Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Performance marketing คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

Performance marketing คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ในยุคที่เทคโนโลยีและการตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างและการรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้า กลายเป็นภารกิจที่ซับซ้อนสำหรับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ในบทความนี้เราจะพาคุณไปสำรวจถึงแนวคิด “Performance Marketing” ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่เน้นผลลัพธ์และการวัดประสิทธิภาพอย่างมีระบบ เพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างสูงสุด

Performance Marketing คืออะไร

Performance Marketing คือ แนวคิดทางการตลาดที่เน้นการวัดและการประเมินผลลัพธ์อย่างชัดเจน เป็นการทำการตลาดออนไลน์ที่จ่ายเงินตามผลลัพธ์ที่วัดได้ เช่น จำนวนคลิก (CTR) จำนวนการลงทะเบียน (Lead Generation) หรือยอดขาย เป็นต้น โดยธุรกิจจะจ่ายเงินค่าโฆษณาให้กับแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ที่เผยแพร่โฆษณาตามผลลัพธ์ที่ได้จริงเท่านั้น ซึ่งการทำ Performance Marketing จะช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดได้อย่างแม่นยำ และสามารถปรับปรุงแคมเปญให้มีประสิทธิภาพดียิ่ง ๆ ขึ้นไปได้

ความสำคัญของ Performance Marketing

การทำ Performance Marketing มีความสำคัญต่อธุรกิจหลายประการ ดังนี้

  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลลัพธ์ของการทำการตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้สามารถประเมินได้ว่าแคมเปญการตลาดที่ทำอยู่นั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ และควรจะปรับปรุงแคมเปญให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร
  • คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะช่วยให้ธุรกิจสามารถจ่ายเงินค่าโฆษณาเฉพาะเมื่อได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ และเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) 
  • ช่วยให้ธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เนื่องจากจะจ่ายเงินเฉพาะค่าโฆษณาที่สร้างผลลัพธ์ที่วัดได้เท่านั้น เช่น หากธุรกิจต้องการเพิ่มยอดขาย ธุรกิจก็จะจ่ายเงินเฉพาะค่าโฆษณาที่ทำให้เกิดการซื้อเท่านั้น
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะแคมเปญที่สามารถวัดผลได้จะทำให้ธุรกิจทราบว่าแคมเปญไหนให้ผลตอบแทนสูง และแคมเปญไหนต้องปรับปรุงหรือหยุดดำเนินการ
  • ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด สามารถกำหนดเป้าหมายแคมเปญการตลาดได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะสนใจสินค้าหรือบริการของธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น
  • ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถติดตามพฤติกรรมของลูกค้า และผลิตคอนเทนต์หรือมอบข้อเสนอที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ เช่น หากแบรนด์พบว่าลูกค้าสนใจผลิตภัณฑ์ประเภทใดเป็นพิเศษ ก็สามารถส่งอีเมลหรือข้อความส่งเสริมการขาย โปรโมชันต่าง ๆ ไปยังลูกค้าโดยตรงได้

ประเภทของ Performance Marketing มีอะไรบ้าง

1. Banner Ads

banner ads
Source Image: News Archives – Marketing Oops!

เป็นการโฆษณารูปแบบหนึ่งที่ใช้รูปภาพหรือข้อความเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม มักปรากฏอยู่บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ทั้งนี้ Banner Ads เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์หรือสินค้าและบริการ แม้ว่าโฆษณาแบบแบนเนอร์จะได้รับความสนใจน้อยลง เนื่องจากผู้คนใช้ตัวบล็อกโฆษณามากขึ้น ทำให้มองไม่เห็นแบนเนอร์ แต่หลายบริษัทก็ยังคงประสบความสำเร็จกับโฆษณาด้วยการใช้แบนเนอร์อยู่ ผ่านเนื้อหาเชิงโต้ตอบ การออกแบบกราฟิกที่น่าสนใจ

2. Native Advertising

Native Ads เป็นการโฆษณาที่ดูไม่เหมือนโฆษณา เพราะเป็นการแฝงเนื้อหาเข้าไปอยู่ในคอนเทนต์ต่าง ๆ แบบกลมกลืน โดยไม่รบกวนผู้อ่านหรือผูัชม ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกว่ากำลังได้รับการโฆษณาอยู่ ซึ่งผู้บริโภคอาจไม่รู้เลยว่านี่คือโฆษณา จนกว่าจะอ่านเนื้อหาหรือดูวิดิโอนั้นจบ แล้วค่อยมารู้ทีหลังว่าเนื้อหาที่เสพอยู่นั้นได้รับการสนับสนุนโดยแบรนด์ใด หรืออาจจะเห็นเป็นข้อมูลแบรนด์เล็ก ๆ ด้านล่างคอนเทนต์ก็ได้เช่นกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรโมตแบรนด์แบบเป็นธรรมชาติ เพราะวิธีนี้เป็นการมอบประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ เกิดความรู้สึกอยากแชร์คอนเทนต์นี้ออกไป ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้แบรนด์ที่ดีอีกทางหนึ่งด้วย

3. Partner Marketing

@siri_jong รีวิว Smart watch สุดปัง ฟังค์ชันสุดโดน ในราคาย่อมเยา เพียง 799฿ #ออกกําลังกาย #xiaomi #smartwatch #นาฬิกา #ราคาถูก #sirijong ♬ เสียงต้นฉบับ – Sirijong

Partner Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่อาศัยความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น การใช้ influencer ซึ่งระดับ influencer ก็มีให้เลือกหลากหลายระดับ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแบรนด์ หรือจะเป็นการใช้โปรแกรมพันธมิตร (Affiliate Program) ในการเป็นผู้ช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางต่าง ๆ โดย Partner Marketing เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ สินค้า หรือบริการ รวมไปถึงต้องการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ 

