- Social Media (โซเชียลมีเดีย) คืออะไร
- ประเภท Social Media มีอะไรบ้าง
- กลยุทธ์ในการทำ Social Media Marketing มีอะไรบ้าง
- ธุรกิจจะใช้ประโยชน์จาก Social Media (โซเชียลมีเดีย) ได้อย่างไร
- การใช้ Social Media (โซเชียลมีเดีย) ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- Mandala Analytics และ Time Analytics เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้โซเชียลมีเดียจาก Mandala AI
เชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมาตอนเช้า สิ่งแรกที่ทำคือการเช็กแจ้งเตือนหรือความเคลื่อนไหวใน Social Media (โซเชียลมีเดีย) และเข้านอนไปพร้อมกับการเลื่อนดูหน้าฟีดของโซเชียลมีเดียไปเรื่อย ๆ เพราะสื่อโซเชียลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในทุกช่วงเวลาของชีวิตใครหลายคน และยังเป็นพื้นที่ที่คนจำนวนไม่น้อยมาแบ่งปันเรื่องราวของตน รวมไปถึงติดตามข่าวสารในเรื่องที่ตนเองสนใจ ซึ่งด้วยพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านี้เอง ที่ทำให้สื่อโซเชียลกลายมาเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการทำประชาสัมพันธ์และทำการตลาดของแบรนด์ทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เลยจะพาไปรู้จัก Social Media คืออะไร มีกี่ประเภท และเหตุผลว่าทำไมธุรกิจถึงต้องมีโซเชียลมีเดีย และอีกหลายเรื่องที่คุณต้องรู้ ตามไปดูกันเลย
Social Media (โซเชียลมีเดีย) คืออะไร
เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจว่า Social Media คืออะไรกันมากขึ้น เราจะมาบอกความหมายของ Social Media ให้ได้รู้กัน
Social Media คือแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ทุกคนสามารถเข้ามาสร้างสรรค์และแบ่งปันคอนเทนต์เกี่ยวกับเรื่องราวที่ตนเองสนใจให้แก่เพื่อน ๆ หรือสาธารณชนได้เห็นอย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์และคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ได้ถูกนำมาเผยแพร่ไว้ในสื่อโซเชียลอีกด้วย
ในโซเชียลมีเดียนั้น ทุกคนสามารถนำเสนอคอนเทนต์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายและเปิดกว้าง แต่อาจมีข้อจำกัดบ้าง หากเป็นเนื้อหาที่อันตรายและเป็นเรื่องเท็จ โดยการสร้างสรรค์คอนเทนต์มีด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อโซเชียลมีเดียนั้น ๆ ซึ่งสำหรับใครที่อยากรู้ว่าโซเชียลมีเดีย มีทั้งหมดกี่ประเภท เราจะมาบอกให้ได้รู้กันต่อไป
ประเภท Social Media มีอะไรบ้าง
เมื่อได้รู้กันไปแล้วว่า Social Media คืออะไร คงทำให้เกิดสงสัยว่าแล้ว Social Media มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท เพื่อเป็นการไขข้อสงสัยให้แก่ทุกคน เราจะขอพาไปทำความรู้จักกับ Social Media Platform ทั้ง 6 ประเภท ว่าคืออะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
1. Social Networking
Social Networking คือโซเชียลมีเดียที่เชื่อมผู้คนในโครงข่ายเข้าด้วยกัน เพื่อให้พวกเขาสามารถแสดงความคิดเห็น กดไลก์ กดแชร์ ในคอนเทนต์ที่คนอื่นได้แบ่งปันไว้ และเป็นคอนเทนต์ที่ตนเองสนใจ ทั้งยังสามารถกดติดตามบุคคลอื่น ๆ ที่ชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน หรือว่าบุคคลที่มักสร้างสรรค์คอนเทนต์ในแบบที่ตนเองชื่นชอบอีกด้วย หากใครที่สงสัยว่า Social Network มีอะไรบ้าง ให้นึกถึงแพลตฟอร์มที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น Facebook, Instagram, X และ TikTok เป็นต้น
2. Media Networks
อีกหนึ่งประเภทของโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ Media Networks ซึ่งก็คือพื้นที่สังคมออนไลน์ มีไว้สำหรับแบ่งปันมีเดียคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานสร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันภาพถ่าย วิดีโอ โดยตัวอย่างของ Media Network เช่น Instagram, Vimeo และ YouTube เป็นต้น
3. Discussions
