- Digital Marketing คืออะไร
- Online Marketing ต่างกับ Digital Marketing อย่างไร
- ช่องทางการทำ Digital Marketing มีอะไรบ้าง ?
- การทำ Digital Marketing สามารถช่วยธุรกิจคุณได้อย่างไร
- วิธีการทำ Digital Marketing
- เครื่องมือ Digital Marketing Tools ที่นักการตลาดดิจิทัลห้ามพลาด
- สร้างกลยุทธ์ Digital Marketing เชื่อมต่อลูกค้าได้ดีกว่าเดิมด้วย Mandala AI
ก่อนจะตอบคำถามว่า Digital Marketing หรือการตลาดดิจิทัล คืออะไรนั้น ทำไมถึงกลายเป็นที่จับตามองของผู้ประกอบการธุรกิจ ลองย้อนกลับมาดูการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมากัน
หากดูจากสถิติล่าสุดจะพบว่าประชากรโลกมีจำนวนมากกว่า 8 พันล้านคน โดยมีผู้คนจำนวน 5.61 พันล้านคนใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงต้นปี 2024 คิดเป็น 69.4 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวน 5.35 พันล้านคน หรือคิดเป็น 66.2 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทั่วโลกอยู่ที่ 5.04 พันล้านคน คิดเป็น 62.3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก
ดังนั้นถือได้ว่า แบรนด์และนักการตลาดมีโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตนได้มากขึ้นในโลกของออนไลน์ วันนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจจริง ๆ ว่า Digital Marketing คืออะไร? ทำไมการทำ Digital Marketing จึงสำคัญในยุคนี้ พร้อมมีวิธีเริ่มต้นทำการตลาดอย่างไรบ้าง
Digital Marketing คืออะไร
Digital Marketing คือ การตลาดดิจิทัลที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารโฆษณา โปรโมตสินค้า ปิดยอดขาย และมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าที่ใช้อินเตอร์เน็ต หรือพูดให้เห็นภาพชัดการตลาดแบบ Digital Marketing คือ แพลตฟอร์มการสื่อสารแบบดิจิทัลต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่อีเมล โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ แต่ยังรวมทั้งการส่งข้อความผ่านมัลติมีเดียผ่านช่องทางการตลาดอีกด้วย
Online Marketing ต่างกับ Digital Marketing อย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว Online Marketing และ Digital Marketing ต่างกัน คือ Online Marketing นั้นคือเรื่องปลีกย่อยที่อยู่ภายใต้ Digital Marketing อีกต่อหนึ่ง โดย Online Marketing จะอาศัย Internet เน้นไปที่การส่งต่อคอนเทนต์ผ่านช่องทางในโลกอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ Digital Marketing จะอาศัยสื่อกลางที่เป็นช่องทางดิจิทัลในการเชื่อมต่อลูกค้า
ทำไม Digital Marketing ถึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ปัจจุบัน Digital Marketing ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงผู้ประกอบการขนาดใหญ่ต่างลงสนามและใส่เม็ดเงินเข้ามาในตลาดนี้กัน เพื่อขยายโอกาส และช่องทางในการสร้างและต่อยอดการเติบโตของแบรนด์ให้มากขึ้น เหตุผลที่ทำให้ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งสำคัญนั้น ก็เพราะวิธีนี้ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่มากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับการตลาดแบบดั้งเดิม รวมทั้งตั้งเป้าหมายของการสร้างโอกาสทำการตลาดได้แบบเฉพาะเจาะจง ที่สำคัญยังช่วยประหยัดงบประมาณในการโฆษณาและวัดผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
ช่องทางการทำ Digital Marketing มีอะไรบ้าง ?
