Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Slug คือ? การเขียน URL Slug ที่ดี เป็นผลดีกับ SEO อย่างไร

Slug คือ? การเขียน URL Slug ที่ดี เป็นผลดีกับ SEO อย่างไร

การมีคีย์เวิร์ดบนหน้าเว็บเป็นพื้นฐานในการทำ SEO อยู่แล้ว แต่การวางคีย์เวิร์ดก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการใช้ Slug เพื่อแสดงคีย์เวิร์ดบนหน้าเพจของเว็บเรา เทคนิคการใช้ตำแหน่งนี้ จะส่งผลดีต่อการทำ SEO อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ รวมถึงตัวอย่างการใส่คีย์เวิร์ดบนตำแหน่งดังกล่าว ไปจนถึงวิธีการเปลี่ยนคำบนหน้าเพจต่าง ๆ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

ทำความรู้จัก Slug คืออะไร?

Slug คือ ตัวอักษรที่ตามหลังลิงก์บนเว็บไซต์เมื่อผู้ใช้กดเข้าไปที่หน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่ง Slug มักจะมีทั้งตัวอักษร ตัวเลขหรืออักขระต่าง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของเว็บไซต์แต่ละเว็บว่าต้องการระบุหรือตั้งชื่ออะไรให้กับหน้าเพจต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของตัวเอง แน่นอนว่าเพื่อให้ทั้งคนทำเว็บและคนอ่านได้รู้ว่าหน้านี้เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาอย่างไรนั่นเอง ถ้าคนอ่านรู้เรื่อง ตรงกับคีย์เวิร์ดที่ต้องการ และรู้ว่าหน้าเพจที่เข้าไปอ่านเกี่ยวกับเรื่องใด บอตก็ย่อมรู้เรื่องด้วยเช่นกัน สุดท้ายก็ส่งผลดีต่อการจัดลำดับของ SEO ไปโดยปริยาย

ความสำคัญของ Slug นอกจากทำให้บอตและผู้คนอ่านรู้เรื่อง จะเห็นได้ว่าส่งผลต่อ UX (User Experience) ด้วยนั่นเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กับการใส่คีย์เวิร์ดลงไป เพราะจะช่วยให้ผู้คนสัมผัสประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ที่ดี รู้สึกสนุกกับการอ่านเว็บไซต์นั้น ๆ ด้วย ซึ่งทั้งคีย์เวิร์ดและประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ย่อมส่งผลต่อการจัดอันดับของ Search Engine นั่นเอง เมื่อรู้แล้วว่าเครื่องมือนี้สำคัญอย่างไร เราจะพามาดูรายละเอียดอื่น ๆ ที่น่าสนใจกับการใช้คีย์เวิร์ดกับเครื่องมือนี้กันว่ามีวิธีอย่างไร มีรายละเอียดใดเพิ่มเติมบ้าง รวมถึงแง่มุมอื่น ๆ ที่น่าสนใจกับการใช้เครื่องมือนี้ ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาดูไปพร้อมกันเลย

Slug vs URL Slug vs URL แตกต่างกันอย่างไร

อย่างที่เขียนไปด้านบน Slug เป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข หรืออักขระ ซึ่งจะเห็นได้ชัดบนแถบ URL ที่แสดงบนเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งจะขั้นด้วยเครื่องหมาย / เพื่อแบ่งให้รู้ว่าส่วนใดคือ Domain และส่วนใดคือหน้าต่าง ๆ ในเว็บไซต์นั้น ๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างเรายกตัวอย่างมาให้เห็นภาพ ดังนี้

ตัวอย่าง

เมื่อเข้าเว็บไซต์ https://blog.mandalasystem.com จะเห็นได้ว่า URL ที่ได้จะมีบอกว่าเว็บไซต์อะไร มี https ที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยของเว็บไซต์ มีโดเมนชื่อเว็บไซต์ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ไม่ใช่เว็บไซต์สแปมหรือฟิชชิง (Phishing) ซึ่ง URL ที่แสดงคือ 

URL : https://blog.mandalasystem.com และเมื่อต้องการเข้าไปที่หน้าอื่น ๆ ของเว็บไซต์นี้ หรือเห็นมีคนแชร์บทความหรือ หน้าอื่น ๆ ของเว็บไซต์นี้ จะมีตัวอักษร อักชระ หรือตัวเลขต่อท้าย URL ด้วย เช่น URL : https://blog.mandalasystem.com/th ซึ่งสิ่งที่ต่อท้าย URL แน่นอนว่าถ้าเข้าไปหน้าอื่น ๆ หรือเข้าเว็บไซต์ไปหน้าต่าง ๆ มากขึ้นก็จะต่อท้ายด้วย Slug ที่ยาวขึ้น เช่น URL : https://blog.mandalasystem.com/th/meme-marketing เป็นต้น