4. Social Media

sponsor

Social Media เป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก Social Media ในการโปรโมตสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น Facebook, Instagram, TikTok, X เป็นต้น

5. Search Engine Marketing (SEM)

sem

SEM ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำ Performance Marketing ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดขายหรือการเข้าชมเว็บไซต์ได้ โดยช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังค้นหาสินค้าหรือบริการ ให้ปรากฏในผลการค้นหาของเครื่องมือค้นหาของผู้บริโภค เช่น Google โดยธุรกิจสามารถจ่ายเงินเพื่อเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ของตนเองในผลการค้นหาได้ด้วย 

วิธีการวัดผล Performance Marketing

การวัดผล Performance Marketing ช่วยให้แบรนด์สามารถติดตามได้ว่าเงินที่ลงทุนทำโฆษณาไปนั้นคุ้มค่าขนาดไหน ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดหวังหรือไม่ ผ่านวิธีวัดผลหลากหลายวิธี เช่น

1. Cost per click (CPC) 

CPC คือ ราคาต่อหนึ่งคลิก เป็นจำนวนเงินที่แบรนด์จ่ายให้กับผู้เผยแพร่โฆษณาทุกครั้ง เมื่อลูกค้าเป้าหมายคลิกเพื่อไปยังหน้า Landing Page ที่กำหนด 

สูตรการคำนวณ: CPC = ต้นทุน ÷ จำนวนคลิก 

ยกตัวอย่าง: ต้นทุน 1,000 บาท มีผู้คลิกดูโฆษณา 100 ครั้ง  

ดังนั้น 1,000 บาท ÷ 100 คลิก = 10 บาท  

สรุปคือ ราคาต่อต่อหนึ่งคลิก (CPC) จะอยู่ที่ 10 บาท 

2. Cost per impression (CPM)

CPM คือ ต้นทุนราคาต่อการแสดงผล โดยแบรนด์จะจ่ายเงินให้กับผู้เผยแพร่โฆษณาตามจำนวนครั้งที่แสดงโฆษณาออกไป (Impression) โดยปกติแล้ว แคมเปญ CPM จะได้รับเงินสำหรับการดูทุก ๆ 1,000 ครั้ง

สูตรการคำนวณ: CPM = ต้นทุน x 1,000 ÷ จำนวนครั้งที่แสดงโฆษณา 

ยกตัวอย่าง: ต้นทุนเงินโฆษณา 100,000 บาท จำนวนครั้งที่แสดงโฆษณา 600,000 ครั้ง ราคาที่เราต้องจ่ายต่อการแสดงผลโฆษณา 1,000 ครั้ง (CPM) จะเท่ากับ 100,000 x 1,000 ÷ 600,000 = 166.66 บาท

3. Cost per lead (CPL)

CPL คือ ราคาต่อโอกาสในการขาย หรือต้นทุนต่อ Lead มักใช้วัดผลแคมเปญโฆษณาที่มุ่งเน้นการหาลูกค้าใหม่ (Lead Generation) โดยบริษัทต่าง ๆ มักจะวัด CPL เมื่อมีผู้ใช้กรอกแบบฟอร์มว่าสนใจในบริการ ต้องการให้โทรกลับในเวลาที่กำหนด หรือกรอกอีเมลล์ให้กับแบรนด์ ซึ่งแบรนด์จะสามารถทราบได้ว่าราคาต่อ 1 Lead ที่ได้มา คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่ 

สูตรการคำนวณ:  CPL = ต้นทุนเงินโฆษณา ÷ จำนวน Lead ที่ได้มา

ยกตัวอย่าง: ต้นทุนเงินโฆษณา 100,000 บาท จำนวน Lead ที่ได้มา 1,000 Lead

ดังนั้น 100,000 บาท ÷ 1,000 = 100  

สรุปคือ CPL จะอยู่ที่ 100 บาท 

4. Cost per acquisition (CPA)  

CPA คือ ต้นทุนต่อการได้รับ ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์ต้องการอะไร เช่น การสมัครสมาชิก การลงทะเบียน การสั่งซื้อสินค้า 

สูตรการคำนวณ:  CPA = ต้นทุนเงินโฆษณา ÷ จำนวนที่ได้รับ

ยกตัวอย่าง: ต้นทุนเงินโฆษณา 100,000 บาท จำนวนผู้สมัครสมาชิก ผ่าน Facebook 800 คน

ดังนั้น 100,000 บาท ÷ 800 = 125

สรุปคือ CPL ของแคมเปญนี้ หรือ ต้นทุนต่อการสมัครสมาชิก 1 คน จะอยู่ที่ 125 บาท 

5. Cost per sales (CPS)

CPS คือ ต้นทุนต่อการขาย โดยแบรนด์จะจ่ายเงินหรือค่าคอมมิชชั่นให้กับผู้ที่ขายสินค้าได้ ไม่ว่าจะเป็น Influencer หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ  ในทุกผลประกอบการ ซึ่งก็มักจะอยู่รูปแบบ Affiliate Marketing คือผู้ขายจะได้รับเงินเมื่อมีการซื้อสินค้าจากลิงก์

mandala banner

คุณเห็นความสำคัญเเล้วรึยัง !

Performance Marketing เป็นกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสูงในยุคนี้ เพราะช่วยให้แบรนด์สามารถวัดผลได้ เพราะสามารถติดตามทุกตัวชี้วัดสำคัญ ทำให้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ช่วยเพิ่มยอดขาย และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในตลาดได้   

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหากลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ Performance Marketing เป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้ธุรกิจของคุณแข่งขันในโลกออนไลน์ได้เหนือคู่แข่งแน่นอน

  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.