Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Macro Influencer คืออะไร แตกต่างกับ Micro Influencer อย่างไร

Macro Influencer คืออะไร แตกต่างกับ Micro Influencer อย่างไร

ปัจจุบันการตลาดแบบ Influencer Marketing เข้ามามีบทบาทในการตลาดออนไลน์ ซึ่งกลุ่ม Macro Influencer และ Micro Influencer นับเป็นกลุ่มที่แบรนด์และนักการตลาดนึกถึงเสมอ เนื่องจากความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณที่พอรับได้ แล้วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร อ่านต่อได้เลย

Macro Influencer คืออะไร

Influencer จะแบ่งเป็น 5 ประเภทด้วยกันตามยอดผู้ติดตาม ได้แก่

  • Nano Influencer มีผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน
  • Micro Influencer มีผู้ติดตาม 10,000 – 50,000 คน
  • Mid-tier Influencer มีผู้ติดตาม 50,000 – 500,000 คน
  • Macro Influencer มีผู้ติดตาม 500,000 – 1,000,000 คน
  • Mega Influencer มีผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป

Macro Influencer คือ คนที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 500,000 คนขึ้นไป มักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง กีฬา หรือธุรกิจ Macro Influencer มักมีอิทธิพลต่อผู้ติดตามจำนวนมาก จึงสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างและสร้าง Awareness ให้กับแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว

Macro Influencer แตกต่างกับ Micro Influencer อย่างไร

Macro Influencer และ Micro Influencer แตกต่างกันใน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 

  • จำนวนผู้ติดตาม Macro Influencer มีจำนวนผู้ติดตามมากกว่า Micro Influencer
  • ประเภท Macro Influencer มักเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ในขณะที่ Micro Influencer มักเป็นบุคคลทั่วไปที่มีความถนัดเฉพาะเจาะจง เช่น Influencer สายสุขภาพ Influencer สายอาหาร เป็นต้น
  • การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย Macro Influencer สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้าง ในขณะที่ Micro Influencer สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจงมากกว่า
mandala banner

ประโยชน์ของ Macro Influencer

1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้มาก

เนื่องจาก Macro Influencer มีผู้ติดตามจำนวนในระดับแสนไปจนถึงล้านคน ทำให้มีผู้ติดตามที่มีความสนใจที่หลากหลายจึงช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้นและสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้มากขึ้น

2. มีความน่าเชื่อถือ

Macro Influencer มักเป็นคนที่มีชื่อเสียง เช่น นักแสดง นักร้อง ดังนั้นพวกกเขาจึงค่อยๆ สร้างชื่อเสียงและอิทธิพลของตนขึ้นมาอย่างมั่นคง ซึ่งส่งผลให้แบรนด์ที่ร่วมงานกับ Influencer กลุ่มนี้มีความน่าเชื่อถือและถือเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย

3. สร้างคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่า Macro Influencer มักจะมีทีมงานเบื้องหลัง เช่น คนตัดต่อ ตากล้อง สไตล์ลิส และผู้จัดการมืออาชีพ คอยช่วยให้พวกเขาสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูงและตรงตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดของแบรนด์ 

4. ขยายฐานการตลาดของแบรนด์

Macro Influencer มีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งเพศ อายุ ความสนใจ และภูมิภาคที่แตกต่างกัน ซึ่งช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้นและขยายการเข้าถึงไปยังตลาดใหม่ๆ ได้

ประโยชน์ของ Micro Influencer

1. เป็นที่ไว้วางใจของผู้ติดตาม

Micro Influencer มักมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นส่วนตัวกับผู้ติดตามมากกว่า จึงไม่แปลกที่จะได้รับความไว้วางใจจากผู้ติดตาม อีกทั้งคอนเทนต์ของ Micro Influencer ยังให้ความรู้สึกจริงใจและน่าเชื่อถือ ทำให้เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

2. เชี่ยวชาญในด้านที่เฉพาะเจาะจง

อย่างที่ทราบกันดีว่า Micro Influencer มักมีความสนใจและถนัดในเรื่องที่เฉพาะด้านจึงมีผู้ติดตามเป็นกลุ่มที่สนใจในเรื่องที่คล้ายกันช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ นอกจากนี้ความเชี่ยวชาญของพวกเขาสามารถโน้มน้าวกลุ่มเฉพาะของตนได้จึงเพิ่มความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และช่วยเพิ่มยอดขายได้

3. มี Engagement สูงกว่า

ด้วยจำนวนผู้ติดตามที่น้อยกว่า Micro Influencer มักมีอัตราการมีส่วนร่วม (Engagement Rate) สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Macro Influencer และเมื่อผู้ติดตามมีส่วนร่วมมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแชร์มากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่การรับรู้แบรนด์และการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มขึ้น

4. งบประมาณเป็นมิตร

การทำงานร่วมกับ Micro-Influencer ใช้งบประมาณที่ถูกกว่า โดย Influencer กลุ่มนี้เปิดยินดีที่จะเจรจาเงื่อนไขหรือรับค่าตอบแทนเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ที่มีงบประมาณการตลาดจำกัด ข้อมูลจาก HubSpot พบว่า 44% ของนักการตลาดกล่าวว่าประโยชน์ของการร่วมงานกับ Micro Influencer ที่สำคัญที่สุดคือการมีค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้

ตัวอย่าง Macro Influencer

อุตสหกรรมท่องเที่ยว

backpaeger

อุตสหกรรมความงาม

soundtiss influencer

ตัวอย่าง Micro Influencer

อุตสหกรรมท่องเที่ยว

อุตสหกรรมความงาม

คุณเห็นความแตกต่างแล้วหรือยัง

การเลือกประเภทของ Influencer ที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ทางการตลาดของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย หากแบรนด์ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างและสร้าง Awareness ให้กับแบรนด์อย่างรวดเร็ว Macro Influencer จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่หากแบรนด์ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและสร้าง Engagement กับกลุ่มเป้าหมาย Micro Influencer จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า โดยการเลือก Influencer ทั้งสองรูปแบบสามามรถใช้เครื่องมืออย่าง Mandala Analytics เพื่อเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้

mandala banner
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.