Video Content เป็นรูปแบบของสื่อที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในโลกของโซเชียลมีเดีย
จากผลสำรวจของ HubSpot และ Wyzowl ในปี 2023 พบว่าผู้คนใช้เวลาไปกับการดู Video Content มากถึง 17 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้แต่แบรนด์ใหญ่ ๆ ก็ให้ความสนใจกับการสร้าง Video Content เพื่อเชื่อมต่อกับผู้บริโภคมากขึ้น จนทำให้เกิดอาชีพใหม่ในโลกดิจิทัล อย่าง Video Content Creator หรือนักสร้างคอนเทนต์วิดีโอ
ความน่าสนใจของอาชีพนี้ คือใครๆ ก็สามารถฝึกฝน และเรียนรู้ที่จะเป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น “ดาว TikTok” หรือกลุ่ม Video Content Creator บนแพลตฟอร์ม TikTok จะเห็นว่าหลายคนก็เป็นคนธรรมดา ที่รู้วิธีสร้าง Video Content ให้น่าสนใจ และอินเทรนด์ จนกลายเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้ได้จริง และยังสามารถทำควบคู่ไปกับงานประจำอื่นๆ ได้ด้วย
TikTok เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของแพลตฟอร์มโซเชียลสำหรับสายงานนี้แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายแพลตฟอร์มที่รองรับ Video Creation ไม่ว่าจะเป็น YouTube หรือ Facebook และ Instagram ที่มีพื้นที่สำหรับวิดีโอโดยเฉพาะ เช่น Watch, Reels, Live และ Story
จะเห็นได้ว่า โอกาสของวีดีโอคอนเทนต์ครีเอเตอร์นั้นมีมากมาย ไม่ได้ถูกจำกัดไว้อยู่ที่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง และยังเป็นที่ต้องการในตลาดอีกมากครับ
สายงาน Video Content Creator ทำอะไรบ้าง
1. ศึกษาเทรนด์โซเชียลมีเดีย
ก่อนที่เราจะผลิต Video Content ออกมา เราต้องรู้ก่อนว่าตอนนี้เทรนด์ของตลาดเป็นอย่างไร อะไรที่กำลังเป็นที่นิยม อะไรที่คนชอบ/ไม่ชอบ หรือหัวข้อไหนค่อนข้าง Sensitive และควรเลี่ยง เราจะได้สร้าง Video Content ที่ตอบโจทย์ผู้ชม และสร้าง Engagement ได้จริง
2. ร่างบทหรือ Content Strategy
เมื่อศึกษาเทรนด์โซเชียลมีเดีย และเลือกหัวข้อที่น่าจะเหมาะสมกับผู้ชมได้แล้ว เราต้องร่างบท และ Flow ในการเล่าเรื่อง ควรเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ และเหมาะสมกับแพลตฟอร์มที่จะเอาไปลง เช่น YouTube อาจจะยาวได้หน่อย แต่ TikTok หรือ Reels อาจจะต้องสั้นกระชับ และดึงความสนใจได้ตั้งแต่วินาทีแรกๆ
3. ซ้อมบท และถ่ายทำ
สิ่งที่ทำให้ Video Content Creator แตกต่างจาก Content Creator ทั่วไปคือ Video Content Creator ต้องสามารถทำในส่วนของ Production ได้ด้วย หากใครทำได้ดีก็จะมีแต้มต่อมากกว่า เพราะผู้ชมให้ความสนใจกับคุณภาพของ Production พอๆ กับเนื้อหาของคอนเทนต์เลยทีเดียว
4. ตัดต่อ
แน่นอนว่าหลังจากขั้นตอนต่อไปคือส่วนของ Post Production ซึ่งรวมถึงการตัดต่อ, แต่งภาพ ปรับแสง, เติม Animation, ใส่เสียง Sound Effect และเพิ่ม Super เน้นข้อความที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือต้องไม่ลืมปรับ Video Sizing ให้เป็นไปตามข้อกำหนด และคำแนะนำของแพลตฟอร์มที่จะนำไปลงด้วย
5. ทดลองใช้
