Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

PR คืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญ พร้อมเทคนิคการทำให้ประสบความสำเร็จ

PR คืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญ พร้อมเทคนิคการทำให้ประสบความสำเร็จ

อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ (PR) เป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจที่มุ่งหวังให้ผู้คนให้ความสนใจและเข้าใจในสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกไป โดยเราสามารถทำให้ข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ของเรา เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการทำ PR Marketing และเมื่อย้อนกลับไปในปี 2020 อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ทั่วโลกมีมูลค่ามากถึง 88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และภายในสิ้นปี 2025 นี้ คาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีมูลค่าเกิน 129 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เลยทีเดียว

PR คืออะไร

PR ย่อมาจาก Public Relations ซึ่ง PR คือการประชาสัมพันธ์หรือการสื่อสารไปยังลูกค้า เป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารการตลาด โดยอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากสื่อมวลชน ซึ่งเป้าหมายหลักของการทำ PR คือ เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ โน้มน้าวใจ ความน่าเชื่อถือ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับลูกค้า ผ่านกิจกรรมและกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การจัดแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ข้อมูลกับสื่อมวลชน การเป็นสปอนเซอร์ การสนับสนุนกิจกรรมทางสังคม ฯลฯ 

การประชาสัมพันธ์

โดยทั่วไปแล้วการทำ PR มีบทบาทสำคัญในการช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความรู้จัก และความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร สินค้า หรือบริการ นำไปสู่การสร้างฐานลูกค้า ซึ่งแตกต่างจากการทำโฆษณา (Advertising) เพราะการโฆษณาจะเน้นไปที่การนำเสนอสินค้าและบริการด้วยการเชิญชวนให้ซื้อสินค้า ส่วนการทำ PR Marketing จะเน้นการสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้ที่ดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ เป็นการจูงใจให้หันมาสนใจสินค้าและบริการโดยไม่ต้องทำการโฆษณา ซึ่งปัจจุบันเรามักจะเห็นการทำ PR แบบออนไลน์ด้วย ซึ่ง Online PR คือ การทำการประชาสัมพันธ์ธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย การใช้ KOL/Influencer ฯลฯ เพื่อความรวดเร็ว สามารถวัดผลอย่างเชิงลึกได้ง่ายด้วยข้อมูลออนไลน์นั่นเอง

ทำไมการทำ Public Relations ถึงมีความสำคัญ

การทำ PR หรือ PR Marketing นั้น มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจ และนี่คือ 7 เหตุผลว่าทำไมการทำ Public Relations ถึงมีความสำคัญ

1. ช่วยสร้างการรับรู้และความเข้าใจ

การทำ PR มีส่วนช่วยในการสร้างการรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการของบริษัท ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดงานเปิดตัวสินค้า การออกมาเล่าถึงแรงบันดาลใจ ความเป็นมาของธุรกิจ เพื่อสร้างการรับรู้และเรียกความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย

2. ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ

การทำ PR มีส่วนช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับธุรกิจ และเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความสำเร็จของธุรกิจด้วย นอกจากนี้เมื่อแบรนด์ต้องเผชิญกับปัญหาหรือวิกฤต เช่น การดำเนินงานที่ผิดพลาดของทีมงาน การส่งสินค้าล่าช้า ความเข้าใจคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่สื่อสารออกไป หรือความเข้าใจผิดต่าง ๆ อันมีผลกระทบต่อผู้บริโภค การทำ PR ด้วยการเชิญสื่อมวลชนมารับฟังข้อมูลที่ถูกต้อง จะช่วยให้การสื่อสารไปยังผู้บริโภคหรือบุคคลทั่วไปมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นการแสดงความจริงใจ ความรับผิดชอบ เพื่อให้ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบเดิมขึ้นอีก 

3. ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี 

การทำ PR มีส่วนช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจ ผ่านการให้ข่าวสาร การจัดกิจกรรมที่ดี และการจัดการกับปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ที่ได้อธิบายไปข้างต้นก็มีผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีเช่นกัน

