เรียกว่าเทรนด์การใช้เครื่องมือ Marketing technology ได้มีกระแสมากขึ้นจากปี 2022 อย่างมากโดยเฉพาะเครื่องมือ Social listening ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นหลังปรากฎการณ์ Big data ที่ทำให้เหล่านักการตลาดออนไลน์เบนความสนใจไปหากับการรวบรวมเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ เช่น บนแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, TikTok หรือ Google ที่หลาย ๆ คนรู้จัก คราวนี้ก็ถึงคราวการใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อเช็คกระแสดูความนิยมในเรื่องต่าง ๆ ของชาวเน็ต และ ดูว่าชาวเน็ตกำลังพูดถึงอะไร ซึ่งจะมีอะไรบ้างมาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย
Social Voice คืออะไร
Social voice คือ เสียงทางสังคมบนโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งนักการตลาดออนไลน์สามารถใช้วิธีการสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติไม่ทางการจนเกินไป เพื่อให้เข้าถึงชาวเน็ตได้ง่าย และอยากเล่นกับแบรนด์ มีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้นจนบางครั้งทำให้แบรนด์เหล่านั้นกลายมาเป็นกระแส และถูกเหล่าอินฟลูเอนเซอร์นำไปเล่น นำไปแชร์จนเกิดเป็นเทรนด์ขึ้นมาได้นั่นเอง ตัวอย่างบุคลิกภาพของแบรนด์ เช่น แบรนด์สามารถเป็นมิตร มีความเป็นมืออาชีพ มีความรู้ หรือวางตัวเป็นผู้มีอำนาจได้
แน่นอนว่าการต่อกับชาวเน็ตติด คุยภาษาเดียวกัน ก็ทำให้แบรนด์นั้น ๆ สื่อสารสิ่งต่าง ๆ ออกมาได้ง่าย มีลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายรับฟังมากขึ้น และเป็นที่น่าจดจำมากขึ้นได้ด้วย ซึ่งการจะทำให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำได้ ก็จำเป็นต้องค้นหา หรือสร้างแบรนด์ขึ้นมา เพื่อกำหนด Persona ของแบรนด์ ไม่ว่าจะด้วยการวิจัยตลาด ทดลองกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์คู่แข่ง รวมถึงกำหนดบุคคลิกของแบรนด์ที่สำคัญขึ้นมา เป็นต้น
การฟังกลุ่มเป้าหมายอย่างตั้งใจและประยุกต์ฟีดแบกเพื่อนำไปต่อยอด นำไปพัฒนาภาษา เนื้อหาและการสื่อสารให้ตรงกับคำพูด รสนิยม หรือจริตของชาวเน็ตได้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้สื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติ จึงสำคัญต่อธุรกิจในสมัยนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Social Voice สามารถช่วยธุรกิจคุณได้อย่างไร
Social Voice ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาดสมัยนี้ไปโดยปริยาย เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาไปสู่การตลาดออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันหมดแล้ว ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและตรงจุดมากขึ้น อีกทั้งความเป็นธรรมชาติของชาวเน็ตที่สื่อสารบนโลกออนไลน์ด้วยแล้ว การที่แบรนด์ได้รู้ได้เห็นและได้ยินกลุ่มเป้าหมายของเราพูด ทำ หรือตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ก็สามารถนำไปต่อยอดปรับปรุงคุณภาพแบรนด์ได้อย่างดี
การทำให้แบรนด์เข้าถึงง่ายจึงเป็นกลยุทธ์เล็ก ๆ ที่นักการตลาดสมัยใหม่นิยมใช้กันมากขึ้น บางแบรนด์ผลิตสินค้าเพื่อมีมนั้น ๆ โดยเฉพาะ บางแบรนด์ใช้วิธีการออกสินค้าคอลเลคชันพิเศษเพื่อเอาใจแฟนคลับของอินฟลูเอนเซอร์คนนั้น ๆ ก็มี จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ แบรนด์พยายามที่จะลดช่องว่าง และรับฟังเสียงจากกลุ่มลูกค้ามากขึ้นพยายามนำตัวเข้าไปแทรกอยู่กับกิจวัตรประจำวันของกลุ่มเป้าหมายทุกช่องทาง
