Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

Social Commerce คืออะไร เทคนิคต่าง ๆ ที่คุณควรรู้

Social Commerce คืออะไร เทคนิคต่าง ๆ ที่คุณควรรู้

Social Commerce คืออะไร ?

Social Commerce หรือการค้าผ่านโซเชียล เป็นการขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง ผ่านช่องทางโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram และ TikTok ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา

Social Commerce ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดโซเชียลมีเดียที่สำคัญอย่างมาก โดยผลสถิติในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 จาก Research and Markets พบว่า Social Commerce ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงถึง 39.3% ต่อปี และสร้างมูลค่าทางการตลาดได้มากกว่า 6 พันล้านเหรียญในปี 2028

Social Commerce และ E-Commerce แตกต่างกันอย่างไร

Social Commerce แตกต่างจาก E-commerce ตรงที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้า และจ่ายเงินได้ทันทีผ่านโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ และไม่จำเป็นต้องออกจากแพลตฟอร์มไปเพื่อซื้อของที่แพลตฟอร์ม E-commerce อื่นๆ อย่าง Brand website, Shopee และ Lazada 

Social Commerce จึงสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ (Customer Experience) ที่ดีกว่า เมื่อเลือกซื้อสินค้าเสร็จก็สามารถใช้งานโซเชียลแพลตฟอร์มนั้นๆ ต่อได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์กลับไปกลับมาให้ยุ่งยาก

mandala banner

แพลตฟอร์มไหนที่เป็นที่นิยมสำหรับการขายของ Social Commerce

1. Facebook

user stats
source : datareport

ข้อมูลจาก We are social ในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ระบุว่า Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย โดยมี Gen Y และ Gen X เป็นกลุ่มผู้ใช้งานหลัก มี content หลากหลายรูปแบบที่สุดเมื่อเทียบกับโซเชียลแพลตฟอร์มอื่นๆ สามารถรองรับได้ทั้งรูปภาพ อัลบั้ม และคลิปวิดีโอ

Facebook มีฟังก์ชันที่เหมาะกับการทำ Social Commerce โดยเฉพาะ ได้แก่ 

facebook marketplace
  • Facebook Marketplace พื้นที่ที่ให้ผู้ขายลงสินค้าโปรโมทขายบนแพลตฟอร์มได้โดยตรง 
  • Facebook Live รองรับการไลฟ์ขายของ ทำให้แบรนด์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคจำนวนมากได้แบบ real-time
  • Facebook Messenger ใช้ในการพูดคุยและปิดการขายผ่านแชท

2. Instagram

Instagram เป็นอีกหนึ่งโซเชียลมีเดียยอดฮิตในประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z และ Gen Y content ที่ได้รับความนิยมที่สุดได้แก่รูปภาพ และวิดีโอสั้น หรือ Reels ที่กำลังมาแรง มียอดวิว แชร์ และ engagement ที่ค่อนข้างสูง 

นอกจาก Reels แล้ว ฟังก์ชันอื่นๆ ที่เหมาะกับการทำ Social Commerce บน Instagram ได้แก่

  • Sponsored Post ร่วมกับเหล่า Influencer หรือ KOL ซึ่งถือเป็นวิธีทำการตลาดที่ได้รับความนิยมสูงสุดรูปแบบหนึ่งบน Instagram
  • Instagram Live ไลฟ์สดเพื่อพูดคุยกับผู้บริโภค ปิดการขายได้แบบทันที
  • Shoppable Post เชื่อมโพสต์โปรโมทสินค้าเข้ากับ Facebook Catalog เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกดูและซื้อสินค้าได้

3. TikTok

TikTok เป็นโซเชียลแพลตฟอร์มที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มผู้ใช้ Gen Z ที่รักการมีส่วนร่วมไปกับ User-generated content และวิดีโอสั้นที่หลากหลาย 

TikTok เองก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ต้อนรับกระแส Social Commerce ด้วยฟังก์ชันเพื่อการขายโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า Shoppertainment ได้แก่

  • TikTok Shop พื้นที่แสดงและขายสินค้า End-to-end ในแพลตฟอร์ม สามารถลิงก์กับโพสต์ วิดีโอในฟีด และไลฟ์ได้โดยตรง
  • TikTok Live ได้ทั้งขายของ และสนทนากับกลุ่มลูกค้าในเวลาเดียวกัน
  • TikTok Affiliate สำหรับแบรนด์ที่ต้องการให้ผู้ใช้งาน หรือ KOL ช่วยโปรโมทขายสินค้า โดยแลกกับ commission

