Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

RFM Analysis คือ? ใช้สูตรคำนวณแบ่งกลุ่มลูกค้า วางกลยุทธ์ตลาดได้ตรงกลุ่ม

RFM Analysis คือ? ใช้สูตรคำนวณแบ่งกลุ่มลูกค้า วางกลยุทธ์ตลาดได้ตรงกลุ่ม

ข้อมูลของลูกค้าเปรียบเสมือนสมบัติอันล้ำค่าของการทำการตลาดสำหรับธุรกิจประเภทการขาย แต่การที่มีข้อมูลเยอะมากเกินไปก็อาจจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังคงทำการตลาดแบบหว่านแหที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ในทางกลับกัน ถ้าธุรกิจหันมาสนใจการใช้ RMF Analysis เทคนิคการวิเคราะห์ลูกค้าก็จะช่วยในการแบ่งกลุ่มการตลาดที่สะท้อนพฤติกรรมต่าง ๆ โดยบทความนี้จะพามาเรียนรู้เทคนิค RMF Analysis เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอบโจทย์กับลูกค้าอย่างตรงจุดมากขึ้น พร้อมวิธีปรับใช้กับธุรกิจของคุณ

RFM Analysis คืออะไร

RFM Analysis คือเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ลูกค้าหรือกลุ่มลูกค้าของธุรกิจ เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมซื้อของลูกค้าได้ง่ายขึ้น โดยที่ RFM ย่อมาจาก

  • Recency (R): วิเคราะห์ว่าลูกค้าซื้อสินค้าครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าที่ซื้อสินค้าล่าสุดมากกว่าลูกค้าที่ไม่ได้ซื้อสินค้ามานาน เนื่องจากลูกค้าที่เพิ่งซื้อสินค้าไปมีแนวโน้มที่จะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง
  • Frequency (F): วิเคราะห์ว่าลูกค้าซื้อสินค้าบ่อยแค่ไหน โดยลูกค้าที่ซื้อบ่อยยๆ มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นลูกค้าประจำ
  • Monetary (M): วิเคราะห์ว่าลูกค้าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าที่ใช้จ่ายสูงมากกว่าลูกค้าที่ใช้จ่ายน้อย

เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 3 อย่างนี้แล้วก็จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มลูกค้าเพื่อให้ตอบโจทย์กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นและสามารถเข้าใจพฤติกรรมซื้อของลูกค้าได้ง่ายขึ้น

6 ขั้นตอนการวางกลยุทธ์ RFM Analysis เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้า

1. กำหนดเป้าหมาย 

ไม่ว่าจะเริ่มต้นวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดอะไร การมีเป้าหมายนับเป็นขั้นตอนแรกที่ควรทำอยู่เสมอ การเริ่มวางแผนกลยุทธ์ RMF Analysis ก็เช่นเดียวกัน สิ่งแรกที่ต้องทำคือกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับการวิเคราะห์ RFM เช่น

  • รักษาลูกค้าเก่า: เริ่มสำรวจลูกค้าที่มีการซื้อสินค้าในมูลค่าที่สูงและระบุตัวตนของลูกค้าเหล่านั้นให้ชัดเจนว่าพวกเขาคือใคร อาจไม่จำเป็นถึงขั้นต้องรู้ชื่อของลูกค้า แค่สามารถบอกได้ว่าลูกค้าที่มาซื้อของในแต่ละครั้งเป็นคนเดียวกันก็เพียงพอแล้ว หลังจากนั้นควรดำเนินการตามแผนเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับพวกเขาเหล่านั้นเพื่อให้เขายังคงกลับมาซื้อสินค้าและบริการจากเราอย่างต่อเนื่อง
  • หาลูกค้าใหม่: แม้ว่าลูกค้าเก่าจะสำคัญต่อธุรกิจ แต่การหาลูกค้าใหม่ๆ ก็เป็นอีกโอกาสสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างยิ่งขึ้น หรือธุรกิจที่ต้องการเร่งเพิ่มยอดขายอย่างต่อเนื่อง การรอเพียงแค่ลูกค้าเก่าอาจดูเหมือนปิดโอกาสสำหรับธุรกิจมากจนเกินไป ธุรกิจอาจเริ่มต้นจากการระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจให้ชัดเจนก่อน จากนั้นเริ่มลงมือศึกษาและเก็บข้อมูลพฤติกรรมของพวกเขาเพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น
  • เพิ่มยอดขาย: ยอดขายนับเป็นอีกสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างก็ต้องการ ดังนั้นเป้าหมายนี้จึงเป็นเป้าหมายของทุกธุรกิจ ดังนั้นการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อบ่อยขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้นในการซื้อแต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจจะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญอยู่เสมอ
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการตลาด: ท่ามกลางกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย การปรับปรุงประสิทธิภาพของการตลาดผ่านการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับแคมเปญทางการตลาดแต่ละแคมเปญโดยเฉพาะจะช่วยให้ธุรกิจสามารถทำการตลาดได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