แน่นอนว่าการที่แบรนด์มีแอคชันแบบนี้ย่อมมีผลกำไรเป็นเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นการเติบโตและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำการตลาดจากสื่อสารทางเดียว เป็นสื่อสารสองทาง ไปจนถึง กลุ่มลูกค้าเป็นผู้แนะนำสินค้า แชร์ฟีดแบกรวมถึงรีวิวสินค้านั้น ๆ ได้โดยตรง ซึ่งหากแบรนด์นั้น ๆ ปรับตัวทันก็สามารถคว้าโอกาสสร้างกำไรได้มากขึ้นเลยทีเดียว
เทรนด์การค้นหา Generative AI โดยเครื่องมือ Google trend
หลังจากที่ Chat GPT ทำให้มุมมองของผู้คนบนโลกออนไลน์เปลี่ยนแปลงไป หันมาสนใจการนำ AI เป็นเครื่องมือเพื่อทุ่นแรงการทำงานหรือบางแห่งนำ AI เข้ามาใช้กันอย่างจริงจัง ก็ทำให้คนไทยหลาย ๆ คนหันมาสนใจสิ่งที่เรียกว่า AI มากขึ้น ลองมาดูกันว่ากระแสการใช้ AI ในไทยเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย
จะเห็นได้ว่าเมื่อต้นปีเทรนด์ Generative AI ยังไม่ได้ถูกพูดถึงเท่าไหร่นัก หากเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งจากสหรัฐอเมริการ จีน รวมถึงบริษัทชั้นนำในยุโรปเริ่มทุ่มให้กับแพลตฟอร์ม AI ของตัวเอง ทำให้เทรนด์การค้นหาคีย์เวิร์ดคำนี้กำลังพุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับการทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี รวมไปถึงการนำ AI ไปประยุกต์ในการทำการตลาด
จึงไม่แปลกที่มีหลายคนนำ AI ไปใช้กับวงการต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าและบริการบางอย่างยังคงอยู่ในช่วงพัฒนา แต่ด้วยกระแสแบบนี้ก็คงไม่แปลกที่สิ้นปีนี้ อาจจะมีฟีเจอร์จากแอปพลิเคชันที่เราใช้นำ AI มาผสมผสานเพื่อยกระดับบริการและการใช้งานให้กับหลาย ๆ คนอย่างแน่นอน
เมื่อลองมาเจาะลึกมาที่ชื่อเครื่องมือที่ทำเกี่ยวกับ Generative AI อย่าง Chat GPT, Bard, Bing และ Midjourney ที่คนไทยหลายคนคุ้นหูกันดี จะเห็นได้ว่าคนไทยเริ่มค้นหาเครื่องมือเหล่านี้เมื่อเดือนกรกฏาคม ปี 2022 เท่านั้นเอง เรียกได้ว่าใหม่สำหรับคนไทยเอามาก ๆ แต่ที่น่าสนใจนั่นคือเครื่องมืออย่าง Midjourney กลับเข้ามามีบทบาทสำหรับคนไทยก่อนเครื่องมือยอดนิยมในปัจจุบันอย่าง Chat GPT ระยะเวลาหนึ่งเลย จนกระทั่งเริ่มศักราชของ Chat GPT อย่างเป็นทางการที่ทำให้เครื่องมือนี้ติดลมบนและเป็นที่นิยมกับคนไทยจนพุ่งไปแตะกระแสการค้นหาสูงสุดอย่างต่อเนื่อง ทิ้งห่างอีก 3 เครื่องมือเป็นช่วงตัวเลยทีเดียว
เมื่อลองแบ่งแยกเป็นรายภูมิภาคจะเห็นว่าทั้งประเทศไทยตื่นตัวและเห็นกระแสของเครื่องมือ Generative AI กันทั่วประเทศแล้ว โดยเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและเข้าถึงทุกคนก็ยังคงเป็น Chat GPT อยู่ดี ส่วนอีก 3 เครื่องมือก็เฉลี่ย ๆ ไปในแต่ละภูมิภาคในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่จะกระจุกกันตามจังหวัดหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภูมิภาค เมื่อดูกระแสแล้วเราก็คงทราบกันได้ว่าเครื่องมือแบบนี้ จะเป็นที่นิยมใช้กับธุรกิจตั้งแต่ SMEs ไปจนระดับองค์กรใหญ่ ๆ ได้เลย
วิธีใช้ Social Listening Tool ในการค้นหา Social Voice
แน่นอนว่า ‘Social Listening Tool’ ย่อมเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนักการตลาดสมัยนี้ เพราะหากต้องการเข้าถึงและรู้ว่าชาวเน็ตพูดอะไรกันบนโลกออนไลน์บ้าง ก็จำเป็นต้องมีเครื่องมือทุ่นแรงเข้าช่วย ไม่ว่าจะเป็นการดูเทรนด์ทางโซเชียลมีเดีย การดูกระทู้ผ่านเว็บบอร์ด การติดตามแฮชแท็กผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ
1. สำรวจเทรนด์รอบโลก