4. ช่วยสร้างฐานลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ

การทำ PR มีส่วนช่วยในการสร้างฐานลูกค้าและความเชื่อมั่นให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อบริษัทและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ส่งเสริมธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การเพิ่มยอดขายที่มากขึ้นด้วย

5. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน

สื่อมวลชนมักมองหาข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจเพื่อรายงาน ดังนั้นการมี PR หรือการทำ PR ที่ดีจะช่วยให้องค์กรได้รับความสำคัญและความสนใจจากสื่อมวลชนตลอดเวลา

6. ช่วยในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและการตลาด 

เช่น ช่วยเพิ่มยอดขาย ช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์ ช่วยการสร้างความรู้สึกดีต่อสินค้าหรือบริการ 

7. ช่วยสร้างความประทับใจ

การทำ PR ด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจและสามารถสร้างความประทับใจให้กับสาธารณชนได้ จะทำให้แบรนด์หรือองค์กรได้รับการตอบรับที่ดีด้วย

รูปแบบการทำ PR Marketing มีอะไรบ้าง

pr marketing

การทำ PR Marketing มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเป้าหมายและกิจกรรม ยกตัวอย่างเช่น

1. บุคลากรสัมพันธ์ (ภายในองค์กร) 

บุคลากรสัมพันธ์เป็นการสร้างความสัมพันธ์และสื่อสารภายในองค์กร เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือ และความเชื่อมั่นระหว่างพนักงานภายในองค์กร รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในองค์กร โดยเป้าหมายหลักของการทำบุคลากรสัมพันธ์ คือ เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ค่านิยม และกลยุทธ์ขององค์กรให้กับพนักงาน นอกจากนี้ ยังรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างระดับผู้บริหารและพนักงานด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและร่วมมือปฏิบัติงานตามเป้าหมายขององค์กร

เนื่องจากการบริหารและส่งเสริมบุคลากรสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรโดยรวม และมีผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีอีกด้วย

ยกตัวอย่างกิจกรรม เช่น 

  • Internal Communications (การสื่อสารภายใน) เป็นการสร้างกิจกรรมและช่องทางสื่อสารภายในองค์กร เพื่อให้พนักงานเข้าใจกลยุทธ์ขององค์กร มีความรู้เกี่ยวกับงานต่าง ๆ ในองค์กร และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานในองค์กร เช่น การจัดประชุมทีม การฝึกอบรม การจัดกิจกรรมสันทนาการ 
  • Employee Advocacy (การสนับสนุนจากพนักงาน) เป็นการใช้พนักงานในองค์กรในการนำเสนอข้อมูลหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับองค์กรในสังคมออนไลน์ เช่น การโพสต์บทความบนโซเชียลมีเดีย การแชร์ข่าวสาร และการสนับสนุนแคมเปญขององค์กร

2. ประชาสัมพันธ์ (นอกองค์กร)

เป็นการทำกิจกรรมหรือใช้กลยุทธ์ทางการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับสื่อมวลชนเองและกับกลุ่มเป้าหมายด้วย 

ยกตัวอย่างกิจกรรม เช่น 

  • Media Relations (การสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน) การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ดีกับสื่อมวลชน เพื่อให้สื่อรายงานข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรหรือธุรกิจอย่างเป็นทางการ เช่น การจัดให้มีการร่วมรับประทานอาหารระหว่างองค์กรกับสื่อมวลชน การไปพบปะเยี่ยมสื่อมวลชน การให้แฟ้มคู่มือ (Press Kit) การจัดรอบปฐมทัศน์ (Press Preview) 

3. นักลงทุนสัมพันธ์ (กรณี บริษัทมหาชน)

การทำ PR Marketing ในรูปแบบนักลงทุนสัมพันธ์นั้น เป็นการทำเพื่อสร้างความสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุน และผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการสื่อสารข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้กับนักลงทุน เพื่อให้มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในการลงทุนในบริษัท และเพื่อรักษาความไว้วางใจของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทมหาชนนั้น รวมถึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพคล่องของบริษัท และแผนการปฏิบัติงานในอนาคต เพื่อให้นักลงทุนตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทนั่นเอง

ยกตัวอย่างกิจกรรม เช่น 

  • การรายงานผลการเงินของบริษัทกับนักลงทุนและสื่อ เช่น ผลประกอบการ รายงานการเงินประจำไตรมาส รายงานประจำปี การประชุมนักลงทุน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพคล่องของบริษัท แผนการปฏิบัติงาน และตอบคำถามต่าง ๆ ของนักลงทุน
  • การจัดกิจกรรมสัมมนานักลงทุนหรือประชุมนักลงทุน เพื่อให้ข้อมูลและเสนอโอกาสการลงทุนในบริษัท

เทคนิคการทำ PR Marketing Strategy

หลาย ๆ บริษัทมักจะมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ของตนเอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่อะไรบ้างนั้น หลัก ๆ คือทำหน้าที่วางแผน PR Marketing Strategy นั่นเอง ซึ่งเทคนิคการทำ PR Marketing Strategy มีดังนี้

1. ศึกษากลุ่มเป้าหมาย

ศึกษากลุ่มเป้าหมาย

ก่อนที่คุณจะสร้าง PR Marketing Strategy ได้ คุณควรศึกษาว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณอย่างลึกซึ้งก่อน ว่าพวกเขาคาดหวังอะไรจากแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณ 

ยกตัวอย่าง เช่น 

  • เพศหญิง อายุ 28 ปีขึ้นไป มีบุตรแล้ว มีปัญหาผมร่วงหลังคลอดบุตร สนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลดผมร่วง 
  • เพศชาย อายุ 35 – 50 ปี มีครอบครัวแล้ว มีปัญหาเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียจากการทำงาน สนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย  

2. กำหนดเป้าหมายของ Campaign

หลังจากที่คุณทราบแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร คุณควรกำหนดเป้าหมายของแคมเปญ PR ของคุณอย่างชัดเจน สามารถวัดผลได้ เช่น เพิ่มยอดขาย 10% ภายใน 3 เดือน หรือเพิ่มความติดตามในสื่อสังคมออนไลน์ 20% ภายในเดือนหนึ่ง การกำหนดเป้าหมายของแคมเปญโดยมีระยะเวลากำหนด จะทำให้คุณสามารถปรับแผนการทำงานและวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

3. นำ Data มาช่วยประกอบให้การทำ PR Marketing เเม่นยำขึ้น

data dashboard

การนำ Data มาประกอบจะช่วยให้การทำ PR Marketing เเม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากต้องการ Data ที่แม่นยำ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เจาะลึก เพื่อประสิทธิภาพการทำ PR ที่เห็นผลชัด และสามารถนำข้อมูลมาต่อยอดพัฒนากลยุทธ์การตลาดได้ แนะนำให้ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการเครื่องมือด้านการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Ocean Sky Network มีทีมงานและพาร์ทเนอร์คุณภาพในการพัฒนา Mandala AI ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดบนโซเชียลมีเดียแบบเจาะลึก เพื่อสร้างแคมเปญที่เก็บรายละเอียดจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ครบถ้วน การวิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจแบบเรียลไทม์อย่างละเอียด การวัดผลแคมเปญ การจัดการภาพลักษณ์ของแบรนด์และการประชาสัมพันธ์

mandala banner

4. หา Partner

การหา Partner หรือบริษัทที่สามารถร่วมมือในแคมเปญ PR ของคุณเป็นขั้นตอนสำคัญ คุณอาจพิจารณาการร่วมมือ Partner ต่าง ๆ เช่น บริษัท PR สื่อมวลชน บุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียง หรือแม้แต่บุคคลภายในองค์กรของคุณ ที่มีความรู้ ความสามารถในการสร้างและดำเนินแคมเปญ PR ทั้งนี้ควรเลือก Partner ที่มีความเข้าใจในแคมเปญของคุณเป็นอย่างดี เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ 