ถ้าจะเห็นภาพง่าย ๆ สามารถแบ่งโครงสร้างของ URL ได้ดังนี้

  • Slug: th , meme-marketing
  • URL Slug : /th/meme-marketing
  • URL : https://blog.mandalasystem.com/th/meme-marketing

URL Slug มีความสำคัญกับการทำ SEO อย่างไร

ก่อนจะไปถึง URL Slug ก็ขอแนะนำว่า URL คืออะไรก่อน URL ย่อมาจากคำว่า ‘Uniform Resource Locator’ หรือที่เข้าใจโดยทั่วไปคือ ที่อยู่ของข้อมูลต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากต้องการเข้าเว็บไซต์นั้น ๆ จำเป็นต้องรู้ URL ของเว็บไซต์นั้นก่อน จึงจะเข้าเว็บไซต์นั้นได้นั่นเอง ทำให้เมื่อเล่นอินเตอร์เน็ตและต้องการเข้าสู่เว็บไซต์ หลายคนจะพิมพ์แค่ชื่อหรือแบรนด์ หรือพิมพ์คีย์เวิร์ดที่ต้องการเพื่อเข้าไปอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์นั้น ๆ 

จึงทำให้การตั้ง URL จึงมีความสำคัญ แน่นนอว่ารวมไปถึง URL Slug ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำ SEO เช่นกัน เพราะอักษร อักชระ หรือตัวเลขที่ตามหลัง URL นั้นหากอ่านออกและบอกให้รู้ว่าหน้าของ URL นั้น ๆ เกี่ยวกับอะไร ตรงกับที่ต้องการค้นหาข้อมูลหรือไม่ ก็จะช่วยให้บอตของ Google จัดลำดับและดันการแสดงผลให้เว็บไซต์ขึ้นอันดับบนหน้าแรกได้นั่นเอง

สร้าง Slug ที่ดี ให้อัลกอริทึมชอบ ต้องทำอย่างไร

เมื่อเห็นความสำคัญของ URL Slug แล้ว ก็มีคำถามที่ว่าจะสร้างให้ดีได้อย่างไร เรามีตัวอย่าง และวิธีการสร้าง URL Slug ต่าง ๆ ให้ได้ลองพิจารณาและไปทำตามกันดูได้เลย

1. ใช้ภาษาไทย vs ภาษาอังกฤษ แบบไหนดีกว่ากัน? 

แน่นอนว่าทุกคนล้วนมีคำถามว่าจะสร้าง URL Slug ด้วยภาษาอะไร เมื่อเว็บไซต์เป็นเว็บไทย จะใส่ภาษาอังกฤษดีไหม หรือจะใช้คีย์เวิร์ดภาษาไทยบน URL ดี ซึ่งจะขออธิบายดังนี้

การใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษบน Slug ทั้ง 2 ภาษาล้วนส่งผลต่ออันดับของ SEO ได้ดีทั้งคู่ ไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถตั้งได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ทั้งคู่ แต่ทั้ง 2 ภาษาจะมีข้อแตกต่างและมีข้อดี-ข้อเสีย ต่างกันดังนี้

  • ข้อดีของ URL Slug ภาษาไทย
    • ผู้ใช้งานอ่านเข้าใจง่ายว่าหน้าเพจนี้เกี่ยวกับอะไร
    • ใช้คีย์เวิร์ดที่ตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้งานได้
  • ข้อเสียของ URL Slug ภาษาไทย
    • เมื่อมีการแชร์หน้าเว็บเพจ Slug จะเปลี่ยนเป็นอักขระพิเศษที่อ่านไม่เข้าใจ
    • ผู้ใช้รู้สึกไม่สะดวกต่อการใช้งาน
  • ข้อดีของ URL Slug ภาษาอังกฤษ
    • เมื่อแชร์ URL ไปแพลตฟอร์มอื่นจะขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ
    • ผู้ใช้รู้สึกสะดวกในการใช้งานมากกว่า
  • ข้อเสียของ URL Slug ภาษาอังกฤษ
    • จำเป็นต้องตัดคำฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นในการทำ URL Slug ออกเสมอ

2. URL Slug กระชับและอ่านง่าย

ใช้คำหรือความหมายที่กระชับ อ่านแล้วเข้าใจโดยทันที พยายามใช้ไม่เกิน 5 คำ เช่น

  • Good URL slug: /abs-exercises
  • Bad URL slug: /the-best-abs-exercises-for-all-levels-of-gym-goer

ยิ่งไปกว่านั้น URL Slug ที่ยาวไปผลลัพธ์ที่แสดงผลเมื่อค้นหา จะถูกย่อลิงค์ URL ให้สั้นลง เพื่อเกิดการจดจำง่ายและพิมพ์ได้สะดวกขึ้น

3. URL Slug อธิบายได้ชัดเจน

เมื่อเข้าที่หน้าเพจแล้วบอกได้ทันทีว่าหน้านี้เกี่ยวกับเรื่องใด การใช้คีย์เวิร์ดหรืออธิบายสั้น ๆ ว่าหน้านี้เกี่ยวกับอะไร จึงจำเป็นนั่นเอง