อัปเดตเทรนด์และความเคลื่อนไหวบนโลกโซเชียลให้คุณแบบเรียลไทม์จากแพลตฟอร์มยอดนิยมมาไว้ในที่เดียว ด้วยฟังก์ชัน Discover Now ของ Mandala Cosmos คอยเตือนนักการตลาดเวลาที่คู่เเข่งโพสต์หรือมีการเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดีย ทำให้เราตามทันกระแส รู้ว่า Engagement เป็นไปในทิศทางไหน และเกาะติดคู่แข่งได้อย่างใกล้ชิดโดยฟังก์ชัน Ripples
2. ดูฟีดแบคแคมเปญการตลาด
Mandala AI. จะทำตามติดตามผลแคมเปญการตลาดบนโลกออนไลน์ ด้วยการใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการลงไป แล้วสรุปผลออกมาเป็นหน้า Dashboard ที่แสดงภาพรวมของสิ่งที่คนพูดถึงคำค้นหานั้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนโพสต์ที่พูดถึง (Mentions) จำนวนคนที่เข้ามามีส่วนร่วม (Engagement) เช่น ไลก์ คอมเมนต์ หรือแชร์ รวมถึงแนวโน้มของการพูดถึงในช่วงเวลาต่าง ๆ
3. ดูคอนเทนต์ที่คนกำลังให้ความสนใจจาก Top Mentions
Top Mentions จะช่วยให้นักการตลาดเห็นภาพรวมของคอนเทนต์ที่ผู้คนให้ความสนใจมากที่สุดในแต่ละช่องทาง เมื่อเรียงลำดับคอนเทนต์จากการมีส่วนร่วมมากไปน้อย นักการตลาดจะเห็นชัดเจนว่าคอนเทนต์แบบไหนที่โดนใจผู้บริโภคมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ หรือข้อความที่สั้นกระชับ ทำให้เราสามารถเรียนรู้ความสำเร็จ และนำมาปรับปรุงกลยุทธ์ให้ดีขึ้นได้
4. ดูความคิดเห็นของคนบน Sentiment
การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ Sentiment ของ Mandala Analytics ช่วยให้นักการตลาดสามารถติดตามความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับแบรนด์ได้แบบเรียลไทม์ เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ นักการตลาดจะเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับคู่แข่ง เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่โดดเด่นและแตกต่าง
5. แสดง Data Timeline
ช่วงเวลา ถือเป็น Point สำคัญของนักการตลาดออนไลน์ เพื่อศึกษาดูว่าช่วงเวลาไหนที่คนพูดถึง (Mention) หรือเข้าไปมีส่วนร่วม (Engagement) กับคอนเทนต์นั้น ๆ มากที่สุด เพื่อที่จะได้เก็บเป็นข้อมูลในการวางกลยุทธ์ในครั้งต่อไป
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เครื่องมือ Social Listening Tool อย่าง Mandala AI. ที่สามารถทำได้ หากคุณเป็นนักการตลาดที่เข้าใจและเข้าถึงเสียงสะท้อนหรือ Social Voice ของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ได้อย่างละเอียด แน่นอนว่าจะทำให้คุณมีเติมต่อในการวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตามเครื่องมือประเภทนี้ก็จำเป็นต้องการข้อมูลในส่วนอื่น ๆ เพื่อทำการตลาดได้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงสถิติหรือเป็นไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างแคมเปญทางการตลาดนั่นเอง
เครื่องมือสำคัญ Social Voice และ Social Listening Tool ช่วยให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดในยุคดิจิทัล
หากจะทำการตลาดก็คงจำเป็นต้องดูเทรนด์เป็นปัจจัยสำคัญ ยิ่งมีเครื่องมือมาช่วยคาดการณ์ และนำข้อมูลไปประกอบการวิเคราะห์เพิ่มขึ้น ก็ทำให้คาดการณ์ วางกลยุทธ์ทางการตลาดได้ล่วงหน้า และตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นแล้ว อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เพื่อหาไอเดียเกาะติดกระแสเพื่อสอดแทรกสินค้าหรือบริการของเราให้อยู่ในกระแสได้ทันเวลาเพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าให้จดจำและใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น อย่างไรก็ตามหากแบรนด์ปรับตัวตามกระแสเหล่านั้นไม่ทันอาจจะพลาดโอกาสขายสินค้าครั้งสำคัญได้เลยทีเดียว
สามารถทดลองใช้งาน Mandala Analytics ฟรี เพื่อดูเทรนด์ที่คุณต้องการคลิกเลย