5. เข้าใจคู่แข่ง

ศึกษาคู่แข่ง

การเข้าใจคู่แข่งเป็นส่วนสำคัญของการทำ PR Marketing Strategy เนื่องจากจะช่วยให้แผน PR และแผนการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถทำงานผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เช่น 

  • การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งในตลาดของคุณ รวมถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พวกเขานำเสนอ ข้อมูลกลยุทธ์การตลาดที่คู่แข่งใช้ สื่อที่ใช้ ข้อจำกัดที่พวกเขาอาจเผชิญอยู่ เป็นต้น
  • ทำการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่ง เช่น วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ วิเคราะห์ความสำเร็จของคู่แข่งทางตรงและทางอ้อมในการตลาด วิเคราะห์จุดอ่อนหรือโอกาสที่คุณสามารถนำมาใช้พัฒนาธุรกิจของคุณได้

6. ใช้ Local Media

การใช้ Local Media เป็นส่วนสำคัญของการทำ PR Marketing Strategy เช่นกัน เพื่อให้แบรนด์สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มากที่สุด เช่น 

  • การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของสื่อท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น สื่อออนไลน์ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับแหล่งข่าวและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
  • สร้างความสัมพันธ์กับสื่อท้องถิ่น เพื่อให้คุณได้พื้นที่สื่อมากขึ้น เป็นต้น 

ข้อดี – ข้อเสียในการทำ Public Relations

การทำ PR เป็นกลไกสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การทำ PR นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบด้วย

ข้อดีของการทำ Public Relations

  1. ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและรักษาชื่อเสียงให้กับธุรกิจหรือองค์กรในสายตาของประชาชนและสื่อมวลชน
  2. ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรมากขึ้น
  3. การจัดกิจกรรม PR มีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีกับลูกค้า คู่ค้า และสื่อมวลชนได้
  4. ต้นทุนการทำ PR ต่ำกว่าการโฆษณา
  5. การทำ PR ช่วยในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจและองค์กรได้ เพราะผู้คนจะเห็นคุณค่าและเชื่อมันในการดำเนินธุรกิจของคุณจากการนำเสนอข่าว PR ออกไป
  6. ช่วยรักษาฐานลูกค้าได้ และมีโอกาสเพิ่มยอดขาย โดยลูกค้ามีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำหรือใช้บริการซ้ำได้โดยไม่ต้องทำการโฆษณา

ข้อเสียของการทำ Public Relations

  1. การทำ PR ต้องใช้เวลาในการสร้างผลลัพธ์และความเชื่อมั่นจากผู้คน ซึ่งอาจไม่ได้เห็นผลทันที
  2. การทำ PR ต้องมีความเข้าใจในการใช้สื่อ หากองค์กรขาดความเข้าใจหรือใช้สื่อผิดประเภทอาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการทำได้
  3. การทำ PR เน้นการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ซึ่งอาจไม่ได้กระตุ้นยอดขายโดยตรง หรือช่วยเรื่องการเพิ่มยอดขายมากนัก
  4. การจัดการ PR ที่ไม่ถูกต้องหรือขาดความเข้าใจ อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อถือของธุรกิจได้

หัวใจของการทำ PR ให้ประสบความสำเร็จ

การทำ PR นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ ดังนั้นจะต้องเข้าใจแพลตฟอร์ม สื่อออนไลน์ ออฟไลน์ ใช้ข้อมูลเชิงลึกวางแผนและดำเนินการอย่างมืออาชีพ เพื่อให้เกิดผลความสำเร็จทั้งในแง่ของการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผู้คนเชื่อมั่นและรักแบรนด์ให้ได้ หากทำได้ก็จะส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว

mandala banner
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.