  • Good URL slug: /best-air-purifier
  • Bad URL slug: /4522

4. แยกคำให้ชัดเจน

เมื่อตัดสินใจใช้ภาษาอังกฤษแล้ว จำเป็นต้องแยกคำให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานอ่านแล้วเข้าใจได้ทันที โดยไม่เกิดความสับสน

  • Good URL slug: /best-travel-tips
  • Bad URL slug: /besttraveltips

5. ใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-) แทนเครื่องหมายขีดเส้นใต้ (_)

เพื่อเป็นการป้องกันการแปลความผิดของระบบบอต เมื่อต้องการแยกข้อความ ไม่ใช่เว้นช่องว่าง

  • Good URL slug: /good-old-fashioned-pancakes
  • Bad URL slug: /good_old_fashioned_pancakes

6. ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก เพื่อป้องกันการเกิด Duplicate Content

เพื่อป้องกันระบบเข้าใจผิดว่า URL นี้หรือเนื้อหานี้มีการลอกเลียนแบบกัน การใช้ URL Slug ที่เป็นอักษรพิมพ์เล็กจึงเป็นการหลีกเลี่ยงได้ว่าเป็นเพียงแค่ Slug ต่อท้ายเท่านั้น รวมถึงทำให้สะดวกในการพิมพ์ด้วย

  • Good URL slug: /new-york
  • Bad URL slug: /New-York

7. หลีกเลี่ยงอักขระพิเศษ

การใช้อักขระ ไปจนถึงอีโมจิ จะสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้และบอต การสร้าง Slug จึงควรใช้เป็นคำมากกว่า

  • Good URL slug: /emoji-meanings
  • Bad URL slug: /😊🚀

8. ทำให้ใช้งานได้ระยะยาว

ข้อความที่ต่อท้าย URL ไม่ควรที่จะระบุวัน เวลา เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนของเนื้อหาภายในที่สามารถใช้ได้ตลอด และใช้ในระยะยาวได้

  • Good URL slug: /how-to-write-url-slugs
  • Bad URL slug: /10-tips-to-write-url-slugs-in-2022

การเปลี่ยน URL Slugs บน WordPress

เมื่อเห็นความสำคัญของการตั้ง URL เว็บไซต์คืออะไร ไปบ้างแล้ว หากต้องการที่จะเปลี่ยน URL Slug ของเว็บไซต์ตัวเองบน WordPress ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ไปที่ ‘Setting’ > คลิก ‘Permalinks

จะเห็นว่าสามารถเลือกโครงสร้างของลิงก์ตามภาพได้ แต่ที่อยากแนะนำคือการเลือกโครงสร้างแบบ ‘Post Name’ เพื่อให้สามารถใช้ Slug ที่เป็นชื่อเดียวกับบทความได้

จะเห็นได้ว่า WordPress จะใช้ URL Slug ตามชื่อของบทความ อย่างไรก็ตาม สามารถปรับชื่อ URL Slug ได้ เพียงแค่แก้ไขที่บนหน้าบทความ ซึ่งอยู่ในกล่องด้านขวาเพื่อหา ’URL’ และแก้ไขได้ตามภาพด้านล่าง

วิธีปรับชื่อ URL Slug

รวมถึงหากใช้ Plug-In เสริมก็สามารถแก้ไขได้ด้วยเช่นกัน และจะแสดงข้อมูลว่า Slug ที่ใช้นั้นมีคีย์เวิร์ดที่ต้องการด้วยหรือไม่ 

ใช้ SEO analyst เพื่อแก้ไข Slug

ตั้งค่า Slug ที่ถูกต้อง เพื่อทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

จะเห็นได้ว่าการตั้ง Slug ให้ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานบนเว็บไซต์ของผู้ที่เข้าชมได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การจัดอันดับในการทำ SEO ได้มากขึ้นด้วย ซึ่งสามารถนำตัวอย่างไปใช้งาน หรือประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ของเราได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามหากต้องการเพิ่มอันดับให้ดีขึ้นนั้น การใช้เครื่องมือนี้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยเพิ่มอันดับ ซึ่งจำเป็นต้องปรับส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความ โครงสร้างเว็บไซต์ หรือส่วนอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วย ซึ่งการทำ SEO จำเป็นต้องทำและปรับปรุงผลลัพธ์ตลอดเวลา เพื่อให้เว็บไซต์ทันสมัยและตรงกับพฤติกรรมการใช้งาน ประสบการณ์ของผู้เข้าเว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเช่นกัน

ใช้ตัวช่วยอย่าง Mandala AI เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และติดตามเทรนด์การตลาดทั่วโลก เพื่อการพัฒนาการทำ SEO ของคุณ

ทดลองใช้งาน Mandala AI ฟรี 15 วัน
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.