ใครว่าจิตวิทยาเป็นเรื่องไกลตัว จริง ๆ แล้ว ‘จิตวิทยา’ อยู่รอบๆ ตัวเรา โดยเฉพาะในเรื่องของการตลาด การนำหลักการทางด้านจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ หรือที่เรียกกันว่า “Marketing Psychology” หรือ “จิตวิทยาการตลาด” ก็เป็นกลยุทธ์ที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญ แล้วจะสามารถนำเทคนิคทางการตลาดเชิงจิตวิทยามาใช้กับธุรกิจอย่างไร? ไปดูกัน
Marketing Psychology คือ
Marketing Psychology หรือจิตวิทยาการตลาด คือการใช้ทฤษฎีและหลักการจิตวิทยา เพื่อทำให้ลูกค้าตัดสินใจในการซื้อสินค้าหรือบริการในทางที่นักการตลาดต้องการ กลยุทธ์นี้ต้องใช้ความเข้าใจทฤษฎีจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค และนำความเข้าใจนั้นมาใช้เพื่อสร้างกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของการทำ Marketing Psychology
การนำหลักทางจิตวิทยามาใช้ทำการตลาด หรือ Marketing Psychology มีประโยชน์มากมายต่อธุรกิจและการตลาด ได้แก่
- เข้าใจลึกซึ้งลูกค้า: การศึกษาและเข้าใจลึกซึ้งถึงพฤติกรรมซื้อของลูกค้าช่วยในการปรับกลยุทธ์ตลาดให้เหมาะสมกับความต้องการและความพึงพอใจของพวกเขา
- กลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ: การนำความเข้าใจจิตวิทยามาใช้ในการสร้างกลยุทธ์ที่เน้นความรู้สึกและการติดต่อทางอารมณ์ ทำให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้เร็วขึ้น
- สร้างความไว้วางใจ: การใช้จิตวิทยาช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในสินค้าหรือบริการของธุรกิจ
- การสร้างประสบการณ์การซื้อที่ดี: เมื่อทราบว่าลูกค้าต้องการอะไรก็จะสามารถสร้างประสบการณ์การซื้อที่ดีและสร้างความประทับใจต่อลูกค้า
4 เทคนิคทางการตลาดเชิงจิตวิทยาที่แบรนด์ต่าง ๆ นิยมใช้
การใช้จิตวิทยาสำหรับทำการตลาดสามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างประสบการณ์ที่ดี กลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าอีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงจิตวิทยาที่จะทำให้ Marketing Psychology ประสบความสำเร็จกัน ได้แก่
1. การเตรียมการรับรู้ (Priming)
Priming หรือการเตรียมการรับรู้ เป็นเทคนิคที่หลายธุรกิจใช้เพื่อสร้างแบรนด์ ทำการตลาด รวมถึงสะกดจิตของกลุ่มเป้าหมายให้หันมานึกถึงแบรนด์เราเป็นแบรนด์แรก เทคนิคคือการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของผู้บริโภคโดยที่เขาไม่รู้ตัว ผ่านการใช้ภาพ คำพูด หรือสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับสินค้าหรือบริการ
เช่น ถ้านึกถึงโรงพยาบาล เราจะต้องนึกถึงหมอ ถ้านึกถึงร้านกาแฟ เราจะต้องนึกถึง Starbucks หรือถ้าหรือถ้าเรารู้จักและคุ้นเคยกับคำว่า “ice cream” มาก่อนอยู่แล้ว และต่อมาเราเห็นคำว่า “ice” เรามีโอกาสที่จะนึกถึงคำว่า “ice cream” มากกว่าคำอื่น ๆ ไปโดยอัตโนมัติ
เทคนิคนี้มีความสำคัญในการทำให้ลูกค้ามีความคิดและความรู้สึกที่เป็นไปตามที่ธุรกิจต้องการ ส่งผลให้มีโอกาสสูงที่ลูกค้าจะตอบสนองตามที่ได้รับการเตรียมการรับรู้ไว้ล่วงหน้า
2. การแลกเปลี่ยน (Reciprocity)
