- Brand Identity Prism คืออะไร?
- การทำ Brand Identity Prism จะช่วยดึงตัวตนของแบรนด์คุณได้อย่างไร?
- 6 องค์ประกอบหลักของแนวคิด Brand Identity Prism
- เคล็ดลับในการสร้าง Brand Identity Prism ให้ทรงพลังกว่าเดิม
- ตัวอย่าง Brand Identity Prism ของ Coca Cola
- ตัวอย่าง Brand Identity Prism ของ Apple
- ตัวอย่าง Brand Identity Prism ของ Dove
- ปรับใช้ Brand Identity Prism เพื่อให้แบรนด์ของคุณเติบโตอย่างมีทิศทาง
หนึ่งในความท้าทายของธุรกิจทุกยุค ทุกสมัยแน่นอนว่าต้องเป็นการทำให้ธุรกิจเป็นที่จดจำในตลาดที่มีการแข่งขันสูงเนื่องจากธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ‘Brand Identity Prism’ จึงเข้ามามีบทบาทในหลายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการหาตัวช่วยในการสร้างความจดจำให้กับลูกค้า แล้ว Brand Identity Prism คืออะไร? จะช่วยดึงตัวตนของแบรนด์คุณได้อย่างไร? มาหาคำตอบได้ในบทความนี้
Brand Identity Prism คืออะไร?
Brand Identity Prism คือแนวทางในการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่ถูกสร้างโดย Kapferer ถูกใช้เป็นตัวช่วยในการทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์คุณมีความน่าจดจำและโดดเด่นมากขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่สูง โดยมีความแตกต่างจาก Brand Identity ตรงที่ Brand Identity Prism เป็นแนวทางที่ละเอียดและครอบคลุมมากกว่า ซึ่งเน้นให้ภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ของแบรนด์ไปในทิศทางเดียวกันและเน้นไปที่จุดเด่นของธุรกิจเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำได้ ในขณะที่ Brand Identity เป็นอัตลักษณ์ที่ถูกแสดงออกมาเป็นภาพจำของสินค้า เช่น ชื่อแบรนด์ โลโก้ สีโทน สโลแกน
การทำ Brand Identity Prism จะช่วยดึงตัวตนของแบรนด์คุณได้อย่างไร?
การทำ Brand Identity Prism ช่วยในการดึงตัวตนของแบรนด์ออกมาอย่างชัดเจนและน่าจดจำในจิตใจของผู้บริโภค โดยมีประโยชน์หลายด้าน:
- เสนอภาพลักษณ์ที่ชัดเจน: ช่วยให้แบรนด์สามารถกำหนดภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและเป็นเอกลักษณ์โดยเข้าใจได้ง่าย ๆ ผ่าน 6 องค์ประกอบของ Brand Identity Prism
- สร้างความเชื่อมโยงและไว้วางใจ: การสร้างตัวตนที่น่าจดจำช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างความเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ง่ายขึ้น เมื่อลูกค้ารู้สึกไว้วางใจและเชื่อมั่นในตัวตนของแบรนด์ก็มีโอกาสที่จะกลับมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของแบรนด์นั้น ๆ มากขึ้น
- สร้างความน่าสนใจ: ตัวตนที่น่าจดจำจะสร้างความน่าสนใจในตลาด ลูกค้ามักจะมองหาแบรนด์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจในทุกรายละเอียด
- ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภค: ตัวตนที่ชัดเจนช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เมื่อทราบว่าแบรนด์มีคุณค่าและลักษณะที่ตรงกับความต้องการและค่านิยมของตนเอง
- สร้างความทรงจำ: การมีตัวตนที่น่าจดจำช่วยสร้างความทรงจำที่ดีในใจของลูกค้า เมื่อลูกค้าต้องการค้นหาสินค้าหรือบริการที่ตรงกับแบรนด์ก็มักจะนึกถึงแบรนด์นั้นเป็นแบรนด์แรก
- สร้างความเข้าใจ: ลูกค้าเข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับคุณค่า วิสัยทัศน์ และลักษณะที่ทำให้แบรนด์น่าจดจำ จึงมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นลูกค้าและสนับสนุนแบรนด์นั้น ๆ ต่อไป
6 องค์ประกอบหลักของแนวคิด Brand Identity Prism
1. Physique