2. เตรียมข้อมูลการซื้อขายของลูกค้า (Transaction)

rfm customer transaction

หลังจากที่ได้ตั้งเป้าหมายเรียบร้อยแล้วว่าต้องการใช้เทคนิค RFM Analysis เพื่ออะไร ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญอย่างยิ่งคือการเตรียมข้อมูลการซื้อและการขายของลูกค้า เช่น ข้อมูลจากบัตรสะสมแต้ม (Loyalty card), Point of sales และ Marketplace โดยข้อมูลนี้ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อแต่ละครั้งของลูกค้า เช่น

  • วันที่ซื้อ (Recency): แสดงว่าลูกค้าซื้อสินค้าครั้งล่าสุดเมื่อไหร่
  • ความถี่ในการซื้อ (Frequency): วิเคราะห์ว่าลูกค้าซื้อสินค้าบ่อยแค่ไหน
  • จำนวนเงินที่ใช้จ่าย (Monetary): แสดงว่าลูกค้าใช้จ่ายไปเท่าไหร่
  • สินค้าที่ซื้อ: อาจนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติม
  • ช่องทางการซื้อ: อาจนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติม

3. หา RFM Score ของแต่ละคน

  1. เตรียมข้อมูล: ป้อนข้อมูลการซื้อขายของลูกค้า โดยสร้างคอลัมน์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับวันที่ซื้อครั้งแรก วันที่ซื้อครั้งล่าสุด จำนวนครั้งที่ซื้อ จำนวนเงินที่ใช้จ่าย รหัสลูกค้า (Customer ID) และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นตามความเหมาะสมของธุรกิจของคุณ
  2. คำนวณ Recency: เพิ่มคอลัมน์ใหม่ชื่อ “Recency” ใส่สูตร =DATEDIF(วันที่ลูกค้าซื้อสินค้าล่าสุด,TODAY(), “d”) เพื่อหาจำนวนวันระหว่างวันที่ลูกค้าซื้อสินค้าล่าสุดกับวันนี้ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนวันที่ผ่านมา
  3. คำนวณ Frequency: เพิ่มคอลัมน์ใหม่ชื่อ “Frequency” ใส่สูตร =COUNTIF(รหัสลูกค้า:รหัสลูกค้า,รหัสลูกค้าคนแรก) เพื่อนับจำนวนครั้งที่ลูกค้าทำธุรกรรมหรือซื้อสินค้า
  4. คำนวณ Monetary: เพิ่มคอลัมน์ใหม่ชื่อ “Monetary” ใส่สูตร =SUMIF(รหัสลูกค้า:รหัสลูกค้า,รหัสลูกค้าคนแรก,จำนวนเงิน:จำนวนเงิน) เพื่อรวมมูลค่าของการซื้อของลูกค้าโดยที่ รหัสลูกค้า:รหัสลูกค้า: แทนที่ด้วยคอลัมน์ที่เก็บข้อมูลรหัสลูกค้าทั้งหมด เช่น “A:A” “B:B” “C:C” ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อมูล รหัสลูกค้าคนแรก: แทนที่ด้วยเซลล์ที่เก็บข้อมูลรหัสลูกค้าคนแรก เช่น “A4” “B10” “C20” ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อมูล จำนวนเงิน:จำนวนเงิน: แทนที่ด้วยคอลัมน์ที่เก็บข้อมูลจำนวนเงินที่ใช้จ่าย เช่น “B:B” “C:C” “D:D” ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อมูล
  5. รวมคะแนน RFM: เพิ่มคอลัมน์ใหม่ 3 คอลัมน์ ชื่อ “R”, “F”, “M” 
  • คอลัมน์ R > ใส่สูตร =IF(Recency<=7,”5″,IF(Recency<=14,”4″,IF(Recency<=30,”3″,”2″))) ลงในคอลัมน์ “R” สูตรนี้ใช้ฟังก์ชัน IF จัดกลุ่มลูกค้าตามระยะเวลาการซื้อล่าสุดโดยที่
    • Recency<=7: แสดงผลเป็น “5” ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
    • Recency<=14: แสดงผลเป็น “4” ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าในช่วง 8-14 วันที่ผ่านมา
    • Recency<=30: แสดงผลเป็น “3” ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าในช่วง 15-30 วันที่ผ่านมา
    • Recency>30: แสดงผลเป็น “2” ถ้าลูกค้าซื้อสินค้ามากกว่า 30 วันที่ผ่านมา
  • คอลัมน์ F > ใส่สูตร =IF(Frequency>=5,”5″,IF(Frequency>=3,”4″,IF(Frequency>=1,”3″,”2″))) ลงในคอลัมน์ “F” สูตรนี้ใช้ฟังก์ชัน IF จัดกลุ่มลูกค้าตามจำนวนการซื้อโดยที่
    • Frequency>=5: แสดงผลเป็น “5” ถ้าลูกค้าซื้อสินค้า 5 ครั้งขึ้นไป
    • Frequency>=3: แสดงผลเป็น “4” ถ้าลูกค้าซื้อสินค้า 3-4 ครั้ง
    • Frequency>=1: แสดงผลเป็น “3” ถ้าลูกค้าซื้อสินค้า 1-2 ครั้ง
    • Frequency<1: แสดงผลเป็น “2” ถ้าลูกค้าไม่เคยซื้อสินค้า
  • คอลัมน์ M > ใส่สูตร =IF(Monetary>=10000,”5″,IF(Monetary>=5000,”4″,IF(Monetary>=2000,”3″,”2″))) ลงในคอลัมน์ “M” สูตรนี้ใช้ฟังก์ชัน IF จัดกลุ่มลูกค้าตามมูลค่าการซื้อ
    • Monetary>=10000: แสดงผลเป็น “5” ถ้าลูกค้าใช้จ่าย 10,000 บาทขึ้นไป
    • Monetary>=5000: แสดงผลเป็น “4” ถ้าลูกค้าใช้จ่าย 5,000 – 9,999 บาท
    • Monetary>=2000: แสดงผลเป็น “3” ถ้าลูกค้าใช้จ่าย 2,000 – 4,999 บาท
    • Monetary<2000: แสดงผลเป็น “2” ถ้าลูกค้าใช้จ่ายน้อยกว่า 2,000 บาท

หมายเหตุ: สามารถเปลี่ยนตัวเลขต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ ตัวเลขที่ข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างเท่านั้น


4. นำคะแนน RFM มาตีความและแบ่งกลุ่มลูกค้า

หลังจากคำนวณคะแนน RFM เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำคะแนนเหล่านี้มาตีความและแบ่งกลุ่มลูกค้า โดยทั่วไปแล้วการตีความและแบ่งกลุ่มลูกค้าสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น


5. ทำ RFM Mapping ข้อมูล

rfm analysis mapping

หลังจากที่ได้แบ่งกลุ่มลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำ RFM Mapping เพื่อแสดงข้อมูลลูกค้าในกราฟโดยใช้แกน X และ Y เพื่อแสดงค่า Recency และ (Frequency*Monetary)/2 ของลูกค้าในกราฟเดียวกัน

เพื่อใช้ข้อมูลที่ได้จาก RFM Mapping มาวางกลยุทธ์การตลาดและการดูแลลูกค้าให้ได้ประสบการณ์ที่ดีในอนาคต RFM Mapping สามารถช่วยให้เห็นภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่าง Recency, Frequency, และ Monetary ของลูกค้าได้อย่างชัดเจนและสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจเพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดของธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพได้


6. นำข้อมูลที่ได้มากำหนดกลยุทธ์แบบ Data Driven Marketing 

หลังจากทำ RFM Mapping  วิเคราะห์ข้อมูล และแบ่งกลุ่มลูกค้าเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำข้อมูลเหล่านี้ไปกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Data Driven Marketing เช่น

