Social Media MarketingSocial ListeningFacebook MarketingInstagram MarketingTikTok Marketing
Try Mandala For Free

แบบทดสอบ MBTI คืออะไร มีอะไรบ้าง? วิธีปรับใช้เชิงกลยุทธ์การตลาด

แบบทดสอบ MBTI คืออะไร มีอะไรบ้าง? วิธีปรับใช้เชิงกลยุทธ์การตลาด

หลาย ๆ คนต้องการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า เข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ลึกขึ้น นักการตลาดหลาย ๆ คนเลยหยิบ  MBTI หรือเรียกว่า ทดสอบ MBTI มาใช้เพื่อทำความรู้จักพฤติกรรมต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพราะแน่นอนว่าการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือการใช้บริการ อารมณ์ ความรู้สึก ล้วนเป็นแรงผลักดันในการตัดสินใจต่าง ๆ เสมอ การทำความเข้าใจด้วยการทดสอบไทป์ว่าเป็นคนแบบไหน มีลักษณะอย่างไรจึงน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนำไปผสมกับการวางกลยุทธ์ทางการตลาด จึงทำให้การทดสอบเหล่านี้ มีการหยิบไปอ้างอิง เพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาด ได้ตรงจิต ตรงใจและแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง วันนี้เลยขอมาทำความรู้จักแบบทดสอบดังกล่าว พร้อมวิธีปรับใช้เพื่อเป็นไอเดียให้ทุกคนได้นำไปใช้วางแผนทางการตลาดได้ดีและตรงมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

MBTI คืออะไร?

MBTI คือ แบบทดสอบเพื่อทำความเข้าใจแง่มุมภายในตัวตนของเรา ค้นหาตัวตนที่แท้จริงซึ่งซ่อนอยู่ภายในบุคลิกภาพของเรา ด้วยเครื่องมือหรือแบบทดสอบที่เรียกว่า MBTI หรือย่อมาจาก Myers-Briggs Type Indicator โดยชุดทดสอบบุคลิกภาพของมนุษย์แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 16 แบบ โดยบุคลิกภาพเหล่านี้จะสะท้อนถึงความชอบส่วนบุคคล แนวโน้มการตัดสินใจบางอย่าง โดยที่ตัวผู้ทำแบบทดสอบไม่เคยรับรู้มาก่อน รวมถึงทำความเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน ข้อดี ข้อเสีย ความชอบ หรือไม่ชอบ รวมถึงการเข้าสังคมกับผู้อื่นอีกด้วย โดยเป้าหมายของแบบทดสอบนี้ก็เพื่อให้ผู้ทำแบบทดสอบเข้าใจตัวตน สำรวจพฤติกรรมตัวเอง และเพื่อให้รู้จักตัวเองในมุมที่ไม่รู้มาก่อนนั่นเอง