Physique คือลักษณะที่เห็นได้ชัด เช่น โลโก้ สี แพคเกจจิ้ง เป็นขั้นตอนแรกในการเชื่อมโยงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ต้องตีความคุณค่าเชิงนามธรรมที่แบรนด์ยึดมั่นให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและจับต้องได้เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าและสร้างความประทับใจ
ตัวอย่าง: Apple นั้นมีการออกแบบที่ดูทันสมัยตอบโจทย์การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี อีกทั้งยังมีโลโก้ที่มีดีไซน์ที่เรียบหรูเป็นสัญลักษณ์แอปเปิลที่ตรงกับชื่อของแบรนด์ทำให้ง่ายต่อการจดจำ ทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำได้อย่างง่ายดายในเวลาอันสั้น ใครเห็นก็เป็นที่รู้จักในทันที
2. Personality
Personality คือลักษณะทางบุคลิกภาพ หรือลักษณะความเป็นบุคคลของแบรนด์ ทำให้รู้ว่าเราจะวางภาพลักษณ์ให้แบรนด์เป็นคนอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารไปในทางที่ตรงกับบุคลิกภาพของแบรนด์ ทั้งเพศ บุคลิก และลักษณะทางจิตวิญญาณที่แบรนด์ต้องการจะเสนอต่อลูกค้าหรือตลาดได้
ตัวอย่าง: Coca-Cola มีบุคลิกที่สดใส เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง และเชื่อมโยงกับคุณค่าที่ Coca-Cola ต้องการนำเสนอ นั่นคือความสนุกสนานและความสุข บุคลิกของ Coca-Cola จึงมีความเป็นมิตร เข้าถึงง่ายและมีความสนุกสนานทำให้ผู้บริโภครู้สึกประทับใจและมีความสุข
3. Culture
Culture คือค่านิยม มุมมองด้านวัฒนธรรม และความเชื่อของแบรนด์ วัฒนธรรมของแบรนด์ทำให้แบรนด์โดดเด่นมากขึ้นในสายตาของลูกค้า และมีความสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงกับลูกค้า วัฒนธรรมมักจะแสดงในค่านิยมต่าง ๆ เช่น ความรับผิดชอบทางสังคม การสนับสนุนกิจกรรมทางกลุ่ม หรือความยินดีให้บริการทางสังคม
ตัวอย่าง: Patagonia มีวัฒนธรรมที่เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบทางสังคม ดังนั้น จึงมีสินค้าที่ใช้วัสดุที่ยังสามารถรักษาได้นาน และเป็นมิตรต่อธรรมชาติ เน้นความยั่งยืนต่อสังคม
4. Relationship
Relationship คือความสัมพันธ์ที่แบรนด์สร้างขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือจะช่วยในการสร้างลักษณะทางบุคลิกภาพของแบรนด์ ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายกลายเป็นลูกค้า และลูกค้ากลายเป็นลูกค้าประจำที่ซื่อสัตย์กับแบรนด์ในอนาคต
ตัวอย่าง: Airbnb ได้สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นที่ยอมรับมากในวงการการท่องเที่ยว ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตร ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีในขณะที่ผู้เช่าพักอยู่ในที่อยู่ที่แปลกใหม่
5. Reflection
Reflection คือภาพสะท้อนของแบรนด์ในสายตาของกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าที่แบรนด์ให้ความสำคัญ เป้าหมายของหลายแบรนด์จึงเป็นการสะท้อนเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ค่านิยม ความเชื่อ และคุณค่าที่แบรนด์ให้ความสำคัญไปสู่สายตาของลูกค้า
ตัวอย่าง: Dove ได้สะท้อนค่านิยมของการสนับสนุนความสวยงามที่แตกต่างไปสู่สายตาของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย อย่างโครงการ “Real Beauty” ของ Dove ที่ได้สะท้อนค่านิยมของความสมบูรณ์แบบและความสวยงามที่แท้จริงไปสู่สายตาของลูกค้า
6. Self-Image
Self-Image คือมุมมองของลูกค้าที่มีหลังจากที่ได้ใช้สินค้าและบริการของแบรนด์ โดยแบรนด์ที่มีค่านิยมตรงกับลูกค้าจะสามารถสร้างภาพจำในอุดมคติให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นเป้าหมายของหลายแบรนด์ที่จะทำให้ลูกค้ายังคงชื่นชอบสินค้าและบริการของแบรนด์หลังจากที่ใช้งานไปแล้ว