จริง ๆ แล้ว ช่องทางการทำ Digital Marketing มีหลากหลายช่องทางด้วยกัน โดยบทความนี้ขอยกตัวอย่างช่องทางทำการตลาดบางส่วนมาอธิบาย ดังนี้
1. SEO
การทำ SEO คือ การสร้างและปรับเปลี่ยนการมองเห็นเว็บไซต์ของแบรนด์ให้ติดอันดับต้น ๆ บนเครื่องมือ Search Engines ต่าง ๆ เมื่อผู้คนค้นหาเรื่องที่สนใจด้วย Keywords ถือเป็นวิธีทำการตลาดดิจิทัลที่ช่วยสร้าง Traffic แบบไม่ต้องเสียค่าโฆษณา หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า Organic Traffic
2. Social Media Marketing (SMM)
มาเปิดหน้าสด พิสูจน์ผิวใสกับ #เซนกะเพื่อนรักผิวใส และคุณต้าเหนิง✨
— SENKA Thailand official (@Senka_Thailand) April 25, 2024
💙สูตรผิวใสว้าว SENKA Perfect Whip ฟินผิวใสนุ่ม อ่อนโยน ได้ทุกวัน
💚สูตรไกลสิว SENKA Perfect Whip Acne Care
💗สูตรผิวนุ่มเด้ง SENKA Perfect Whip Collagen in#SENKAThailand #SENKAPerfectFriend #เพื่อนรักผิวใส pic.twitter.com/9m99PEBGL0
การทำการตลาดด้วยสื่อโซเชียล คือ การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าบนแพลตฟอร์มโซเชียลช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ Facebook, Twitter (X), Instagram และอื่น ๆ อีกมากมาย วิธีนี้จะเหมาะแก่นักการตลาดที่ต้องการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ (Brand Awareness) รวมทั้งเข้าถึงหรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
3. Sponsored Content
Sponsored Content ว่าด้วยกลยุทธ์ทำการตลาดดิจิทัลที่แบรนด์จ่ายเงินให้เอเจนซีหรือเพจต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียช่วยสร้าง และโปรโมตคอนเทนต์ โดยหนึ่งในวิธีที่นิยมกันมากก็คือ การทำ Sponsored Content ประเภทบล็อกหรือบทความแล้วนำไปโพสบนเพจต่าง ๆ ที่กล่าวถึงสินค้าหรือแบรนด์ของเราด้วย
4. Influencer Marketing
Influencer Marketing คือ เครื่องมือทำการตลาดแบบไฮบริด ผสมผสานแนวคิดทำการตลาดแบบเก่าและใหม่เข้าไว้ด้วยกัน ว่าด้วยการใช้พลังหรือเสียงของคนดังเข้ามาช่วยทำการตลาด ซึ่งมักเป็นไปในลักษณะแบรนด์ร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ทำแคมเปญกันขึ้นมา
5. Email Marketing
ส่วนใหญ่แล้ว แบรนด์มักใช้วิธีนี้เป็นช่องทางสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมักใช้โปรโมตคอนเทนต์ โปรโมชันลดราคาสินค้า อีเวนต์น่าสนใจต่าง ๆ ตลอดจนเข้าถึงและดึงดูดผู้คนให้เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์มากขึ้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ: การทำกลยุทธ์ Email Marketing
6. Affiliate Marketing
Affiliate Marketing คือ การทำโฆษณาอิง Performance รูปแบบหนึ่ง โดยครีเอเตอร์ที่รับจ้างโปรโมตแบรนด์นั้นจะได้รับค่าคอมมิชชันจากแบรนด์ที่ให้โปรโมตสินค้าหรือบริการ ถือเป็นคลื่นลูกใหม่ของการตลาดแบบ Influencer marketing โดย Affiliate marketing จะว่าจ้างครีเอเตอร์ที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ มาช่วยสร้างคอนเทนต์สนับสนุนแคมเปญของแบรนด์เป็นหลัก สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการใช้ช่องทางนี้ คือการมาของ TikTok Affiliate นั้นทำให้คุณเห็นภาพการใช้เทคนิค Affiliate marketing ได้อย่างแพร่หลาย
7. Video Marketing
Video Marketing ว่าด้วยการทำคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ ซึ่งนำมาใช้โปรโมตหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยแบรนด์ใช้คอนเทนต์ประเภทวิดีโอนี้ส่งต่อและกระจายไปยังช่องทางได้หลากหลาย ทั้งเว็บไซต์และแพลตฟอร์มโซเชียล ตลอดจนประยุกต์ใช้ในกลยุทธ์ทำการตลาดดิจิทัลไม่จำกัดรูปแบบ
8. Content Marketing
ว่าด้วยการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ และควรค่าแก่การส่งต่อ ไม่ว่าจะเป็นข้อความในบล็อก อีบุ๊ก หรือวิดีโอ ครีเอเตอร์จึงต้องสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดและน่าสนใจ ที่สำคัญ ต้องตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยคอนเทนต์แต่ละประเภทมีลักษณะ ดังนี้