เมื่อได้วิดีโอที่ต้องการนำไปลงแล้ว แนะนำให้ Test ก่อนเพื่อป้องกันความผิดพลาดหน้างาน ปัจจุบันแต่ละแพลตฟอร์มมี Feature มากมายที่ช่วยให้เห็นวิดีโอของเราก่อนงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการลงแบบ Unpublished หรือ Creative Hub ของ Meta ที่ช่วยให้เห็น Video ของเราบน Placement ต่างๆ
6. ปรับแก้
เมื่อทดลองวิดีโอแล้วมีส่วนที่ต้องการแก้ไข เราก็ทำการปรับแก้ตามความเหมาะสม เก็บงานให้เรียบร้อยก่อนจะขึ้นงานจริง
7. เขียน Caption
แต่ละแพลตฟอร์มมักจะให้ลง Caption ไปพร้อมกับวีดีโอด้วย ซึ่งหลายครั้ง Caption นี้ก็อาจจะเป็นหน้าที่ของวีดีโอคอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้วย เพราะเป็นคนที่รู้จักตัวคอนเทนต์ดีที่สุด แนะนำนำให้เขียนให้สั้น กระชับ อาจจะใช้ Emoji เข้ามาช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และใส่ Hashtag ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้คนหาวีดีโอของเราเจอได้ง่ายขึ้น
8. ศึกษาผลลัพธ์
เมื่อวิดีโอถูกปล่อยออกไปแล้ววีดีโอคอนเทนต์ครีเอเตอร์ควรติดตามกระแสและผลตอบรับจากผู้ชม เพื่อนำไปปรับปรุงการทำวิดีโอชิ้นต่อๆ ไป ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
การเตรียมตัวก่อนเป็น Video Content Creator
1. รู้จักการทำรีเสิร์ชให้แม่นยำ
การรู้จักเทรนด์ และผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นควรให้เวลากับการทำความเข้าใจเทรนด์ และความเป็นไปของตลาด จะได้สามารถผลิตวิดีโอให้ทันกับความสนใจของผู้คนได้ทันทีในแต่ละช่วงเวลา
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
การมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เราสร้าง Video Content ที่ตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านั้นได้ เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นแม่ และเด็ก ก็ควรสร้าง Video Content ที่สนุกสนาน มีสีสัน มีเพลงประกอบ และมีการเน้นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก หรือหากเป็น Video Content ที่เจาะกลุ่มคนที่สนใจการลงทุน ก็อาจจะต้องปรับโทนให้ดูเป็นทางการ น่าเชื่อถือ หรือหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาพูดคุย เป็นต้น
3. ศึกษาการทำ Pre-Pro-Post เพิ่มเติม
เนื่องจากวีดีโอคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะต้องทำ Production ด้วย ซึ่งการทำ Production ให้ดีอาจจะต้องอาศัยความรู้เชิงเทคนิคที่มากขึ้น อาจจะลองลงเรียนคอร์สออนไลน์ หรือหา Tutorial Video ใน YouTube เพื่อใช้ในการฝึกฝนตาม
4. ศึกษาแพลตฟอร์ม
พยายามทำความเข้าใจแพลตฟอร์มที่เราต้องการนำ Video ไปลง ว่าเหมาะกับวิดีโอประเภทไหน และจะ Engage กับผู้ชมอย่างไรได้บ้าง ยกตัวอย่าง เช่น
- YouTube เหมาะกับการทำ Vlog, Diary และ Long-form Content วิดีโอให้ความรู้ วิดีโอ How-to และ Tutorial วิดีโอรีวิวสินค้าที่ต้องลงรายละเอียดเยอะ
- TikTok เหมาะกับการทำ Video Content ที่สนุกสนาน มีเพลง มีคนเป็นองค์ประกอบ และมีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างรวดเร็ว เหมาะกับ Short Video และ Live Video เพื่อพูดคุยกับผู้ชม ตามสไตล์โซเชียลแพลตฟอร์มที่คนมักนิยมใช้เพื่อ Connect กัน
