง ๆ ที่มีราคาสูง มีจำหน่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็น Hermès Birkin, Chanel classic flap หรือ Fendi baguette ซึ่งปัจจุบันกระเป๋าผ้าไนลอนได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงทั้งหมด อย่างกระเป๋าคาดเอว Lululemon และกระเป๋า Nylon Crescent ของ Baggu แบรนด์กระเป๋ารักษ์โลกจากอเมริกาที่ผลิตจากผ้าที่มีความทนทาน และออกแบบมาเพื่อนำไปใช้ทำงานหรือยัดใส่กระเป๋าเดินทางได้ง่าย ถือว่าเป็นกระเป๋าที่ต่อต้าน Birkin หลายประการเลยทีเดียว
4. การชอปผ่านโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้น
Sprout Social กล่าวว่าในปี 2024 มี ผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลกประมาณ 5.17 พันล้านคน ด้วยอัตราการใช้สื่อโซเชียลมีเดียทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น บางแพลตฟอร์มไม่เพียงแค่ดูภาพสินค้าได้เท่านั้น แต่ยังสามารถคลิกและสั่งซื้อได้จากแพลตฟอร์มได้อีกด้วย ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็มีจุดเด่นของตัวเองแตกต่างกันไป เช่น TikTok ที่มีปุ่ม “ซื้อ” ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดาย และเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มาแรงมากที่สุดในขณะนี้ โดย Sprout Social พบว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตเร็วที่สุดโดยมีอัตราการเติบโตของผู้ใช้ถึง 100% ระหว่างปี 2563 ถึง 2565 และระหว่างไตรมาส 3 ปี 2565 ถึงไตรมาส 3 ปี 2566 ผู้ใช้ที่ใช้งานรายเดือนของ TikTok เพิ่มขึ้น 13%
5. สร้างประสบการณ์การชอปปิงอย่างต่อเนื่อง
อนาคตของตลาดแฟชั่นจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์การชอปปิงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาศัยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อจะได้ทราบว่าผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์อยู่ในขั้นตอนใดของการเดินทางของลูกค้า ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ร้านค้าสามารถรักษาลูกค้าไว้ในขั้นตอนนั้นได้ โดยไม่ต้องขอให้พวกเขากรอกข้อมูลใหม่ หรือกดสินค้ากลับเข้ารถเข็นอีกครั้งกรณีที่ยังไม่ได้กดสั่งซื้อ เพื่อลดความยุ่งยากในการกดย้อนกลับไปกลับมา
ตัวอย่าง Haus Of Abbi
แพลตฟอร์มออนไลน์ของคุณชมพู่ อารยา ที่สามารถสั่งซื้อสินค้าแฟชั่นจากแบรนด์ต่าง ๆ ได้ผ่านเว็บไซต์ hausofabbi.com ได้ง่ายทุกขั้นตอน
6. นำข้อมูลจากคนทั่วไปมาสร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์
ปัจจุบันคนทั่วไปได้กลายเป็น Influencer ในพื้นที่สื่อของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น Nano หรือ Micro Influencer ที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า 100,000 คน โดย Influencer ระดับนี้มักมีอัตราการมีส่วนร่วม และ Conversion Rate ที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้มีอิทธิพลระดับ Macro-Influencer ที่มีผู้ติดตามนับล้าน โดยเนื้อหาที่สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ ความคิดเห็น รีวิว และคำติชมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของคุณจากลูกค้าที่พึงพอใจ คุณสามารถแชร์ UGC ต่อผ่านช่องทางออนไลน์ โบรชัวร์ และสื่ออื่น ๆ ของคุณได้ เพราะ UGC สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำงานได้ดีกว่าเนื้อหาที่สร้างโดยแบรนด์เองด้วย
ตัวอย่างแบรนด์ Puffcowear
7. Influencer สร้างพลังที่มากกว่า
การเพิ่มขึ้นของ Micro-Influencer ซึ่งมีผู้ติดตามน้อยกว่า 100,000 คน และอาจไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็น Influencer หรือผู้มีอิทธิพลด้วยซ้ำ แต่นี่คือวิธีใหม่ในการทำให้สินค้าของคุณถูกเพิ่มการมองเห็นมากขึ้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำงานร่วมกับ Macro Influencer ที่เข้าถึงผู้คนถึงระดับแสนไปจนถึงล้านคนมีงบประมาณที่ค่อนข้างสูง ต่างจาก Micro Influencer ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้จำน้อยกว่า แต่มีความตรงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า
- ข้อมูลจาก HubSpot พบว่า 44% ของนักการตลาดกล่าวว่าประโยชน์ของการร่วมงานกับ Micro Influencer ที่สำคัญที่สุดคือการมีค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้
- อีกทั้ง Emplifi กล่าวว่า Micro influencers มีอัตราการการมีส่วนร่วมมากกว่า Macro influencers ถึง 60%
ทั้งนี้ คุณสามารถใช้ Mandala Analytics เป็นตัวช่วยในการค้นหา Influencer ที่ตรงกับประเภทธุรกิจและเป็น Influencer ที่อยู่ในกระแส เพื่อการทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และง่ายยิ่งขึ้น เพื่อรับผลตอบแทนทางการตลาดอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
8. เริ่มต้นการทำงานเพื่อความยั่งยืน
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีแนวโน้มไปที่ความยั่งยืนด้านแฟชั่นมากขึ้น เนื่องจากผู้คนเริ่มจับตาดูผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นเรื่องความยั่งยืนกำลังกลายเป็นส่วนสำคัญของการตลาดแฟชั่น และคาดการณ์ว่ามันจะยิ่งใหญ่ขึ้นในอนาคต
ปัจจุบันผู้คนเริ่มต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำพวกเขารู้สึกดีได้ และพวกเขาก็รู้สึกไม่ดีเมื่อรู้ว่าเสื้อยืดราคา 20 ดอลลาร์ของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของฟาสต์แฟชั่นที่อันตราย แบรนด์แฟชั่นต่าง ๆ จึงต้องทำการตลาดเพื่อแสดงออกถึงความพยายามของตนด้วย ยกตัวอย่างแบรนด์ Zara ที่ได้เพิ่มคำอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงเปอร์เซ็นต์ของวัสดุที่ผลิตจากแหล่งที่ยั่งยืน
เป็นผู้นำทางธุรกิจแฟชั่น สร้าง Fashion Marketing ให้ปังกว่าเดิม
โลกแห่งแฟชั่นนั้นเต็มไปด้วยการแข่งขัน ไม่ว่าจะการพยายามหาทางสร้างจุดเด่น ดึงดูดลูกค้า หรือสร้างยอดขาย กลยุทธ์ Fashion Marketing ที่ทรงพลังจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาต่อยอดความสำเร็จให้กับแบรนด์แฟชั่นของคุณด้วย Mandala AI ที่จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลอย่างอัจฉริยะ มาพร้อมฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า ทั้งพฤติกรรม ความต้องการ ติดตามกระแสบนโลกออนไลน์ วิเคราะห์ว่าผู้คนพูดถึงแบรนด์ของคุณอย่างไร คู่แข่งของคุณเป็นอย่างไร และเทรนด์แฟชั่นอะไรกำลังเป็นที่นิยม เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงการค้นหา Influencer ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย พร้อมหาช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และยังสามารถวัดผลประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดได้ด้วย