4. YouTube

YouTube เป็นสตรีมมิงแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งของประเทศไทย มีกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ Gen Z ไปจนถึง Gen X โดยมีวิดีโอหลากหลายให้เลือกชม ทั้ง long form, turotorial, และรีวิว ไปจนถึงวิดีโอแบบสั้นหรือ Shorts ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดจาก YouTube เพื่อรองรับกระแสวิดีโอสั้นในปัจจุบัน

แม้ YouTube จะไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลเต็มตัว แต่ก็เป็นพื้นที่รวมตัวของ Community คนที่มีความสนใจคล้ายๆ กัน และมีฟังก์ชันที่รองรับการโปรโมทสินค้า ได้แก่

  • YouTube Live ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มฐานผู้บริโภค สามารถสร้าง Engagement และมีอัตราการชมที่ค่อนข้างสูง
  • Creator Promotion ใช้ KOL เป็นตัวช่วยในการขายสินค้า และเสริมสร้าง Demand ให้กับแบรนด์
  • Product Review สร้าวิดีโอที่อธิบายถึงข้อดีและจุดเด่นของสินค้า สามารถทำเป็น Open Box หรือรีวิวเปิดกล่องสินค้าก็น่าสนใจไม่น้อย

5. X (Twitter)

X เป็นแพลตฟอร์มข้อความสั้นที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่ Gen Y และ Gen Z แถมยังเป็นพื้นที่ของกาารใช้ Hashtag ที่ทรงพลังมากๆ นอกจากจะเป็นพื้นที่สำหรับคนที่มีความสนใจคล้ายๆ กันแล้ว ยังมีฟังก์ชันอีกมากมายที่เหมาะกับการทำ Social Commerce เป็นอย่างยิ่ง

  • Hashtag การใช่แฮชแท็กใน Twitter ช่วยให้คนค้นหาแบรนด์และสินค้าของเราเจอได้อย่างง่ายดาย 
  • Shops ช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถมีหน้าร้านขายสินค้าได้บนแพลตฟอร์มโดยตรง

เทคนิค Social Commerce สำหรับเพิ่มยอดขาย

social commerce

หลังจากเรียนรู้จักแพลตฟอร์มโซเชียลที่เหมาะสมกับการทำ Social Commerce แล้ว เราก็ควรเสริมทริคการทำการตลาด Social Commerce ให้ครอบคลุมและดียิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. ทำความรู้จัก Audience

ก่อนที่เราจะเริ่มโปรโมทสินค้าหรือแบรนด์ เราก็ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายของเราให้ดีเสียก่อน อาจจะเริ่มจากข้อมูลพื้นฐานอย่างอายุ หรือ ความสนใจ ไปจนถึงการจำลอง Persona ของผู้บริโภค ว่าน่าจะเป็นคนแบบไหน หรือมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างไร

เมื่อเราเข้าใจผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายของเราอย่างลึกซึ้งแล้ว การวางแผนการตลาดหรือกลยุทธ์ Social Commerce ของเรา ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์การขายสินค้ามากขึ้น

2. เลือกแพลตฟอร์มที่เข้าถึงได้ง่าย

หลังจากรู้จักกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็ถึงเวลาเลือกแพลตฟอร์มโซเชียลที่เหมาะสมที่จะใช้ในการสนทนากับพวกเขา ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็มีจุดเด่นและกลุ่มผู้ใช้ต่างกันไป เช่นถ้ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็น Gen Z ที่ชอบความเร็วและตามเทรนด์ ก็อาจจะลองใช้ TikTok เพื่อสร้าง Engagement กับกลุ่มคนเหล่านี้ดู

แนะนำให้เลือกแพลตฟอร์มที่เข้าถึงได้ง่าย และอาจลองเลือกมาสัก 2-3 แพลตฟอร์มเพื่อทดลอง ยิ่งใช้แพลตฟอร์มที่หลากหลาย ก็ยิ่งช่วยเพิ่ม Touchpoint ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แต่ก็ไม่ควรจะเยอะจนไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง เพราะการสร้างแบรนด์หรือโปรโมทสินค้าบนโซเชียลมีเดียต้องการการดูแลและความสม่ำเสมอ