- Blog มักเป็นคอนเทนต์ประเภทข้อเขียนบทความที่เผยแพร่ผ่านบล็อกของแบรนด์ ถือเป็นช่องทางที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้น ๆ อีกทั้งยังช่วยเปลี่ยนผู้เข้าชมเว็บไซต์ทั่วไปมาเป็น Leads คุณภาพได้
- E-book คอนเทนต์ขนาดยาว มุ่งเน้นให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้แบรนด์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายได้ รวมทั้งเก็บ Leads คุณภาพสำหรับนำไปทำการตลาดต่อได้ภายหลัง
- Infographic คอนเทนต์ในรูปแบบวิชวล Visual ช่วยให้ข้อมูลหรือความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านผ่านภาพกราฟิกที่มีการเล่าเรื่องหรือวางแนวคิดเป็นขั้นตอนและเสพง่าย
- Podcast มักมาในรูปแบบรายการแบบ Audio เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ของสื่อ เนื้อหาของรายการ Podcast ค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าแนวคิดรายการว่าด้วยเรื่องอะไร และต้องการนำเสนอแบบใด ซึ่งมีทั้งแบบเพื่อความบันเทิง ให้ความรู้ หรือชวนแลกเปลี่ยนและถกเถียงความคิดเห็นกัน
9. Pay Per Click Ads
Pay Per Click คือ การทำโฆษณาออนไลน์ที่ต้องจ่ายเงิน มุ่งเน้นการแสดงผลอันดับต้น ๆ บน Search Engines หรือแพลตฟอร์มโซเชียล
10. Online PR
Online PR คือ วิธีประชาสัมพันธ์ข่าวสารสินค้าหรือบริการของแบรนด์ มักอยู่ในรูปแบบประกาศทางเว็บไซต์ บล็อก หรือคอนเทนต์บนเว็บไซต์อื่น
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ: PR ทำไมถึงสำคัญ พร้อมเทคนิคทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
11. Mobile Marketing
Mobile Marketing คือ กลยุทธ์ทำการตลาดที่มุ่งเน้นช่องทางโทรศัพท์มือถือเป็นหลักในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มักมาในรูปแบบข้อความ SMS, MMS และข้อความในแอปพลิเคชัน
การทำ Digital Marketing สามารถช่วยธุรกิจคุณได้อย่างไร
แบรนด์ และนักการตลาดที่สนใจเริ่มต้นทำ Digital Marketing ลองมาดูกันก่อนว่า การทำ Digital Marketing จะช่วยธุรกิจได้อย่างไรบ้าง
1. เห็น “โอกาส” การเติบโตมากกว่า
Digital Marketing ช่วยให้นักการตลาดระบุได้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร รวมทั้งสร้างโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น โดยส่งต่อ “สาร” ไปให้กลุ่มเป้าหมายได้ใกล้ชิดและสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ดี ที่สำคัญ ยังช่วยให้ทำรีเสิร์ชเกี่ยวกับ Personas ของกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน จนนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่ชัดเจนและตรงตามเป้าหมาย
2. บริหารค่าใช้จ่ายได้คุ้มค่า
การทำการตลาดดิจิทัลช่วยให้ติดตามผลของแคมเปญได้แบบวันต่อวัน ทำให้เห็นได้ชัดว่าช่องทางไหนที่ทำการตลาดของแคมเปญนั้น ๆ ได้ดีกว่า และช่องทางไหนที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนทำการตลาดต่อไป เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจย้ายงบประมาณมาใช้ลงทุนกับช่องทางที่คุ้มค่าและได้ผลตอบแทนที่สูงกลับมา
3. เปิดโอกาสในการแข่งขันกับแบรนด์ใหญ่
เดิมทีธุรกิจขนาดเล็กแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ยากในโลกการตลาดแบบดั้งเดิม แต่เมื่อมาอยู่ในสนามของโลกออนไลน์แล้ว แบรนด์เล็กก็มีโอกาสแข่งขันกับเจ้าใหญ่ได้ง่ายขึ้น
4. วัดผลที่จับต้องได้
โดยทั่วไปแล้ว การตลาดแบบดั้งเดิมเหมาะแก่การทำแคมเปญที่มีเป้าหมายเฉพาะทาง ซึ่งถือว่าเป็นข้อจำกัดในการวัดผลพอสมควร ต่างจาก Digital Marketing ที่เอื้อให้นักการตลาดวัดผลลัพธ์ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบแคมเปญ รวมทั้งเห็นว่าผลลัพธ์ที่ออกมานั้นสำคัญต่อแบรนด์อย่างไร นอกจากนี้ ยังช่วยให้เห็นผลลัพธ์แบบเรียลไทม์