ตัวอย่าง: Nike สร้างภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งและมุ่งมั่น ลูกค้าที่ใช้สินค้าของ Nike มักจะมองตนเองเป็นผู้ที่พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายและมีมุ่งมั่นทางกีฬา
เคล็ดลับในการสร้าง Brand Identity Prism ให้ทรงพลังกว่าเดิม
- กำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์
เริ่มต้นด้วยการหาคุณสมบัติและ Character ที่เหมาะสมกับแบรนด์ว่าอยากให้แบรนด์มีภาพลักษณ์เป็น Mood และ Tone ไหน เช่น เป็นกันเอง มืออาชีพ เข้าถึงง่าย นวัตกรรม หรือเชื่อถือได้ เมื่อระบุได้แล้วลองดูว่าสินค้าและบริการของคุณสามารถตอบโจทย์ Character นี้ได้ไปแนวทางไหน
- สร้างเรื่องราวให้น่าสนใจ
การบอกเล่าเรื่องราวที่น่าดึงดูด ให้เริ่มต้นจากแรงบันดาลใจในการเริ่มคืออะไร เหตุการณ์ที่พลิกผันหรือสำคัญที่สุดที่ทำให้แบรนด์ของคุณเปล่งประกาย การเดินทางของแบรนด์ช่วงเวลาต่าง ๆ ทั้งช่วงที่เจอกับอุปสรรคและช่วงที่ประสบความสำเร็จ เรื่องราวที่ดี มีเอกลักษณ์ และมีที่มาที่ไปแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่จดจำในหมู่ของผู้คนมากมาย อาจประสบความสำเร็จถึงขั้นสร้างไวรัลทั่วโซเชียลมีเดียเลยก็ได้
- ความสม่ำเสมอในการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ
ความสม่ำเสมอในที่นี้หมายถึง การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องและพยายามพัฒนาตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ อย่างการใช้โทนสีที่สื่อไปในทางเดียวกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ในรูปภาพสำหรับโพสต์ลงโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่เปลี่ยนโทนสีให้ดูแหวกแนวไปจากเดิม (กรณีแบรนด์ออกแคมเปญใหม่ ๆ อาจมีการใช้สีที่แหวกไปจากเดิมได้ แต่ต้องเป็นการคุมโทนทั้งแคมเปญ ไม่ใช่การใช้สีอย่างไร้ความเชื่อมโยง) การใช้โลโก้ สโลแกนต่าง ๆ ของแบรนด์จะต้องส่งเสริมให้แบรนด์เป็นที่จดจำมากยิ่งขึ้น
- สร้างกลยุทธ์ที่กระตุ้นความรู้สึกของลูกค้า
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าคือการเข้าถึงอารมณ์ของลูกค้าโดยเจาะลึกไปที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ที่สำคัญคือต้องเข้าถึงปัญหาที่ลูกค้าต้องการแก้ไข เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่ตรงกับ Pain Point ของลูกค้า การเข้าถึงสิ่งที่ลูกค้าเป็นกังวลหรือให้ความสำคัญ จะช่วยให้สามารถกระตุ้นความรู้สึกและอารมณ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของเราได้ดีมากยิ่งขึ้น
- พัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
หลังจากได้ลองสร้างกลยุทธ์ที่ตรงใจและตอบโจทย์ลูกค้าแล้ว แบรนด์ต้องทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการลองใช้กลยุทธ์ดู เพื่อดูว่ามีจุดไหนที่สามารถแก้ไขให้กลยุทธ์ของแบรนด์ประสบความสำเร็จได้ดีขึ้นและสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสายตาของลูกค้าให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ตัวอย่าง Brand Identity Prism ของ Coca Cola
- Physique: Coca-Cola มีลักษณะที่มีการออกแบบของบรรจุภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์ โลโก้โดดเด่น และสีที่สดใส เหมาะกับแบรนด์เครื่องดื่ม Soft Drink ที่มีความสดชื่น ใครมองเห็นโลโก้และสีก็สามารถจำได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ Coca-Cola
- Personality: บุคลิกของ Coca-Cola จะเข้าถึงง่าย เน้นการนำเสนอเรื่องของความสุข ช่วงเวลาแห่งความสนุกและการแบ่งปัน การสื่อสารและการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและมีความสุขร่วมกัน