  • Segment-Specific Campaigns: ใช้ข้อมูล RFM เพื่อสร้างแคมเปญที่เน้นให้แต่ละกลุ่มลูกค้า เช่น ส่งโปรโมชันพิเศษสำหรับกลุ่ม High-Value Customers หรือสร้างโปรโมชันสำหรับกลุ่ม Potential Customers เพื่อเพิ่มการซื้อสินค้า
  • Personalized Recommendations: ใช้ข้อมูล RFM เพื่อสร้างระบบแนะนำสินค้าที่ทันสมัยและเข้ากับความต้องการของแต่ละลูกค้า โดยอิงจากประวัติการซื้อของลูกค้าแต่ละคน
  • Retention Strategies: ใช้ข้อมูล RFM เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการรักษาลูกค้า เช่น ส่งอีเมลต้อนรับหรือส่งข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าที่มีความถี่ในการซื้อสินค้า
  • Reactivation Campaigns: ใช้ข้อมูล RFM เพื่อตรวจสอบลูกค้าที่มีคะแนน Recency และ Frequency ต่ำและใช้กลยุทธ์เพื่อกระตุ้นให้กลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง เช่น การส่งส่วนลดพิเศษสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้ทำธุรกรรมมาตั้งแต่การบ้านล่าสุด
  • Cross-Selling and Up-Selling: ใช้ข้อมูล RFM เพื่อสร้างโปรโมชันที่เน้นการขายสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือสินค้ารุ่นอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าของการซื้อของลูกค้าได้
  • Optimized Marketing Channels: ใช้ข้อมูล RFM เพื่อวิเคราะห์และเลือกใช้ช่องทางการตลาดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละกลุ่มลูกค้า เช่น การเน้นการโฆษณาออนไลน์สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความถี่ในการเข้าชมเว็บไซต์

ข้อดี-ข้อเสียของการทำ RFM Analysis

ข้อดีและข้อเสียของการทำ RFM Analysis

ข้อดี:

  • ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้อย่างละเอียดครบถ้วนและชัดเจน
  • ธุรกิจสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ตาม Recency, Frequency และ Monetary ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญกับธุรกิจเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม
  • สามารถรักษาฐานลูกค้า VIP กระตุ้นให้ลูกค้าที่ห่างหายไปกลับมาซื้อสินค้าและบริการได้อีกครั้ง
  • ช่วยเพิ่มยอดขายโดยนำเสนอสินค้า บริการ โปรโมชัน ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มลูกค้า
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายทางการตลาดโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ

ข้อเสีย:

  • ไม่ได้นำข้อมูลทางด้าน Demographic ของลูกค้า เช่น อายุ เพศ มาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งหากต้องการนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ร่วมด้วยซึ่งอาจทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าลูกค้าเหล่านั้นมีอายุหรือเพศอะไร 
  • ไม่สามารถคาดการณ์พฤติกรรมในอนาคตของลูกค้าได้ เนื่องจากเป็นการนำข้อมูลในอดีต เช่น ประวัติการซื้อของลูกค้ามาใช้ 
  • ไม่สามารถจำแนกชนิดสินค้าที่ซื้อขายได้ เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์เพียงแค่ Recency, Frequency และ Monetary เท่านั้น

จัดกลุ่มลูกค้า รักษาไว้ ใช้ Insight เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทำการตลาดให้ดีกว่าเดิม

กลยุทธ์ RFM Analysis เป็นอีกเทคนิคที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เสียเปล่า แต่อย่างไรก็ตามต้องตระหนักอยู่เสมอว่าข้อมูลเหล่านั้นของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นไม่ได้รับการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอนและไม่มีประสิทธิภาพมากพอ นอกจากนี้ยังต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดให้ทันท่วงที เพื่อที่จะได้รักษาลูกค้าให้อยู่กับธุรกิจไปอีกนาน ๆ โดยสามารถใช้ Mandala AI เพื่อคัดสรรข้อมูลที่มากมายให้เหลือเพียงแค่ใจความสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการนำไปวิเคราะห์ช่วยให้ธุรกิจสามารถอ่านข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้นและจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

mandala ai ฟรี
  • หมวดหมู่ :
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.