รู้จัก MBTI มีอะไรบ้าง

แน่นอนว่ากลุ่มบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มตัวอักษรออกเป็น 4 ตัวซึ่งแต่ละกลุ่มอักษรก็คือลักษณะ พฤติกรรม และสิ่งที่ผู้ทำแบบทดสอบมีแนวโน้มจะเป็นกลุ่มคนลักษณะนั้น ๆ นั่นเอง โดยแต่ละกลุ่มจะมีชื่อและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ISTJ – The Inspector: เป็นคนที่พูดตรงไปตรงมาและใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกอย่าง มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบสูง ชอบทำตามกฎ
  2. ISTP – The Crafter: รักอิสระและชอบผจญภัยกับประสบการณ์ใหม่ ๆ สนุกกับการสำรวจโลกรอบตัวเพื่อหาเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ
  3. ISFJ – The Protector: อบอุ่นและทุ่มเท พร้อมเสมอที่จะปกป้องคนที่เขาห่วงใย
  4. ISFP – The Artist: สุภาพ เรียบง่าย เข้ากับคนอื่นได้ง่าย อ่อนไหวง่าย ไม่ชอบเป็นจุดสนใจ และชอบอยู่กับตัวเอง
  5. INFJ – The Advocate: คิดสร้างสรรค์และวิเคราะห์เก่ง เป็นประเภทหนึ่งของ Myers-Briggs ที่หายากที่สุด
  6. INFP – The Mediator: มีอุดมการณ์และมุ่งมั่นที่จะทำให้โลกนี้ดีขึ้น เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี
  7. INTJ – The Architect: มีตรรกะสูง คิดสร้างสรรค์และวิเคราะห์เก่งมาก
  8. INTP – The Thinker: เงียบและชอบเก็บตัว มีความคิดมากมายตลอดเวลาและมีโลกส่วนตัวสูง
  9. ESTP – The Persuader: พลังงานสูงและแก้ปัญหาเก่ง แต่เบื่อง่าย ชอบใช้เวลาร่วมกับคนอื่นและอยู่กับปัจจุบัน
  10. ESTJ – The Director: กล้าแสดงออกและยึดมั่นในกฎเกณฑ์ มีหลักการและความรับผิดชอบสูง
  11. ESFP – The Performer: ชอบแสดงออกและเป็นธรรมชาติ สนุกกับการเป็นจุดสนใจ
  12. ESFJ – The Caregiver: จิตใจอ่อนโยนและเปิดเผย อ่อนไหวกับคำวิจารณ์ ชอบช่วยเหลือคนอื่นและอยู่กับความเป็นจริง
  13. ENFP – The Champion: ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เป็นตัวของตัวเอง มนุษยสัมพันธ์ดีและเข้าใจคนอื่น
  14. ENFJ – The Giver: รอบคอบ ยึดมั่นในอุดมการณ์ เข้าใจโลกและใจดี
  15. ENTP – The Debater: คิดสร้างสรรค์ ปรับตัวเก่ง ชอบเริ่มโครงการใหม่ ๆ อาจไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
  16. ENTJ – The Commander: มีความเป็นผู้นำสูง พูดตรง มั่นใจในตัวเองมาก ไม่ค่อยมีความอดทน แต่เก่งในการวางแผนและจัดการงานต่าง ๆ

ประโยชน์ของการทำ MBTI Marketing มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ

ประโยชน์ในการทดสอบ MBTI มีความสำคัญกับธุรกิจได้มากกว่าที่คิด โดยมีหลากหลายองค์กรหรือธุรกิจได้นำแบบทดสอบเหล่านี้ไปปรับใช้กับการวางแผนการตลาด วางกลยุทธ์ หรือนำไปใช้ตั้งแต่แผนระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว ซึ่งการทำความเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายสามารถสร้างความได้เปรียบในการทำการตลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงจูงใจ เรียนรู้รูปแบบพฤติกรรม หาเหตุผลที่เป็นเบื้องหลังการตัดสินใจได้ โดยในการนำไปปรับใช้สามารถทำได้ดังนี้ 

  • แยกกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำขึ้น เพื่อใช้ในการโฆษณาแบบกำหนดเป้าหมาย ด้วยการปรับเนื้อหาโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ บางกลุ่มอาจจะเน้นเรื่องของความรู้สึก อารมณ์ และสัญชาตญาณ บางกลุ่มอาจเน้นในเรื่องของโอกาส การแก้ปัญหา หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นต้น 
  • ข้อความเนื้อหาที่ตรงใจ หากพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายมีนิสัยหรือลักษณะที่ชอบเข้าสังคม ชอบเจอคนใหม่ ๆ เนื้อหาหรือข้อความที่ส่งออกไปในแคมเปญอาจจะเป็นการสร้างความมีชีวิตชีวา สร้างความกระตือรือร้นมากขึ้น ในขณะที่ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือบุคลิกชอบเก็บตัว อาจชอบข้อความหรือเนื้อหาที่รอบคอบ กระชับ เน้นเนื้อหาที่ตรงประเด็นนั่นเอง ซึ่งนักการตลาดสามารถเลือกเนื้อหาที่ตรงกับพฤติกรรมและความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น
  • วาง Positioning และพัฒนาสินค้าให้ตรงมากขึ้น การหยิบแบบทดสอบมาทำความเข้าใจ สามารถกำหนดตำแหน่งของสินค้า วางจุดยืน ไปจนถึงพัฒนาสินค้าให้ตรงกับพฤติกรรมในแต่ละกลุ่มของ MBTI ได้ตรงมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความรู้สึกและตอบความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่วางลงไปได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ไม่ว่าจะวางลักษณะของแบรนด์ในแบบสนุกสนาน ไปจนถึงมีความสุขุม รอบคอบ ก็สามารถเลือกให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้นั่นเอง
  • สร้าง Engagement บนโลกโซเชียลมีเดีย เมื่อเนื้อหาตรงใจ คอนเทนต์ตรงจริตจึงสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่กระตือรือร้น ชอบความมีชีวิตชีวา ก็จะชอบเนื้อหาหรือการมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ที่สร้างการโต้ตอบหรือสร้างชีวิตชีวาขึ้นได้ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมใช้ความคิด ชอบอยู่กับตัวเอง ก็อาจจะชอบเนื้อหาที่ยาว มีสาระ และครบถ้วนทุกมิตินั่นเอง
  • การดูแลลูกค้าได้ดีขึ้น เมื่อรู้ว่าลูกค้าเป็นไทป์ไหน ก็สามารถจัดการ หรือบริหารความพึงพอใจให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ถูกใจ ไปจนถึงสร้างความเป็น FC ให้กับลูกค้าต่อแบรนด์ได้ดีขึ้นด้วย 

การนำแบบทดสอบไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดจึงสร้างมุมมองของแบรนด์กับลูกค้าในเชิงลึกมากขึ้น สามารถเชื่อมโยงพฤติกรรม การตัดสินใจ สอดผสานและร้อยเรียงกับแบรนด์ได้ดีขึ้น หาจุดชี้วัด และวัดผลได้เป็นรูปธรรมมากขึ้นไปจนถึงสามารถออกแคมเปญทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำ รวมถึงปรับปรุงแผนงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

ไอเดียปรับใช้ MBTI ในเชิงกลยุทธ์การตลาด

การต่อยอดหาไอเดียในการปรับใช้การทดสอบmbti กับกลยุทธ์ทางการตลาดสามารถนำไปปรับใช้ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับสเกลงานและความพร้อมของแบรนด์ โดยสามารถเริ่มต้นด้วยไอเดียง่าย ๆ ไม่กี่วิธี อย่างเช่น

  • จัดทำโปรโมชันที่แตกต่างกัน สำหรับ MBTI ไทป์ต่าง ๆ แน่นอนว่าการทำ Personal Marketing เป็นสิ่งที่สร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างระหว่างแบรนด์ต่าง ๆ ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน เมื่อสร้างความแตกต่างด้วยโปรโมชันหรือการทำ CRM ก็จะช่วยสร้างความรู้สึกดี ๆ ให้ลูกค้ารับรู้ถึงความพิเศษที่แบรนด์มอบให้ และตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
  • สร้างภาพลักษณ์แบรนด์เชิงบวกด้วย MBTI เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจตัวตนของแบรนด์ และเป็นการสื่อสารโดยตรงไปที่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์มากขึ้น แบรนด์ก็สามารถบอกกับลูกค้าหรือสร้างภาพลักษณ์ออกมาโดยตรงได้เลยว่า บุคลิกภาพของแบรนด์อยู่ในไทป์ไหนของ MBTI ตัวอย่างเช่น สายการบิน Korea Air ที่ประกาศตัวตนหรือบุคลิกของลูกเรือว่าเป็นประเภท ESFJ ซึ่งหมายถึงบุคลิกที่มีความสุขในการช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง
  • สร้าง Brand Awareness เพื่อให้ผู้คนได้บอกว่าตัวเองเป็นคนบุคลิกใด แบรนด์อย่าง KaKaoTalk แอปพลิเคชันสื่อสารชื่อดัง จึงได้เพิ่มฟีเจอร์สติกเกอร์คาแรคเตอร์ของบุคลิกทั้ง 16 แบบ ให้ผู้ใช้งานบนหน้าโปรไฟล์ได้ โดยสามารถตกแต่งเพิ่มเติม พร้อมบอกบุคลิกของ MBTI ให้กับผู้ที่สื่อสารด้วย จึงเป็นการประยุกต์ใช้เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ได้อีกด้วย
  • ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ MBTI เพื่อสร้างคอนเทนต์และเนื้อหาให้ตรงใจของกลุ่มเป้าหมาย สามารถกำหนดคอนเทนต์ หรือเนื้อหาต่าง ๆ ให้ตรงกับประเภทบุคลิกต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อหา เช่น การแต่งห้องตามประเภท MBTI บุคลิกภาพแบบนี้ ควรมีไอเท็มใด หรือ ของใช้แบบนี้เหมาะกับบุคลิกแบบไหน เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มสินค้าและบริการตาม MBTI  แน่นอนว่าการจัดหมวดหมู่สินค้า หรือบริการก็จะช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่มีบุคลิกต่าง ๆ รู้สึกถึงความเป็นตัวตนของตัวเอง มีการเลือกสินค้า บริการ แบ่งกลุ่มให้เหมาะกับบุคลิกนั้น ๆ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตของแต่ละกลุ่มได้อีกด้วย