- Culture: มุมมองทางด้านวัฒนธรรม ความเชื่อและค่านิยมของ Coca-Cola คือ ความสดชื่นและความสนุกในชีวิตประจำวัน โดยมีการผลิตโฆษณาและกิจกรรมที่สนับสนุนความสุขและความผูกพันทางอารมณ์กับกลุ่มเป้าหมาย
- Relationship: Coca-Cola ได้สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เน้นความใกล้ชิดและความเชื่อถือ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่น่าจดจำในทุกรูปแบบการสื่อสาร
- Reflection: แบรนด์สะท้อนให้เห็นถึงความสดชื่นและความสนุกในทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะวัยไหนก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันที่เต็มไปด้วยความสนุกและความสุขได้
- Self-Image: Coca-Cola ได้สร้างภาพลักษณ์ของตนเองในมุมมองของลูกค้าว่าเป็นเครื่องดื่มที่สดชื่น ช่วยสร้างความทรงจำ และทำให้มีความสุข
ตัวอย่าง Brand Identity Prism ของ Apple
- Physique: Apple มีการสร้างสรรค์สินค้าต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ ไอแพด ด้วยการใช้โลโก้แอปเปิลที่ถูกกัดแหว่งออกไป ซึ่งแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ
- Personality: บุคลิกของแบรนด์จะเน้นไปที่การเข้าถึงง่ายผ่านสินค้าที่ใช้งานง่าย และการเข้าใจลูกค้าอย่างถ่องแท้ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน
- Culture: มุมมองทางวัฒนธรรมของ Apple คือความเชื่อในการสร้างความแตกต่าง พลังของผู้คนที่สามารถสร้างเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยได้
- Relationship: Apple สร้างความเชื่อมั่นทางอารมณ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า เน้นการนำเสนออุปกรณ์และซอฟต์แวร์ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน
- Reflection: แบรนด์นี้สะท้อนแนวโน้มทางเทคโนโลยีร่วมสมัย และทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี
- Self-Image: Apple ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ใช้งานให้ดูเป็นคนพิเศษที่ตามเทรนด์เทคโนโลยีอยู่เสมอ สื่อถึงการใช้งานที่เป็นอิสระ
ตัวอย่าง Brand Identity Prism ของ Dove
- Physique: Dove มีการใช้สีโทนขาวและน้ำเงินในการสื่อสารกับลูกค้า ใช้โลโก้แปะบน Packaging เมื่อลูกค้าเห็นก็สามารถจดจำได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์นี้
- Personality: บุคลิกของแบรนด์นี้เป็นการเน้นไปที่ความเป็นธรรมชาติ นุ่มนวล เข้าถึงง่าย และเป็นมิตร
- Culture: มุมมองด้านวัฒนธรรมและความเชื่อคือเคารพในความแตกต่าง โดยเฉพาะแนวคิดที่ว่าทุกคนมีความสวยในแบบของตนเอง
- Relationship: ให้ความสำคัญกับเพศหญิง เนื่องจากมีแนวทางในการสื่อสารเน้นไปที่ความงามที่แตกต่างของผู้หญิงแต่ละคน
- Reflection: ภาพลักษณ์ของแบรนด์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติและความมั่นใจในผู้หญิงสมัยใหม่
- Self-Image: สำหรับผู้ใช้งานจะรู้สึกว่ามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น และได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับมุมมองความสวยงามในแบบที่แตกต่างของทุกคน
ปรับใช้ Brand Identity Prism เพื่อให้แบรนด์ของคุณเติบโตอย่างมีทิศทาง
Brand Identity Prism นับเป็นกลยุทธ์ที่สามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ที่ต้องการพัฒนาภาพลักษณ์และสะท้อนให้ถึงวิสัยทัศน์ ความเชื่อและสิ่งที่แบรนด์ให้ความสำคัญได้ดีมากยิ่งขึ้น สำหรับแบรนด์ที่ต้องการพัฒนาให้การสื่อสารต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแบรนด์แรกที่ลูกค้านึกถึง สามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้ได้ในกลยุทธ์ทางการตลาดของตน