3. Influencer ช่วยพลักดัน

Social Commerce มักประสบความสำเร็จเมื่อใช้ควบคู่กับ KOL, TikToker หรือคนที่มีฐานผู้ติดตามอยู่แล้วในแพลตฟอร์มนั้นๆ การใช้ KOL จะช่วยสร้าง connection ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าโพสต์ขายสินค้าจากแบรนด์โดยตรง และยังช่วยเพิ่ม engagement และความตระหนักรู้เกี่ยวกับแบรนด์ได้ดีอีกด้วย

นอกจาก KOL แล้ว ปัจจุบันการใช้ KOC (Key Opinion Consumer) หรือคนทั่วไปที่ใช้สินค้าและบริการของเราจริงๆ มาช่วยในการรีวิวสินค้าให้ ก็ช่วยเราสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น และได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้แค่ KOL หรือคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วมาช่วยโปรโมท

4. โพสต์โปรโมทสินค้าเป็นประจำ

ความสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญในการทำ Social Commerce ควรมีการสื่อสารอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและต่อเนื่อง เพื่อให้คนรับรู้ถึงสินค้าและแบรนด์ของเราอยู่ตลอดเวลา คงจะไม่ดีเท่าไรหากเราสร้างแบรนด์บนโลกโซเชียลมีเดีย แต่กลุ่มเป้าหมายกลับเข้ามาเยี่ยมเยียนหน้าเพจแล้วไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือพบว่าสินค้าหมด

5. ใช้ลูกเล่นของเเต่ละแพลตฟอร์มเพื่อดึงดูดความน่าสนใจ

โซเชียลแพลตฟอร์มในประเทศไทยมีฟังก์ชันหลากลายที่สร้างมาเพื่อรองรับ Social Commerce โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการ Live, ส่ง Message รวมถึงสร้างหน้าร้านค้าและ Catalog สินค้าบนแพลตฟอร์มเอง เราควรศึกษา feature เหล่านี้ และนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์ของเรา เพื่อให้สามารถ Engage กับกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายรูปแบบตลอดทุก Sale Funnel

6. สำรวจเทรนด์ตลาดและความเห็นของผู้บริโภคอยู่เสมอ

ปัจจุบันในตลาดมีเครื่องมือ Social Listening และ Social Data Analytics ที่เปิดให้ใช้งานฟรีอยู่มากมาย ซึ่งจะช่วยให้เราติดตามเทรนด์ รวมถึงความคิดเห็นของผู้คนบนโซเชียลมีเดียที่มีต่อแบรนด์และสินค้าของเราได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งการเข้าใจเทรนด์การตลาดและความเห็นของผู้บริโภคจะช่วยให้เราพัฒนา Content ที่เหมาะสมกับ Social Commerce และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ซึ่งส่งผลให้ได้รับผลตอบรับที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

7. สร้างความสะดวกสบายในการใช้งาน

จุดแข็งของ Social Commerce คือการที่ผู้บริโภคสามารถเรียนรู้จักสินค้า และเลือกซื้อสินค้าได้ในที่เดียว ซึ่งทั้งสะดวกสบาย และง่าย ถือเป็น Sale Journey ที่สั้นและกระชับ ผู้บริโภคไม่ต้องเข้าไปเยี่ยมชมหลายๆ เว็บไซต์เพื่อให้ได้ซื้อของเพียงชิ้นหรือสองชิ้น ดังนั้นเราจึงควรสร้างพื้นที่สำหรับขายสินค้าของตัวเองในแพลตฟอร์มนั้นๆ หมั่นดูแลสต็อก พร้อมทั้งตอบข้อความเพื่อปิดการขายให้ได้ไวที่สุด

8. ทำให้ลูกค้ารู้ว่าเราต้องการขายอะไร

ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียมักให้ความสนใจกับ Content ต่างๆ เพียงระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นการทำให้คนเข้าใจถึงสินค้าและแบรนด์ของเราได้อย่างรวดเร็วจึงเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงควรชัดเจนกับสินค้าที่เราต้องการขาย รวมถึงโปรโมชัน และวิธีการสั่งซื้อ อย่าสร้าง Content ที่ก่อให้เกิดความสับสน เพราะกลุ่มลูกค้าของเราอาจจะเลื่อนผ่านไปโดยไม่กลับมาสนใจโพสต์ของเราอีกเลยก็เป็นได้

mandala banner

สรุป

หวังว่าบทความในวันนี้ของเรา จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของ Social Commerce มากขึ้น รวมถึงนำเคล็ดลับในการสร้างกลยุทธ์และคอนเทนต์สำหรับ Social Commerce ข้างต้นไปลองปรับใช้ ได้ผลอย่างไร อย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์กันด้วยนะครับ

สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.