- Facebook and Instagram หรือผลิตภัณฑ์ตระกูล Meta เหมาะกับการโปรโมทแบรนด์ และการใช้ Influencer มีความใกล้เคียงกับ TikTok เพราะเป็นโซเชียลแพลตฟอร์มเหมือนกัน Content จึงควรเน้นไปที่ความสนุกสนาน และ Connect กับคนได้ อย่าง Live เอง ก็เป็นหนึ่งใน Feature ที่นักสร้างคอนเทนต์วิดีโอชอบใช้เหมือนกัน
5. วางแผนตาราง Content
เราควรลงวิดีโออย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสื่อสารกับฐานผู้ชม และทำให้ผู้ติดตามยังคงความสนใจใน Content ของเราอยู่ การวางตาราง Content ควรคำนึงถึงความเชื่อมโยง และลำดับของวิดีโอเป็นหลัก
6. ลงทุนกับเครื่องมือการตลาด
ปัจจุบันมีเครื่องมือทางการตลาดมากมายที่จะช่วยให้ Video Content ของเราดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Social Listening Tools ที่จะช่วยให้เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เทรนด์การตลาด และความเห็นของผู้ชมที่มีต่อวิดีโอของเราได้ดีขึ้น
เทรนด์ Video Content ของปีนี้
1. Short Video
ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา การมาถึงของ TikTok ทำให้ Short Video เป็นเทรนด์ของวิดีโอยุคใหม่ และเทรนด์นี้ก็ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี 2023 แม้แต่แพลตฟอร์มอื่นๆ อย่าง Meta ก็ยังต้องออก Placement สำหรับ Short Video โดยเฉพาะ (Reels/Story) หรือแม้แต่ YouTube ที่ถนัดด้าน Streaming Content ก็ยังต้องออก Shorts มารองรับเทรนด์นี้ด้วย
2. Live Video
Live Video เป็นที่นิยมในกลุ่ม Influencer หรือคนดัง ที่เลือกใช้การ Live ในการพบปะ และพูดคุยกับฐานแฟนของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Interactive Content หรือกลุ่มแฟนคลับเองก็มักจะใช้ช่องทาง Live ในการปฏิสัมพันธ์กับเหล่า Influencer โดยตรงเช่นกัน
นอกจาก Influencer แล้ว แบรนด์ต่างๆ ก็มักใช้ Live สำหรับงาน Event สำคัญ เช่นการเปิดตัวสินค้า งาน Flash Sale และอื่นๆ โดย Live Video สามารถเข้าถึงได้ทั้งบนช่องทาง YouTube, TikTok, และ Meta.
3. Education Video
คนรุ่นใหม่เป็น Active Learner ที่ชอบเข้าไปหาความรู้ และศึกษาเรื่องที่ตัวเองสนใจบนช่องทางต่างๆ เสมอ ดังนั้นวิดีโอให้ความรู้, Tutorial และ How-to จึงยังเป็นที่นิยมอยู่ในปีนี้ โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็น YouTube ตามมาด้วย TikTok และ Meta
4. Review
ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมักเสิร์ชหาข้อมูล และรีวิวเกี่ยวกับสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ และมักชมวิดีโอรีวิวสินค้า และ Open Box เพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งวิดีโอรีวิวส่วนมากมักไปได้ดีกับการใช้ Influencer และ KOL หรือผู้ใช้งานจริงเป็นต้น
สรุป
หวังว่าบทความของเราในวันนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพ Video Content Creator มากยิ่งขึ้น และหวังว่าแนวทางและคำแนะนำเกี่ยวกับการสร้าง Video Content จะช่วยให้ Video Content Creator มือใหม่หลายคน สร้างสรรค์วิดีโอได้ตรงใจผู้ชม และได้รับ Engagement มากยิ่งขึ้นไปอีกนะครับ