นอกจากนี้สามารถหยิบแบบทดสอบ มาใช้เป็นไอเดียต่าง ๆ ได้มากมายและน่าสนใจ เพื่อสร้างความพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ที่มีบุคลิกแตกต่างกันได้แม่นยำและเป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับนักการตลาดที่จะสอดผสานไอเดียต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อออกแคมเปญการตลาดที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ก็ย่อมซื้อใจและสร้างฐานลูกค้าที่ภักดีกับแบรนด์ได้มากขึ้นนั่นเอง

3 ตัวอย่างแบรนด์ดังที่ใช้กลยุทธ์การตลาด MBTI

1. Jeju Beer

เป็นเบียร์ที่หยิบจับกระแสบุคลิกภาพ เข้ามาทำการตลาดได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งการที่ปรินต์ตัวอักษรเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนบนผลิตภัณฑ์ก็เคยมีมาแล้วอย่างเช่น Coca-Cola ที่ปรินต์ชื่อลงข้างกระป๋อง แต่ Jeju Beer หยิบกลุ่มบุคลิกทั้ง 16 แบบ มาใส่ลงบนรสชาติของเบียร์ที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาเรียงเป็นบุคลิกภาพของตัวเอง ก็จะได้รสชาติที่แตกต่างกัน 4 รสชาติ แน่นอนว่าผลของแคมเปญได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ข้อมูลจาก ‘KreanCraftBeer Data’ บอกว่าภายใน 2 สัปดาห์ สามารถขายสินค้าได้ 400,000 กระป๋อง นั่นเอง


2. Etude 

อีกหนึ่งแบรนด์เครื่องสำอางอย่าง ‘ETUDE’ ที่ออกคอลเลกชัน Eye Palette ที่อิงตามกระแส MBTI ที่สามารถถอดออก สลับสับเปลี่ยนได้จากการเป็นตลับแม่เหล็ก แต่ยังคงความเป็นเครื่องสำอางและตอบโจทย์การใช้งานอยู่เช่น การคุมโทนสีผิวหรือโทนที่อยากใช้ เรียกได้ว่าสามารถแสดงบุคลิกออกมาผ่านสีบนเปลือกตาได้เป็นอย่างดี หรืออยากเป็นสไตล์ไหนก็เลือกได้อีกด้วยนั่นเอง


3. TONYMOLY 

แบรนด์เครื่องสำอางที่ออกสินค้าแฮนด์ครีมมาในรูปแบบของคอลเลกชัน MBTI ที่มีมาให้เลือก 8 สูตร 8 แบบ ซึ่งใช้แบบทดสอบ เข้ามาผสมผสานกับเนื้อครีมที่ให้คุณประโยชน์แตกต่างกันนั่นเอง ซึ่งก็เป็นอีกไอเดียที่แบรนด์ได้หยิบแบบทดสอบบุคลิกภาพเข้ากับสินค้าได้อย่างลงตัวและน่าสนใจนั่นเอง


กลยุทธ์ MBTI Marketing ทฤษฎีทางจิตวิทยา จูงใจคนให้มีส่วนร่วม

การนำแบบทดสอบมาประยุกต์ใช้กับแผนการตลาด ก็เป็นอีกไอเดียที่ทำให้แบรนด์และกลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงและเข้าใจพฤติกรรมและการตัดสินใจต่าง ๆ ได้ลึกขึ้น มีเหตุผล และมีตัวเลขที่สามารถวัดได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้วางแผนรับมือหรือให้นักการตลาดออกแคมเปญได้ตรงกับพฤติกรรมจริงของกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น แน่นอนว่าช่วยยกระดับความสนุกในการทำการตลาด กลุ่มเป้าหมายได้ประโยชน์และที่สำคัญช่วยสร้างการแข่งขันทางการตลาดให้กับหลาย ๆ แบรนด์ได้สร้างแคมเปญการตลาดที่น่าสนใจในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ มากขึ้นอีกด้วย รับรองได้ว่าสีสันการทำตลาดจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม และเสริมด้วยการสร้างฐานลูกค้าที่มีโอกาสจะกลายมาเป็นแฟนคลับแบรนด์นั้น ๆ ได้มีคุณภาพมากขึ้นนั่นเอง

แบนเนอร์ mandala ฟรี
สมัครสมาชิกเนื้อหาการตลาดฟรีของเรา

เราจะส่ง Email เนื้อหาใหม่ให้คุณทุกสัปดาห์

This email is already subscribe.