การแลกเปลี่ยน (Reciprocity) เป็นหลักการที่มีบทบาทสำคัญในการตลาดและจิตวิทยาการตลาด เชื่อว่าเรามักจะตอบแทนเมื่อได้รับสิ่งที่ดีจากผู้อื่น หรือการตอบสนองต่อการได้รับบริการดี ๆ หรือประโยชน์อื่น ๆ จากแบรนด์ เช่น
- การให้ของฟรี: การมอบของฟรีหรือตัวอย่างสินค้าสามารถสร้างความกระตือรือร้นในการตอบแทน เนื่องจากลูกค้าที่ได้รับของฟรีมักจะรู้สึกถูกใจและมีความผูกพันกับธุรกิจ
- ส่วนลดหรือโปรโมชัน: การให้ส่วนลดหรือโปรโมชันสามารถกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการได้ เนื่องจากพวกเขามีการตอบสนองต่อการได้รับสิทธิพิเศษ
- การให้บริการเพิ่มเติม: การนำเสนอบริการเพิ่มเติมหรือประโยชน์พิเศษ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษและตอบสนองไปในเชิงบวก
หลักการแลกเปลี่ยนทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความเชื่อมั่นและความผูกพันกับลูกค้าได้มากขึ้น และเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างฐานลูกค้าที่มั่นคง
3. หลักฐานทางสังคม (Social Proof)
หลักฐานทางสังคม (Social Proof) เป็นทัศนคติทางจิตวิทยาที่กล่าวถึงการที่ผู้คนมักจะตอบสนองตามพฤติกรรมหรือความคิดเห็นของผู้อื่นในสังคม ส่งผลให้กระทบต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจ เช่น เมื่อเราต้องการซื้อเครื่องสำอาง หลายครั้งเราเริ่มจากการหาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดูคลิปรีวิวเครื่องสำอางจากอินฟลูเอ็นเซอร์สายบิวตี้ หรือถ้าเราต้องการไปทานอาหาร เราก็มักจะหาอ่านรีวิวจากเพจรีวิวอาหารก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้น
การมี Social Proof มีประโยชน์มากมาย เนื่องจากลูกค้ามักให้ความสำคัญต่อหลักฐานทางสังคมในรูปแบบของรีวิว คะแนน หรือความนิยมบนสื่อออนไลน์ การมี Social Proof จึงเปรียบเสมือนตัวช่วยยืนยันว่าสินค้าและบริการของแบรนด์มีประสิทธิภาพมากพอ ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
โดยสามารถใช้ Mandala Cosmos ฟีเจอร์จาก Mandala AI เพื่อรวบรวมข้อมูลที่กำลังเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ จากแพลตฟอร์มยอดนิยมมาไว้ในที่เดียวทำให้ธุรกิจสามารถเลือกและนำเสนอคอนเทนต์ที่เข้ากับความพึงพอใจของผู้บริโภคและสามารถสร้าง Social Proof ที่กลุ่มเป้าหมายกำลังมองหาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
4. จิตวิทยาของสี (Color Psychology)
Color Psychology คือ อาวุธที่ติดปีกให้กับการตลาดของคุณ หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าจริงๆ แล้ว “สี” มีผลต่ออารมณ์ พฤติกรรม และการตัดสินใจของเราได้ ดังนั้นสีมักถูกใช้ในการสร้างความรู้สึกหรือการทำให้ผู้คนรู้สึกต่างๆ จึงไม่แปลกที่แต่ละแบรนด์ต่างก็มีสีประจำแบรนด์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น
- สีน้ำเงิน: แสดงถึงความสงบ สุภาพ เรียบร้อย ความน่าเชื่อ ความซื่อสัตย์ สง่างาม และเกียรติยศ มีความเป็นมืออาชีพ ทำให้บริษัทเทคโนโลยี แบรนด์รถยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมใช้สีน้ำเงินในโลโก้ เช่น Facebook, Ford, PTT, SAMSUNG
- สีแดง: มีอำนาจดึงดูดความสนใจ กระตุ้นประสาท ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น และสะดุดตามากที่สุด สื่อถึงความอยากอาหาร ทำให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มนิยมใช้สีแดง เช่น Coca Cola และ KFC
- สีขาว/ดำ/เทา: ดูเรียบหรูและโดดเด่น เสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูมีราคา มีระดับ และเท่ เป็นสีแห่งความอมตะและคลาสสิค เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการแสดงออกถึงความแพง สุขุม และมีเสน่ห์ เช่น Apple, Nike, Gucci
- สีเหลือง: สีแห่งความสดใส ร่าเริง เบิกบาน แบรนด์ใช้เพื่อตอกย้ำความสุขเมื่อลูกค้าได้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการของแบรนด์ เช่น IKEA, MR.DIY, Nok Scoot
- สีเขียว: ให้ความรู้สึกสงบ แสดงถึงความสดชื่น มีชีวิตชีวา ผ่อนคลาย สบายตา และกระชับความเป็นมิตรกับลูกค้า นิยมใช้ในวงการแพทย์ อาหารคลีน หรือแบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Plantae, Kbank, Bangchak
อย่างแบรนด์ที่เราใช้กันเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เช่น Grab และ LINE MAN ก็มีการใช้สีเขียวเป็นส่วนประกอบหลักของโลโก้ เนื่องจากสีเขียวสื่อถึงความออร์แกนิค การส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งสื่อถึงปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- Grab Food เน้นสีขาวที่สื่อถึงความสะอาดของร้านค้า และอาหาร อีกทั้งการบริการที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด ปลอดภัย และใส่ใจผู้บริโภค ส่วนสีเขียวเป็นการสื่อถึงความห่วงใยผู้ใช้บริการ และความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า
- LINE MAN ใช้สีเขียวเป็นสีหลักเนื่องจากสื่อถึงธรรมชาติ สุขภาพ และอาหารที่มีคุณภาพ อาจจะเป็นอาหารคลีน หรืออาหารทั่วไป เป็นการสื่อให้คนทั่วไปได้เห็นถึงการเป็นอาหารที่เป็นมิตร น่าทาน และสื่อถึงความรวดเร็วและคล่องตัวในการทำงานหรือการจัดส่ง ส่วนอีกสี คือ สีขาว เป็นสื่อถึงด้านความสะอาดในการทำอาหาร และการจัดส่งอาหารที่ได้รับมาตรฐาน และมีความสะอาดเช่นเดียวกัน
สำหรับแบรนด์ที่ต้องการสำรวจการใช้สีของคู่แข่งว่าเหมือน หรือแตกต่างจากเราอย่างไร สามารถใช้ Mandala Cosmos ฟีเจอร์จาก Mandala AI เพื่อช่วยวิเคราะห์สีของรูปภาพในแต่ละโพสต์ รวมถึงสามารถดู Mood & Tone ของโพสต์ได้โดยใช้ฟังก์ชัน Prism Analytics ที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์คู่แข่งได้ว่าเขามีการทำการตลาดด้วยสีอย่างไรบ้าง ใช้โทนสีไหนในการโน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำมาพัฒนาให้แบรนด์ของเรามีความแตกต่างและโดดเด่นยิ่งขึ้น
วิเคราะห์ 3 แบรนด์ที่ใช้หลักการ Marketing Psychology โน้มน้าวใจผู้บริโภค
หลังจากอ่านหลักการและเทคนิคการใช้จิตวิทยาการตลาดเรียบร้อยแล้ว เรามาดูตัวอย่างการใช้งานจริงของแบรนด์ในประเทศไทยและแบรนด์ระดับโลกว่าเขามีการนำเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง
1. Red Bull
