เคยสงสัยกันไหมว่า “โฆษณาที่ปล่อยออกไปในช่องทางออนไลน์นั้นประสบความสำเร็จหรือไม่” นักการตลาดจะวัดได้อย่างไรว่า “โฆษณา” ที่ยิงออกไปในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อีเมล หรืออื่น ๆ ไปถึงยังกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ แล้วเข้าถึงเท่าไหร่ มีคนสนใจแบรนด์เราจริง ๆ มากน้อยแค่ไหน
คำตอบจึงอยู่ที่โฆษณานั้นทำหน้าที่สื่อกลางให้ผู้คนที่พบเห็น “คลิก” เพื่อไปยังเว็บไซต์หรือหน้าเพจปลายทางได้สำเร็จมากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งวัดได้จากการหาค่า CTR
CTR คืออะไร?
CTR ย่อมาจาก Click Through Rate คือ หน่วยชี้วัดทางการตลาดออนไลน์อย่างหนึ่ง ซึ่งเน้นวัดผลตัวเลขคลิกโฆษณา เทียบจำนวนคลิกกับจำนวนที่แสดงผลไปยังกลุ่มเป้าหมาย หากอัตราค่า CTR สูงแล้วนั้น ย่อมส่งผลให้ Pay-per-click ประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะ CTR ส่งผลต่อ Quality Score และต้นทุนที่ต้องจ่ายทุกครั้งที่มีคนคลิกโฆษณาเข้ามาโดยตรง
ทำไม CTR ถึงสำคัญสำหรับยิงแอด
เชื่อว่านักทำการตลาดออนไลน์คงคุ้นเคยกับ CTR มาบ่อย ๆ จริง ๆ แล้ว อัตรา Click-Through Rate นี้สำคัญต่อนักการตลาดออนไลน์สายยิง Ad พอสมควร เพราะโฆษณาอย่าง Google Ads หรือโฆษณาบนแพลตฟอร์มทำการตลาดแบบ Search Engines นั้นมักช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดจ่ายเงินได้น้อยกว่าเมื่อโฆษณาที่ยิงออกไปนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายมาก
หนึ่งในวิธีที่จะทำให้แบรนด์และนักการตลาดสร้างโฆษณาที่มีลักษณะดังกล่าว คือมี Quality Scores ที่ยิ่งสูง เพื่อให้โฆษณานั้นอยู่ในอันดับพื้นที่โฆษณาอันดับต้น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ Quality Scores ที่สูงก็คือ อัตรา CTR ที่สูงนั่นเอง
นอกจากนี้ หากแบรนด์ทำโฆษณาที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จนได้รับ CTR ที่สูงแล้ว ก็ยิ่งสร้างโอกาสให้แบรนด์ขยายฐานไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญที่ทำให้ CTR อยู่ในระดับที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคีย์เวิร์ดหลักที่ใช้ Bid คลิกที่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือหรือวิธีการที่ประยุกต์คีย์เวิร์ดกับ Ad Text และหน้า Landing Page รวมทั้งความสามารถที่จะแบ่งกลุ่มคีย์เวิร์ดไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
CTR กับ Conversion Rate ต่างกันอย่างไร
หากถามว่า CTR และ Conversion Rate ต่างกันอย่างไรนั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า Conversion Rate คือหน่วยวัดที่ใช้ในการทำการตลาดออนไลน์อย่างนั้น มักแสดงจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยเน้นไปที่จำนวนผู้เยี่ยมชมที่เข้ามาทำ Action ที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างเสร็จสมบูรณ์จากจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด มักแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์
จึงอาจกล่าวได้ว่า CTR และ Conversion Rate ต่างกันในแง่ใช้พิจารณาจุดประสงค์ของการทำแคมเปญ กล่าวคือ CTR หรือ Click-Through Rate เป็นหน่วยวัดที่มุ่งเน้นจำนวนคลิกโฆษณามายังเว็บไซต์หน้า Landing Page ในขณะที่ Conversion Rate มุ่งเน้นวัดจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์หรือหน้า Landing Page แล้วทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสร็จเรียบร้อยตามเป้าหมายของแคมเปญ
ค่า CTR ควรอยู่ที่เท่าไหร่ สามารถบ่งบอกอะไรได้
เมื่อกล่าวถึง CTR ในเชิงการตลาดออนไลน์แล้วนั้น แบรนด์และนักการตลาดอาจตีความหมายได้ว่า ตัวเลข CTR ที่แสดงผลออกมาว่าด้วย จำนวนตัวเลขที่มีผู้เข้าชมรายคนเข้าชมเว็บไซต์หรือหน้าเพจ มีใครคลิกเข้ามาบ้างจากโฆษณาที่ยิงไป จึงอาจกล่าวได้ว่า CTR ถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยวัดว่าโฆษณาที่ปล่อยไปนั้นดึงดูความสนใจของผู้คนได้สำเร็จหรือไม่ เท่าไหร่ และอย่างไรบ้าง แล้ว CTR ควรอยู่ที่เท่าไหร่ แนะนำอยู่ที่ตั้งแต่ 6-8% และถ้าสามารถทำได้จนถึง 10 % จะถือว่าอยู่ในระดับยอดเยี่ยม สำหรับ Organic Traffic ยิ่งได้อัตราส่วนเยอะที่สุดก็ยิ่งดี