5. ปรับเปลี่ยนวิธีทำการตลาดได้ง่ายและยืดหยุ่น
ถือเป็นข้อดีของ Digital Marketing โดยนักการตลาดปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดได้ง่ายกว่าการตลาดแบบดั้งเดิม หากเกิดข้อผิดพลาดใด ก็เแก้ไขหรือขอระงับแคมเปญได้ทันที
6. เพิ่ม Conversion Rate และคุณภาพ Leads
ตามที่กล่าวไปข้างต้น การตลาดดิจิทัลเอื้อให้วัดผลที่จับต้องได้จริง ส่งผลให้นักการตลาดเพิ่ม Conversion Rate ได้ง่ายตามไปด้วย เพราะนักการตลาดมองเห็นผลลัพธ์จากสิ่งที่ลงมือทำตามแผนว่าเป็นอย่างไร เรียนรู้ข้อผิดพลาดจนนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้กลยุทธ์การตลาดครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ข้อมูล Leads ก็นำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตาม Stage ของ Journey ได้
7. เข้าถึงและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายตลอด Journey
เข้าถึงและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายตลอด Journey การรู้จักและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ขั้นแรกของการทำการตลาดถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทำให้ได้เรียนรู้พฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตลอด Journey โดย Digital Marketing ช่วยให้นักการตลาดเข้าถึงและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้
วิธีการทำ Digital Marketing
โดยทั่วไปแล้ว ขั้นตอนการทำ Digital Marketing มีแนวทางปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้
1. ตั้งเป้าหมายแคมเปญ
นักการตลาดและแบรนด์ควรเริ่มจากการตั้งเป้าหมายของแคมเปญทำการตลาด เพื่อใช้เป็นหลักในการสร้างกลยุทธ์ในขั้นตอนต่อไป หากต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ให้เป็นที่รู้จักการทำ Digital Marketing ควรเน้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านแพลตฟอร์มโซเชียล หรือหากต้องการเพิ่มยอดขายของสินค้าหรือบริการเฉพาะกลุ่ม ก็อาจเน้นวิธีทำ SEO ที่เอื้อต่อการส่งต่อคอนเทนต์ที่มีคุณค่าผ่านการเพิ่ม Traffic กลุ่มเป้าหมายแล้วไปปิดดีลภายหลัง
2. ระบุกลุ่มเป้าหมาย
สิ่งสำคัญของการทำ Digital Marketing นั้น ก็คือโอกาสในการเจาะกลุ่มเป้าหมาย หากนักการตลาดรู้ว่าจะขายของให้ “ใคร” แล้วนั้น ก็ย่อมทำให้ได้รับประโยชน์จากการทำการตลาดดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายก็ค่อนข้างแตกต่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่านักการตลาดจะใช้ช่องทางใดทำการตลาด การวางแผนการตลาดผ่านช่องทางที่หลากหลายจึงจำเป็น เพื่อกระจายโอกาสเข้าถึงและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้หลายทาง
3. ตั้งงบประมาณแคมเปญ
งบประมาณสำหรับทำแคมเปญการตลาดดิจิทัลนั้นขึ้นอยู่กับว่านักการตลาดวางกลยุทธ์ทำการตลาดไว้อย่างไรบ้าง หากนักการตลาดเน้นทำ SEO, แพลตฟอร์มโซเชียล หรือการทำคอนเทนต์เก็บไว้ล่วงหน้าสำหรับลงในบล็อกหรือเว็บไซต์ในอนาคตนั้น ก็อาจใช้งบลงทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีทำการตลาดดิจิทัลแบบอื่น
4. สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า
เมื่อรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และจะใช้งบประมาณในการทำการตลาดเท่าไหร่แล้วนั้น สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ คอนเทนต์ก็ควรตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งนำเสนอสอดคล้องกับแพลตฟอร์มหรือช่องทางที่จะเผยแพร่คอนเทนต์ออกไปด้วย โดยเริ่มจากการสร้างคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบให้รองรับหลายช่องทาง
5. วัดผลแคมเปญและนำไปปรับปรุง
ขั้นตอนสุดท้ายของการทำการตลาดดิจิทัลคือ ต้องวัดผลได้ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้แบรนด์ทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพได้ในระยะยาว นักการตลาดจึงต้องเรียนรู้การวัดผลลัพธ์อิงจากหลักฐานที่วัดได้จริง โดยการวัดผลถือเป็นวิธีสำรวจกลยุทธ์ที่วางไว้ว่าเวิร์กหรือไม่ ควรปรับเปลี่ยนตรงไหนต่อไป ที่สำคัญ การวัดผลยังช่วยให้ภาพรวมการทำธุรกิจของแบรนด์ยืดหยุ่นและเติบโตต่อเนื่อง
เครื่องมือ Digital Marketing Tools ที่นักการตลาดดิจิทัลห้ามพลาด
1. Ahrefs
Ahrefs คือ เครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่ SEO Specialist มักใช้งานเป็นประจำ เป็นเครื่องมือที่มีฟีเจอร์มากมายเพื่อช่วยให้นักการตลาดออนไลน์สามารถ ค้นหา Keyword วางแผนการเขียนคอนเทนต์ตาม Keyword ที่เลือกไว้ ติดตามผล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำให้คอนเทนต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้ ไม่ว่าจะเป็น Competitors analysis, Backlink Checker, toolbar, keyword research, content gap ไปจนถึงการทำ site audits เป็นต้น
2. Google Analytics
Google Analytics เครื่องมือนี้มีไว้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในเชิงลึก รวมถึงวิเคราะห์ทิศทางทางการตลาด เพื่อให้แบรนด์สามารถนำข้อมูลไปใช้ Remarketing เพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยเอื้อโอกาสการขายให้กับแบรนด์ หรือนักการตลาดอย่างดี
ขณะเดียวกันยังสามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ได้อย่างดี โดยผู้ใช้งานจะทราบได้ว่าลูกค้าของคุณคือใคร เพศไหน อายุเท่าไหร่ ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ เพราะการได้ข้อมูลของลูกมาสามารถทำให้แบรนด์กำหนดงบโฆษณาได้อย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพ
3. Mandala AI
เครื่องมือ Mandala Analytics ของ Mandala AI คือ เครื่องมือ Social Listening ที่แบรนด์ต่าง ๆ สามารถใช้งานได้ง่ายผ่าน Web Browser ทั่วไป ซึ่งเครื่องมือนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยรวบรวมข้อมูลบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะช่องทาง Social Media เช่น Facebook, Instagram, YouTube, TikTok, Twitter (X), หรือเว็บฟอรั่มชื่อดังอย่าง Pantip เป็นต้น อีกทั้งเครื่องมือนี้ยังทำหน้าที่ค้นหา และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้บริโภคมีการกล่าวถึงแบรนด์ของผู้ใช้งาน หรือแบรนด์ของคู่แข่ง Mandala Analytics จะบอกข้อมูลนั้นให้ทราบทันที เพื่อให้ผู้ใช้งาน หรือแบรนด์นั้นได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และนำไปวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ครั้งถัดไป
4. Google Ads
Google Ads หรือชื่อเต็ม คือ Google AdWords เครื่องมือเพื่อใช้โฆษณาบนออนไลน์มีไว้เพื่อติดตามแคมเปญการโฆษณาแบบ Real Time ซึ่ง Google Ads สามารถเก็บสถิติ หรืออัปเดตแคมเปญใหม่ ๆ ได้ต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นได้นำข้อมูลไปใช้ต่อยอดกระตุ้นยอดขาย หรือสร้างการรับรู้แบรนด์ในอนาคต
สร้างกลยุทธ์ Digital Marketing เชื่อมต่อลูกค้าได้ดีกว่าเดิมด้วย Mandala AI
Digital Marketing หรือการตลาดดิจิทัล ถือเป็นแนวทางการทำการตลาดรูปแบบใหม่ของยุคที่นวัตกรรมก้าวหน้า และโลกการสื่อสารมีลักษณะแบบ Two-way Communication มากขึ้น ถือเป็นการเปิดโอกาสให้แบรนด์เข้าถึง สร้างปฏิสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างฐานกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าของแบรนด์ได้ในระยะยาว ที่สำคัญยังช่วยให้แบรนด์ประเมินและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสำหรับทำการตลาดที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ได้อย่างเหมาะสม โดยอิงจากการวัดผลด้วยเครื่องมือ Social Listening อย่าง Mandala AI ทางเลือกตัวฉกาจที่แบรนด์และนักการตลาดไม่ควรมองข้าม