Red Bull มีการใช้ทฤษฎีจิตวิทยา Fear of Missing Out (FOMO) หรือการกลัวตกกระแสสังคมเพื่อสร้างยอดขายมากยิ่งขึ้น หลายคนอาจจะทราบอยู่แล้วว่า Red Bull เป็นสปอนเซอร์ให้กับแบรนด์กีฬามากมาย โดยเขาใช้เทคนิค FOMO ผ่านการนำกระป๋อง Red Bull ที่ดื่มหมดแล้วไปใส่ไว้เต็มถังขยะ ดังนั้นเมื่อมีคนเดินผ่านมาเห็นก็จะรู้สึกว่า Red Bull กำลังเป็นที่นิยมทำให้แต่ละคนที่เห็นอยากลองดื่มเนื่องจากไม่อยากตกกระแส ด้วยเหตุนี้เองทำให้ Red Bull กลายเป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่กลายเป็นที่รู้จักทั่วโลกและสามารถสร้างยอดขายได้มากถึง 10,500 ล้านยูโร เติบโตจากปี 2022 ที่ผ่านมา 9%
2. Apple
Apple ใช้หลักการจิตวิทยาโดยใช้เทคนิคที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกอยากรู้เกี่ยวกับสินค้าของ Apple อย่างการเลือกใช้กลยุทธ์ “One More Thing” ในงานแถลงข่าวเปิดตัวสินค้าของพวกเขาทำให้กลุ่มเป้าหมายที่รับชมอยู่รู้สึกว่ามีสินค้าสำคัญบางอย่างที่ Apple ยังไม่เปิดเผยทำให้พวกเขาคอยจับจ้องและอยากเป็นเจ้าของของสินค้านั้น นอกจากนี้ Apple มักจะมีการแกะกล่องสินค้าในงานเปิดตัวทำให้ผู้ใช้งานรับรู้มูลค่าและคุณค่าของสินค้าทำให้จิตใต้สำนึกให้มีความผูกพันกับแบรนด์ขึ้นมา จนกลายเป็น Endowment Effect ที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของได้ทันที และทำให้เกิด Halo Effect หรือการบอกต่อคนอื่น ๆ ในเรื่องคุณภาพทำให้ Apple กลายเป็นสินค้า Tech Luxury ชิ้นหนึ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของผู้ใช้งาน
3. Oishi
Oishi เองก็เป็นอีกแบรนด์ที่มีการใช้หลักจิตวิทยาทางการตลาดในการดึงดูดลูกค้า โดยมีการใช้หลักการ FOMO เช่นเดียวกับ Red Bull ผ่านการให้ลุ้นทองใต้ฝาเครื่องดื่ม Oishi ทำให้ผู้คนรู้สึกอยากมีส่วนร่วมเนื่องจากกลัวว่าจะพลาดโอกาสในการได้ทองไป ยิ่งซื้อมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสได้ทองมากเท่านั้นทำให้ผู้คนต่างพากันซื้อเครื่องดื่มเพื่อลุ้นทอง อีกทั้งยังมีการใช้หลักการแลกเปลี่ยน (Reciprocity) อย่างการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายสามารถลองชิมอาหารและเครื่องดื่มของ Oishi ผ่านการตั้งบูทสินค้าในงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจและช่วยลูกค้ารู้สึกมั่นใจคุณภาพของสินค้าก่อนที่จะทำการตัดสินใจซื้อและยังสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีและเชื่อมโยงกับลูกค้าได้อีกด้วย
เพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจของคุณ ด้วยเทคนิค Marketing Psychology
เทคนิค Marketing Psychology หรือจิตวิทยาการตลาดเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์และธุรกิจสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายด้วยการนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของพวกเขา เปลี่ยนให้กลุ่มเป้าหมายกลายเป็นลูกค้าได้ในที่สุด โดยสามารถใช้เครื่องมือของ Mandala AI ในการรวบรวมข้อมูลที่กำลังเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ จากแพลตฟอร์มยอดนิยมมาไว้ในที่เดียวและวิเคราะห์คู่แข่งได้ว่าเขามีการทำการตลาดด้วยสีอย่างไรบ้าง เพื่อช่วยในการทำการตลาดที่โดดเด่นมากยิ่งขึ้นของแบรนด์