หากให้พูดถึงประเภทของโซเชียลมีเดีย หนึ่งในนั้นก็คือ Discussions หรือก็คือพื้นที่สังคมออนไลน์ที่เปิดให้ผู้ใช้งานได้เข้ามาสร้างกระทู้เพื่อตั้งคำถาม หรือบอกเล่าเรื่องราวที่ตนเองสนใจ โดยเป็นสื่อโซเชียลที่เปิดโอกาสให้คนจากหลากหลายกลุ่ม เข้ามาแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ และร่วมกันแลกเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อคอนเทนต์หรือว่าเรื่องราวเหล่านี้ โดยตัวอย่างของ Discussions ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย คือ Pantip.com นั่นเอง
4. Reviews
ในส่วนของประเภท Reviews เป็นโซเชียลมีเดียที่เน้นการแสดงความคิดเห็นและให้คะแนนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหลัก หรือที่เรียกกันว่ารีวิว หลังจากการได้ลองกิน ลองใช้ หรือรับบริการ เพื่อช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่แบรนด์ และช่วยประกอบการตัดสินใจให้แก่ผู้ที่สนใจในสถานที่ สินค้า และบริการเหล่านั้น ซึ่งแพลตฟอร์มที่นิยมใช้กัน เช่น TripAdvisor, Google My Business, Wongnai เป็นต้น
5. Microblog
Microblog เป็นประเภทของโซเชียลมีเดียที่เน้นการเขียนข้อความสั้น ๆ เพื่อการเลื่อนอ่านผ่านอย่างรวดเร็ว นิยมใช้ในการแจ้งข่าวสาร หรืออัปเดตเรื่องราวที่เป็นปัจจุบันทันด่วน แต่ยังสามารถนำเสนอคอนเทนต์ได้อย่างฟรีสไตล์อีกด้วย โดยมีแพลตฟอร์ม เช่น X (Twitter) และ Tumblr
6. Social News and Bookmarking
สำหรับประเภทของโซเชียลมีเดียสุดท้ายอย่าง Social News and Bookmarking อาจไม่ค่อยได้รับความนิยมในประเทศไทย แต่ก็มีผู้ที่ใช้งานอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยจะเป็นโซเชียลมีเดียที่เปิดให้ผู้ใช้งานทำการ Bookmark คอนเทนต์หรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบ ทั้งยังสามารถให้คะแนน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่บทความได้อีกด้วย ซึ่งมีแพลตฟอร์ม เช่น Pinterest และ Flipboard
กลยุทธ์ในการทำ Social Media Marketing มีอะไรบ้าง
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่ากลยุทธ์ในการทำ Social Media Marketing มีอะไรบ้าง เราจะมาไขความกระจ่างพร้อมยกตัวอย่างให้ได้รู้กัน ดังนี้
- รู้เป้าหมายในการทำ Social Media Marketing ของคุณเอง เช่น เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า หรือว่าค้นหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่จะกลายมาเป็นลูกค้าใหม่ของแบรนด์
- ระบุกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการสื่อสารให้ชัดเจน เพราะกลุ่มเป้าหมายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำ Social Media Marketing ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ของคุณมีผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่ปราศจากสารก่ออาการแพ้และระคายเคือง หนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของคุณ ก็จะเป็นคนที่ผิวแพ้สาร คือคนที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย นั่นเอง
- สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ส่งเสริมการทำ Social Media Marketing ยกตัวอย่างเช่น คอนเทนต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือตอบคำถามในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์กำลังประสบปัญหาหรือให้ความสนใจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดกดไลก์ กดแชร์ ให้แก่คอนเทนต์ของแบรนด์ได้
- วิจัยการตลาด เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์การทำ Social Media Marketing ที่ผ่านมา และนำไปพัฒนากลยุทธ์และสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
ธุรกิจจะใช้ประโยชน์จาก Social Media (โซเชียลมีเดีย) ได้อย่างไร
โซเชียลมีเดีย เป็นพื้นที่สังคมออนไลน์ที่เชื่อมโยงผู้คนให้เข้าถึงกันได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องที่คล้ายกัน ซึ่งธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากจุดนี้ได้ ด้วยการทำ Social Media Marketing โดยสามารถสรุปข้อดีของการทำ Social Media Marketing ได้ดังนี้
- สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
แบรนด์สามารถนำเสนอสินค้าและบริการของตนเองบนโซเชียลมีเดีย ผ่านการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแบรนด์ เพื่อการสื่อสารเกี่ยวกับธุรกิจไปยังกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในสินค้าหรือบริการในแบบที่แบรนด์มี รวมถึงยังช่วยให้กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักแบรนด์มากขึ้น
- ขยายฐานลูกค้าออกไปในวงกว้าง
นอกจากกลุ่มลูกค้าเก่าที่จะได้เห็นคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ทางแบรนด์นำเสนอผ่านสื่อโซเชียลแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้เข้าถึงแบรนด์ สร้างฐานผู้ติดตามให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้าออกไปในวงกว้าง
- สื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์กับลูกค้า
โซเชียลมีเดียยังเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรงและรวดเร็ว จึงเป็นข้อดีของการทำ Social Media Marketing เพราะลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ รวมทั้งยังอ่านรีวิวของลูกค้าเก่าที่เคยมาใช้งานได้ด้วย ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น
- เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
สำหรับแบรนด์ธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นพื้นที่หลักในการขายสินค้า ยังสามารถใช้โซเชียลมีเดียมาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมให้แก่เว็บไซต์ และช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้อีกด้วย
การใช้ Social Media (โซเชียลมีเดีย) ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เมื่อรู้แล้วว่าโซเชียลมีเดียนั้นมีประโยชน์ต่อแบรนด์ธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจึงขอแนะนำวิธีการใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์สูงสุดกัน
- อัปเดตคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ
ควรมีการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการลงรูปภาพสินค้า ลงรีวิวของลูกค้า รวมไปถึงบทความให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ เพื่อให้เกิดการเข้าชมและการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดียอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกใช้โซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม
การมีโซเชียลมีเดียหลายแพลตฟอร์มมากเกินไปไม่ใช่สิ่งดี ควรเลือกที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับแบรนด์เท่านั้น โดยสามารถเลือกแพลตฟอร์มได้ด้วยการนำ Mandala Analytics ซึ่งเป็น Social Listening Tools มาใช้ในการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นต่อคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ และดูว่าแพลตฟอร์มใดได้รับความสนใจและมียอดการกดไลก์ กดแชร์ หรือมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์มากกว่ากัน เพื่อเลือกใช้แพลตฟอร์มนั้นกับแบรนด์ของตน
- โพสต์คอนเทนต์ให้ถูกเวลา
นอกจากการเลือกใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียให้เหมาะสมแล้ว ยังควรโพสต์คอนเทนต์ให้ถูกเวลาด้วย โดยใช้เครื่องมือ Time Analytics เพื่อวิเคราะห์ว่าเวลาใดที่โพสต์คอนเทนต์แล้วจะมีคนสนใจ หรือมียอดเข้าชม กดไลก์ กดแชร์มากที่สุด และควรโพสต์คอนเทนต์ในช่วงเวลานั้น
Mandala Analytics และ Time Analytics เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้โซเชียลมีเดียจาก Mandala AI
Mandala AI ผู้ให้บริการ Mandala Analytics และ Time Analytics เครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดโดยใช้โซเชียลมีเดีย สร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการธุรกิจในยุคดิจิทัล