Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

เทคนิคตั้งเป้าหมายให้สำเร็จด้วย Smart Goal [พร้อมตัวอย่างการปรับใช้]

เทคนิคตั้งเป้าหมายให้สำเร็จด้วย Smart Goal [พร้อมตัวอย่างการปรับใช้]

รู้จักการตั้งเป้าหมายแบบ Smart Goal ประยุกต์ใช้ได้กับ Goal Setting เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น OKR, KPI ไปจนถึงเป้าหมายส่วนบุคคล

Smart Goal คืออะไร?

Smart Goal คือวิธีการตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุได้จริง โดยอาศัยหลักการ 5 อย่างซึ่งได้แก่

  • S – Specific เป้าหมายที่เราต้องควรมีความเฉพาะเจาะจง 
  • M – Measurable เป้าหมายที่เราตั้งต้องสามารถวัดผลได้
  • A – Achievable เป้าหมายที่เราตั้งต้องบรรลุได้จริง 
  • R – Relevant เป้าหมายที่เราตั้งต้องสัมพันธ์กับความต้องการ
  • T – Time-bound เป้าหมายที่เราตั้งต้องมีกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม

ประโยชน์ของการตั้งเป้าหมายด้วย Smart Goal

  • ความชัดเจน: การมีเป้าหมายที่ชัดเจนช่วยให้เรารู้ว่าต้องทำอะไร เมื่อไหร่ และอย่างไร ช่วยเพิ่มโอกาสให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การวัดผล: การตั้งเป้าหมายที่วัดผลได้ช่วยให้เราประเมินตัวเอง และวัดความคืบหน้าได้อย่างถูกต้อง
  • ทำได้จริง: การตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริงช่วยลดความเสี่ยงจากความผิดหวังและค่าเสียเวลาจากการทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
  • สอดคล้องกับความต้องการ: การตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง ไม่ว่าจะในระดับบุคคลหรือในเชิงธุรกิจ จะช่วยให้เรารู้สึกถึงคุณค่าและความหมายที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้แม้ในวันที่เหนื่อยหรือท้อ 
  • กรอบระยะเวลาที่ชัดเจน: เมื่อเรารู้ว่าเป้าหมายนั้นควรบรรลุภายในเมื่อไหร่ เราจะสามารถจัดการเวลา และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ดียิ่งขึ้น

เทคนิคใช้ Smart Goal Framework เพื่อตั้งเป้าหมายให้เกิดขึ้นจริง

1. S – Specific 

เพื่อให้ได้เป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด ลองใช้คำถามเช่น เราเป็นใคร ต้องการอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร (Who, What, Where, When) เพื่อให้ได้บริบทที่เหมาะสมและเจาะจงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. M – Measurable

แนะนำให้ใช้ตัวเลขในการวัดผล เพื่อความเป็นกลางและแม่นยำ ตัวอย่างเช่นจำนวน เปอร์เซ็นต์ หรือคะแนน (Point) นอกจากแม่นยำแล้ว ยังช่วยให้เราติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายนั้น ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย

3. A – Achievable

ลองพิจารณาความเป็นไปได้จากเวลา ทรัพยากร และความสามารถที่มี เพื่อให้เป้าหมายบรรลุได้จริง หากพบว่าเป้าหมายใหญ่เกินไป ให้ใช้วิธีสร้างตั้งเป้าหมายให้เล็กลง แต่ถี่ขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายใหญ่นั้นได้จริงในระยะยาวแทน (Short-term and Long-term Goals)

4. R – Relevant 

คำนึงถึงประโยชน์หรือสิ่งที่จะได้รับเมื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ ได้จริง ว่าคุ้มค่าหรือไม่ก่อนการลงมือทำ ลองถามคำถามง่าย ๆ เช่น หากเราบรรลุเป้าหมายนั้นแล้ว เราจะเติบโตขึ้นอย่างไร หรือการบรรลุเป้าหมายนั้นช่วยสร้างโอกาสที่ดีให้กับธุรกิจได้อย่างไร เป็นต้น

5. T – Time-bound

ระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนว่าควรบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ ในระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น ภายใน 5 เดือน ภายใน 2 อาทิตย์ หรือภายใน 1 ปี เพื่อให้เราตระหนักถึงเป้าหมายอยู่เสมอ และสามารถจัดสรรเวลา รวมถึงทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า

ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายการบริหารธุรกิจด้วยหลัก Smart Goal

ผู้จัดการเสนอโปรโมชันให้ลูกค้า

เป้าหมายหลัก: เพิ่มยอดขายของสินค้า A ให้ได้ 20 ล้านบาท

ตั้งเป้าหมายด้วย SMART Goal:

  • S – Specific 

ระบุให้ชัดเจนว่าเราจะเพิ่มยอดขายของสินค้า A ที่ไหน ด้วยวิธีไหน อย่างไร เช่น

“เราจะเพิ่มยอดขายของสินค้า A ผ่านการขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มอายุ 25-35 เป็น 25-45 ปี และออกโปรโมชันเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง”

  • M – Measurable

ระบุให้ชัดเจนว่าตัวเลขที่ต้องการวัดว่าเราบรรลุเป้าหมายคือเท่าไหร่ เช่น

“เราจะเพิ่มยอดขายของสินค้า A ให้ได้ 20 ล้านบาท ผ่านการขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มอายุ 25-35 เป็น 25-45 ปี และออกโปรโมชันเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง

  • A – Achievable

ตรวจสอบว่าเป้าหมายที่เราตั้งขึ้นมานั้นสามารถทำได้จริงหรือไม่ เช่น 

“เราจะเพิ่มยอดขายของสินค้า A ให้ได้ 50 ล้านบาท ผ่านการขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มอายุ 25-35 เป็น 25-45 ปี และออกโปรโมชันเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง”

เราอาจจะพิจารณาดูว่า สินค้า A เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ของเราหรือไม่ ยอดขายที่ผ่านมาของกลุ่มอายุ 25-35 เป็นเท่าไหร่ต่อปี กลุ่มคนอายุ 36-45 คิดเป็นประชากรกี่เปอร์เซ็นต์ของประเทศ และเพียงพอหรือไม่ที่จะสร้างเม็ดเงินจำนวน 50 ล้านบาท เป็นต้น

  • R – Relevant

นอกจากจะพิจารณาว่าเป้าหมายนั้นสามารถทำได้จริงหรือไม่แล้ว อีกส่วนที่เราต้องคำนึงคือเป้าหมายนั้นคุ้มค่า หรือมีความหมายมากเพียงพอที่จะทำหรือไม่ด้วย เช่น

“เราจะเพิ่มยอดขายของสินค้า A ให้ได้ 50 ล้านบาท ผ่านการขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มอายุ 25-35 เป็น 25-45 ปี และออกโปรโมชันเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง”

ในแง่มุมของการทำธุรกิจ การหารายได้และขยายฐานกลุ่มลูกค้าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นเป้าหมายนี้จึงคุ้มค่าและมีความหมายมากพอที่จะทำ เนื่องจากจะทำให้ธุรกิจของเราเติบโตและก้าวหน้า เป็นต้น

  • T – Time-bound

ขั้นตอนสุดท้ายคือการกำหนดกรอบระยะเวลาให้กับเป้าหมายของเรา ซึ่งมีข้อแม้คือกรอบระยะเวลานั้นต้องมีความสมเหตุสมผล และสอดคล้องกับเวลา รวมถึงทรัพยากรที่มีด้วย เช่น

“เราจะเพิ่มยอดขายของสินค้า A ให้ได้ 20 ล้านบาท ให้ได้ภายใน 1 ปี ผ่านการขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มอายุ 25-35 เป็น 25-45 ปี และออกโปรโมชันเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง”

การตั้งกรอบระยะเวลา 1 ปี อาจเป็นการคำนวณจากรายได้ที่ทำได้อยู่ในปัจจุบันสำหรับสินค้า A บวกกับการคำนวณ Potential ของกลุ่มฐานลูกค้าใหม่ 36-45 ปี ว่ามีจำนวนและสัดส่วนที่เพียงพอสำหรับการสร้างยอดขายนั้น เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า เป้าหมาย Smart Goal ของเราจะมีความใกล้เคียงกับเป้าหมายหลัก แต่จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผ่านการใส่รายละเอียด กรอบระยะเวลา และพิจารณาความเป็นไปได้ กล่าวคือเป็นการสร้างเป้าหมายผ่านการมองจากหลากหลายแง่มุม เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นเป้าหมายที่คุ้มค่า และสร้างประโยชน์ให้กับตัวเราหรือธุรกิจ ที่สำคัญคือสามารถบรรลุได้จริง และมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่จับต้องได้

ตั้งเป้าหมายด้วย Smart Goal สู่ความสำเร็จที่เร็วกว่าเดิม

การตั้ง Smart Goal หรือตั้งเป้าหมายผ่านหลักการ SMART เป็นวิธีการตั้งเป้าหมายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ตั้งแต่การตั้ง OKR ในบริษัท ไปจนถึงการตั้งเป้าหมายส่วนบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายการพัฒนาตัวเอง เป้าหมายการเก็บเงิน ไปจนถึงเป้าหมายในการลดน้ำหนัก จึงเป็นทักษะที่ควรมีติดตัวไว้ และดึงออกมาใช้ให้ตรงกับบริบทและสถานการณ์

mandala ใช้ฟรี
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.