สูตร CTR Facebook Ads และ Google Ads
สูตรคำนวณ CTR สำหรับแคมเปญโฆษณาใน Google Ad หรือ Facebook Ad นั้น คือ
- จำนวนคลิกทั้งหมด = ตัวเลขของคลิกที่มีผู้คนกดเข้ามาจากโฆษณา
- จำนวน Impressions ทั้งหมด = ตัวเลขของจำนวนครั้งที่โฆษณานั้นแสดงผล
- วิธีประยุกต์สูตรดังกล่าวเข้ามาคำนวณ CTR อาจทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1
เว็บไซต์ของศูนย์จำหน่ายรถยนต์ A ต้องการทราบว่ามีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จากโฆษณาเกี่ยวกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเท่าไหร่ จึงเก็บข้อมูล โดยเว็บไซต์ของศูนย์จำหน่ายรถยนต์ A มีจำนวนคลิกทั้งหมด 50 คลิก และโฆษณาที่จะ Lead คนมายังเว็บไซต์ก็แสดงผลบนโซเชียลมีเดียไปทั้งหมด 1,000 Impressions เมื่อนำมาคำนวณหาค่า CTR ตามสูตรข้างต้น จึงได้
ตัวอย่างที่ 2
ฝ่ายการตลาดของบริษัทอสังหาฯ B ต้องการยิงโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Facebook เพื่อเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เมื่อต้องการหาค่า CTR จึงนำข้อมูลที่ได้อย่างจำนวนผู้คลิกโฆษณาเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ขององค์กรทั้งหมด 200 คลิก และอัตราที่โฆษณาแสดงผลบนแพลตฟอร์มดังกล่าวทั้งหมด 10,000 Impressions ทำให้ได้สูตรคำนวณเป็น
สูตร CTR สำหรับ Email
นักการตลาดสาย Email Marketing ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่อง CTR เช่นกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพิจารณาว่าจะวางกลยุทธ์ผลิตและส่งต่อคอนเทนต์แบบใด ให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเปิดอ่านอีเมลและคลิกเข้ามายังเว็บไซต์หรือ Landing Page ของแคมเปญได้ โดยสูตรคำนวณ CTR สำหรับอีเมลนั้น มีดังนี้
ตัวอย่างที่ 1
สื่อเว็บไซต์แนวสารคดีเจ้าหนึ่งต้องการสร้าง Traffic ให้เว็บไซต์ที่กำลังตีตลาดเปิดใหม่ในประเทศไทย จึงทำคอนเทนต์เชิญชวนให้คลิกเข้าเว็บไซต์ พร้อมแนบลิงก์เว็บไซต์ของตนไปในคอนเทนต์ดังกล่าว ซึ่งจะส่งผ่านช่องทางอีเมลไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนหนึ่ง ทีมคอนเทนต์ได้ตั้งค่าส่งอีเมลไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 110 คน แต่ปรากฏว่าอีเมลส่งถึงกลุ่มเป้าหมายสำเร็จเพียง 100 คน และมีคนคลิกลิงก์เข้ามาอ่านเนื้อหาคอนเทนต์ต่อบนเว็บไซต์ 35 คน เมื่อต้องการหาค่า CTR ของการทำแคมเปญคอนเทนต์ครั้งนี้ จึงนำมาเข้าสูตรคำนวณได้เป็น
ตัวอย่างที่ 2
ฝ่ายการตลาดของแพลตฟอร์ม Mandala AI ทดลองทำแคมเปญระยะสั้นจำนวน 7 วัน เพื่อสร้าง Traffic ไปยังหน้า Landing Page ที่เสนอขายบริการแพลตฟอร์ม โดยนำเสนอผ่านคอนเทนต์เกี่ยวกับอัปเดตข่าวสารทางการแพทย์และสุขภาพ และกระจายไปยังช่องทางอีเมล์ โดยวางแผนส่งอีเมลไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวน 150 คน แต่ส่งสำเร็จเพียง 100 คน และมีคนคลิกลิงก์ที่แนบไปในอีเมลนั้นเพียง 10 คนเท่านั้น หากต้องการหาค่า CTR ของแคมเปญอีเมลนี้ จะได้เป็น
CTR ตัวชี้วัดสำคัญในการพัฒนาคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
CTR หรือ Click-Through Rate ถือเป็นอีกหน่วยวัดการทำการตลาดในโลกดิจิทัลที่สำคัญไม่น้อย เพราะช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดเห็นอัตราหรือตัวเลขของผู้คนหรือกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมไซต์ของแบรนด์และองค์กร โดยดูได้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ โฆษณาที่เราปล่อยออกไปมีศักยภาพมากพอจะดึงคนให้คลิกเข้ามายังเว็บไซต์หรือหน้าเพจปลายทางได้หรือไม่ ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เป็นตัวเลขอ้างอิง เพื่อวิเคราะห์และพิจารณาว่าจะวางแผนกลยุทธ์ทำการตลาดและโฆษณาออนไลน์ต่อไปอย่างไร